ฌ็อง-ปอล ซาทร์
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
ฌ็อง-ปอล ซาทร์ | |
---|---|
ฌ็อง-ปอล ซาทร์ ในปีค.ศ.1967 | |
เกิด | Jean-Paul Charles Aymard Sartre 21 มิถุนายน ค.ศ. 1905 ปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 |
เสียชีวิต | 15 เมษายน ค.ศ. 1980 ปารีส ประเทศฝรั่งเศส | (74 ปี)
ศิษย์เก่า | เอกอลนอร์มอลซูว์เปรีเยอร์, มหาวิทยาลัยปารีส[1] (B.A., M.A.)[2] |
คู่รัก | ซีมอน เดอ โบวัวร์ (1929–1980; เขาเสียชีวิต) |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
มีอิทธิพลต่อ | Aron, อาลแบร์ กามูว์, ซีมอน เดอ โบวัวร์, Fanon, เช เกบารา, Laing, เออร์วิง กอฟฟ์แมน, Merleau-Ponty, Gorz, Deleuze, Jeanson, เรอเน เลโบวิตซ์, ฌาคส์ ลากอง, แฮโรลด์ พินเทอร์, Rancière, อาแล็ง บาดียู, ปิแอร์ บูร์ดิเยอ, van Fraassen, จูดิธ บัตเลอร์ |
ได้รับอิทธิพลจาก | เซอเรน เคียร์เคอกอร์,[3] ซีมอน เดอ โบวัวร์, Flaubert, เกออร์ค วิลเฮ็ล์ม ฟรีดริช เฮเกิล, มาร์ติน ไฮเด็กเกอร์, เอ็ดมุนด์ ฮุสเซิร์ล, อ็องรี แบร์กซอน, Kojève, Bachelard, คาร์ล มาคส์, Stekel, Merleau-Ponty, Nizan, Levinas, มาร์แซล พรุสต์, หลุยส์-เฟอร์ดินานด์ เซลีน, อ็องรี เลอแฟฟวร์,[4] ฌ็อง-ฌัก รูโซ[5] |
ลายมือชื่อ | |
ฌ็อง-ปอล ซาทร์ (ฝรั่งเศส: Jean-Paul Sartre, 21 มิถุนายน พ.ศ. 2448 กรุงปารีส, ประเทศฝรั่งเศส - 15 เมษายน พ.ศ. 2523 ที่กรุงปารีส) เป็นนักเขียนนวนิยาย, นักบทละคร, นักปรัชญา และผู้มีบทบาทสำคัญในแนวคิดอัตถิภาวนิยมหรือทฤษฎีที่ว่าทุกคนนั้นอิสระและรับผิดชอบในการกระทำของตน (Existentialism) เป็นนักปรัชญาผู้ประกาศเสรีภาพของมนุษย์ในแง่ปัจเจกชน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) แต่ไม่ยอมรับรางวัลดังกล่าว
ประวัติ
[แก้]ฌ็อง-ปอล ซาทร์ เข้ารับการศึกษาที่ เอโกล นอร์มาล ซูเปรีเยอร์ ระหว่างปี ค.ศ. 1924 – ค.ศ. 1929 เมื่อเรียนจบ ก็ได้เป็นอาจารย์สาขาปรัชญาที่ เลอ แอร์ฟ เมื่อปี ค.ศ. 1931 ซาทร์สูญเสียบิดาตั้งแต่วัยเยาว์ และเติบโตในบ้านของตา ชื่อ คาร์ล ชไวทเซอร์ (ผู้เป็นลุงของอัลเบิร์ต ชไวทเซอร์) ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ภาษาเยอรมันที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์
ระหว่างปี 1931 - 1945 ซาทร์ได้สอนหนังสือหลายที่ รวมทั้งในอังกฤษ และสุดท้ายก็กลับมาที่ปารีส มีสองครั้งที่อาชีพของเขาถูกขัดขวาง ครั้งหนึ่ง เมื่อต้องศึกษาเป็นเวลา 1 ปี ในกรุงเบอร์ลิน และครั้งที่สองเมื่อต้องเป็นทหารในสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี 1939 ครั้นปีต่อมาถูกจับเป็นเชลย และอีกปีถัดมาก็ได้รับการปลดปล่อย
ช่วงเวลาที่สอนหนังสือนั้น ซาทร์ได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง La Nausee, 1938 เป็นครั้งแรกที่ทำให้เขามีชื่อเสียง นวนิยายเรื่องนี้เขียนในรูปบันทึกประจำวัน เล่าถึงความรู้สึกชิงชัง เมื่อเผชิญหน้ากับโลกของทางวัตถุ ไม่เพียงแต่โลกของคนอื่นเท่านั้น แต่ยังเป็นการรับรู้ถึงตัวของเขาด้วย
ซาทร์ได้รับอิทธิพลจากนักปรัชญาเยอรมัน ชื่อเอดมุนด์ ฮุสเซล และนำมาใช้ด้วยทักษะอันเลิศในผลงานพิมพ์ 3 เล่ม คือ L'Imagination (1936; จินตนาการ), Esquisse d'une théorie des émotions (1939; ร่างทฤษฎีแห่งอารมณ์) และ L'Imaginaire : Psychologie phénoménologique de l'imagination (1940; จิตวิทยาแห่งจินตนาการ) แต่ทว่าใน L'Être et le néant (1943; ความมีอยู่ และความไม่มีอะไร)ซาทร์กำหนดฐานะของจิตสำนึกมนุษย์ หรือความไม่มีอะไร (néant) ไว้ตรงข้ามความมีอยู่ หรือความเป็นสิ่งของ (être)
