ข้ามไปเนื้อหา

พีระมิดแห่งเซนุสเรตที่ 1

พิกัด: 29°33′36.04″N 31°13′15.40″E / 29.5600111°N 31.2209444°E / 29.5600111; 31.2209444
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พีระมิดแห่งเซนุสเรตที่ 1
เซนุสเรตที่ 1
พิกัดทางภูมิศาสตร์29°33′36.04″N 31°13′15.40″E / 29.5600111°N 31.2209444°E / 29.5600111; 31.2209444
นามร่วมสมัย
<
F12S29D21
X1
O34
N35
>Q3 X1
D21
D4D4N16
N16
O24

Ptr-tʒwj Sn-wsr-t
เพตร-ทาวี เซน-ยูเซอร์-เอต
"เซนุสเรตทรงทอดพระเนตรทั้งสองดินแดน"[1]
การก่อสร้างราชวงศ์ที่สิบสอง
ความสูง61.25 m (201.0 ft; 116.89 cu)[2]
ฐาน105.2 m (345 ft; 200.8 cu)[3]
ปริมาณ225,093 m3 (294,411 cu yd)[2]
ความชัน49°23′55″[2]
แผนภาพโครงสร้างภายในของพรีระมิดแห่งเซนุสเรตที่ 1
แผนภาพของพีระมิดแห่งเซนุสเรตที่ 1ที่อัล-ลิษต์ และบริเวณวิหารโดยรอบ
ร่องรอยของการหุ้มหินของพีระมิดแห่งเซนุสเรตที่ 1
ชิ้นส่วนของวิหารฝังพระบรมศพของพีระมิดแห่งเซนุสเรตที่ 1

พีระมิดแห่งเซนุสเรตที่ 1 เป็นพีระมิดแห่งอียิปต์โบราณที่สร้างขึ้นสำหรับใช้เป็นสถานที่ฝังพระบรมศพของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 พีระมิดนี้สร้างขึ้นในช่วงสมัยราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์ที่เอล-ลิชต์ โดยตั้งอยู่ใกล้กับพีระมิดแห่งอเมนเอมฮัตที่ 1 ซึ่งเป็นพีระมิดพระราชบิดาของพระองค์ และพีระมิดแห่งนี้มีชื่อเดิมว่า เซนุสเรต เพเตอิ ทาวิ (เซนุสเรตทรงทอดพระเนตรทั้งสองดินแดน)

พีระมิดแต่ละด้านมีความยาวด้านละ 105 เมตร ความสูง 61.25 เมตร และมีความชันของด้านข้างทั้งสี่ของพีระมิดคือ 49° 24' พีระมิดแห่งนี้ใช้วิธีการก่อสร้างที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในการก่อสร้างพีระมิดอียิปต์ในช่วงเวลาก่อนหน้า กำแพงหินทั้งสี่ที่แผ่ออกมาจากจุดศูนย์กลางซึ่งสร้างจากบล็อกหินที่หยาบ ซึ่งลดขนาดลงตามตำแหน่งที่สูงขึ้น แปดส่วนที่เกิดจากกำแพงเหล่านี้ถูกแบ่งย่อยด้วยกำแพงอีกสามส่วน โดยแยกพีระมิดออกเป็น 32 หน่วยที่แตกต่างกัน จากนั้นจึงเต็มไปด้วยแผ่นหินและเศษซาก และโครงสร้างภายนอกที่ปิดด้วยหินปูนชั้นดี[4] วิธีการก่อสร้างแบบใหม่นี้ไม่ได้มีประสิทธิภาพมากนัก และพีระมิดที่สร้างแล้วเสร็จได้ประสบปัญหาความเสถียรของตัวพีระมิด หลักฐานที่ชัดเจนสำหรับทางลาดที่ใช้สร้างพีระมิดยังคงมีอยู่อย่างผิดปกติ

สถานที่ฝังพระบรมศพ

[แก้]

บริเวณรอบพีระมิดจะมีอาคารเพิ่มเติมที่ค่อนข้างใหญ่ ซึ่งประกอบด้วย วิหารฝังพระรมศพ โครงสร้างสี่เหลี่ยมที่มีลานตรงกลาง และพีระมิดที่มีขนาดเล็กกว่าจำนวน 9 แห่งสำหรับพระมเหสีในฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 ถัดจากส่วนที่ฝังพระบรมศพ พบทางเดินหลวงสร้างมาจากหินปูนที่มีรูปแกะสลักตั้งอยู่ทุกระยะ 10 ศอก ซึ่งนำตรงไปยังสู่วิหารที่อยู่นอกกำแพงสถานที่ฝังพระบรมศพ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ได้กล่าวมานี้ในปัจจุบันยังหลงเหลือมาเพียงแค่เล็กน้อย เนื่องจากมีการสร้างอาคารโรมันในยุคสมัยหลังทับลงที่บริเวณแห่งนี้

การขุดค้นสำรวจ

[แก้]

พีระมิดแห่งเซนุสเรตที่ 1 ได้รับความเสียหายอย่างหนักตามกาลเวลา และยังคงมีการหุ้มหินปูนเพียงเล็กน้อย ในปัจจุบัน มันดูเหมือนจะเป็นเนินหินเสียมากกว่า ไม่มีการขุดเจาะค้นหาใด ๆ เข้าไปในห้องฝังพระบรมศพ เนื่องจากมีน้ำท่วมจากน้ำใต้ดิน แต่กลับได้ทราบข้อมูลจำนวนมากเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างพีระมิดจากเหมืองหินโดยรอบ ซึ่งประกอบด้วยเศษซากโบราณที่มีพบมากที่สุดแห่งหนึ่งของแหล่งโบราณคดีอียิปต์[4]

โกติเออร์และเฌอกีเออร์

[แก้]

พีระมิดถูกค้นพบครั้งแรกโดย โกติเออร์ และเฌอกีเออร์ นักโบราณคดีในระหว่างปี ค.ศ. 1894 ถึง ค.ศ. 1895

พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิแทน

[แก้]

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1906 ถึง ค.ศ. 1943 พีระมิดแห่งนี้ถูกขุดค้นขึ้นโดยทีมงานจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิแทน ซึ่งเริ่มแรกนำโดยอัลเบิร์ต ลิธโก, อาเธอร์ เมกซ์ และอัมโบรส แลนซิง

ดิเอเตอร์ อาร์โนลด์

[แก้]

ระหว่างปี ค.ศ. 1984 จนถึงปี ค.ศ. 1987 ดิเอเตอร์ อาร์โนลด์ได้ดำเนินการขุดค้นเพิ่มเติมต่อ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Verner 2001, p. 399.
  2. 2.0 2.1 2.2 Lehner 2008, p. 17.
  3. Verner 2001, p. 465.
  4. 4.0 4.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ TCM

แหล่งที่มา

[แก้]
  • Lehner, Mark (2008). The Complete Pyramids. New York: Thames & Hudson. ISBN 978-0-500-28547-3.
  • Verner, Miroslav (2001). The Pyramids: The Mystery, Culture and Science of Egypt's Great Monuments. New York: Grove Press. ISBN 978-0-8021-1703-8.