ดังคัน เอดเวิดส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ดันแคน เอดเวิดส์
รูปปั้นของชายคนหนึ่งใส่เสื้อสีขาวและกางเกงสีน้ำเงินที่กำลังจะเตะลูกฟุตบอล
รูปปั้นของเอิดเวิร์ดในใจกลางของดัดลีย์ บ้านเกิดของเขา
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม ดันแคน เอดเวิดส์
วันเกิด 1 ตุลาคม พ.ศ. 2479
สถานที่เกิด ดัดลีย์, วุร์สเตอร์เชียร์, ประเทศอังกฤษ
วันเสียชีวิต 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 (21 ปี)
สถานที่เสียชีวิต มิวนิก, รัฐบาวาเรีย, ประเทศเยอรมนีตะวันตก
ส่วนสูง 5 ft 11 in (1.80 m)
ตำแหน่ง กองกลาง
สโมสรเยาวชน
1952–1953 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
1953–1958 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 151 (20)
ทีมชาติ
1949–1952 ฟุตบอลโรงเรียนอังกฤษ 9 (0)
1954–1957 อังกฤษ อายุไม่เกิน 23 ปี 6 (5)
1953–1954 อังกฤษชุดบี 4 (0)
1955–1958 อังกฤษ 18 (5)
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

ดันแคน เอดเวิดส์ (อังกฤษ: Duncan Edwards; 1 ตุลาคม พ.ศ. 247921 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501) เป็นนักฟุตบอลชาวอังกฤษที่เล่นให้กับสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดและฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ เขาเป็นหนึ่งในบัสบีเบบส์ ซึ่งเป็นกลุ่มนักเตะเยาวชนของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดภายใต้การคุมทีมของแมตต์ บัสบีในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษที่ 1950 และยังเป็นหนึ่งในผู้เล่นแปดคนที่เสียชีวิตจากภัยพิบัติทางอากาศมิวนิก

เอดเวิดส์เกิดในดัดลีย์ เทศมณฑลวุร์สเตอร์เชียร์ เขาทำสัญญากับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดตั้งแต่ยังวัยรุ่น และกลายเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดที่เล่นในฟุตบอลลีกเฟิสต์ดิวิชันและผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง ในอาชีพนักฟุตบอลของเขานั้น เขาช่วยให้ยูไนเต็ดชนะเลิศฟุตบอลลีก 2 ครั้ง และไปถึงรอบรองชนะเลิศยูโรเปียนคัพ

ประวัติ[แก้]

ช่วงต้นของชีวิต[แก้]

ลายเซ็นของดันแคน เอดเวิดส์

เอดเวิดส์เกิดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2479 ในบ้านของเขาที่เขตวูดไซด์ของดัดลีย์[1] ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของวุร์สเตอร์เชียร์[2] เขาเป็นลูกชายคนโตของแกลดสโตนและซาราห์ แอนน์ เอ็ดเวิร์ด และยังเป็นลูกคนเดียวของพวกเขาที่มีชีวิตรอดจากวัยเด็ก น้องสาวของเขา แคโรล แอนน์ เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2490 ด้วยอายุ 14 สัปดาห์[3] ต่อมาเขาและครอบครัวได้ย้ายบ้านมายัง 31 เอล์ม โรด ซึ่งอยู่ในดัดลีย์เหมือนกัน เอดเวิดส์เข้าศึกษาที่โรงเรียนประถมพรีออรีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484 ถึง พ.ศ. 2491 และโรงเรียนมัธยมวุลเวอร์แฮมป์ตันสตรีตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 ถึง พ.ศ. 2495[4] เขายังเล่นฟุตบอลให้กับทีมฟุตบอลโรงเรียน วุร์สเตอร์เชียร์แอนด์เบอร์มิงแฮม และทีมฟุตบอลประจำเขต[5] เขายังเป็นตัวแทนของโรงเรียนในการเต้นมอร์ริส[6] เขาได้ถูกเลือกให้ไปแสดงในงานเต้นมอร์ริสแห่งชาติ แต่ก็ได้รับข้อเสนอให้ลองไปคัดตัวกับทีมอายุไม่เกิน 14 ปีของสมาคมฟุตบอลอังกฤษ ซึ่งส่งมาในวันเดียวกันและเขาเลือกที่จะเข้าคัดตัวทีหลัง[7]

ความสามารถในการเล่นฟุตบอลของเอดเวิดส์สร้างความประทับใจแก่ผู้คัดตัว ทำให้เขาได้ไปเล่นในทีมฟุตบอลโรงเรียนอังกฤษ และได้ลงเป็นนัดแรกพบกับเวลส์ที่สนามกีฬาเวมบลีย์ ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2493 หลังจากนั้นเขาก็ได้ถูกเลือกให้เป็นกัปตันทีม และเป็นได้สองฤดูกาล[8][9] เพราะเขาถูกจับตามองจากสโมสรใหญ่ ๆ โดยแจ็ค โอไบรเอน แมวมองของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ได้รายงานกลับมายังแมตต์ บัสบี ผู้จัดการทีมในขณะนั้นว่า "วันนี้ได้เห็นเด็กนักเรียนวัย 12 ปีที่เขาจับตามองเป็นพิเศษ เขาชื่อดันแคน เอดเวิดส์จากดัดลีย์"[8]

