ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โอดะ โนบูนางะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ 171.5.248.2 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย 171.96.172.111
บรรทัด 20: บรรทัด 20:
== ยุคเซ็งโงะกุ ==
== ยุคเซ็งโงะกุ ==
[[ยุคเซ็งโงะกุ]]เป็นยุคแห่งสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่ระหว่างไดเมียวกลุ่มต่างๆ เนื่องเพราะอำนาจการปกครองจากส่วนกลางของโชกุนเสื่อมถอยลง ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า<ref>ยศไกร ส.ตันสกุล, 2559, หน้า 4</ref> เกิด[[สงครามกลางเมือง]]ที่น้องเลือดสุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ซึ่งได้บังเกิด 3 จอมคนผู้ยิ่งใหญ่ที่มีความมุ่งหวังและดำเนินการรวบรวมแผ่นดินญี่ปุ่นในกลียุคให้กลับมาเป็นหนึ่งเดียวได้อีกครั้ง โดยบุรุษคนแรกที่เป็นผู้จุดประกายเริ่มต้นตำนานอันยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นคือ '''โอะดะ โนะบุนะงะ'''<ref>ยศไกร ส.ตันสกุล, 2559, หน้า 17-18</ref>
[[ยุคเซ็งโงะกุ]]เป็นยุคแห่งสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่ระหว่างไดเมียวกลุ่มต่างๆ เนื่องเพราะอำนาจการปกครองจากส่วนกลางของโชกุนเสื่อมถอยลง ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า<ref>ยศไกร ส.ตันสกุล, 2559, หน้า 4</ref> เกิด[[สงครามกลางเมือง]]ที่น้องเลือดสุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ซึ่งได้บังเกิด 3 จอมคนผู้ยิ่งใหญ่ที่มีความมุ่งหวังและดำเนินการรวบรวมแผ่นดินญี่ปุ่นในกลียุคให้กลับมาเป็นหนึ่งเดียวได้อีกครั้ง โดยบุรุษคนแรกที่เป็นผู้จุดประกายเริ่มต้นตำนานอันยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นคือ '''โอะดะ โนะบุนะงะ'''<ref>ยศไกร ส.ตันสกุล, 2559, หน้า 17-18</ref>
พวงดะนงค์ดะ


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:40, 15 สิงหาคม 2559

ในชื่อบุคคลญี่ปุ่นนี้นามสกุลคือ {{{1}}}

โอดะ โนบูนางะ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 มิถุนายน ค.ศ. 1534(1534-06-23)
ปราสาทนะโงะยะ แคว้นโอะวะริ
อสัญกรรมวัดฮนโนจิ เกียวโต
บิดาโอะดะ โนะบุฮิเดะ
มารดาโดะตะ-โงเซ็ง
คู่สมรสโนฮิเมะ

โอะดะ โนะบุนะงะ (ญี่ปุ่น: 織田 信長โรมาจิOda Nobunaga23 มิถุนายน ค.ศ. 153421 มิถุนายน ค.ศ. 1582) เป็นไดเมียว และหนึ่งในสามผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคเซงโงะกุ เป็นหนึ่งในสามผู้รวบรวมญี่ปุ่นจากความแตกแยกในยุคเซงโงะกุ

ยุคเซ็งโงะกุ

ยุคเซ็งโงะกุเป็นยุคแห่งสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่ระหว่างไดเมียวกลุ่มต่างๆ เนื่องเพราะอำนาจการปกครองจากส่วนกลางของโชกุนเสื่อมถอยลง ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า[1] เกิดสงครามกลางเมืองที่น้องเลือดสุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ซึ่งได้บังเกิด 3 จอมคนผู้ยิ่งใหญ่ที่มีความมุ่งหวังและดำเนินการรวบรวมแผ่นดินญี่ปุ่นในกลียุคให้กลับมาเป็นหนึ่งเดียวได้อีกครั้ง โดยบุรุษคนแรกที่เป็นผู้จุดประกายเริ่มต้นตำนานอันยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นคือ โอะดะ โนะบุนะงะ[2] พวงดะนงค์ดะ

ประวัติ

โอะดะ โนะบุนะงะ เกิดเมื่อค.ศ. 1534 ที่ปราสาทนะโงะยะ มีชื่อว่า คิปโปชิ (吉法師) เป็นบุตรชายคนที่สองของ โอะดะ โนะบุฮิเดะ (織田信秀) ไดเมียวแห่งแคว้นโอะวะริ (尾張) จังหวัดไอจิในปัจจุบัน เป็นบุตรคนโตสุดที่เกิดกับภรรยาเอกของโนะบุฮิเดะ คือ นางโดะตะ-โงเซ็ง (土田御前)

วัยเยาว์และการสืบทอดแคว้นโอะวะริ

ในฐานะที่เป็นบุตรคนโตสุดที่เกิดกับภรรยาเอก ทำให้คิปโปชิเป็นอันดับหนึ่งในการสืบทอดแคว้นโอะวะริต่อจากโนะบุฮิเดะบิดาของตน ซึ่งได้มอบหมายให้ที่ปรึกษาคนสนิทของตนคือ ฮิระเตะ มะซะฮิเดะ (平手政秀) เป็นอาจารย์คอยฝึกวิชาความรู้ให้แก่คิปโปชิ แต่ว่าคิปโปชิกลับมีพฤติกรรมที่ประหลาด เอาแต่ใจตนเอง และไม่อยู่ในกรอบประเพณี ทำให้เป็นที่ไม่พอใจของบรรดาซะมุไรหรือข้ารับใช้ของตระกูลโอะดะ รวมทั้งมารดาของคิปโปชิเอง จนทำให้คิปโปชิมีชื่อกระฉ่อนไปทั่วภูมิภาคคันไซว่า "เจ้าโง่แห่งแคว้นโอะวะริ" (尾張の大うつけ) แต่ด้วยการสนับสนุนของบิดาและมะซะฮิเดะผู้เป็นอาจารย์ ทำให้คิปโปชิยังคงสถานะเป็นทายาทของตระกูลโอะดะอยู่ได้

