ที่ราบก้นสมุทร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนภาพตัดตามขวางของแอ่งมหาสมุทร แสดงความสัมพันธ์ระหว่างที่ราบก้นสมุทรกับลาดตีนทวีปและร่องลึกก้นสมุทร
ภาพแสดงเขตความลึกก้นสมุทรโดยสัมพันธ์กับเขตทะเลลึกอื่นๆ

ที่ราบก้นสมุทร (อังกฤษ: Abyssal plain) เป็นที่ราบใต้น้ำตรงบริเวณก้นสมุทร โดยทั่วไปจะพบที่ความลึกระหว่าง 3,000 ถึง 6,000 เมตร และอยู่ระหว่างลาดตีนทวีปกับเทือกเขากลางสมุทร มีพื้นที่มากกว่าร้อยละ 50 ของพื้นผิวโลก[1][2] มันเป็นพื้นที่ ๆ แบนและราบเรียบที่สุดแต่ได้รับการศึกษาน้อยมาก[3] ที่ราบเหล่านี้เป็นองค์ประกอบทางธรณีวิทยาที่สำคัญของแอ่งมหาสมุทร (องค์ประกอบอื่นๆ ได้แก่ เทือกเขากลางสมุทรที่ยกตัวขึ้น และเขาก้นสมุทรที่ขนาบข้าง) นอกจากองค์ประกอบเหล่านี้แล้ว โดยปกติแอ่งมหาสมุทรมีพลัง (เชื่อมโยงกับรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกที่เคลื่อนไหวอยู่) จะมีร่องลึกก้นสมุทรและเขตมุดตัวของเปลือกโลกรวมอยู่ด้วย

อ้างอิง[แก้]

  1. Craig R. Smith; Fabio C. De Leo; Angelo F. Bernardino; Andrew K. Sweetman; Pedro Martinez Arbizu (2008). "Abyssal food limitation, ecosystem structure and climate change" (PDF). Trends in Ecology and Evolution. 23 (9): 518–528. doi:10.1016/j.tree.2008.05.002. PMID 18584909. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 July 2011. สืบค้นเมื่อ 18 June 2010.
  2. N.G. Vinogradova (1997). "Zoogeography of the Abyssal and Hadal Zones". The Biogeography of the Oceans. Advances in Marine Biology. Vol. 32. pp. 325–387. doi:10.1016/S0065-2881(08)60019-X. ISBN 9780120261321.
  3. P.P.E. Weaver; J. Thomson; P. M. Hunter (1987). Geology and Geochemistry of Abyssal Plains (PDF). Oxford: Blackwell Scientific Publications. p. x. ISBN 978-0-632-01744-7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 24 ธันวาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2010.