โจ เมอร์เซอร์ ผู้ซึ่งในเวลานั้นเป็นโค้ชให้กับทีมฟุตบอลโรงเรียนอังกฤษ ได้กระตุ้นให้บัสบีทำข้อสัญญากับเอดเวิดส์ ผู้ซึ่งถูกจับตามองจากสโมสรฟุตบอลวุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์และแอสตันวิลลา[10] เอดเวิดส์เซ็นสัญญากับยูไนเต็ดเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2495[11] แต่ระยะเวลาที่เขาเซ็นสัญญาจริง ๆ นั้นไม่แน่นอน บางส่วนก็ว่าเขาเซ็นสัญญาในวันเกิดปีที่ 17 ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2496[12][13] บางส่วนก็ว่าเขาเซ็นสัญญาก่อนหน้านั้นปีนึงแล้ว[4][14] แต่วันที่ที่ระบุไว้ก่อนหน้านี้เป็นวันเซ็นสัญญาของเอดเวิดส์ที่ยืนยันจากทางสโมสรอย่างเป็นทางการ ซึ่งตัวบัสบีเอง หรือโค้ช เบิร์ต วาลลีย์ เดินทางไปยังบ้านของเอดเวิดส์เพื่อให้เขาเซ็นสัญญาโดยเร็วที่สุด แต่รายงานอื่น ๆ เชื่อว่านี่เกิดขึ้นเมื่อเขาเซ็นสัญญาเป็นนักฟุตบอลอาชีพ[15] สแตน คุลลิส ผู้จัดการทีมของสโมสรฟุตบอลวุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ ไม่พอใจเป็นอย่างยิ่งที่พลาดการเซ็นสัญญากับเยาวชนในบ้านของตัวเอง และยังแย้งอีกว่ายูไนเต็ดได้นำเงินมาเป็นตัวช่วยโน้มใจเอดเวิดส์และครอบครัวของเขา แต่ตัวเอดเวิดส์ยืนยันว่าเขาต้องการที่จะเล่นให้กับสโมสรฟุตบอลในแลงคาเชอร์[16] นอกจากนี้ เขายังได้รับการประกันว่าหากไม่ประสบความสำเร็จในอาชีพนักฟุตบอลจะยังคงมีงานทำ โดยได้ฝึกงานเป็นช่างไม้[17]

อาชีพนักฟุตบอล[แก้]

เอดเวิดส์เริ่มต้นอาชีพนักฟุตบอลที่ทีมเยาวชนของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด และได้ลงเล่นเป็นครั้งคราวในการแข่งขันเอฟเอยูธคัพ ซึ่งพวกเขาชนะเลิศเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2496[18] แต่ในนัดชิงชนะเลิศนั้น เขาก็ได้ลงเป็นตัวจริงนัดแรก วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2496 เขาได้เล่นในนัดฟุตบอลลีกเฟิสต์ดิวิชันที่พบกับคาร์ดิฟฟ์ซิตี ซึ่งยูไนเต็ดแพ้ 4–1[19] ด้วยอายุ 16 ปี 185 วัน ทำให้เขากลายเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดตลอดกาลที่เล่นในลีกสูงสุด[20] ด้วยความที่สโมสรในเวลานั้นเต็มไปด้วยผู้เล่นที่อายุมากเป็นจำนวนมาก บัสบี ผู้จัดการทีมในขณะนั้น จึงได้หาเยาวชนเข้ามาเสริมแทน และเอดเวิดส์ พร้อมกับเดนนิส ไวโอลเล็ต และแจ็กกี บลันช์ฟลาวเวอร์ เป็นหนึ่งในเยาวชนที่บัสบีได้ดึงขึ้นมาทดแทนผู้เล่นเก่าในช่วงปี พ.ศ. 2496 ซึ่งภายหลังได้เรียกเยาวชนชุดนี้ว่า "บัสบีเบบส์"[8] ด้วยความสามารถของเขาในนัดแรกที่ได้ลงเป็นตัวจริง หนังสือพิมพ์แมนเชสเตอร์การ์เดียน ให้ความเห็นไว้ว่า "เขาแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการผ่านบอลและยิง แต่เขาจะต้องเคลื่อนที่ได้รวดเร็วกว่านี้ ในฐานะที่เล่นในตำแหน่งปีก"[21]

ฤดูกาล 1953–54 เอดเวิดส์ได้ลงเล่นเป็นตัวจริงแก่สโมสรบ่อยครั้ง จนเสมือนว่าเขาเป็นผู้เล่นตัวจริงของสโมสรไปแล้ว[12] หลังจากในนัดกระชับมิตรกับสโมสรฟุตบอลคิลมาร์นอก เขาแทนที่เฮนรี คอกเบิร์นที่บาดเจ็บ ในนัดเยือนที่พบกับสโมสรฟุตบอลฮัดเดอส์ฟิลด์ทาวน์ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2496[22] และได้ลงเป็นตัวจริงทั้งหมด 24 นัดในลีก และในเอฟเอคัพซึ่งพ่ายแพ้ให้กับเบิร์นลีย์[23][24] ถึงอย่างนั้น เขาก็ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของทีมเยาวชนและได้ชนะเลิศเอฟเอยูธคัพเป็นสมัยที่สองติดต่อกัน เขาได้ลงเป็นตัวจริงครั้งแรกแก่ทีมชาติชุดอายุไม่เกิน 23 ปีในนัดที่พบกับอิตาลี[25] เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2497 หลังจากนั้นเขาก็ถูกพิจารณาให้ขึ้นไปเล่นในทีมชาติอังกฤษชุดใหญ่ แต่ในวันที่คณะผู้คัดเลือกเดินทางมาดูการเล่นของเขาในนัดการแข่งขันกับอาร์เซนอล ในวันที่ 27 มีนาคม เขาแสดงฟอร์มการเล่นที่ไม่ดี ทำให้เขาไม่ถูกพิจารณา[26]