ในเวลานั้นตระกูลโอะดะต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากแคว้นข้างเคียงที่ทรงกำลังอำนาจ อันได้แก่ ตระกูลอิมะงะวะ ผู้ปกครองสามแคว้นทางตะวันออกของโอะวะริ (ในบริเวณจังหวัดชิซุโอะกะในปัจจุบัน) และตระกูลไซโต (斎藤) ผู้ปกครองแคว้นมิโนะ (美濃 จังหวัดกิฟุในปัจจุบัน) ทางตอนเหนือ ในค.ศ. 1546 เมื่ออายุสิบสองปี คิปโปะชิผ่านพิธีเง็มปุกุได้รับชื่อว่า โอะดะ โนะบุนะงะ โนะบุฮิเดะบิดาร่วมกับมะซะฮิเดะผูกสัมพันธ์กับตระกูลไซโตแห่งแคว้นมิโนะ โดยการส่งมะซะฮิเดะเดินทางไปสู่ขอนางโน-ฮิเมะ (濃姫) บุตรสาวของไซโต โดซัง (斎藤道三) ไดเมียวผู้ปกครองแคว้นมิโนะ มาเป็นภรรยาของโนะบุนะงะ

นอกจากนี้โนะบุนะงะยังได้มีโอกาสได้สัมผัสกับอาวุธชนิดใหม่ในขณะนั้น คือ ปืน ซึ่งผลิตและนำเข้าโดยชาวโปรตุเกสที่เกาะทะเนะงะชิมะ ทางตอนใต้ของเกาะคีวชู

ในค.ศ. 1551 โนะบุฮิเดะผู้เป็นบิดาถึงแก่กรรม โนะบุนะงะได้อาละวาดกลางงานศพของบิดาของตน ทำให้บรรดาข้ารับใช้ของตระกูลโอะดะไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง และทำให้มะซะฮิเดะรู้สึกผิดอย่างมากที่ทำการสั่งสอนโนะบุนะงะไม่ดีพอ จึงกระทำการเซ็ปปุกุเสียชีวิตเพื่อชดใช้ความผิด เหตุการณ์นี้ทำให้โนะบุนะงะเสียใจอย่างมาก เมื่อขึ้นดำรงตำแหน่งไดเมียวแห่งโอะวะริ โนะบุนะงะยังคงอ่อนด้อยประสบการณ์ ทำให้การปกครองของแคว้นตกอยู่ในมือของโอะดะ โนะบุโตะโมะ (織田信友) ผู้ซึ่งมาจากสาขาย่อยของตระกูลโอะดะและเป็นผู้ปกครองปราสาทคิโยะซุ (清洲城) ในค.ศ. 1554 ชิบะ โยะชิมุเนะ (斯波義統) ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นชูโงแห่งแคว้นโอะวะริ (ได้รับการแต่งตั้งมาจากรัฐบาลโชกุนมุโระมะชิ) ทราบว่าโนะบุโตะโมะวางแผนลอบสังหารโนะบุนะงะ จึงนำความมาบอกแก่โนะบุนะงะ เมื่อโนะบุโตะโมะทราบว่าแผนของตนรั่วไหลจึงสังหารโยะชิมุเนะไป แต่ในปีต่อมาค.ศ. 1555 โนะบุนะงะได้ชิงลงมือทำการลอบสังหารโนะบุโตะโมะเสียก่อนที่ปราสาทคิโยะซุ

ปีต่อมาค.ศ. 1556 ไซโต โยะชิตะซึ (斎藤義龍) ทำการก่อกบฏต่อบิดาของตนคือไซโตโดซัง ไซโตโดซังขอให้โนะบุนะงะผู้เป็นลูกเขยยกทัพเข้าไปยังแคว้นมิโนะเพื่อช่วยเหลือตนแต่ไม่ทันการ โดซังถูกสังหารในที่รบและโยะชิตะซึจึงขึ้นเป็นไดเมียวแห่งมิโนะคนใหม่ ในปีเดียวกันนั้นเองน้องชายของโนะบุนะงะคือ โอะดะ โนะบุยุกิ (織田信行) ก่อกบฏหมายจะขึ้นเป็นผู้นำตระกูลโอะดะด้วยการสนับสนุนของชิบะตะ คะซึอิเอะ (柴田勝家) ฮะยะชิ ฮิเดะซะดะ (林秀貞) รวมทั้งมารดาของโนะบุนะงะเอง โนะบุนะงะสามารถเอาชนะทัพของน้องชายตนเองได้ในยุทธการอิโน (稲生の戦い) โนะบุนะงะไว้ชีวิตขุนพลทั้งสองแต่ต้องการที่จะสังหารโนะบุยุกิน้องชาย แต่ด้วยการร้องขอของมารดาโนะบุนะงะจึงได้ไว้ชีวิตโนะบุยุกิ ปรากฏว่าในปีต่อมาค.ศ. 1557 โนะบุยุกิวางแผนยึดอำนาจอีกครั้ง โนะบุนะงะจึงแสร้งป่วยเพื่อให้โนะบุยุกิมาเยี่ยมตนที่ปราสาทคิโยะซุ จากนั้นจึงได้สังหารโนะบุยุกิทิ้ง

