ข้ามไปเนื้อหา

พระพรหมวชิรมุนี (เชิด จิตฺตคุตฺโต)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระพรหมวชิรมุนี

(เชิด จิตฺตคุตฺโต)
ส่วนบุคคล
เกิด17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484 (83 ปี)
นิกายมหานิกาย
การศึกษานักธรรมชั้นเอก, เปรียญธรรม 9 ประโยค
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
อุปสมบท5 พฤษภาคม พ.ศ. 2505
พรรษา63
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
กรรมการมหาเถรสมาคม
ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 4
ที่ปรึกษาแม่กองธรรมสนามหลวง
รองหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 3

พระพรหมวชิรมุนี นามเดิม เชิด ฤกษ์ภาชนี ฉายา จิตฺตคุตฺโต เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏ,เจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ,กรรมการมหาเถรสมาคม,ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 4,ที่ปรึกษาแม่กองธรรมสนามหลวง ,รองหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 3,ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

ประวัติ

[แก้]

พระพรหมวชิรมุนี มีนามเดิมว่า เชิด นามสกุล ฤกษ์ภาชนี เกิดเมื่อวันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484 ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเส็ง ตำบลรางจระเข้ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย

เรียนจบชั้นประถมปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดรางจระเข้ เมื่อปีพ.ศ. 2497 ต่อมาเมื่ออายุได้ 13 ปี จึงได้บรรพชา เป็นสามเณรเมื่อวันเสาร์ที่ 7 ก.ค. 2497 ณ วัดรางจระเข้ ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีพระครูปริยัติคุณูปการ (วาสน์ ธมฺมโชโต) เจ้าอาวาสวัดบ้านแพน เจ้าคณะตำบลบ้านแพน เป็นพระอุปัชฌาย์

เรียนพระปริยัติธรรมกับหลวงลุงโก๋ ปีพ.ศ. 2498 สอบได้นักธรรมชั้นตรี ก่อนย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดบางกระทิง และสอบได้นักธรรมชั้นโท

จากนั้นมาอยู่กับพระสุเมธมุนี (มังกร กัสสโป) อดีตเจ้าอาวาสวัดบางหลวง จังหวัดปทุมธานี สอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค

ครั้นอายุครบ 21 ปี เข้าพิธีอุปสมบท เป็นพระภิกษุพัทธสีมาอุโบสถวัดรางจระเข้ โดยมีพระครูพิศิษฐ์สังฆการ (สมบูรณ์ อิสิญาโณ) เจ้าอาวาสวัดบางกระทิง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระสุเมธมุนี (มังกร กสฺสโป) เจ้าอาวาสวัดบางหลวง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการกุหลาบ ธมฺมสุทฺโธ เจ้าอาวาสวัดรางจระเข้ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายานามว่า จิตตฺคุตฺโต แล้วกลับไปจำพรรษาที่วัดบางหลวง ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้เปรียญธรรม 7 ประโยค เป็นครูสอนบาลีในสำนักวัดบางหลวง จังหวัดปทุมธานี ต่อมาศึกษาต่อที่วัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร จนสำเร็จการศึกษาเปรียญธรรม 9 ประโยค ในนามสำนักเรียนวัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร นับเป็นเปรียญธรรม 9 ประโยค รูปที่ 5 ของวัดสุทัศนเทพวราราม

ต่อมาได้สนองงานสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จนฺทสิริ) และสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภทฺทจารี) วัดสุทัศนเทพวราราม ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2511-2559 โดยเป็นเลขานุการเจ้าคณะภาค เลขานุการวัดสุทัศนเทพวราราม เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม เป็นพระอุปัชฌาย์ เป็นรองหัวหน้าพระธรรมทูต สายที่ 3[1] ปี 2559 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดสุทัศนเทพวราราม[2]

วิทยฐานะ

[แก้]

