อาเกจิ มิตสึฮิเดะ
อาเกจิ มิตสึฮิเดะ | |||||
---|---|---|---|---|---|
明智 光秀 | |||||
ภาษาอาเกจิ มิตสึฮิเดะในสมัยเอโดะ | |||||
เจ้าแห่งปราสาทอูซายามะ | |||||
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 1570 – 1571 | |||||
ก่อนหน้า | โมริ โยชินาริ | ||||
ถัดไป | ไม่มี | ||||
เจ้าแห่งปราสาทซากาโมโตะ | |||||
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 1571 – 1582 | |||||
ถัดไป | นิวะ นางาฮิเดะ | ||||
ข้อมูลส่วนบุคคล | |||||
เกิด | ค.ศ. 1528 ปราสาททาระ, แคว้นมิโนะ, ประเทศญี่ปุ่น | ||||
เสียชีวิต | 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1582 แคว้นเซ็ตสึ ประเทศญี่ปุ่น | (53–54 ปี)||||
เชื้อชาติ | ญี่ปุ่น | ||||
คู่สมรส | สึมากิ ฮิโรโกะ | ||||
บุตร | อาเกจิ มิตสึโยชิ อาเกจิ ทามะ ลูกสาวคนอื่นอย่างน้อยหนึ่งคน | ||||
บุพการี |
| ||||
ความสัมพันธ์ | อาเกจิ ฮิเดมิตสึ (บุตรเขย) อาเกจิ มิตสึฮารุ (ลูกพี่ลูกน้อง) | ||||
ชื่อเล่น | จูเบ (十兵衛) โคเรโต ฮีวงะ โนะ คามิ (惟任日向守) | ||||
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |||||
รับใช้ | ตระกูลโทกิ ตระกูลไซโต รัฐบาลโชกุนอาชิกางะ ตระกูลโอดะ | ||||
หน่วย | ตระกูลอาเกจิ | ||||
ผ่านศึก | ยุทธการที่นางารางาวะ ยุทธการที่เขาฮิเอ ยุทธการที่อิชิยามะ ฮงงังจิ ยุทธการที่คูโรอิ ยุทธการที่เทโดริงาวะ ยุทธการที่ยากามิ การล้อมฮนโนจิ ยุทธการที่ยามาซากิ | ||||
ชื่อภาษาญี่ปุ่น | |||||
คันจิ | 明智 光秀 | ||||
ฮิรางานะ | あけち みつひで | ||||
| |||||
อาเกจิ มิตสึฮิเดะ (ญี่ปุ่น: 明智 光秀; โรมาจิ: Akechi Mitsuhide ค.ศ. 1528 – 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1582)[1] เป็นขุนพลซามูไรในยุคเซ็งโงกุที่เป็นที่รู้จักจากการลอบสังหารโอดะ โนบูนางะ
มิตสึฮิเดะเป็นผู้รักษาความปลอดภัยให้กับอาชิกางะ โยชิอากิและต่อมาไดเมียวโนบูนางะในช่วงสงครามทางการเมืองในการรวมประเทศญี่ปุ่น มิตสึฮิเดะก่อกบฏต่อโนบูนางะโดยไม่ทราบเหตุผลตอนการล้อมฮนโนจิใน ค.ศ. 1582 ทำให้โนบูนางะที่ไม่มีใครรักษาความปลอดภัยต้องทำเซ็ปปูกุที่เกียวโต
มิตสึฮิเดะพยายามก่อตั้งตนเองเป็นโชกุน แต่ถูกโทโยโตมิ ฮิเดโยชิ ผู้สืบทอดของโนบูนางะไล่ตาม และเอาชนะเขาที่ยุทธการที่ยามาซากิ การปกครองระยะสั้นของมิตสึฮิเดะกลายเป็นแรงบันดาลใจในสุภาษิตโยจิจูกูโงะ (ญี่ปุ่น: 三日天下; โรมาจิ: mikkatenka; ทับศัพท์: มิกกาเต็นกะ, แปลว่า อายุสั้น)[2][3][4]
เขายังคงเป็นที่นิยมในวัฒนธรรมปัจจุบัน โดยมีการจัดพิธีในวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 2018 ที่เกียวโต[5]
ประวัติ