ฤดูกาลต่อมา เขาได้รับโอกาสลงเป็นตัวจริงทั้งหมด 36 ครั้งและสามารถทำประตูได้เป็นประตูแรก และสโมสรจบเป็นอันดับที่หกในฤดูกาลนั้น[23] ความสามารถของเขาทำให้เขาจะถูกคัดตัวไปร่วมทีมชาติอังกฤษชุดใหญ่เป็นครั้งที่สอง และสมาชิกของคณะผู้คัดเลือกก็รีบรุดมาชมการแข่งขันกับฮัดเดอส์ฟิลด์ทาวน์ ที่มีขึ้นในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2497 แต่ความสามารถของเขาก็ไม่เข้าตาของคณะผู้คัดเลือกอีก[27] แม้ว่าเขาจะถูกเลือกให้ไปเล่นในทีมรวมฟุตบอลลีก ซึ่งจะแข่งขันในนัดกระชับมิตรกับทีมรวมฟุตบอลลีกสกอตแลนด์[28] ในเดือนมีนาคม เขาเล่นให้กับทีมชาติอังกฤษชุดบี พบกับทีมที่อยู่ในระดับเดียวกันจากประเทศเยอรมนีและหนึ่งสัปดาห์ต่อมา เขาก็ถูกเรียกติดทีมชาติอังกฤษชุดใหญ่ แม้ว่าเขาจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องการเล่นที่ไม่ดี[29] เขาได้ลงเป็นตัวจริงครั้งแรกสำหรับทีมชาติเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ในนัดที่พบกับสกอตแลนด์ ในการแข่งขันบริติชโฮมแชมเปียนชิพ ด้วยอายุ 18 ปี 183 วัน ทำให้เขากลายเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดที่ได้ลงเล่นเป็นตัวจริงแก่ทีมชาติอังกฤษ หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง แต่สถิตินี้ก็คงอยู่จนกระทั่ง ไมเคิล โอเวน ได้ลงเล่นเป็นตัวจริงครั้งแรกในปี พ.ศ. 2541[8][14] สามสัปดาห์ต่อมา ยูไนเต็ดยังคงให้เขาติดทีมเยาวชนของสโมสร เพื่อจะได้ชนะเลิศเอฟเอยูธคัพเป็นสมัยที่สามติดต่อกัน แต่การที่นักฟุตบอลทีมชาติอังกฤษเล่นให้กับทีมเยาวชนนั้นจะไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง และถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก แมตต์ บัสบี ผู้จัดการทีมก็ออกมาให้สัมภาษณ์เพื่อปกป้องตัวเอดเวิดส์ที่ได้ตัดสินใจว่าจะลงเล่นให้กับทีมเยาวชน[30]

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2498 เอดเวิดส์ถูกเลือกให้เล่นกับทีมชาติอังกฤษชุดที่จะไปแข่งกับฝรั่งเศส โปรตุเกส และสเปน ซึ่งเขาได้ลงเล่นเป็นตัวจริงทั้งสามนัด[31] หลังจากที่เขากลับมาจากยุโรปแผ่นดินใหญ่แล้ว เขาก็ได้เกณฑ์ทหารกับกองทัพบริติชเป็นระยะเวลา 2 ปี ซึ่งเป็นข้อบังคับสำหรับชายหนุ่มที่มีอายุเท่าเขาในเวลานั้น[32] ซึ่งเขาได้ประจำการอยู่ที่เนสส์คลิฟฟ์ ใกล้กับชูร์วสบรี ร่วมกับเพื่อนร่วมทีม บ็อบบี ชาร์ลตัน แต่ทั้งสองของถูกอนุญาตให้กลับไปเล่นกับสโมสรได้ตามเวลา[33] เขายังได้ลงเล่นในนัดแข่งขันของทหาร และในหนึ่งฤดูกาล เขาก็ได้ลงไปกว่า 100 นัดทั้งหมด[34] ในฤดูกาล 1955–56 เอดเวิดส์ไม่ได้ลงเล่นให้กับสโมสรเป็นระยะเวลาเกือบสองเดือน เนื่องจากป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่[35] แต่ถึงอย่างนั้น เขายังสามารถลงเล่นให้กับยูไนเต็ดได้ 33 นัด จนกระทั่งยูไนเต็ดชนะเลิศฟุตบอลลีก โดยมีคะแนนห่างจากแบล็กพูล 11 คะแนน[23][36] ฤดูกาลต่อมา เขาลงเล่นในลีก 34 นัด ซึ่งยูไนเต็ดก็ได้ชนะในฟุตบอลลีกเป็นสมัยที่สองติดต่อกัน[23][37] เขายังได้อยู่ในทีมชุดที่จะแข่งเอฟเอคัพ นัดชิงชนะเลิศ 1957 แต่ยูไนเต็ดก็พลาดคว้าสองแชมป์ โดยแพ้ให้กับแอสตันวิลลา 2–1[38] เขายังได้ลงเล่นให้กับยูไนเต็ดในการแข่งขันยูโรเปียนคัพทั้งหมด 7 นัด[23] รวมทั้งนัดที่ยูไนเต็ดชนะอันเดอร์เลชท์ 10–0 ซึ่งกลายเป็นสถิติของยูไนเต็ดที่ชนะด้วยประตูมากที่สุด[39] ตอนนี้เอดเวิดส์ก็กลายเป็นตัวจริงของทีมชาติอังกฤษไปแล้ว โดยได้ลงเล่นในรอบคัดเลือกของฟุตบอลโลก 1958 ทั้ง 4 นัด และทำประตูได้สองประตู ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2499 ซึ่งเป็นนัดที่ชนะเดนมาร์ก 5–2[31][40] เขาถูกคาดหมายไว้ว่าจะเป็นผู้เล่นอังกฤษคนหนึ่งที่จะได้เล่นในรอบแพ้ตัดเชือกของฟุตบอลโลก และยังหมายไว้อีกว่า เขาจะได้แทนที่ บิลลี ไรท์ เป็นกัปตันทีมชาติอังกฤษ[41][42]