ยุทธการโอะเกะฮะซะมะ

ในค.ศ. 1560 อิมะงะวะ โยะชิโมะโตะ (今川義元) ไดเมียวผู้ทะเยอทะยานแห่งตระกูลอิมะงะวะซึ่งปกครองดินแดนทางตะวันออกของโอะวะริ ต้องการที่จะยกทัพไปยึดอำนาจยังเมืองเกียวโต ซึ่งเส้นทางเดินทัพจะต้องผ่านแคว้นโอะวะริ ขุนพลคนสำคัญทั้งหลายแห่งตระกูลโอะดะต่างมีความเห็นว่าตระกูลอิมะงะวะมีกำลังอำนาจควรจะปล่อยให้เดินทัพผ่านโอะวะริไปโดยสวัสดิภาพ แต่โนะบุนะงะยืนกรานที่จะเข้าขัดขวางทัพของโยะชิโมะโตะ โดยทัพของโยชิโมโตะมีทหารกว่า 40,000 คน ขณะที่ทัพของโนบุนางะมีทหารเพียง 5,000 คน แต่โนบุนางะจึงคิดว่าถ้าจะสู้ให้ชนะก็ต้องจัดการกับตัวบงการก็คือทัพที่โยะชิโมะโตะอยู่นั่นเอง และในวันนั้นเองนับว่าโชคดีเป็นอย่างมากที่ฝนตก เพราะง่ายต่อการควบคุมคนจำนวนน้อยและยากต่อการควบคุมทัพขนาดใหญ่ ในระหว่างที่ทัพของโยะชิโมะโตะกำลังพักอยู่นั้นโนบุนางะใช้ทหารจำนวนกว่า 2,000 คนเท่านั้นบุกโจมตีทัพหลักอย่างไม่ทันตั้งตัว ในยุทธการโอะเกะฮะซะมะ (桶狭間の戦い) เป็นเหตุให้โยะชิโมะโตะถูกสังหาร เหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้โนะบุนะงะมีชื่อเสียงไปทั่วญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นเพียงแค่ไดเมียวของแคว้นเล็กแต่สามารถยับยั้งการยึดอำนาจของไดเมียวผู้ทรงอำนาจอย่างอิมะงะวะ โยะชิโมะโตะได้

ปีต่อมาค.ศ. 1561 ไซโต โยะชิตะซึ ไดเมียวแห่งมิโนะถึงแก่กรรม ไซโต ทะซึโอะกิ (斎藤龍興) ผู้เป็นบุตรชายอายุเพียงสิบสี่ปีและไร้ความสามารถขึ้นเป็นไดเมียวแห่งมิโนะคนต่อมา โนะบุนะงะเห็นเป็นโอกาสจึงนำทัพเข้ารุกรานแคว้นมิโนะ จนสามารถเข้ายึดปราสาทอินะบะยะมะ (稲葉山) อันเป็นที่มั่นของตระกูลไซโตได้ในค.ศ. 1567 ทำให้โนะบุนะงะสามารถเข้าครอบครองแคว้นมิโนะได้ แล้วจึงเปลี่ยนชื่อปราสาทใหม่เป็น ปราสาทกิฟุ (岐阜) จังหวัดกิฟุในปัจจุบัน โนะบุนะงะพำนักที่ปราสาทกิฟุ และประกาศนโยบายรวบรวมญี่ปุ่นที่แตกแยกออกเป็นแคว้นต่าง ๆ ให้เป็นหนึ่งเดียวภายใต้การปกครองของตน พร้อมคติพจน์ที่ว่า เท็งกะ ฟุบุ (天下布武) แปลว่า ปกครองแผ่นดินด้วยการทหาร

เส้นทางสู่เกียวโต

กล่าวถึงเหตุการณ์ในเมืองเกียวโต รัฐบาลโชกุนอะชิกะงะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของตระกูลมิโยะชิ ค.ศ. 1565 โชกุนอะชิกะงะ โยะชิเตะรุ (足利義輝) ได้ถูกสองขุนพลได้แก่ มะซึนะงะ ฮิซะฮิเดะ (松永久秀) และมิโยะชิ โยะชิซึงุ (三好義継) ยกทัพมาสังหารยังที่พัก โนะบุนะงะพำนักอยู่ที่ปราสาทกิฟุได้หนึ่งปี จนกระทั่งในค.ศ. 1568 อะชิกะงะ โยะชิอะกิ (足利義昭) ผู้เป็นน้องชายของโชกุนโยะชิเตะรุได้ร้องขอให้โนะบุนะงะยกทัพไปยังเกียวโตเพื่อทำการแก้แค้นให้แก่พี่ชายของตนโดยการสังหารขุนพลทั้งสอง

โนะบุนะงะจึงเตรียมการยกทัพไปยึดเมืองเกียวโต แต่เส้นทางเดินทัพไปยังเกียวโตต้องผ่านแคว้นโอมิ (近江) จังหวัดชิงะในปัจจุบัน ซึ่งมีไดเมียวตระกูลรกกะกุ (六角) ปกครองอยู่และปฏิเสธที่จะให้ทัพของโนะบุนะงะผ่านแคว้นของตน โนะบุนะงะจึงทำสงครามกับตระกูลรกกะกุและสามารถเอาชนะและกำจัดตระกูลรกกะกุออกไปได้ในเวลาอันรวดเร็ว และเดินทัพสามารถเข้ายึดเมืองเกียวโตได้ในฤดูหนาวค.ศ. 1568 ฮิซะฮิเดะและตระกูลมิโยะชิเข้าสวามิภักดิ์ต่อโนะบุนะงะ โนะบุนะงะจึงตั้งให้โยะชิอะกิเป็นโชกุนคนใหม่เพื่อที่จะเป็นหุ่นเชิดของตน จากความดีความชอบในการช่วยเหลือโชกุนโยะชิอะกิในครั้งนี้โนะบุนะงะได้รับข้อเสนอเป็นตำแหน่งในราชสำนักเกียวโตและในบะกุฟุซึ่งโนะบุนะงะปฏิเสธไปทั้งหมด และมีความเห็นว่าการเป็นผู้ชักใยอยู่เบื้องหลังที่แท้จริงนั้นสำคัญกว่าตำแหน่งทางพิธีการ