ซาทร์เริ่มเขียนนวนิยายชุด 4 เล่ม เมื่อปี 1945 ชื่อ Les Chemins de la liberté อีก 3 เล่ม คือ L'Âge de raison (1945; ยุคแห่งเหตุผล), Le Sursis (1945; ) และ La Mort dans l'âme (1949;เหล็กในวิญญาณ) หลังพิมพ์ครั้งที่ 3 ซาทร์ก็เปลี่ยนใจหันกลับไปสู่บทละครอีก
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซาทร์เขียนโจมตีความยะโสของมนุษย์ และเสรีภาพของปัจเจกชน ซาทร์ได้เปลี่ยนความสดใสไปสู่แนวคิดของความรับผิดชอบของสังคมหลายปีแล้ว ที่เขาแสดงความใสใจคนรวย และคนที่ไม่มีมรดกทุกชนิด ขณะเป็นครูเขาปฏิเสธไม่ยอมผูกเน็คไท ราวกับเขาจะเช็ดชนชั้นทางสังคมให้สลายไปด้วยเน็คไท และเข้าใกล้พวกคนใช้แรงงานมากขึ้น ในงานเรื่อง L'Existentialisme est un humanisme (1946;) ตอนนี้เสรีภาพแสดงนัยของความรับผิดชอบทางสังคม ในนวนิยายและบทละครเรื่องต่างๆ ของเขา
ซาทร์ได้พยายามแสดงความคิดเห็นในสื่อของเขาระหว่างช่วงสงคราม และบทละครใหม่ ก็ตามติดมาเรื่อยๆ ได้แก่ Les Mouches (ออกแสดง 1943), Huis- clos (1944) Les Mains Sales (1948) Le Diable et le bon dieu (1951) และ Les Séquestres d'Altona (1959)บทละครทั้งหมด จะเน้นที่พฤติกรรมก้าวร้าวดั้งเดิมของมนุษย์ต่อมนุษย์ ซึ่งดูเหมือนมีแต่การมองโลกในแง่ร้าย แต่ตามคำสารภาพของซาตร์เอง จุดมุ่งหมายนั้นไม่มีเรื่องศีลธรรมของการใช้ทาสเลย
กิจกรรมทางการเมืองหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซาทร์มีความสนใจอย่างกระตือรือร้นต่อชนวนการทางการเมืองในฝรั่งเศส และโน้มเอียงไปทางฝ่ายซ้าย ก็ประกาศชัดมากขึ้น เขาเป็นผู้นิยมสหภาพโซเวียตอย่างยิ่ง แม้จะไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ก็ตาม
ในปี 1954 ซาตร์เดินทางไปโซเวียต ประเภทแถบสแกนดิเนเวีย แอฟริกา สหรัฐอเมริกา และคิวบา เมื่อรัสเซียนำรถถังบุกกรุงบูดาเปส ในปี 1956 ความหวังของซาทร์ที่มีต่อลัทธิคอมมิวนิสต์ก็พังครืนอย่างน่าเศร้า เขาเขียนบทความขนาดยาว ใน Les Temps Modernes เรื่อง Le Fantôme de Staline ซึ่งตำหนิการแทรกแซงของรัสเซีย และการยอมรับพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส
ซาทร์ได้ร่วมมือกับซีมอน เดอ โบวัวร์ (Simone de Beauvoir) เขียนเรื่อง Mémoires d'une jeune fille rangée,1958 และเรื่อง La Force de l'âge, 1960-2 โดยได้เล่าถึงชีวิตของซาทร์ จากสมัยนักเรียน จนถึงกลางศตวรรษที่ 50 ใน École Normale Supérieure ในภายหลังเขาได้พบผู้คนมากมาย ที่มีจุดมุ่งหมายจะเป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียง ในจำนวนนี้ได้แก่ แรมง อารง (Raymond Aron) มอริส แมร์โล-ปงตี (Maurice Merleau-Ponty), ซีมอน แวย์ (Simone Weil), แอมานุแอล มูนีเย (Emmanuel Mounier), ฌ็อง อีปอลิต (Jean Hippolyte) และโกลด เลวี-สโทรส (Claude Levi-Strauss)
ผ่านไปหลายปี ทัศนคติเชิงวิจารณ์นี้เปิดทางสู่รูปแบบของสังคมนิยมแบบซาทร์ ซึ่งจะพบการแสดงออกในผลงานใหญ่ชิ้นใหม่ ชื่อ Critique de la raison dialectique (1960) ซาทร์ได้ดำเนินการตรวจสอบเชิงวิจารณ์ถึงวิภาษวิธีแบบมากซ์ และค้นพบว่า ไม่มีความยั่งยืนในรูปแบบที่โซเวียตใช้
งานเขียนที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย
[แก้]- คนไม่มีเงา (กรุงเทพฯ: ดวงกมล, 2517).
