ข้ามไปเนื้อหา

ตำบลทับยา

พิกัด: 14°57′41″N 100°20′45″E / 14.96139°N 100.34583°E / 14.96139; 100.34583
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลทับยา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Thap Ya
พิกัด: 14°57′41″N 100°20′45″E / 14.96139°N 100.34583°E / 14.96139; 100.34583
ประเทศไทย
จังหวัดสิงห์บุรี
อำเภออินทร์บุรี
พื้นที่[ต้องการอ้างอิง]
 • ทั้งหมด24.27 ตร.กม. (9.37 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)[1]
 • ทั้งหมด5,988 คน
 • ความหนาแน่น246.72 คน/ตร.กม. (639.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 16110
รหัสภูมิศาสตร์170603
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
เทศบาลตำบลทับยา
คำขวัญ: 
เมืองโบราณ ย่านการค้า ปลารสดี ประเพณีแข่งเรือ
ทต.ทับยาตั้งอยู่ในจังหวัดสิงห์บุรี
ทต.ทับยา
ทต.ทับยา
ที่ตั้งของเทศบาลตำบลทับยา
พิกัด: 14°57′41″N 100°20′45″E / 14.96139°N 100.34583°E / 14.96139; 100.34583
ประเทศ ไทย
จังหวัดสิงห์บุรี
อำเภออินทร์บุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด24.27 ตร.กม. (9.37 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)[1]
 • ทั้งหมด5,988 คน
 • ความหนาแน่น246.72 คน/ตร.กม. (639.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05170602
ทางหลวง
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลตำบลทับยา
เลขที่ 12 ถนนสิงห์บุรี–ชัยนาท หมู่ที่ 5 ตำบลทับยา อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี 16110
เว็บไซต์www.tubya.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ทับยา เป็นตำบลหนึ่งในอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี มีพื้นที่ 24.27 ตารางกิโลเมตร มีประชากรในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 5,988 คน[1] องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ คือ เทศบาลตำบลทับยา ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ตำบลทับยาทั้งตำบล

ประวัติ

[แก้]

การตั้งชุมชน

[แก้]

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของเมืองอินทร์บุรี สามารถอนุมานได้ว่า พื้นที่ตำบลทับยาอาจจะมีการตั้งรกรากมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ทั้งนี้เนื่องจากตั้งอยู่ไม่ไกลจากแหล่งโบราณคดีคูเมืองมากนัก

การตั้งรกรากของชุมชนโบราณน่าจะอิงอยู่กับแม่น้ำ ทั้งนี้เนื่องจากแม่น้ำเปรียบได้ดั่งเส้นเลือดใหญ่ของชุมชน ประชาชนต้องพึ่งพาแม่น้ำในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการอุปโภคบริโภค เพื่อการเกษตร การคมนาคม และอื่น ๆ ดังนั้น ในพื้นที่แห่งนี้จึงมีประชาชนอาศัยตลอดมา ถึงแม้ในบางช่วงเวลาก็อาจจะถูกกวาดต้อนเป็นเชลยสงครามไปบ้างเนื่องจากเป็นเส้นทางการเดินทัพ เป็นพื้นที่เมืองหน้าด่านในสมัยที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ที่มาของชื่อ “ทับยา” มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า ดั้งเดิมชื่อ “ทัพหย่า” ซึ่งหมายถึงการหย่าทัพ หรือการเลิกทัพนั่นเอง ก่อนที่จะมีการเพี้ยนเสียงจนกลายเป็นทับยาในที่สุด

ชื่อของทัพหย่า เป็นชื่อเรียกสถานที่ที่อ้างอิงถึงความเป็นมาของสถานที่ที่พม่าหย่าทัพ เป็นเหตุการณ์ในสมัยการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 และเรื่องราววีรกรรมชาวบ้านบางระจัน ทั้งนี้ก็เพราะตำบลทับยามีทำเลที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากบ้านบางระจันนั่นเอง

