ดรูว์ ไวส์แมน
ดรูว์ ไวส์แมน | |
---|---|
ไวส์แมนเมื่อปี 2022 | |
เกิด | เล็กซิงตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐ | 7 กันยายน ค.ศ. 1959
การศึกษา | มหาวิทยาลัยแบรนไดส์ (BA, MA) มหาวิทยาลัยบอสตัน (MD, PhD) |
มีชื่อเสียงจาก | เทคโนโลยี mRNA ที่ปรับมาใช้สำหรับวัคซีนโควิด-19 |
รางวัล | ราววัลรอสเซินสตีล (2020) รางวัลการวิจัยทางคลินิกแลสเคอร์ - ดีบาคี (2021) รางวัลวินฟิวเชอร์ (2022) รางวัลความก้าวหน้าในวิทยาศาสตร์ชีวิต (2022) รางวัลฮาร์วีย์ (2023 สำหรับปี 2021) รางวัลโนเบลสาขาการแพทย์และสรีรวิทยา (2023) |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
วิทยานิพนธ์ | Regulation of B lymphocytes with reagents that cross-link surface immunoglobulin (1987) |
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอก | Ann Marshak-Rothstein |
ดรูว์ ไวส์แมน (อังกฤษ: Drew Weissman; 7 กันยายน 1959) เป็นแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน และผู้รับราวัลโนเบลสาขาการแพทย์ เป็นที่รู้จักดีจากส่วนร่วมในชีววิทยาอาร์เอ็นเอ ชิ้นงานของเขาได้ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัคซีนโรค COVID-19 ของ ไบออนเท็ก/ไฟเซอร์ และ มอเดอร์นา[1] เขาเป็นศาสตราจารย์รอเบิตส์แฟมิลีด้านการวิจัยวัคซีน (Roberts Family Professor in Vaccine Research) คนแรก, ผู้อำนวยการสถาบันเพนน์เพื่อนวัตกรรมอาร์เอ็นเอ (Penn Institute for RNA Innovation) และอาจารย์แพทย์ประจำวิทยาลัยแพทยศาสตร์เพเรลแมน มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย เขาและเพื่อนร่วมวิจัย คอตอลิน คอริโคว ได้รับรางวัลร่วมกันจำนวนมาก รวมถึงรางวัลวิจัยทางคลินิกแลสเคอร์-ดีบาคี และในปี 2023 ทั้งคู่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์และสรีรวิทยา[2][3]
การยอมรับ
[แก้]ไวส์แมนและกอริกอได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์และสรีรวิทยาในปี 2023 จากผลงานที่เกี่ยวกับเอ็มอาร์เอ็นเอ,[2] รางวัลรอสเซนสตีล ในปี 2020,[4] รางวัลลูยซา กรอว ฮอร์วิตซ์,[5] รางวัลศูนย์การแพทย์แอลบานี,[6] รางวัลวิจัยคลินิกแลสเคอร์-ดีบาคี,[7] รางวัลแนวหน้าความรู้ มูลนิธิ BBVA[8]
ไวส์แมนได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเดร็กเซิล[9] และในปี 2021 เขาได้รับรางวัลเจ้าหญิงแห่งแอสตูเรียส ในสาขาการวิจัยทางวิทยาศาสตร์[10] ในปี 2022 เขาได้รับรางวัลความก้าวหน้าด้านวิมยาศาสตร์ชีวิต, เหรียญเจสซี สตีเวนสัน คอวาเลนโค,[11] จากสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติร่วมกับกอตอลิน และรางวัลญี่ปุ่น[12] รางวัลรอเบิร์ต ค็อก[13] กับรางวัลทังสำหรับสาขาวิทยาศาสตร์ชีวเภสัชวิทยา, รางวัลจานทองจากสถาบันความสำเร็จอเมริกัน[14] และได้รับเลือกตั้งเข้าสู่สถาบันแพทยศาสตร์แห่งชาติอเมริกัน และสถาบันศิลปศาสตร์และวิทยาการแห่งชาติอเมริกัน[15][16] ในปี 2023 เขาได้รับรางวัลฮาร์วีย์ของเท็กไอนอนในอิสราเอล รางวัลสำหรับปี 2021[17]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "This Philly Scientist's Technology Helped Make the Pfizer COVID-19 Vaccine Possible". November 12, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 13, 2020.
- ↑ 2.0 2.1 "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2023". NobelPrize.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ October 2, 2023.
- ↑ "Covid | Premio Nobel de Medicina 2023: qué es el ARN mensajero por el que premiaron a Katalin Karikó y Drew Weissman". BBC News Mundo (ภาษาสเปน). 2023-10-02. สืบค้นเมื่อ 2023-10-02.
- ↑ "Lewis S. Rosenstiel Award for Distinguished Work in Basic Medical Research". www.brandeis.edu (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 8, 2021. สืบค้นเมื่อ January 23, 2021.
- ↑ "The Louisa Gross Horwitz Prize". Columbia University Irving Medical Center. June 14, 2018. สืบค้นเมื่อ December 13, 2021.
- ↑ Albany Medical Center Prize 2021
- ↑ Hofschneider, Mark. "Modified mRNA vaccines". Lasker Foundation. สืบค้นเมื่อ December 13, 2021.
- ↑ "Find out about the BBVA Foundation Frontiers of Knowledge Award". Premios Fronteras.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อJohnson
- ↑ IT, Developed with webControl CMS by Intermark. "Katalin Karikó, Drew Weissman, Philip Felgner, Uğur Şahin, Özlem Türeci, Derrick Rossi and Sarah Gilbert – Laureates – Princess of Asturias Awards". The Princess of Asturias Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-14. สืบค้นเมื่อ December 13, 2021.
- ↑ "Jessie Stevenson Kovalenko Medal". www.nasonline.org.
- ↑ "The Japan Prize Foundation". The Japan Prize Foundation.
- ↑ "Aktuelle Presse-Informationen". www.robert-koch-stiftung.de.
- ↑ "Golden Plate Awardees of the American Academy of Achievement". www.achievement.org. American Academy of Achievement.
- ↑ "Tang Prize | Media | 2022 Tang Prize in Biopharmaceutical Science Honors Three Scientists for Developing COVID-19 mRNA Vaccines". www.tang-prize.org.
- ↑ "Awards and Accolades | The Weissman Lab | Perelman School of Medicine at the University of Pennsylvania". www.med.upenn.edu.
- ↑ "Harvey Prize 2021". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-01. สืบค้นเมื่อ 2023-10-03.