ข้ามไปเนื้อหา

ผู้สำเร็จราชการแคนาดา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผู้สำเร็จราชการแห่งแคนาดา
Governor-general of Canada
Gouverneur général du Canada
ตราประจำตำแหน่ง
ธงประจำตำแหน่ง
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
แมรี ไซมอน
ตั้งแต่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 2021
อุปราช
การเรียกขานฯพณฯ
เดอะไรต์ออนะระเบิล
จวนริโดฮอลล์, ออตตาวา
ลาซิตาเดล, ควิเบก
ผู้เสนอชื่อนายกรัฐมนตรี
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์
วาระตามพระราชอัธยาศัย
สถาปนา1 กรกฎาคม ค.ศ. 1867
คนแรกชาลส์ มอนค์
ไวเคานต์ที่ 4 แห่งมอนค์
เงินตอบแทน288,900 ดอลลาร์แคนาดา
เว็บไซต์www.gg.ca

ผู้สำเร็จราชการแคนาดา (อังกฤษ: Governor General of Canada; ฝรั่งเศส: Gouverneure générale du Canada[n 1]) คืออุปราชแห่งสหพันธ์รัฐแคนาดา ผู้สำเร็จราชการแทนสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร พระมหากษัตริย์แคนาดาพระองค์ปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจากแคนาดามีประมุขแห่งรัฐร่วมกับประเทศเครือจักรภพอีก 15 ประเทศ ซึ่งก็คือพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรผู้ทรงมีถิ่นพำนักหลักอยู่ในสหราชอาณาจักร ดังนั้นพระมหากษัตริย์แคนาดาจึงทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนตามคำกราบบังคมทูลของนายกรัฐมนตรีแห่งแคนาดา[1] ขึ้นมารับผิดชอบพระราชกรณียกิจตามรัฐธรรมนูญและพระราชกรณียกิจเชิงพิธีการส่วนมากแทนพระองค์ โดยระยะเวลาการดำรงตำแหน่งไม่ได้จำกัดไว้อย่างชัดเจนหรือเรียกได้ว่าเป็นระยะเวลา ตามแต่พระราชอัธยาศัย (at Her Majesty's pleasure) ซึ่งตามธรรมเนียมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแล้ว ผู้ดำรงตำแหน่งมักจะมีวาระอยู่ประมาณ 5 ปี นอกจากนี้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1959 เป็นต้นมา ผู้ดำรงตำแหน่งจะสลับสับเปลี่ยนกันไปมาระหว่างชาวแคนาดาผู้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ (Anglophone) และชาวแคนาดาผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ (Francophone) ซึ่งผู้สำเร็จราชการสามารถติดต่อกับองค์พระประมุขได้โดยตรงไม่ว่าจะประทับอยู่ ณ ที่ใดก็ตาม[2]

