ปัฏนา
ปัฏนา | |
---|---|
นคร | |
พิกัด: 25°36′40″N 85°08′38″E / 25.611°N 85.144°E | |
ประเทศ | อินเดีย |
รัฐ | พิหาร |
ภูมิภาค | มคธี |
ปรมณฑล | ปัฏนา |
อำเภอ | ปัฏนา |
แขวง | 72 |
การปกครอง | |
• ประเภท | นครนิคม (เทศบาลนคร) |
• องค์กร | ปัฏนานครนิคม |
• นายกเทศมนตรี | Afzal Imam |
ความสูง | 53 เมตร (174 ฟุต) |
ประชากร (2011)[1] | |
• นคร | 1,683,200 คน |
• ความหนาแน่น | 1,803 คน/ตร.กม. (4,670 คน/ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล[2] | 2,046,652 คน |
• Metro rank | 18th IN |
ภาษา | |
• ทางการ | ภาษาฮินดี ภาษามคธี ภาษาอังกฤษ |
เขตเวลา | UTC+5:30 (เวลามาตรฐานอินเดีย) |
รหัสไปรษณีย์ | 80 XXXX |
รหัสโทรศัพท์ | +91-612 |
รหัส ISO 3166 | IN-BR-PA |
ทะเบียนพาหนะ | BR 01 |
Sex ratio | 1.13 [1] ♂/♀ |
อัตราไม่รู้หนังสือ | 84.71% |
Lok Sabha constituency | Patna Parliamentary Constituency, Pataliputra Parliamentary Constituency, Patna Sahib Parliamentary Constituency |
Vidhan Sabha constituency | Bakhtiyarpur(180), Digha(181), Bankipur(182), Kumhrar(183), Patna Sahib(184), Fatuha(185), Danapur(186), Maner(187), Phulwari-SC(188) |
Planning agency | Patna Regional Development Authority |
Civic agency | Patna Municipal Corporation |
ระยะทางจากเดลี | 1,015 กิโลเมตร (631 ไมล์) NE |
ภูมิอากาศ | Köppen climate classification |
ความชื้น | 1,100 มิลลิเมตร (43 นิ้ว) |
อุณหภูมิเฉลี่ย | 26 องศาเซลเซียส (79 องศาฟาเรนไฮต์) |
อุณหภูมิเฉลี่ยฤดูร้อน | 30 องศาเซลเซียส (86 องศาฟาเรนไฮต์) |
อุณหภูมิเฉลี่ยฤดูหนาว | 17 องศาเซลเซียส (63 องศาฟาเรนไฮต์) |
เว็บไซต์ | www |
ปัฏนา (ฮินดี: पटना; ชื่ออื่น: ปาตลีบุตร, ปาฏลีบุตร, ปัตนะ, มคธ) เป็นเมืองหลวงของรัฐพิหาร รัฐหนึ่งในประเทศอินเดีย ปัฏนาเป็นเมืองเก่าแก่ที่ยังมีผู้อาศัยอยู่ต่อเนื่องยาวนานที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยเมื่อ 2,500 ปีก่อน ในสมัยพุทธกาล เมืองแห่งนี้เป็นเพียงหมู่บ้านเล็ก ๆ ในแคว้นมคธ ที่ตั้งโดยพระเจ้าอชาตศัตรู เพื่อเป็นเมืองหน้าด่านสำหรับการเตรียมทำสงครามกับแคว้นวัชชี หลังจากพุทธกาล เมืองนี้มีความสำคัญ เพราะได้กลายเป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธและมีพระมหากษัตริย์ดำรงตำแหน่งพระจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของอินเดีย คือพระเจ้าอโศกมหาราช แห่งราชวงศ์เมารยะ ผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง ทรงอุปถัมภ์การทำตติยสังคายนา ณ อโศการาม โดยให้เมืองปัฏนา (หรือปาตลีบุตร ตามที่เรียกกันในสมัยนั้น) เป็นศูนย์กลางในการส่งสมณทูตออกเผยแพร่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนอื่น ๆ ทั่วโลก ซึ่งรวมถึงสุวรรณภูมิ