เอดเวิดส์เริ่มต้นฤดูกาล 1957–58 ด้วยฟอร์มที่ดีและมีข่าวลือว่าสโมสรใหญ่จากอิตาลีจะเซ็นสัญญากับเขา[43] นัดสุดท้ายของเขาในอังกฤษ มีขึ้นในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 เมื่อเขาทำประตูให้กับยูไนเต็ดให้เอาชนะอาร์เซนอลไปได้ 5–4[44] การเล่นของเขาถูกวิจารณ์โดยสำนักข่าว เนื่องจากการเล่นที่ไม่ดีของเขา เป็นเหตุให้อาร์เซนอลได้ประตูที่ 4 แต่ก็ยังทำให้วอลเตอร์ วินเตอร์บอตทอม ผู้จัดการทีมชาติอังกฤษประทับใจ[45] ห้าวันต่อมา เขาลงเล่นในนัดสุดท้ายตลอดกาลของเขา ซึ่งยูไนเต็ดเสมอกับเรดสตาร์เบลเกรด 3–3 ในนัดเยือนและได้ผ่านเข้าไปเล่นรอบรองชนะเลิศยูโรเปียนคัพ ด้วยผลรวมประตู 5–4[46]

การเสียชีวิต[แก้]

A gravestone almost entirely covered in floral tributes
เอดเวิดส์ถูกฝังอยู่ที่สุสานดัดลีย์ และหลุมศพของเขาก็ยังคงมีสิ่งรำลึกจากแฟนของเขามากมาย

ขณะที่เดินทางจากเบลเกรด เพื่อกลับบ้าน เครื่องบินที่เอดเวิดส์และเพื่อนร่วมทีมของเขาโดยสารอยู่ก็เกิดอุบัติเหตุระหว่างที่จะบินขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่เครื่องบินลำนี้ได้ลงจอดเพื่อเติมเชื้อเพลิงในมิวนิก ประเทศเยอรมนี[47] ผู้เล่น 7 คนและผู้โดยสารคนอื่น 14 คนเสียชีวิตทันที[47] และเอดเวิดส์ถูกพามายังโรงพยาบาลเรชส์แดร์อีซาร์ในมิวนิก ด้วยอาการบาดเจ็บสาหัสที่ขา สะโพก และไต[48][49] แพทย์พยายามปลอบเขาด้วยโอกาสที่จะรอดชีวิต แต่เขาอาจไม่สามารถกลับไปเล่นฟุตบอลได้อีก[50]

แพทย์ได้ใช้ไตเทียม เพื่อให้เขามีชีวิตรอดต่อไป แต่อวัยวะเทียมนี้ทำให้ความสามารถในการแข็งตัวของเลือดลดลง และเริ่มมีเลือดออกภายในร่างกาย[51] อย่างไรก็ตาม เขาก็ยังคงถามผู้ช่วยผู้จัดการทีม จิมมี เมอร์ฟี ว่า "กี่โมงที่เราจะลงเล่นกับวูฟส์ จิมมี? ฉันต้องไม่พลาดนัดนั้น"[52] วันที่ 14 กุมภาพันธ์ อาการของเขาถูกรายงานว่า "ดีขึ้นอย่างมาก"[53] ถึงกระนั้น วันที่ 19 กุมภาพันธ์ อาการของเขากลับทรุดลงอย่างรวดเร็ว ด้วยการใช้ไตเทียม ซึ่งทำให้สุขภาพของเขาย่ำแย่ลง[54] แพทย์ต่างประหลาดใจกับการสู้ชีวิตของเขา และวันต่อมา อาการของเขาก็ค่อย ๆ ดีขึ้น[49][51][55] แต่ท้ายที่สุดแล้วเอ็ดเวิร์ดได้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 เวลา 2 นาฬิกา 15 นาที[56] หนึ่งชั่วโมงก่อนการเสียชีวิตของเขา นิตยสาร Football Mouthly ของชาลส์ บูคัน ก็ถูกตีพิมพ์ ด้วยหน้าปกที่มีภาพถ่ายของเอ็ดเวิร์ดกำลังยิ้มอยู่[57]

ร่างของเอดเวิดส์ถูกฝังที่สุสานดัดลีย์ ใน 5 วันต่อมา[58] เขาถูกฝังข้าง ๆ หลุมศพของแคโรล แอนน์ น้องสาวของเขา[59] ประชาชนกว่า 5,000 คนออกมายืนเรียงกันตามถนนในดัดลีย์สำหรับงานศพของเขา[60] หลุมศพของเขาจารึกไว้ว่า "วันแห่งความทรงจำ เขาจากพวกเราไปโดยไม่มีการอำลาและเขาจะไม่กลับมาอีก"[61] และหลุมศพของเขาก็จะมีแฟนคลับมาเยือนที่นี่อยู่บ่อยๆ[62]

การระลึก[แก้]

A road sign reading "Duncan Edwards Close"
ถนนหนึ่งในดัดลีย์ได้ตั้งชื่อตามเอดเวิดส์ เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา

