สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จนฺทสิริ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระพุฒาจารย์

(เสงี่ยม จนฺทสิริ)
คำนำหน้าชื่อท่านเจ้าประคุณ
ส่วนบุคคล
เกิด5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443 (82 ปี 356 วัน ปี)
มรณภาพ27 มกราคม พ.ศ. 2526
นิกายมหานิกาย
การศึกษานักธรรมชั้นเอก, เปรียญธรรม 6 ประโยค
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
บรรพชา25 มีนาคม พ.ศ. 2461
อุปสมบท12 มิถุนายน พ.ศ. 2464
พรรษา61
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ

สมเด็จพระพุฒาจารย์ นามเดิม เสงี่ยม วิโรทัย ฉายา จนฺทสิริ เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย เจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร เจ้าคณะจังหวัดนนทบุรี เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ และกรรมการมหาเถรสมาคม

ประวัติ[แก้]

ชาติภูมิ[แก้]

สมเด็จพระพุฒาจารย์ มีนามเดิมว่า เสงี่ยม วิโรทัย เกิดเมื่อวันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443 เป็นบุตรของนายเขียว-นางประกอบ วิโรทัย ภูมิลำเนาอยู่ตำบลหันสัง อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ศึกษาที่โรงเรียนประชาบาลจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จึงช่วยบิดาทำนา จนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2460 จึงย้ายมาอยู่กับพระอาจารย์ทอง คณะ 5 วัดสุทัศนเทพวราราม

อุปสมบท[แก้]

แล้วบวชเป็นสามเณรในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2461 โดยมีพระมงคลราชมุนี (ผึ่ง ปุปฺผโก) เป็นพระอุปัชฌาย์

เมื่ออายุครบบวชจึงได้อุปสมบทในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2464 ณ วัดสุทัศนเทพวราราม โดยมีพระพรหมมุนี (แพ ติสฺสเทโว) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมงคลราชมุนี (ผึ่ง ปุปฺผโก) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระราชเวที (นาค สุมนนาโค) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาทางธรรมว่า จนฺทสิริ

การศึกษา[แก้]

ท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรมต่อจนสอบได้ตามลำดับดังนี้

สมณศักดิ์[แก้]

  • พ.ศ. 2482 ได้รับแต่งตั้งจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (แพ ติสฺสเทโว) สมเด็จพระสังฆราช ให้ดำรงตำแหน่งฐานานุกรมที่ พระครูจุลคณานุศาสน์ วิจารโณภาสภาคยคุณ สุนทรสังฆานุคุตติ วิสุทธิสังฆนายก ปิฎกธรรมรักขิต พระครูปลัดซ้าย
  • พ.ศ. 2483 ได้รับแต่งตั้งจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (แพ ติสฺสเทโว) สมเด็จพระสังฆราช ให้ดำรงในตำแหน่งฐานานุกรมที่ พระครูมหาคณานุสิชฌน์ สังฆอิศริยาลังการ วิจารณโกศล วิมลสังฆนายก ปิฎกธรรมรักขิต พระครูปลัดขวา
  • 1 มีนาคม พ.ศ. 2489 เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระศรีสมโพธิ[2]
  • พ.ศ. 2490 เป็นพระราชาคณะเสมอชั้นราช ในราชทินนามเดิม
  • พ.ศ. 2498 เป็นพระราชาคณะเสมอชั้นเทพ ในราชทินนามเดิม
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2502 เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมวิสุทธาจารย์ สุทัศนวิหารกิจบริรักษ์ อัครวโรปการ ธรรมภาณคุณธาดา มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2511 ได้รับสถาปนาเป็นรองสมเด็จพระราชาคณะที่ พระวิสุทธิวงศาจารย์ ญาณทัศโนดม พรหมจริยาธิมุต วิสุทธิธัมมานุจารี ตรีปิฎกคุณาลังการวิภูษิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2520 ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ อเนกสถานปรีชา สัปตวิสุทธิจริยาสมบัติ นิพัทธธุตคุณ สิริสุนทรพรตจาริก อรัญญิกมหาปริณายก ตรีปิฎกโกศล วิมลคัมภีรญาณสุนทร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี[5]

มรณภาพ[แก้]

สมเด็จพระพุฒาจารย์ มรณภาพเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2526[6] สิริอายุ 82 ปี 356 วัน พรรษา 61 ได้รับพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2526 เวลา 17.00 น.

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒, หน้า 154
  2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์, เล่ม 63, ตอน 15 ง, 19 มีนาคม 2489, หน้า 357
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 76, ตอน 115 ง ฉบับพิเศษ, 16 ธันวาคม 2502, หน้า 2
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 85, ตอน 122 ก ฉบับพิเศษ, 31 ธันวาคม 2511, หน้า 1-6
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 95, ตอน 34 ก ฉบับพิเศษ, 27 มีนาคม 2521, หน้า 4-8
  6. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒, หน้า 156
บรรณานุกรม
  • กรมศิลปากร. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 450 หน้า. ISBN 974-417-530-3
  • กิตฺติวุฑฺโฒ ภิกฺขุ. ตายแล้วไปไหนและของดีจากเปรต. กรุงเทพฯ : มูลนิธิอภิธรรมมหาธาตุวิทยาลัย, 2526. 230 หน้า. [พิมพ์เป็นธรรมานุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (จนฺทสิริมหาเถร)]


ก่อนหน้า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จนฺทสิริ) ถัดไป
สมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณโก)
เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ
(พ.ศ. 2516 — พ.ศ. 2526)
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สุวรรณ สุวณฺณโชโต)