ประชาคมแอฟริกาตะวันออก
ประชาคมแอฟริกาตะวันออก
| |
---|---|
คำขวัญ: "Ushirikiano wa Afrika Mashariki" | |
แผนที่แบบออร์โทกราฟิก แสดงรัฐสมาชิกของประชาคมแอฟริกาตะวันออก (สีเขียว) | |
สำนักงานใหญ่ | อารูชา ประเทศแทนซาเนีย 3°22′S 36°41′E / 3.367°S 36.683°E |
เมืองใหญ่สุด | กินชาซา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก |
ภาษาราชการ | สวาฮีลี, อังกฤษ, ฝรั่งเศส |
ภาษากลาง | สวาฮีลี |
ประเภท | องค์การระหว่างประเทศ |
รัฐพันธมิตร | |
ผู้นำ | |
• ประธานการประชุมสุดยอด | ซัลวา กีร์ มายาร์ดิต[1] |
• ประธานสภา | เด็ง ดาอู เด็ง |
• ประธานศาลยุติธรรม | เนสเตอร์ กาโยเบรา |
• ประธานสภานิติบัญญัติ | โจเซฟ อึนตาการูตีมานา |
ปีเตอร์ มาทูกี | |
สภานิติบัญญัติ | สภานิติบัญญัติ |
ก่อตั้ง | |
• สถาปนา | 1967 |
• สลายตัว | 1977 |
• สถาปนาใหม่ | 7 กรกฎาคม 2000 |
พื้นที่ | |
• รวม | 5,448,020 ตารางกิโลเมตร (2,103,490 ตารางไมล์) (อันดับที่ 7) |
4.14 | |
ประชากร | |
• 2022 ประมาณ | 325,056,449 (อันดับที่ 4) |
58.4 ต่อตารางกิโลเมตร (151.3 ต่อตารางไมล์) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2022 (ประมาณ) |
• รวม | 955.61 ล้านดอลลาร์[2] (อันดับที่ 34) |
• ต่อหัว | 2,940 ดอลลาร์ |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2022 (ประมาณ) |
• รวม | 3.44279 แสนล้านดอลลาร์[3] (อันดับที่ 50) |
• ต่อหัว | 1,058 ดอลลาร์ |
เอชดีไอ (2019) | 0.540 ต่ำ |
สกุลเงิน | ชิลลิงแอฟริกาตะวันออก |
เว็บไซต์ www |
ประชาคมแอฟริกาตะวันออก[4] (สวาฮีลี: Jumuiya ya Afrika Mashariki; อังกฤษ: East African Community: EAC; ฝรั่งเศส: Communauté d'Afrique de l'Est: CAE) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่ประกอบด้วย 8 ประเทศในแอฟริกาตะวันออก รัฐสมาชิกได้แก่เคนยา, ซูดานใต้, โซมาเลีย, แทนซาเนีย, บุรุนดี, ยูกันดา, รวันดา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก[5] ซัลวา กีร์ มายาร์ดิต ประธานาธิบดีประเทศซูดานใต้ เป็นประธานคนปัจจุบันของประชาคมฯ องค์การนี้สถาปนาขึ้นในปี 1967 ก่อนจะสลายตัวในปี 1977 และได้กลับมาใหม่อีกครั้งในวันที่ 7 กรกฎาคม 2000[6] ประชาคมฯ เป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจแอฟริกา
ในปี 2008 หลังการเจรจากับสมาคมพัฒนาแอฟริกาตอนใต้ (SADC) และตลาดร่วมสำหรับแอฟริกาตะวันออกและใต้ (COMESA) ประชาคมแอฟริกาตะวันออกยอมรับที่จะขยายพื้นที่การค้าเสรีให้ครอบคลุมถึงรัฐสมาชิกของทั้งสามองค์การ
ประชาคมแอฟริกาตะวันออกมีความสามารถที่จะพัฒนาเป็นการจัดตั้งสหพันธรัฐแอฟริกาตะวันออก อันเป็นสหพันธรัฐที่มีการเสนอให้รวมรัฐสมาชิกเข้าด้วยกันเป็นรัฐเอกราชเดียว[7] ในปี 2010 ประชาคมฯ ได้เปิดตัวตลาดกลางของตนเองสำหรับการค้าขายสินค้า แรงงาน และเงินทุนภายในภูมิภาค โดยมีเป้าหมายคือการจัดตั้งสกุลเงินร่วม และท้ายที่สุดเพื่อพัฒนาสู่การเป็นสหพันธรัฐเดียว[8] ในปี 2013 มีการลงนามในโครงร่างแผนงานจัดตั้งสหภาพการเงิน (monetary union) ของตนเองภายใน 10 ปี[9] ในเดือนกันยายน 2018 มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อเริ่มต้นขบวนการร่างรัฐธรรมนูญของภูมิภาค[10]
โซมาเลียเป็นประเทศล่าสุดที่เข้าร่วมกลุ่มการค้าเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2023 หลังการประชุมในห้องปิดนาน 5 ชั่วโมง[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ @jumuiya (November 24, 2023). "South Sudan has assumed Chairmanship of the East African Community" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "Report for Selected Countries and Subjects". สืบค้นเมื่อ 3 December 2020.
- ↑ "Report for Selected Countries and Subjects". imf.org.
- ↑ อิงคำแปลจาก: กองบริการค้าข้าว กรมการค้าต่างประเทศ (2565). "ข้อมูลข้าวเชิงลึกภูมิภาคแอฟริกา" (PDF). กระทรวงพาณิชย์ (ประเทศไทย). p. 10.
- ↑ "East African Community continues on a trajectory of expansion as Summit admits Somalia into the bloc". Eac.int. 25 November 2023.
- ↑ "East African Community – Quick Facts". Eac.int. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2009. สืบค้นเมื่อ 1 July 2010.
- ↑ "A political union for east Africa? – You say you want a federation". The Economist. 9 February 2019. สืบค้นเมื่อ 4 August 2019.
- ↑ "FACTBOX-East African common market begins". Reuters. 1 July 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2012. สืบค้นเมื่อ 1 July 2010.
- ↑ "East African trade bloc approves monetary union deal". Reuters. 30 November 2013.
- ↑ Havyarimana, Moses (29 September 2018). "Ready for a United States of East Africa? The wheels are already turning". The East African.
- ↑ Vincent Owino (24 November 2023). "Somalia officially admitted into EAC". The EastAfrican. สืบค้นเมื่อ 24 November 2023.