เอดเวิดส์ได้ถูกทำเป็นอนุสรณ์หลายแห่งในดัดลีย์ บ้านเกิดของเขา ภาพวาดหน้าต่างกระจกสีของโบสถ์เซนต์ฟรานซิสซึ่งออกแบบโดยฟรานซิส สกีต[63] ถูกเปิดตัวโดยแมตต์ บัสบี ในปี พ.ศ. 2504[3] และรูปปั้นของเขาในใจกลางเมืองดัดลีย์ก็มอบให้จากแม่ของเอดเวิดส์และบ็อบบี ชาร์ลตัน ในปี พ.ศ. 2542[64] ปี พ.ศ. 2536 ตรอกตันของชุมชนหนึ่งใกล้กับสุสาน ที่ซึ่งเขาถูกฝังไว้ ได้ถูกตั้งชื่อว่า "ตรอกดันแคนเอดเวิดส์"[59] ผับเวร์นส์เนสต์ในพรีออรีเอสเทท ใกล้กับที่ที่เอดเวิดส์เติบโตมา ก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "ดิดันแคนเอดเวิดส์" เพื่อเป็นเกียรติแก่เขาในปี พ.ศ. 2544 แต่มันก็ปิดตัวลงในห้าปีต่อมา เนื่องจากมีผู้ลอบวางเพลิง[65] ในปี พ.ศ. 2549 มีเครื่องเล่นใหม่ๆ มูลค่ากว่า 100,000 ปอนด์ ในสวนสาธารณะพรีออรี ที่ซึ่งเอดเวิดส์มาเล่นตอนเด็กๆ[66] ในปี พ.ศ. 2551 ถนนเลี่ยงเมืองทางตอนใต้ของดัดลีย์ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "ดันแคนเอดเวิดส์เวย์" เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา[67] พิพิธภัณฑ์ศิลปะดัดลีย์ได้จัดแสดงสิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับเขา รวมถึงหมวกที่แทนถึงการลงเล่นของเขาให้กับอังกฤษ[68] บ้านจัดสรรในแมนเชสเตอร์ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นดันแคนเอดเวิดส์ รวมทั้งถนนที่ตัดผ่านบ้านเหล่านั้น ก็ได้นำชื่อของผู้เสียชีวิตในโศกนาฎกรรมมิวนิกมาตั้ง เช่น เอ็ดดี โคลแมน โรเจอร์ เบิร์น และทอมมี เทย์เลอร์[69] ในวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 แผ่นฟ้าถูกเปิดตัวโดยบ็อบบี ชาร์ลตัน ที่ห้องพักของเขาในสเตทฟอร์ด[70]

ในปี พ.ศ. 2539 เอดเวิดส์เป็นหนึ่งในผู้เล่นห้าคนที่ถูกเลือกให้อยู่ในตราไปรษณียากรบริติช ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ "ตำนานนักฟุตบอล" โดยได้เปิดตัวเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1996[71] เขายังถูกแสดงโดยแซม แคลฟลิน ในภาพยนตร์บริติชเรื่อง ยูไนเต็ด ซึ่งมีโครงเรื่องมาจากโศกนาฎกรรมมิวนิก[72]

มีหลายคนที่ยกย่องความสามารถของเอดเวิดส์ บ็อบบี ชาร์ลตัน กล่าวถึงเอดเวิดส์ว่า "เป็นผู้เล่นคนเดียวที่ทำให้เขารู้สึกด้อยกว่า" และกล่าวว่าการตายของเขาเป็น "โศกนาฎกรรมเดียวที่ใหญ่ที่สุดที่เคยเกิดขึ้นกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดและฟุตบอลอังกฤษ"[73] เทอร์รี เวนาเบิลส์ เชื่อว่าถ้าเขายังมีชีวิตอยู่ คนที่จะชูถ้วยฟุตบอลโลกในฐานะกัปตันทีมชาติอังกฤษ จะไม่ใช่บ็อบบี มัวร์ แต่เป็นดันแคน เอดเวิดส์[48] ทอมมี ดอเชอร์ตีกล่าวว่า "ไม่มีข้อกังขาใดๆ ที่จะทำให้ผมมั่นใจได้ว่าดันแคนเป็นนักฟุตบอลที่ดีที่สุดตลอดกาล ไม่ใช่แค่เฉพาะยูไนเต็ดและทีมชาติอังกฤษ แต่ยังดีที่สุดในโลก แม้ว่าจอร์จ เบสต์จะพิเศษ เช่นเดียวกับเปเล่ และมาราโดนา แต่สำหรับผมแล้ว ดันแคนดีกว่าพวกเขามากทั้งในด้านทักษะและความสามารถ"[74] การรับรู้ถึงความสามารถของเอดเวิดส์นั้น ทำให้มันเป็นอันดับแรกของฮอลล์ออฟเฟมของฟุตบอลอังกฤษในปี พ.ศ. 2545[75]

รูปแบบการเล่น[แก้]

โดยทั่วไป เขามีความแข็งแกร่งและความฉลาดในการเล่นฟุตบอลที่ยอดเยี่ยม ความสามารถทุกอย่างของเขาสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เท้าซ้าย ขวา หรือการยิงระยะไกล เขาทำได้ทุกอย่างตามสัญชาตญาณ

บ็อบบี ชาร์ลตัน[41]

ถึงแม้ว่าเขาจะเล่นอยู่ในตำแหน่งกองกลางตัวรับเป็นหลัก แต่เอดเวิดส์เคยกล่าวไว้ว่า เขาสามารถเล่นได้ทุกตำแหน่งในสนาม[8] ครั้งหนึ่งเขาเคยถูกส่งลงเป็นกองหน้าตัวเป้าแทนผู้เล่นที่เล่นตำแหน่งนี้ประจำ เนื่องจากบาดเจ็บ และในนัดเดียวกัน เขาก็ถูกเปลี่ยนไปเล่นเป็นกองหลังตำแหน่งกลาง ด้วยสาเหตุเดียวกัน[76] พรสวรรค์อันยิ่งใหญ่ของเขา คือ ความแข็งแรงทางจิตใจของเขาและมีความเป็นผู้นำในสนาม ซึ่งเขามักจะถูกกล่าวไว้ว่า เป็นสิ่งที่น่าจดจำสำหรับนักเตะเยาวชนเช่นเขา[20] เขายังมีพละกำลังที่มาก[58] สแตนลีย์ แมตทิวบรรยายว่าเอดเวิดส์เปรียบเสมือนเป็น "ก้อนหินกลางทะเลอันโหดร้าย"[77] บ็อบบี มัวร์ยังเปรียบเทียบเขากับหินแห่งยิบรอลตาร์ เมื่ออยู่ในสถานการณ์ตั้งรับ นอกจากนี้เขายังถูกบรรยายไว้อีกว่าเป็น "กองหน้าที่คม"[48] จากร่างกายของเขาทำให้เขาได้ชื่อเล่นว่า "บิกดังก์" และ "ดิแทงก์"[62] และเขายังได้รับการขนานนามว่าเป็นนักเตะที่อึดที่สุดตลอดกาล[78]