รวมอำนาจในภูมิภาคคันไซ

แต่ทว่าโชกุนโยะชิอะกิไม่พอใจการที่ตนตกอยู่ภายใต้อำนาจของโนะบุนะงะ และต้องการที่จะมีอำนาจเต็มในการปกครอง จึงได้ร้องขอไปยังอะซะกุระ โยะชิกะเงะ (朝倉義景) ไดเมียวแห่งแคว้นเอะจิเซง (จังหวัดฟุกุอิในปัจจุบัน) ให้ยกทัพมาขับไล่โนะบุนะงะออกจากเกียวโตและคืนอำนาจให้แก่โชกุน ความทราบถึงโนะบุนะงะ จึงส่งฮะชิบะ ฮิเดะโยะชิ (ต่อมาคือ โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ) นำทัพเข้าบุกแคว้นเอะจิเซงและเอาชนะตระกูลอะซะกุระได้ในยุทธการคะเนะงะซะกิ (金ヶ崎の戦い) ค.ศ. 1570

กล่าวถึงตระกูลอะซะกุระ มีพันธมิตรสำคัญเป็นตระกูลอะซะอิแห่งแคว้นโอมิ ซึ่งขณะนั้นมีผู้นำคือไดเมียวอะซะอิ นะงะมะซะ (浅井長政) ผู้เป็นน้องเขยของโนะบุนะงะเนื่องจากนะงะมะซะได้สมรสกับนางโออิจิ (ญี่ปุ่น: お市โรมาจิŌichi) ผู้เป็นน้องสาวของโนะบุนะงะ โนะบุนะงะคาดหวังว่านะงะมะซะจะเห็นแก่นางโออิจิไม่มาทำสงครามกับตน แต่นะงะมะซะเห็นแก่พันธมิตรกับตระกูลอะซะกุระจึงเข้าช่วยตระกูลอะซะกุระในการสงครามกับโนะบุนะงะ โนะบุนะงะสามารถเอาชนะทัพของทั้งสองตระกูลได้ในยุทธการอะเนะงะวะ (姉川の戦い) อีกสามปีต่อมา ค.ศ. 1573 โนะบุนะงะนำทัพเข้าล้อมปราสาทฮิกิดะ (疋壇城) ของโยะชิกะเงะ และปราสาทโอะดะนิ (ญี่ปุ่น: 小谷城โรมาจิOdani-jō) ของนะงะมะซะ และโนะบุนะงะสามารถเข้ายึดปราสาททั้งสองได้ในที่สุด โยะชิกะเงะหลบหนีไปยังปราสาทอิชิโจดะนิ (ญี่ปุ่น: 一乗谷城โรมาจิIchijōdani-jō) ส่วนนะงะมะซะกระทำการเซ็ปปุกุเสียชีวิต โนะบุนะงะยกทัพตามไปปิดล้อมปราสาทอิชิโจดะนิ จนกระทั่งเข้ายึดปราสาทได้ และโยะชิกะเงะกระทำการเซ็ปปุกุเสียชีวิตไปเช่นเดียวกับนะงะมะซะ

นอกจากนี้ โนะบุนะงะยังทำการปราบปรามกบฏอิกโก อิกกิ (ญี่ปุ่น: 一向一揆โรมาจิIkkō-ikki) อันเป็นการรวมตัวกันของพระสงฆ์และชาวบ้านท้องถิ่นเพื่อต่อต้านการปกครองของชนชั้นซะมุไร มีฐานที่มั่นอยู่ที่วัดฮงงัง (ญี่ปุ่น: 本願寺โรมาจิHongan-ji) บนเขาอิชิยะมะ (ญี่ปุ่น: 石山โรมาจิIshiyama) เมืองโอซะกะในปัจจุบัน ในค.ศ. 1570 โนะบุนะงะยกทัพเข้าทำการปิดล้อมเขาอิชิยะมะแต่ถูกทัพของอิกโก-อิกกิขับไล่ออกไปได้ ปีต่อมาค.ศ. 1571 โนะบุนะงะยกทัพเข้าโจมตีเมืองนะงะชิมะ (ญี่ปุ่น: 長島โรมาจิNagashima) จังหวัดมิเอะในปัจจุบัน อันเป็นฐานที่มั่นอีกแห่งหนึ่งของอิกโก-อิกกิ หลังการโจมตีหลายครั้งในที่สุดเมืองนะงะชิมะก็เสียให้แก่โนะบุนะงะในค.ศ. 1574 ในค.ศ. 1576 โนะบุนะงะยกทัพเข้าทำการปิดล้อมเขาอิชิยะมะอีกครั้ง จนกระทั่งโนะบุนะงะสามารถเข้ายึดวัดฮงงังบนเขาอิชิยะมะได้ในค.ศ. 1580 หลังจากการปิดล้อมอยู่นานถึงสี่ปี เป็นการปิดล้อมครั้งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น กบฏอิกโก-อิกกิจึงถูกปราบลงได้สำเร็จ

รวมทั้งโนะบุนะงะยังได้ทำการปราบโซเฮ (ญี่ปุ่น: 僧兵โรมาจิSōhei) หรือพระนักรบ อันเป็นกองกำลังทหารที่สำคัญในภูมิภาคคันไซมาแต่ยุคเฮอัง มีฐานที่มั่นที่วัดเองยะกุ (ญี่ปุ่น: 延暦寺โรมาจิEnryaku-ji) บนเขาฮิเอะอิ (ญี่ปุ่น: 比叡โรมาจิHiei) จังหวัดชิงะในปัจจุบัน เนื่องจากโซเฮได้ให้หารสนับสนุนแก่ตระกูลอะซะกุระและตจระกูลอะซะอิในการต่อต้านโนะบุนะงะ ในค.ศ. 1571 โนะบุนะงะเข้ายึดเขาฮิเอะอิ ทำการกวาดล้างพระนักรบไปจนหมดสิ้น และในค.ศ. 1573 โนะบุนะงะทำการปลดโชกุนอะชิกะงะ โยะชิอะกิ ออกจากตำแหน่ง ล้มเลิกระบอบการปกครองของโชกุน เป็นการสิ้นสุดรัฐบาลโชกุนมุโระมะชิที่มีมายาวนานถึงสองร้อยกว่าปี