ตำแหน่งนี้มีที่มาสืบย้อนกลับไปได้ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 ตั้งแต่การปกครองแบบอาณานิคมสมัยนิวฟรานซ์และอเมริกาเหนือของอังกฤษ (บริติชนอร์ทอเมริกา) ทำให้ตำแหน่งนี้เป็นสถาบันที่ดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องยาวนานที่สุดในแคนาดา[3] โดยที่รูปแบบในปัจจุบันของตำแหน่งนี้ถือกำเนิดขึ้นจากพระราชบัญญัติอเมริกาเหนือของอังกฤษ (British North America Act) และการก่อตั้งสมาพันธรัฐแคนาดา (Canadian Confederation) ในปี ค.ศ. 1867 ซึ่งได้นิยามตำแหน่งผู้แทนพระองค์นี้ไว้ว่าเป็น "ผู้สำเร็จราชการโดยคำแนะนำของสภาองคมนตรี"[4] อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งนี้ก็ยังถือว่าเป็นผู้แทนของรัฐบาลสหราชอาณาจักรผ่านกลไกตามกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เรียกว่า คิงอินเคาน์ซิล หรือ ควีนอินเคาน์ซิล ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นสตรี (King-in-Council; Queen-in-Council) เรื่อยไปจนกระทั่งรัฐบาลสหราชอาณาจักรเริ่มลดบทบาทในการปกครองแคนาดาลงและมีการออกพระราชบัญญัติเวสต์มินสเตอร์ในปี ค.ศ. 1931[5][6] ที่กำหนดให้ผู้สำเร็จราชการคือผู้แทนส่วนพระองค์ทางตรงของพระมหากษัตริย์แคนาดา หรือ เดอะมอนาร์กอินฮีสคะเนเดียนเคาน์ซิล (the monarch in his Canadian council)[7][8] ในช่วงที่แคนาดาเริ่มได้รับเอกราชเป็นของตนเองนี้ บทบาทหน้าที่ของผู้สำเร็จราชการก็เพิ่มมากขึ้น เช่น ในปี ค.ศ. 1904 มีการออกพระราชบัญญัติทหาร (Militia Act) ซึ่งให้อำนาจผู้สำเร็จราชการใช้ยศทางทหารเป็น ผู้บัญชาการสูงสุดแห่งกองทัพแคนาดา[9] ในพระนามาภิไธยของพระประมุขผู้ทรงเป็นผู้บัญชาการสูงสุดโดยแท้จริง[10] ต่อมาในปี ค.ศ. 1927 ผู้สำเร็จราชการจึงเริ่มปฏิบัติหน้าที่เยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการครั้งแรก[11][12] และในปี ค.ศ. 1947 สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 ออกพระราชสาส์นตราตั้งอนุญาตให้ผู้สำเร็จราชการเป็นผู้ใช้พระราชอำนาจส่วนมากของพระองค์ได้ นอกจากนี้พระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1982 ยังกำหนดไว้ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญของฝ่ายนิติบัญญัติใด ๆ ที่กระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ (the Crown) รวมถึงสำนักผู้สำเร็จราชการ จำเป็นต้องได้รับมติเห็นชอบโดยเอกฉันท์จากทั้งฝ่ายนิติบัญญัติท้องถิ่นของแต่ละรัฐและจากรัฐสภาแคนาดา

ผู้สำเร็จราชการคนปัจจุบันคือ แมรี่ ไซมอน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 2021 และเข้าสาบานตนเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 2021 ซึ่งดำรงตำแหน่งต่อจาก จูลี พาแย็ต ที่ซึ่งได้ลาออกจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 2021

หมายเหตุ

[แก้]
  1. หากผู้ดำรงตำแหน่งนี้เป็นเพศชาย ชื่อเรียกในภาษาฝรั่งเศสคือ Gouverneur général du Canada

อ้างอิง

[แก้]
  1. The Royal Household. "The Queen and the Commonwealth > Queen and Canada > The Queen's role in Canada". Queen's Printer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-20. สืบค้นเมื่อ 2 June 2009.
  2. The Royal Household. "Queen and Canada: The role of the Governor-General". Queen's Printer. สืบค้นเมื่อ 28 May 2009.
  3. MacLeod, Kevin S. (2008). A Crown of Maples (PDF) (1 ed.). Ottawa: Queen's Printer for Canada. p. 34. ISBN 978-0-662-46012-1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 March 2009.
  4. Victoria (1867), Constitution Act, 1867, III.13, Westminster: Queen's Printer (ตีพิมพ์ 29 March 1867), สืบค้นเมื่อ 15 January 2009
  5. MacLeod 2008, pp. 34–35
  6. Public Works and Government Services Canada. "Parliament Hill > The History of Parliament Hill > East Block > Office of the Governor General". Queen's Printer for Canada. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2011. สืบค้นเมื่อ 3 June 2009.
  7. MacLeod 2008, p. 35
  8. Department of Canadian Heritage (2008). Canada: Symbols of Canada. Ottawa: Queen's Printer for Canada. p. 3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 February 2015.
  9. Office of the Governor General of Canada. "Commander in Chief". Queen's Printer for Canada. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2007. สืบค้นเมื่อ 5 November 2007.
  10. Victoria 1867, III.15
  11. Hubbard, R.H. (1977). Rideau Hall. Montreal and London: McGill-Queen's University Press. p. 166. ISBN 978-0-7735-0310-6.
  12. Office of the Governor General of Canada. "Governor General > Former Governors General > The Marquess of Willingdon". Queen's Printer for Canada. สืบค้นเมื่อ 28 May 2009.

เนื้อหาเพิ่มเติม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]