ปัจจุบัน เมืองแห่งนี้ยังคงเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของรัฐพิหาร (แคว้นมคธในสมัยโบราณ) มีพื้นที่เมืองประมาณ 25 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากกว่า 1 ล้าน 8 แสนคน โดยประมาณ
ประวัติศาสตร์
[แก้]เมืองปัฏนา มีชื่อเรียกหลายคำ เช่น ปาฏลีบุตร ปาตลีบุตร ปัตนะ ในพระไตรปิฏกเรียกว่า บ้านปาฏลิคาม[3] เมืองนี้สร้างโดยพระเจ้าอชาตศัตรู พระราชาแห่งแคว้นมคธผู้ครองกรุงราชคฤห์ในสมัยปลายพุทธกาล โดยความประสงค์จะให้เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ชั่วคราวเพื่อใช้เป็นหมู่บ้านหน้าด่านสำหรับตรวจความเคลื่อนไหวของแคว้นวัชชีเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับสงครามยึดแคว้นวัชชี ซึ่งพระเจ้าอชาตศัตรูได้ส่งมหาอำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสสการพราหมณ์มาเพื่อเป็นแม่กองในการสร้างหมู่บ้านปาฏลิคาม ในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึงการเสด็จมาของพระพุทธเจ้า ณ สถานที่นี้ในขณะกำลังสร้างหมู่บ้านด้วย ตามความในปาฏลิคามิยสูตรว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาและได้ทรงแสดงปาฏิหาริย์ข้ามฝั่งแม่น้ำเพื่อข้ามมายังหมู่บ้านนี้ ชาวบ้านจึงเรียกท่าที่พระองค์เสด็จขึ้นและประตูหมู่บ้านที่พระองค์เสด็จเข้าว่า โคตมติตถะและโคตมทวาร ตามลำดับ ซึ่งหลังจากพระองค์ได้ทอดพระเนตรที่ตั้งของหมู่บ้านห่างไกลแห่งนี้แล้ว ได้ทรงทำนายไว้ว่า
อานนท์ มหาอำมาตย์ในแว่นแคว้นมคธชื่อสุนีธะและวัสสการะ จะสร้างเมืองในปาฏลิคามเพื่อป้องกันเจ้าวัชชีทั้งหลาย ประหนึ่งว่าปรึกษากับเทวดาชั้นดาวดึงส์แล้วสร้างเมืองฉะนั้น ... อานนท์ เมืองนี้จักเป็นเมืองเลิศแห่งที่ประชุมของเหล่ามนุษย์ผู้เป็นอริยะ และเป็นทางค้าขาย เป็นที่แก้ห่อสินค้า อันตราย 3 อย่าง (เท่านั้น) จักมีแก่เมืองปาฏลิคาม (คือ) จากไฟ จากน้ำ และจากความแตกแห่งกันและกัน
— ปาฏลิคามิยสูตร พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ
จากความดังกล่าวพระพุทธองค์ทรงทำนายว่าหมู่บ้านเล็กๆ ห่างไกลแห่งนี้ จะมีความสำคัญในอนาคต และปรากฏว่า หลังพระพุทธปรินิพพานไม่ถึงร้อยปี หมู่บ้านสุดชายแดนแห่งนี้ก็กลายเป็นเมืองที่สำคัญที่สุดเมืองหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์แห่งชมพูทวีป คือได้เป็นเมืองหลวงแห่งแคว้นมคธ จากความผันผวนทางการเมืองจากเหตุการณ์ล้มราชวงศ์พิมพิสาร และการย้ายเมืองหลวงแห่งแคว้นมคธหลายครั้งในช่วง พ.