ตำแหน่งการปกครอง

[แก้]
  • เป็นเลขานุการเจ้าคณะภาค ๒
  • เป็นเลขานุการเจ้าคณะภาค ๑
  • เป็นเลขานุการวัดสุทัศนเทพวราราม
  • เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม
  • เป็นรองเจ้าคณะภาค ๔ (ฝ่ายการศึกษา)
  • เป็นพระอุปัชฌาย์ ประเภทวิสามัญ
  • เป็นเจ้าคณะภาค ๔ (นครสวรรค์ กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์)
  • เป็นเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
  • เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะภาค ๔
  • เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม
  • เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๔

งานด้านศึกษา

[แก้]
  • เป็นกรรมการตรวจใบตอบธรรมสนามหลวง
  • เป็นกรรมการตรวจใบตอบบาลีสนามหลวง
  • เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี สำนักเรียนวัดสุทัศนเทพวราราม
  • เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ณ ศูนย์การศึกษาพระปริยัติธรรม วัดเกาะราษฎร์ศรัทธาธรรม อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • เป็นผู้ช่วยประธานกรรมการและเป็นอาจารย์สอนโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดสุทัศนเทพวราราม
  • เป็นอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดสุทัศนเทพวราราม
  • เป็นเลขานุการ เจ้าสำนักเรียนวัดสุทัศนเทพวราราม
  • เป็นรองประธานกรรมการบริหารโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดสุทัศนเทพวราราม
  • เป็นประธานกรรมการบริหารโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดสุทัศนเทพวราราม
  • เป็นกรรมการบริหารการศึกษา สำนักเรียนวัดสุทัศนเทพวราราม
  • เป็นประธานกรรมการบริหารการศึกษา สำนักเรียนวัดสุทัศนเทพวราราม
  • เป็นกรรมการยก-ร่างเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง ของกองบาลีสนามหลวง
  • เป็นรองแม่กองธรรมสนามหลวง (ฝ่ายธรรมศึกษา)
  • เป็นประธานกรรมการยก-ร่าง ข้อสอบธรรมศึกษาของกองธรรมสนามหลวง
  • เป็นผู้อำนวยการกองตรวจธรรมสนามหลวงชั้นโท ส่วนภูมิภาค (ทุกหน)
  • เป็นประธานกรรมการปรับปรุงหลักสูตรธรรมศึกษาชั้นตรี โท เอก ของกองธรรมสนามหลวง
  • เป็นเจ้าสำนักเรียนวัดสุทัศนเทพวราราม
  • เป็นที่ปรึกษาแม่กองธรรมสนามหลวง
  • เป็นรองแม่กองธรรมสนามหลวง (ฝ่ายวิชาการ)

สมณศักดิ์

[แก้]
  • พ.ศ. 2518 เป็นพระครูปลัดสุวัฒนวิสุทธิคุณ ฐานานุกรมในพระวิสุทธิวงศาจารย์ (เสงี่ยม จนฺทสิริมหาเถร)
  • พ.ศ. 2520 เป็นพระครูปลัดสัมพิพัฒนธุตาจารย์ ฐานานุกรมในสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จนฺทสิริมหาเถร)
  • พ.ศ. 2523 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ที่ พระศรีวราภรณ์
  • พ.ศ. 2537 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชวิสุทธิดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
  • พ.ศ. 2543 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพวิมลโมลี ศรีปริยัติดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
  • พ.ศ. 2548 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมรัตนดิลก สาธกศาสนธรรม คัมภีรปัญญาโสภิต ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
  • 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 สถาปนาขึ้นเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีราชทินนาตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า พระวิสุทธาธิบดี ศรีธรรมสาธก ดิลกปัญญาโกศล วิมลธรรมโวทานธารี ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3]
  • 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ได้รับพระราชทานราชทินนาม เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า พระพรหมวชิรมุนี ศรีธรรมสาธก ดิลกปัญญาโกศล วิมลธรรมโวทานธารี ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]

อ้างอิง

[แก้]