รวมอำนาจในภูมิภาคตะวันออก

อาณาเขตภายใต้การปกครองของโอะดะ โนะบุนะงะ เมื่อถึงแก่กรรมค.ศ. 1582

หลังจากที่โนะบุนะงะวางรากฐานอำนาจในเมืองเกียวโตภูมิภาคคันไซได้อย่างมั่นคงแล้ว จึงหันความสนใจไปทางตะวันออก ในขณะนั้นภาคตะวันออกของญี่ปุ่นมีไดเมียวผู้ทรงอำนาจสองคนกำลังแย่งชิงความเป็นใหญ่ได้แก่ ทะเกะดะ ชิงเง็น (ญี่ปุ่น: 武田信玄โรมาจิTakeda Shingen) ไดเมียวแห่งแคว้นคะอิ (ญี่ปุ่น: 甲斐โรมาจิKai) จังหวัดยะมะนะชิในปัจจุบัน และอุเอะซุงิ เค็งชิง (ญี่ปุ่น: 上杉謙信โรมาจิUesugi Kenshin) ไดเมียวแห่งแคว้นเอะจิโงะ (ญี่ปุ่น: 越後โรมาจิEchigo) จังหวัดนิอิงะตะในปัจจุบัน ในค.ศ. 1572 โชกุนโยะชิอะกิได้ร้องขอให้ทะเกะดะชิงเง็นช่วยปราบโนะบุนะงะ ชิงเง็นจึงยกทัพเข้ารุกรานแคว้นโทะโตะมิ อันเป็นดินแดนของโทะกุงะวะ อิเอะยะซุ โนะบุนะงะจึงส่งอิเอะยะซุไปทำการปราบทะเกะดะชิงเง็๋น ปรากฏว่าประสบกับความพ่ายแพ้ราบคาบต่อตระกูลทะเกะดะในยุทธการมิกะตะงะฮะระ (ญี่ปุ่น: 三方ヶ原の戦いโรมาจิMikatagahara-no-tatakai) แต่โชคก็เข้าข้างโนะบุนะงะเมื่อชิงเง็นได้เสียชีวิตลงอย่างกะทันหันในปีต่อมาค.ศ. 1573 ทะเกะดะ คะซึโยะริ (ญี่ปุ่น: 武田勝頼โรมาจิTakeda Katsuyori) ไดเมียวแห่งคะอิคนใหม่ยังอายุน้อยขาดประสบการณ์ ได้ยกทัพตระกูลทะเกะดะเข้าปิดล้อมปราสาทนะงะชิโนะ (ญี่ปุ่น: 長篠城โรมาจิNagashino-jō) ของตระกูลโทะกุงะวะในค.ศ. 1575 แต่พ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิงในยุทธการนะงะชิโนะ

เมื่อโนะบุนะงะประสบความสำเร็จในภูมิภาคตะวันออก ทำให้ไดเมียวอุเอะซุงิ เค็งชิง เกรงว่าโนะบุนะงะจะแผ่ขยายอำนาจเข้าครอบงำภาคตะวันออกได้สำเร็จ จึงเข้าร่วมกับตระกูลทะเกะดะต่อต้านการขยายดินแดนของโนะบุนะงะ ด้วยการรุกรานแค้วนโนะโตะ (ญี่ปุ่น: 能登โรมาจิNoto จังหวัดอิชิกะวะในปัจจุบัน) โนะบุนะงะส่งขุนพลระดับสูงเข้าต้านทานในยุทธการเทะโดะริกะวะ (ญี่ปุ่น: 手取川の戦いโรมาจิTedorigawa-no-tatakai) ในค.ศ. 1577 ผลปรากฏว่าฝ่ายของโนะบุนะงะพ่ายแพ้ ตระกูลอุเอะซุงิเข้ายึดแคว้นโนะโตะได้ แต่ทว่าไดเมียวอุเอะซุงิเค็งชินได้ถึงแก่กรรมในอีกห้าเดือนต่อมาในค.ศ. 1578 ทำให้ไดเมียวผู้มีอำนาจเพียงพอที่จะต้านทานการรุกรานของโนะบุนะงะหมดสิ้นไป โนะบุนะงะจึงสามารถเข้าครอบครองญี่ปุ่นภาคตะวันออกได้ในที่สุด

การปกครอง

โอะดะ โนะบุนะงะ, ภาพสเก็ตช์โดย โจวันนี นีโกเลา (Giovanni Nicolao) นักบวชในคณะเยซูอิตชาวอิตาลีในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16

โนะบุนะงะเป็นผู้เริ่มก่อตั้ง "กองกำลังทหารอะชิงะรุ" ซึ่งมาจากบรรดาชาวบ้านธรรมดาที่อยากมีส่วนร่วมกับบ้านเมืองในการทำสงคราม ให้โอกาสผู้ที่อยากเป็นทหารแต่ไม่มีโอกาสได้เป็น ซึ่งจะแตกต่างจากไดเมียวคนอื่นๆ กองกำลังของโนะบุนะงะจึงเป็นกองทัพที่มาจากชาวบ้านธรรมดา ไม่เหมือนกองกำลังอื่นๆ ของไดเมียวที่มีแต่ซะมุไรจำนวนมาก กองกำลังอะชิงะรุแม้จะมาจากชาวบ้านธรรมดา แต่ทว่าพวกเขามาด้วยใจที่รักบ้านเมือง แตกต่างจากซะมุไรที่ทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง กองกำลังอะชิงะรุนั้นแม้มีศักยภาพในการทำสงครามไม่แพ้พวกซะมุไร แต่ก็แตกต่างกับซะมุไรผู้มีเกียรติและศักดิ์ศรีเป็นที่ตั้ง ที่ยอมพลีชีพในสงครามอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี ถ้าถูกจับตัวได้จะไม่มีการซัดทอดโดยเด็ดขาด ยอมแม้แต่จะเซ็ปปุกุตัวเองเพื่อไม่ต้องตายโดยน้ำมือผู้อื่น