[แก้]อาเกจิ จูเบะ มิตสึฮิเดะ สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดในวันที่ 10 มีนาคม ปี พ.ศ. 2079 ที่แคว้นมิโนะ ซึ่งปกครองโดยไดเมียวไซโต โดซะแห่งมิโนะ ประวัติเกี่ยวกับเขาในช่วงวัยเด็กไม่เป็นที่แน่ชัด รู้แต่เพียงว่าเขาเป็นบุรุษผู้มากด้วยความสามารถทั้งในด้านบู๊และบุ๋น มีความรอบรู้ทางด้านการปกครองและด้านการทหาร รวมไปถึงฝีมือด้านเพลงดาบและอาวุธปืนชนิดหาตัวจับยาก บวกกับท่วงท่าที่สง่างามทำให้ได้เป็นขุนพลคนสนิทของไดเมียวไซโตอย่างไม่ยากเย็น
ต่อมาไดเมียวไซโตถูกบุตรชายสังหาร ทำให้มิตสึฮิเดะต้องหนีไปเข้าร่วมกับโชกุนอาชิกางะ โยชิอากิที่เกียวโต ซึ่งในขณะนั้น เกิดก่อกบฏขึ้นในเมืองหลวง ทำให้อาชิกางะต้องคนไปขอความช่วยเหลือจากโนบูนางะ ทำให้มิตสึฮิเดะได้มีโอกาสรู้จักกับโนบูนางะ และได้กลายมาเป็นขุนพลคนสำคัญของโนบูนางะในภายหลัง
อาเกจิ มิตสึฮิเดะเป็นผู้บัญชาการกองทัพของโอดะ โนบูนางะ ในสงครามต่าง ๆ ในหลายต่อหลายครั้ง รวมไปถึงสงครามระหว่างกองทัพอาซากูระ-อาซาอิกับกองทัพโนบูนางะที่คาเนงาซากิและยุทธการภูเขาฮิเอ อันเป็นศูนย์กลางของกลุ่มพระนักรบอิกกะ-อิกกิ มิตสึฮิเดะก็เป็นหนึ่งในขุนพลที่เข้าร่วมในศึกครั้งนี้ด้วย
แม้มิตสึฮิเดะจะได้รับความดีความชอบจากโอดะ โนบูนางะ แต่กระนั้นจุดเปลี่ยนสำคัญก็ได้เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1579 เมื่อมิตสึฮิเดะได้รับคำสั่งให้บุกปราสาทยางามิที่ฮาตาโนะ ฮิเดฮารุครอบครองอยู่ มิตสึฮิเดะไม่ต้องการให้มีการนองเลือดเกิดขึ้น จึงไปเจรจากับฮิเดฮารุให้ยอมจำนนต่อโนบูนางะ โดยส่งมารดาไปเป็นตัวประกัน เพื่อแลกกับการให้ฮิเดฮารุยอมสวามิภักดิ์ต่อโนบูนางะ แต่ทว่า เหตุการณ์กลับพลึกผันเมื่อโนบูนางะได้สังหารฮิเดฮารุและพวกพ้อง รวมไปถึงมารดาของมิตสึฮิเดะ สร้างความแค้นต่อมิตสึฮิเดะเป็นอย่างมาก จนนำไปสู่แผนลอบสังหารโนบูนางะที่วัดฮนโนในปี ค.ศ. 1582 หลังจากนั้น มิตสึฮิเดะก็ตั้งตนเป็นใหญ่เหนือกองทัพโนบูนางะ แต่หลังจากนั้นเพียง 13 วัน เขาก็ถูกสังหารโดยโทโยโตมิ ฮิเดโยชิ ในวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1582
มีตำนานกล่าวว่าอาเกจิ มิตสึฮิเดะสามารถหนีไปได้และหนีไปออกบวชพระสงฆ์นามว่าเท็งไก และเชื่อว่าเท็งไกผู้นี้คือที่ปรึกษาของโทกูงาวะ อิเอยาซุในภายหลัง แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นเรื่องจริงแต่อย่างใด
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Turnbull, Stephen (1998). The Samurai Sourcebook. Cassell & Co. p. 212. ISBN 1854095234.
- ↑ According to the Sanseido reference, 三日 should be understood not literally as three days, but as "ごく短い期間", e.g. an exceptionally short period of time
- ↑ "三日天下" [Mikkatenka]. 広辞苑第六版 (Koujien, 6th edition) (ภาษาญี่ปุ่น). 株式会社岩波書店 (Iwanami Shoten, Inc.). 2008.
- ↑ 三日天下 [Mikkatenka]. 新明解四字熟語時点 (Shinmeika Yojijukugo Jiten) (ภาษาญี่ปุ่น). 三省堂(Sanseidō). สืบค้นเมื่อ 5 Sep 2013.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-13. สืบค้นเมื่อ 2021-11-01.