เหตุการณ์เสียกรุงครั้งที่สองเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2307 เมื่อพระเจ้ามังระ กษัตริย์พม่า ได้จัดทัพสองทัพ โดยมอบหมายให้มังมหานรธาเป็นแม่ทัพยกมาตีกรุงศรีอยุธยา โดยการเข้าตีเรื่อยมาตามรายทางจากทางใต้ โดยเริ่มต้นที่เมืองทวาย ส่วนอีกทัพมีเนเมียวสีหบดีเป็นแม่ทัพ เดินทัพมาจากทางเหนือ และทั้งสองทัพจะมาบรรจบกันเข้าอยุธยา การล้อมกรุงครั้งนี้ใช้เวลาต่อเนื่องนานถึงสองปี ทัพพม่าอ่อนล้าและขาดแคลนเสบียงและไม่กล้าตั้งทัพใกล้กับกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากเกรงอำนาจปืนใหญ่ เนเมียวสีหบดีได้เลือกทำเลตั้งทัพค่อนมาทางเมืองอินทร์บุรี พร้อมกันนั้นก็ได้จัดแต่งกองทหารออกปล้น ฆ่า สะสมเสบียง กระทำทารุณกรรม ชาวบ้านบางระจันได้ชักชวนชาวเมืองอินทร์ เมืองพรหม และเมืองวิเศษไชยชาญ เพื่อต่อสู้ตอบโต้การกระทำอันป่าเถื่อน จนกระทั่งทัพพม่าที่ตั้งอยู่บริเวณตำบลทับยาต้องหย่าทัพ เพื่อไปหาทำเลที่ตั้งใหม่ พื้นที่ตรงนี้จึงถูกเรียกขานจากตำนานเหตุการณ์นั้นว่า “ทัพหย่า” อย่างไรก็ดี สุดท้ายน้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ ชาวบ้านบางระจันก็ต้องประสบกับความพ่ายแพ้ในปี พ.ศ. 2309 และคนไทยเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310

การเริ่มตั้งชุมชนในพื้นที่ตำบลทับยาน่าจะมีมาโดยต่อเนื่องหลังจากเหตุการณ์การเสียกรุงฯ เมื่อบ้านเมืองสงบจากการศึก ชาวบ้านที่หนีภัยเข้าป่าก็เริ่มต้นกลับมาตั้งรกรากในพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง และพื้นที่ริมน้ำก็เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุดในการตั้งชุมชน

เมื่อดูจากประวัติศาสตร์ของตำบลทับยา จะพบว่าแม่น้ำเจ้าพระยาจะเป็นเงื่อนไขหลักในการเลือกทำเลที่ตั้งรกราก แม่น้ำมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับชุมชนโบราณ แม่น้ำเจ้าพระยากับชาวทับยาก็เช่นเดียวกัน เจ้าพระยาเป็นเส้นทางคมนาคม ชาวบ้านจึงหันหน้าบ้านลงน้ำ วัดซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชนก็เป็นเช่นเดียวกัน ท่าน้ำของวัดก็คือท่าหน้าวัด การทำนา ในอดีตก็ได้พึ่งพา “บาง” หรือคลองที่ต่อเนื่องกับเจ้าพระยาที่จะนำน้ำกระจายออกสู่ท้องทุ่งในฤดูน้ำหลาก “ลำแม่ลา” เริ่มมีผู้คนตั้งถิ่นฐาน เมื่อบริเวณริมเจ้าพระยาเริ่มหนาแน่น พร้อม ๆ กับชื่อเสียงของปลาแม่ลา ผู้คนพึ่งพิงแม่ลาในทุกด้านเช่นกัน “คลองบรมธาตุ” จุดเปลี่ยนอันสำคัญยิ่งเริ่มต้นที่คลองชลประทานที่เข้ามาสู่ชุมชนในต้นทศวรรษ 2500