เอดเวิดส์ยังถูกบรรยายเกี่ยวกับแรงและช่วงเวลาที่เขาใช้ในการสกัดลูกฟุตบอลและในการจ่ายบอลและยิงด้วยความสมดุลของเท้าทั้งสองข้าง[62] เขายังเป็นที่รู้จักในเรื่องของการวิ่งในสนาม ความสามารถในการโหม่งบอล และการยิงประตูจากระยะไกล[48][79] หลังจากที่เขาทำประตูได้เมือ่วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 ในนัดที่พบกับเยอรมนีตะวันตก เขาได้ชื่อเล่นใหม่ว่า "บูม บูม" โดยสำนักข่าวท้องถิ่นของเยอรมนี เพราะว่า "บิกเบอร์ธาได้ยิงในรองเท้าของเขา"[31][77]

สถิติ[แก้]

สโมสร ฤดูกาล ฟุตบอลลีก
เฟิสต์ดิวิชัน
เอฟเอคัพ ยูโรเปียนคัพ ชาริตีชีลด์ รวม
ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด[23] 1952–53 1 0 0 0 0 0 0 0 1 0
1953–54 24 0 1 0 0 0 0 0 25 0
1954–55 33 6 3 0 0 0 0 0 36 6
1955–56 33 3 0 0 0 0 0 0 33 3
1956–57 34 5 6 1 7 0 1 0 48 6
1957–58 26 6 2 0 5 0 1 0 34 6
รวมทั้งหมด 151 20 12 1 12 0 2 0 177 21
ทีมชาติ ฤดูกาล ลงเล่น ประตู
อังกฤษ[31] 1954–55 4 0
1955–56 5 1
1956–57 6 3
1957–58 3 1
รวมทั้งหมด 18 5

ระดับชาติ[แก้]

ผลประตูและคะแนนจะนำทีมชาติอังกฤษขึ้นก่อน[31]
# วันที่ สนาม คู่แข่ง คะแนน ผล การแข่งขัน
1 26 พฤษภาคม 2499 โอลึมเพียชตาดิโยน, เบอร์ลิน ธงชาติเยอรมนีตะวันตก เยอรมนีตะวันตก 1–0 3–1 กระชับมิตร
2 5 ธันวาคม 2499 สนามกีฬาโมลีโน, วุลเวอร์แฮมป์ตัน ธงชาติเดนมาร์ก เดนมาร์ก 4–2 5–2 ฟุตบอลโลก 1958 รอบคัดเลือก
3 5–2
4 6 เมษายน 2500 สนามกีฬาเวมบลีย์, ลอนดอน ธงชาติสกอตแลนด์ สกอตแลนด์ 2–1 2–1 บริติชโฮมแชมเปียนชิพ ฤดูกาล 1957
5 6 พฤศจิกายน 2501 สนามกีฬาเวมบลีย์, ลอนดอน ธงชาติไอร์แลนด์เหนือ ไอร์แลนด์เหนือ 2–3 2–3 บริติชโฮมแชมเปียนชิพ 1958

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

เอดเวิดส์เป็นบุคคลที่ไม่นิยมของมึนเมา และชีวิตของเขานอกวงการฟุตบอลนั้น มีความส่วนตัวเป็นอย่างมาก เขามีความสนใจในการตกปลา เล่นไพ่ และไปโรงภาพยนตร์[80][81][82] แม้ว่าเขามักจะร่วมเต้นรำกับเพื่อนร่วมทีม แต่เขาก็ไม่เคยมีความมั่นใจต่อสภาพแวดล้อมของสังคม[83] จิมมี เมอร์ฟี ผู้ช่วยผู้จัดการทีมของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้บรรยายไว้ว่า เอดเวิดส์เป็น "เด็กบริสุทธิ์" และเขาสามารถพูดสำเนียงแบล็กคันทรีได้ ซึ่งเพื่อนร่วมทีมของเขายากที่จะเลียนแบบ[3] ครั้งหนึ่งเอดเวิดส์เคยถูกตำรวจจับในข้อหาขี่จักรยานที่ไม่มีไฟหน้า เขาถูกปรับเป็นเงิน 5 ชิลลิงโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ และค่าเหนื่อยสองสัปดาห์จากสโมสร[84]

ช่วงที่เขายังมีชีวิตอยู่ เอดเวิดส์อาศัยอยู่ในห้องพัก บริเวณกอร์สอเวนิว สเตรตฟอร์ด[85] เวลานั้นเขาได้หมั้นกับมอลลี ลีช วัย 22 ปี ผู้ซึ่งเป็นพนักงานในโรงงานผลิตสิ่งทอ ในบริเวณอัลทรินคัม เขาและมอลลีพบกันที่โรงแรมในท่าอากาศยานแมนเชสเตอร์ เมื่อหนึ่งปีก่อนที่ทั้งคู่จะหมั้นกัน ทั้งคู่ยังเป็นผู้ปกครองอุปถัมภ์ของลูกสาวของเพื่อนของลีช โจเซฟีน สตอทท์[80]