กองกำลังอะชิงะรุพ่ายแพ้สงครามบ้างเป็นครั้งคราวเพราะความกลัวตาย ทำให้โนะบุนะงะต้องวางแผนในการทำสงครามใหญ่ ในระหว่างนั้นมีชาวโปรตุเกสเข้ามาติดต่อค้าขายกับญี่ปุ่น และเผยแผ่ศาสนาคริสต์และปืน อาวุธที่ช่างโปรตุเกสนำมาด้วย หลังจากได้ศึกษาปืนของชาวโปรตุเกสแล้ว โนะบุนะงะมองเห็นว่าอาวุธชนิดนี้สามารถสร้างกองกำลังที่แข็งแกร่งให้แก่ตนได้

ในปี ค.ศ. 1544 โนะบุนะงะก็สั่งให้ช่างชาวญี่ปุ่นแกะและสร้างปืนตามแบบฉบับของชาวโปรตุเกส โดยก่อตั้งโรงงานผลิตอาวุธขึ้น สั่งให้ช่างชาวญี่ปุ่นผลิตปืนขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ต่อมาเมื่อไดเมียวทั้งหลาย เห็นศักยภาพอาวุธปืนของโอะดะ ต่างพากันหันมาเปลี่ยนอาวุธจากเดิมคือดาบ ธนู หรือธนูเพลิง มาเป็นอาวุธปืนเช่นเดียวกับโนะบุนะงะแทบทั้งสิ้น เพราะอาวุธปืนนั้นสามารถฝึกฝนการใช้งานได้อย่างง่าย ไม่เหมือนกับดาบหรือธนูที่ต้องใช้ระยะเวลาฝึกฝนอย่างยาวนาน

แม้ศัตรูอย่าง อะชิคะงะ โยะชิอะกิ อดีตโชกุนผู้เป็นหุ่นเชิดของโนะบุนะงะจะถูกกำจัดไปแล้ว แต่โนะบุนะงะกลับยังมีศัตรูจำนวนมากที่เป็นปรปักษ์กับเขา หนึ่งในศัตรูตัวฉกาจของเขาคือพระ นักพรต และนักรบ พระนักรบและนักพรตจำนวนมากต่อต้านและท้าทายอำนาจของโนะบุนะงะ เขาทำสงครามกวาดล้างพระนักรบหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งการรบกันระหว่างพระนักรบและโนะบุนะงะครั้งที่สำคัญที่สุดคือ การบุกเข้าทำลายล้างสำนักสงฆ์ของพระนักรบบนเทือกเขาฮิเออัน ซึ่งเป็นพุทธสถานที่เก่าแก่ มีอายุหลายพันปี

ในการทำสงครามกวาดล้างสำนักสงฆ์ของกลุมกบฏอิคโค อิคิ โนะบุนะงะสั่งการให้กองกำลังทหารจำนวนมากกว่า 30,000 นาย เข้าโอบล้อมเทือกเขาฮิเออันก่อนจะตีโอบตะลุยขึ้นไปยังวัดซะกะโมะโตะ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ของอิคโค อิคิ และเป็นจุดศูนย์กลางของพระนักรบ และการกวาดล้างพระนักรบในครั้งนี้เองที่โนะบุนะงะได้แสดงความโหดร้ายออกมาอย่างชัดเจน เขาออกคำสั่งให้ฆ่าทุกคนที่อาศัยอยู่บนเทือกเขาฮิเออันจนหมดสิ้น ไม่เว้นแม้แต่ผู้หญิงหรือเด็กทารก สั่งให้กองกำลังทหารของตน เผาทำลายบ้านเรือนทุกหลังจนวอดวาย และให้กองกำลังทหารของเขาบุกโจมตีพระพุทธสถานแห่งอื่น ๆ ที่มีทีท่าว่าจะก่อการกบฏต่อเขา

จากการทำสงครามกับสำนักสงฆ์ที่โนะบุนะงะได้แสดงความเหี้ยมโหดออกมาอย่างชัดเจน ยิ่งทำให้ชื่อเสียงของเขากระฉ่อนไปทั่ว ถึงกระนั้นโนะบุนะงะก็ยังคงเป็นขุนพลนักรบที่มีวัสัยทัศน์กว้างไกล เขาไม่ได้ทำลายเมืองซะคะอิ ซึ่งเป็นเมืองท่าที่มีความสำคัญด้านเศรษฐกิจของญี่ปุ่น นอกจากไม่ทำลายแล้วยังยื่นมือเข้าช่วยเหลือแก่บรรดาพ่อค้าแม่ค้าที่ประกอบการค้าขายรายใหญ่ ๆ ของเมืองซะคะอิ เขาวางรากฐานของการค้าและเศรษฐกิจอย่างดี โดยให้สิทธิพิเศษแก่พ่อค้าแม่ค้าในด้านภาษีอากร ควบคุมการชั่ง การตวง และวัดสิ่งของให้ได้ตามระบบมาตรฐานของประเทศ ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นในขณะนั้นไม่ได้มีแต่ด้านมืดด้านเดียวอย่างที่ควรจะเป็น โอะดะ โนะบุนะงะอาจจะดูโหดร้าย สร้างศัตรูไว้มากมาย แต่เขาก็ยังสามารถยืนหยัดต่อสู้มาอย่างโชกโชน จวบจนวาระสุดท้ายของเขา ก่อนที่จะจบชีวิตลงด้วยน้ำมือของอะเกะชิ มิสึฮิเดะ