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

เดิมทีตำบลทับยาการปกครองเป็นรูปแบบของสภาตำบล และได้ถูกยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีหลักเกณฑ์ในการยกฐานะดังนี้ สภาตำบลใดที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปี เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน ให้ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป และมีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ทั้งเป็นนิติบุคคล ซึ่งกระทรวงมหาดไทย โดยนายเสนาะ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ลงนามประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2539 โดยมีผลสมบูรณ์เมื่อครบกำหนด 60 วัน คือในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 และองค์การบริหารส่วนตำบลทับยาได้ถูกจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลชั้น 5 และได้เปลี่ยนแปลงเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลทับยาได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาท้องถิ่นในด้านคุณภาพชีวิต พัฒนาศักยภาพการผลิต การจัดระบบสาธารณูปโภค การศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และพัฒนาระบบการให้บริการประชาชนในการดำเนินงานทุกด้านนั้นมาจากความต้องการของประชาชนทั้งสิ้น

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

ตำบลทับยาห่างจากตัวอำเภออินทร์บุรี ประมาณ 6 กิโลเมตร พื้นที่จำนวนทั้งสิ้น 24.27 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ทางการเกษตร 13,684 ไร่ เป็นพื้นที่อยู่อาศัย 1,483 ไร่ รวม 15,167 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ข้างเีคียงดังต่อไปนี้

  • ทิศเหนือ ติดกับตำบลอินทร์บุรีและตำบลห้วยชัน อำเภออินทร์บุรี
  • ทิศตะวันออก ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา
  • ทิศใต้ ติดกับตำบลบางกระบือ อำเภอเมืองสิงห์บุรี
  • ทิศตะวันตก ติดกับตำบลอินทร์บุรี อำเภออินทร์บุรี, ตำบลแม่ลา อำเภอบางระจัน และบ้านโพธิ์งาม อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

ประชากร

[แก้]

ตำบลทับยามีจำนวนประชากรชาย 2,997 คน จำนวนประชากรหญิง 3,273 คน จำนวนครัวเรือน 1,811 ครัวเรือน รวมจำนวนประชากรทั้งสิ้น 6,270 คน จำนวนชุมชน 12 ชุมชน ประกอบด้วย

  1. ชุมชนบางพระนอน
  2. ชุมชนบางพระนอน
  3. ชุมชนท้ายเกาะ
  4. ชุมชนวัดใหม่
  5. ชุมชนสวนมะม่วง
  6. ชุมชนทับยา
  7. ชุมชนท้องคุ้ง
  8. ชุมชนวัดสิงห์
  9. ชุมชนคลองใหม่
  10. ชุมชนแหลมทอง
  11. ชุมชนดงทอง
  12. ชุมชนดอนแฝก

การศึกษา

[แก้]

ตำบลทับยามีสถานศึกษาที่เป็นของรัฐ โดยมีโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสิงห์บุรี ได้แก่ โรงเรียนชุมชนวัดพระนอน โรงเรียนวัดสุธาวาส โรงเรียนวัดยาง และสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ศูนย์บริการเด็กเล็กเทศบาลตำบลทับยา

สาธารณสุข

[แก้]

หน่วยบริการด้านสาธารณสุขในเขตตำบลทับยา ได้แก่ โรงพยาบาลอินทร์บุรี (รพท. ขนาด 300 เตียง, บางส่วนอยู่ในพื้นที่ เทศบาลตำบลอินทร์บุรี) และสถานีอนามัยตำบลทับยา

เศรษฐกิจ

[แก้]

ในเขตตำบลทับยามีโรงงานอุตสาหกรรมและแหล่งพาณิชยกรรมที่สำคัญดังนี้

  • โรงงานอุตสาหกรรม
  • โรงสี
  • ร้านอาหาร
  • ร้านค้า
  • ทำไร่นาสวนผสม
  • ปลูกไม้ผล
  • ปลูกพืชผัก
  • ปลูกถั่วแระ (ฤดูแล้ง)
  • ปลูกข้าวโพด
  • บ่อตอกเพื่อการเกษตร
  • ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ตำบลทับยา ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]