เอดเวิดส์มีผลงานการโฆษณาเม็ดกลูโคส และยังเขียนหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อว่า "แทคเกิลซอกเกอร์ดิสเวย์" การโฆษณาทำให้เขามีรายได้เพิ่ม 15 ปอนด์ต่อสัปดาห์ในแต่ละฤดู เว้นในฤดูร้อนซึ่งเขาจะได้ 12 ปอนด์ต่อสัปดาห์[3] หนังสือที่เขาเขียนนั้นถูกตีพิมพ์หลังจากที่เขาเสียชีวิตไม่นานด้วยความเห็นชอบจากครอบครัวของเขา และหลังจากที่ถูกตีพิมพ์นานหลายปี[86] หนังสือเล่มนี้ก็ถูกตีพิมพ์ซ้ำอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552[87]

อ้างอิง[แก้]

  1. McCartney, p. 1.
  2. "Staffordshire Boundary Changes". GENUKI. 26 March 2001. สืบค้นเมื่อ 14 February 2008.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Dickinson, Matt (1 February 2008). "Tragedy of the golden boy whose talent knew no bounds". The Times. London. สืบค้นเมื่อ 13 February 2008.
  4. 4.0 4.1 "Duncan Edwards- 50 years on". Dudley News. 30 January 2008. สืบค้นเมื่อ 20 February 2008.
  5. McCartney, p. 4.
  6. "Your memories of Duncan". Dudley News. 30 January 2008. สืบค้นเมื่อ 14 February 2008.
  7. McCartney, p. 5.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 Philip, Robert (6 February 2008). "Duncan Edwards could have been the greatest". The Daily Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-10. สืบค้นเมื่อ 13 February 2008.
  9. "Edwards: The Black Country's greatest". Birmingham Post. 8 February 2008. สืบค้นเมื่อ 14 February 2008.
  10. Viner, Brian (1 October 2001). "Football: Enduring legend of indomitable Edwards". The Independent. สืบค้นเมื่อ 14 February 2008.[ลิงก์เสีย]
  11. McCartney, p. 12.
  12. 12.0 12.1 "Legends: Duncan Edwards". Manchester United F.C. สืบค้นเมื่อ 26 January 2011.
  13. McCartney, p. 25.
  14. 14.0 14.1 "Duncan Edwards tribute exhibition". Express and Star. 8 January 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-19. สืบค้นเมื่อ 18 February 2008.
  15. McCartney, p. 13.
  16. Meek, p. 100.
  17. McCartney, p. 16.
  18. Horne et al., p. 225.
  19. "Results/fixtures". Soccerbase. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-05. สืบค้นเมื่อ 13 February 2008.
  20. 20.0 20.1 Holt, Lloyd, p. 140.
  21. McCartney, p. 22.
  22. McCartney, pp. 25–26.
  23. 23.0 23.1 23.2 23.3 23.4 23.5 "Duncan Edwards". stretfordend.co.uk. สืบค้นเมื่อ 19 February 2008.
  24. "Manchester United". The Football Club History Database. สืบค้นเมื่อ 19 February 2008.
  25. McCartney, p. 30.
  26. McCartney, pp. 34–36.
  27. McCartney, p. 41.
  28. McCartney, p. 52.
  29. McCartney, pp. 52–53.
  30. McCartney, pp. 56–57.
  31. 31.0 31.1 31.2 31.3 31.4 Courtney, Barry (8 June 2005). "England – International Results 1950–1959 – Details". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 16 September 2010.
  32. McCartney, p. 59.
  33. Greenhalgh, Simon (4 February 2008). "Charlton remembers his lost team mates". Messenger Newspapers. สืบค้นเมื่อ 21 February 2008.
  34. Meek, p. 102.
  35. McCartney, pp. 60–61.
  36. "Final 1955/1956 English Division 1 (old) Table". Soccerbase. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-05. สืบค้นเมื่อ 19 February 2008.
  37. "Final 1956/1957 English Division 1 (old) Table". Soccerbase. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-05. สืบค้นเมื่อ 19 February 2008.
  38. "Broken dreams: United and Villa in a game of two eras". The Independent. 2 January 2008. สืบค้นเมื่อ 19 February 2008.
  39. "Manchester United all time records". Soccerbase. 23 February 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-26. สืบค้นเมื่อ 21 February 2008.
  40. "World Cup 1958 qualifications". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 15 September 2010.
  41. 41.0 41.1 Charlton, Bobby (3 February 2008). "Charlton: Duncan Edwards was hard as nails". The Daily Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-04. สืบค้นเมื่อ 14 February 2008.
  42. Meek, David (6 February 2008). "Busby Babes were destined for great things". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 19 February 2008.
  43. McCartney, p. 105.
  44. "Pat Rice recalls United's last match in Britain before the Munich air disaster of 1958". Daily Mail. 5 February 2008. สืบค้นเมื่อ 20 February 2008.
  45. McCartney, p. 113.
  46. "Old International" (6 February 1958). "United through: excitement aplenty in second half". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 20 February 2008.
  47. 47.0 47.1 "1958: United players killed in air disaster". BBC. 6 February 1958. สืบค้นเมื่อ 18 February 2008.
  48. 48.0 48.1 48.2 48.3 "Charlton remembers 'greatest ever'". Sportsnet.ca. 1 February 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-07. สืบค้นเมื่อ 18 February 2008.
  49. 49.0 49.1 "Hodgy sheds a tear for mate". Bicester Advertiser. 5 February 2008. สืบค้นเมื่อ 18 February 2008.
  50. McCartney, p. 114.
  51. 51.0 51.1 McCartney, p. 117.
  52. Wagg et al., p. 22.
  53. "Manchester soccer star much improved". Calgary Herald. Google News. Reuters. 14 February 1958. สืบค้นเมื่อ 23 April 2011.
  54. Henderson, Gair (19 February 1958). "'Edwards is sinking rapidly'". Evening Times. สืบค้นเมื่อ 24 April 2011.