สิ้นสุดการปกครอง

โอะดะ โนะบุนะงะลงโทษอะเคะจิ มิสึฮิเดะ ต่อหน้าคณะขุนศึก, ภาพอุกิโยะสมัยเมจิ

ในช่วงค.ศ. 1576 - 1580 ระหว่างที่โนะบุนะงะทำการล้อมวัดอิชิยะมะบนเขาฮงอันอยู่นั้น ไดเมียวโมริ เทะรุโมะโตะ (ญี่ปุ่น: 毛利輝元โรมาจิMōri Terumoto) แห่งแคว้นอะกิ (ญี่ปุ่น: 安芸โรมาจิAki จังหวัดฮิโระชิมะในปัจจุบัน) ซึ่งกำลังเรืองอำนาจอยู่ในภูมิภาคชูโงะกุในขณะนั้น ได้ส่งเสบียงมาช่วยเหลือวัดอิชิยะมะทำให้วัดอิชิยะมะสามารถต้านทานการปิดล้อมของโนะบุนะงะได้ โนะบุนะงะจึงมีแผนการพิชิตตระกูลโมริแห่งชูโงะกุโดยแต่งตั้งให้ฮะชิบะ ฮิเดะโยะชิ (ญี่ปุ่น: 羽柴秀吉โรมาจิHashiba Hideyoshi ต่อมาคือโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ) เป็นผู้ยกทัพเข้ายึดครองภูมิภาคชูโงะกุในค.ศ. 1576 ระหว่างที่ทำสงครามเพื่อขยายดินแดนอยู่นั้น ในค.ศ. 1582 ฮิเดะโยะชิได้ขอกำลังเสริมจากโนะบุนะงะ โนะบุนะงะจึงมอบหมายให้อะเกะชิ มิสึฮิเดะ (ญี่ปุ่น: 明智光秀โรมาจิAkechi Mitsuhide) เป็นผู้นำกำลังเสริมไปช่วยเหลือฮิเดะโยะชิ ในฐานะผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของฮิเดะโยะชิ

อะเกะชิ มิซึฮิเดะ เป็นขุนพลระดับสูงของตระกูลโอะดะ ทำสงครามรับใช้โนะบุนะงะมานานมีผลงานมากมาย ใน ค.ศ. 1579 โนะบุนะงะสั่งการให้มิซึฮิเดะนำทัพบุกโจมตีปราสาทยะงะมิของตระกูลฮะตะโนะ (ญี่ปุ่น: 波多野โรมาจิHatano) ในเมืองเกียวโต แต่มิซึฮิเดะเลือกใช้วิธีเจรจา เชื่อว่ามิซึฮิเดะส่งมารดาของตนไปเป็นตัวประกัน แต่พวกฮะตะโนะคิดการจะลอบสังหารโนะบุนะงะแล้วแสร้งมาขอสวามิภักดิ์ โนะบุนะงะจึงสั่งประหารชีวิตคนเหล่านั้นทั้งหมด ส่งผลให้มารดาของมิซึฮิเดะต้องโดนสังหารไปด้วย มิซึฮิเดะจึงมีความเจ็บแค้นแล้วจำฝังใจเรื่อยมา[3]

การลอบสังหารโอะดะ โนะบุนะงะที่วัดฮนโนจิ, ภาพพิมพ์ในสมัยเมจิ

ในค.ศ. 1582 มิซึฮิเดะได้รับมอบหมายให้นำกำลังเสริมไปช่วยเหลือฮิเดะโยะชิในฐานะผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของฮิเดะโยะชิ ซึ่งเป็นการดูถูกมิซึฮิเดะอย่างมากด้วยเหตุที่มิซึฮิเดะมีตำแหน่งและอำนาจไม่ได้เป็นรองจากฮิเดะโยะชิ[4] เวลานั้น มิซึฮิเดะทราบว่าโนะบุนะงะเพิ่งเสร็จสิ้นจากงานเลี้ยงน้ำชาต้อนรับอิเอะยะซึ แล้วเดินทางพร้อมทหารองครักษ์ประจำตัวไม่ถึงร้อยคนไปพำนักอยู่ที่วัดฮนโน (ญี่ปุ่น: 本能寺โรมาจิHonnō-ji) ในเมืองเกียวโต ซึ่งอยู่ในเขตปกครองของโนะบุนะงะเอง ทำให้เขาประมาทและไม่ได้เตรียมตัวว่าจะโดนก่อกบฎหรือลอบโจมตี[5] มิซึฮิเดะแสร้งทำเป็นว่ายกทัพออกไปจากเมืองเกียวโตแต่กลับมาเข้าบุกโจมตีวัดฮนโน ฝ่ายโนะบุนะงะมีกองกำลังเพียงเล็กน้อยไม่สามารถต้านทานได้ ไม่มีใครพบร่างของโนะบุนะงะแต่คาดว่าโนะบุนะงะน่าจะกระทำการเซ็ปปุกุถึงแก่กรรมไปในวันฮนโนนั่นเอง โอะดะ โนะบุตะดะ (ญี่ปุ่น: 織田信忠โรมาจิOda Nobutada) บุตรชายคนโตของโนะบุนะงะถูกปิดล้อมอยู่ในวัดอีกแห่งหนึ่งในเกียวโตเช่นกัน และกระทำการเซ็ปปุกุเสียชีวิตไปเช่นเดียวกับบิดา

ฝ่ายฮิเดะโยะชิเมื่อทราบข่าวการลอบสังหารโนะบุนะงะ จึงรีบยุติสงครามในภูมิภาคชูโงะกุทันทีและรีบยกทัพมายังเมืองเกียวโตเพื่อทำการแก้แค้นให้แก่นายของตน ทัพของฮิเดะโยะชิและมิซึฮิเดะปะทะกันในยุทธการยะมะซะกิ (ญี่ปุ่น: 山崎の戦いโรมาจิYamazaki-no-tatakai) ในค.ศ. 1583 ฮิเดะโยะเป็นฝ่ายชนะและมิซึฮิเดะเสียชีวิตในที่รบ