ศ. 70 ที่เริ่มจากการที่อำมาตย์และราษฎรพร้อมใจกันถอดกษัตริย์นาคทัสสก์แห่งราชวงศ์ของพระเจ้าพิมพิสารออกจากพระราชบัลลังก์ และยกสุสูนาคอำมาตย์ซึ่งมีเชื้อสายเจ้าลิจฉวีในกรุงเวสาลีแห่งแคว้นวัชชีเก่า ให้เป็นกษัตริย์ตั้งราชวงศ์ใหม่ แล้วพระเจ้าสุสูนาคจึงได้ทำการย้ายเมืองหลวงของแคว้นมคธไปยังเมืองเวสาลีอันเป็นเมืองเดิมของตน และกษัตริย์พระองค์ต่อมาคือพระเจ้ากาลาโศกราช ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุสูนาค ได้ย้ายเมืองหลวงของแคว้นมคธอีก จากเมืองเวสาลีมายังบ้านปาฏลิคาม ซึ่งกลายเป็นเมืองหลวง[4] และเป็นเมืองศูนย์กลางที่ยิ่งใหญ่ของพระพุทธศาสนาในเวลาต่อมา โดยเมืองนี้เป็นสถานที่ๆ มีการทำตติยสังคายนาโดยพระบรมราชูปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช พระมหาจักรพรรดิผู้ทรงเป็นมหาราชผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของประวัติศาสตร์อินเดีย และเมืองแห่งนี้ก็ได้เจริญรุ่งเรืองในฐานะศูนย์กลางทางการค้าและเศรษฐกิจมาจนปัจจุบัน
อโศการาม สถานที่จาริกแสวงบุญของชาวพุทธ
[แก้]ปัจจุบัน หลักฐานที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในฐานะเป็นเมืองศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาของเมืองแห่งนี้ได้สูญหายไปแทบหมดสิ้น เนื่องด้วยเมืองแห่งนี้มีพัฒนาการมาโดยตลอดช่วงประวัติศาสตร์ เป็นไปได้ว่าผู้คนในยุคหลังช่วงความเจริญของพระพุทธศาสนา ได้ทำลายหรือทอดทิ้งพุทธศาสนสถานไป และถูกฝังกลบจนไม่เหลือร่องรอยให้เห็น เช่นเดียวกับ อโศการาม สถานที่นี้เคยเป็นที่ทำตติยสังคายนา อารามแห่งเดียวในพระพุทธศาสนาในเมืองปัฏนาที่ยังคงเหลือซากอยู่ ปัจจุบันคงเหลือเพียงเสาหินของอาคารใหญ่ที่พระเจ้าอโศกทรงสร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ทำตติยสังคายนาอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่จมอยู่ใต้ดินในสระซึ่งมีน้ำเต็มตลอดทั้งปี และโบราณสถานส่วนใหญ่ยังคงจมอยู่ใต้ดิน แต่ทางการอินเดียไม่มีความประสงค์เพื่อขุดค้นโบราณสถานแห่งนี้ เพราะจะกระทบต่อบ้านเรือนที่ตั้งอยู่ในเมืองปัฏนาเมืองหลวงของรัฐพิหารในปัจจุบัน
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Provisional Population Totals, Census of India 2011; Cities having population 1 lakh and above" (PDF). Office of the Registrar General & Census Commissioner, India. สืบค้นเมื่อ 26 March 2012.
- ↑ "Provisional Population Totals, Census of India 2011; Urban Agglomerations/Cities having population 1 lakh and above" (PDF). Office of the Registrar General & Census Commissioner, India. สืบค้นเมื่อ 26 March 2012.
- ↑ พระไตรปิฎก เล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต ปาฏลิคามิยสูตร . พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก <[1]>. เข้าถึงเมื่อ 4-6-52
- ↑ พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต).พุทธสถานในอินเดีย - เวฬุวันมหาวิหาร เมืองราชคฤห์. กรุงเทพ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2541.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- www.patna.nic.in เก็บถาวร 2010-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เว็บไซต์เมืองปัฏนา