  55. "The lost Babes". The Guardian. 5 February 2008. สืบค้นเมื่อ 18 February 2008.
  56. Clarke, Roger (21 February 2008). "Football: Dudley's jewel in the crown... Busby Babe Duncan Edwards died 50 years ago today, aged just 21". Birmingham Mail. สืบค้นเมื่อ 18 November 2012.
  57. Inglis, Simon (2008). The Best of Charles Buchan's Football Monthly. Malavan Media. p. 57. ISBN 0-9547445-8-6.
  58. 58.0 58.1 Hassan, Nabil (6 February 2008). "Why Edwards was king". BBC. สืบค้นเมื่อ 13 February 2008.
  59. 59.0 59.1 Madeley, Peter (4 February 2008). "Born In Dudley, died at Munich". ESPN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-21. สืบค้นเมื่อ 14 February 2008.
  60. McCartney, p. 121.
  61. "The day decency died in our 'beautiful game'". Daily Mail. 1 February 2008. สืบค้นเมื่อ 18 February 2008.
  62. 62.0 62.1 62.2 Robson, James (6 February 2008). "A rock in a raging sea". Manchester Evening News. สืบค้นเมื่อ 13 February 2008.
  63. "A Tribute to Duncan Edwards" (PDF). Dudley Metropolitan Borough Council. สืบค้นเมื่อ 30 June 2015.[ลิงก์เสีย]
  64. "Fans adorn statue of Duncan Edwards with a United shirt". Daily Mail. 5 February 2008. สืบค้นเมื่อ 13 February 2008.
  65. ""Eyesore" pub set for revamp". Dudley News. 16 November 2006. สืบค้นเมื่อ 14 February 2008.
  66. "c". Stourbridge News. 13 January 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-20. สืบค้นเมื่อ 18 February 2008.
  67. Bradley, Steve (29 December 2008). "New road signs have been installed to honour Dudley-born football hero Duncan Edwards". Birmingham Mail. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-26. สืบค้นเมื่อ 18 June 2009.
  68. "Duncan Edwards & Local Sporting Heroes". Dudley Metropolitan Borough Council. 14 December 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-22. สืบค้นเมื่อ 15 November 2012.
  69. Conn, David (21 April 2010). "FC United homage to history as they prepare for future at Newton Heath". The Guardian. Guardian News and Media. สืบค้นเมื่อ 4 January 2011.
  70. Downes, Robert (26 May 2011). "Busby Babes players honoured in blue plaque scheme". Stretford and Altrincham Messenger. สืบค้นเมื่อ 31 May 2011.
  71. Wilson, Iain (27 March 1996). "English stamp their authority in football poll". The Herald. Glasgow. สืบค้นเมื่อ 9 February 2011.
  72. "Family so proud of film about Duncan Edwards". Express and Star. 15 November 2010. สืบค้นเมื่อ 27 April 2011.
  73. "Greatest England XI – Sir Bobby Charlton". The Football Association. 7 November 2003. สืบค้นเมื่อ 19 January 2011.
  74. Collett, Mike (1 February 2008). "Edwards had everything but time on his side". Reuters. สืบค้นเมื่อ 18 February 2008.
  75. "England Player Honours – National Football Museum Hall of Fame". England Football Online. 1 November 2004. สืบค้นเมื่อ 14 February 2008.
  76. Winter, Henry (9 February 2008). "Duncan Edwards: Blessed with majesty". The Daily Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-16. สืบค้นเมื่อ 19 February 2008.
  77. 77.0 77.1 Galvin, Robert. "Duncan Edwards". The National Football Museum. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-15. สืบค้นเมื่อ 13 February 2008.
  78. Murphy, Alex (18 February 2008). "Football's 50 greatest hard men". The Times. London. สืบค้นเมื่อ 7 August 2007.
  79. Northcroft, Jonathan (14 February 2008). "Lost in time – Manchester United's 1958 Busby Babes". The Times. London. สืบค้นเมื่อ 3 February 2008.
  80. 80.0 80.1 Greenhalgh, Simon (22 January 2008). "Remembering a legend". Messenger Newspapers. สืบค้นเมื่อ 13 February 2008.
  81. McCartney, p. 38.
  82. McCartney, p. 61.
  83. McCartney, p. 39.
  84. Mullock, Simon (10 February 2008). "Dietmar Hamann urges Man City fans to behave for minute's silence". Daily Mirror. สืบค้นเมื่อ 14 February 2008.[ลิงก์เสีย]
  85. Kelly, Graham (7 April 2003). "Graham Kelly: Rooney's rise mirrored in simpler days of Edwards". The Independent. สืบค้นเมื่อ 22 February 2008.[ลิงก์เสีย]
  86. Smith, Rory (3 February 2008). "Busby Babe Duncan Edwards exclusive". Sunday Mirror. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-06. สืบค้นเมื่อ 13 February 2008.
  87. "Tackle Soccer This Way". Kelmscott Press. สืบค้นเมื่อ 19 November 2009.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Holt, Nick; Lloyd, Guy (2006). Total British Football. Flame Tree Publishing. ISBN 1-84451-403-X.
  • Horne, John; Tomlinson, Alan; Whannel, Garry (1999). Understanding Sport: An Introduction to the Sociological and Cultural Analysis of Sport. Taylor & Francis. ISBN 0-419-13640-1.
  • Leighton, James (2002). Duncan Edwards: The Greatest. London: Simon & Schuster UK. ISBN 978-0-85720-781-4.
  • McCartney, Iain (2001). Duncan Edwards: The Full Report. Britespot Publishing Solutions. ISBN 0-9539288-5-3.
  • Meek, David (2006). Legends of United: The Heroes of the Busby Years. Orion Books. ISBN 0-7528-7558-2.
  • Wagg, Stephen (2004). Andrews, David L. (บ.ก.). Manchester United: A Thematic Study. Routledge. ISBN 0-415-33333-4.