เมื่อโอะดะ โนะบุนะงะ ถูกลอบสังหารที่วัดฮนโนพร้อมกับบุตรชายคนโตผู้เป็นทายาทสืบทอดตระกูล ทำให้ตระกูลโอะดะขาดทายาท บุตรชายคนที่สองและคนที่สามของโนะบุนะงะคือ โอะดะ โนะบุกะซึ (ญี่ปุ่น: 織田信雄โรมาจิOda Nobukatsu) และโอะดะ โนะบุตะกะ (ญี่ปุ่น: 織田信孝โรมาจิOda Nobutaka) ต่างต่อสู้แย่งชิงตำแหน่งผู้นำตระกูลโอะดะ แต่ทว่าอำนาจในการปกครองที่แท้จริงนั้นตกเป็นของฮะชิบะ ฮิเดะโยะชิ จนในค.ศ. 1584 ฮิเดะโยะชิสามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำของญี่ปุ่นแทนที่ตระกูลโอะดะได้สำเร็จ การปกครองญี่ปุ่นของตระกูลโอะดะเป็นเวลาเกือบ 20 ปีจึงสิ้นสุดลง และถูกลดสถานะลงเป็นเพียงไดเมียวตระกูลหนึ่ง

ครอบครัว

  • บิดา: โอะดะ โนะบุฮิเดะ (織田信秀 ค.ศ. 1510 - 1551)
  • มารดา: โดะตะ-โงเซ็ง (土田御前 ? - ค.ศ. 1594)
  • พี่น้อง:
    • โอะดะ โนะบุฮิโระ (織田信広 - ค.ศ. 1574)
    • โอะดะ โนะบุยุกิ (織田信行 ค.ศ. 1536 - 1557) มารดาเดียวกัน
    • โอะดะ โนะบุกะเนะ (織田信包 ค.ศ. 1543 - 1614) มารดาเดียวกัน
    • โอะดะ โนะบุฮะรุ (織田信治 ค.ศ. 1545 - 1570)
    • โอะดะ โนะบุโตะกิ (織田信時 - ค.ศ. 1556)
    • โอะดะ โนะบุโอะกิ (織田信興 - ค.ศ. 1570)
    • โอะดะ โนะบุตะกะ (織田信孝 - ค.ศ. 1555) มารดาเดียวกัน
    • โอะดะ ฮิเดะนะริ (織田秀成 - ค.ศ. 1574)
    • โอะดะ โนะบุเตะรุ (織田信照 - ค.ศ. 1610)
    • โอะดะ นะงะมะซุ (織田長益 ค.ศ. 1547 - 1622)
    • โอะดะ นะงะโตะชิ (織田長益 - ค.ศ. 1582)
    • โอะ-อินุ-โนะ-คะตะ (お犬の方 - ค.ศ. 1582) มารดาเดียวกัน
    • โอะ-อิจิ-โนะ-คะตะ (お市の方 ค.ศ. 1547 - 1583) มารดาเดียวกัน สมรสกับ อะซะอิ นะงะมะซะ และต่อมาสมรสกับ ชิบะตะ คะซึอิเอะ
  • ภรรยาเอก: โนฮิเมะ (濃姫) บุตรสาวของไซโต โดซัง (斎藤道三)
  • ภรรยาน้อย: อิโกะมะ คิซึโนะ (生駒吉乃) บุตรสาวของ อิโกะมะ อิเอะมุเนะ (生駒家宗)
    • บุตรชายคนที่ 1: โอะดะ โนะบุตะดะ (織田信忠 ค.ศ. 1557 - 1582)
    • บุตรชายคนที่ 2: โอะดะ โนะบุกะซึ (織田信雄 ค.ศ. 1558 - 1630) ไปเป็นบุตรบุญธรรมของ คิตะยะมะ โทะโมะฟุซะ (北畠具房)
    • บุตรสาวคนที่ 1: โทะกุ-ฮิเมะ (徳姫 ค.ศ. 1559 - 1636) สมรสกับมะซึไดระ โนะบุยะซุ (松平信康) บุตรชายของโทะกุงะวะ อิเอะยะซุ
  • ภรรยาน้อย: นางซะกะ (Saka)
    • บุตรชายคนที่ 3: โอะดะ โนะบุตะกะ (織田信孝 ค.ศ. 1558 - 1583)
  • ไม่ทราบมารดา
    • บุตรสาวคนที่ 2: ฟุยุ-ฮิเมะ (冬姫 ค.ศ. 1561 - 1641)
    • บุตรชายคนที่ 4: ฮะชิบะ ฮิเดะกะซึ (羽柴秀勝 ค.ศ. 1568 - 1586) บุตรบุญธรรมของโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ
    • บุตรสาวคนที่ 3: โอะดะ ฮิเดะโกะ (織田秀子 - ค.ศ. 1632)
    • บุตรสาวคนที่ 4: เอ-ฮิเมะ (永姫 ค.ศ. 1574 - 1623) สมรสกับ มะเอะดะ โทะชินะงะ บุตรชายของมะเอะดะ โทะชิอิเอะ

อ้างอิง

  1. ยศไกร ส.ตันสกุล, 2559, หน้า 4
  2. ยศไกร ส.ตันสกุล, 2559, หน้า 17-18
  3. ยศไกร ส.ตันสกุล, 2559, หน้า 249
  4. ยศไกร ส.ตันสกุล, 2559, หน้า 251
  5. ยศไกร ส.ตันสกุล, 2559, หน้า 252

บรรณานุกรม

  • ยศไกร ส.ตันสกุล (2559). โอดะ โนบุนางะ พลิกวิถีผู้นำญี่ปุ่น. สำนักพิมพ์แสงดาว. ISBN 9786163880918.