- เพียงความใกล้ชิด (Intimacy) แปลโดย น. ชญานุตม์ (กรุงเทพฯ: กอไผ่, 2526).
- รวมเรื่องสั้น ฌอง-ปอล ซาร์ตร์ บรรณาธิการโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี (กรุงเทพฯ: ดวงกมลวรรณกรรม, 2536).
ดูเพิ่ม
[แก้]หนังสืออ่านเพิ่มเติม
[แก้]- Annie Cohen-Solal, Sartre 1905-80, 1985.
- Simone de Beauvoir, Adieux: A Farewell to Sartre, New York: Pantheon Books, 1984.
- Thomas Flynn, Sartre and Marxist Existentialism: The Test Case of Collective Responsibility, Chicago: University of Chicago Press, 1984.
- John Gerassi, Jean-Paul Sartre: Hated Conscience of His Century, Volume 1: Protestant or Protester?, University of Chicago Press, 1989. ISBN 0-226-28797-1.
- R. D. Laing and D. G. Cooper, Reason and Violence: A Decade of Sartre's Philosophy, 1950-1960, New York: Pantheon, 1971.
- Suzanne Lilar, A propos de Sartre et de l'amour, Paris: Grasset, 1967.
- Axel Madsen, Hearts and Minds: The Common Journey of Simone de Beauvoir and Jean-Paul Sartre, William Morrow & Co, 1977.
- Heiner Wittmann, L'esthétique de Sartre. Artistes et intellectuels, translated from the German by N. Weitemeier and J. Yacar, Éditions L'Harmattan (Collection L'ouverture philosophique), Paris 2001.
- Elisabeth Roudinesco, Philosophy in Turbulent Times: Canguilhem, Sartre, Foucault, Althusser, Deleuze, Derrida, Columbia University Press, New York, 2008.
- Jean-Paul Sartre and Benny Levy, Hope Now: The 1980 Interviews, translated by Adrian van den Hoven, Chicago: University of Chicago Press, 1996.
- P.V. Spade, Class Lecture Notes on Jean-Paul Sartre's Being and Nothingness. 1996.
- Jonathan Webber The existentialism of Jean-Paul Sartre, London: Routledge, 2009
- H. Wittmann, Sartre und die Kunst. Die Porträtstudien von Tintoretto bis Flaubert, Tübingen: Gunter Narr Verlag, 1996.
- H. Wittmann, Sartre and Camus in Aesthetics. The Challenge of Freedom.Ed. by Dirk Hoeges. Dialoghi/Dialogues. Literatur und Kultur Italiens und Frankreichs, vol. 13, Frankfurt/M: Peter Lang 2009 ISBN 978-3-631-58693-8
- Wilfrid Desan, The Tragic Finale: An Essay on the philosophy of Jean-Paul Sartre (1954)
- BBC (1999). "The Road to Freedom". Human, All Too Human.
- Pink Floyd and Philosophy "Careful with that Axiom Eugene" by George A. Reisch Chicago: Open Court Publishing Company, 2007.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]By Sartre
[แก้]- Full Ebooks in French เก็บถาวร 2009-04-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน on the website 'La philosophie'
- Americans and Their Myths เก็บถาวร 2005-04-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Sartre's essay in The Nation (18 October 1947 issue)
- Sartre Texts on Philosophy Archive
- Sartre Internet Archive on Marxists.org
- French Audiobook (mp3) เก็บถาวร 2009-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, incipit of The Words (1964), read aloud in French by IncipitBlog.
On Sartre
[แก้]- UK Sartre Society เก็บถาวร 2015-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Groupe d'études sartriennes, Paris
- Sartre’s Critique of Dialectical Reason เก็บถาวร 2014-02-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน essay by Andy Blunden
- Jean-Paul Sartre (1905–1980): Existentialism Internet Encyclopedia of Philosophy
- Jean-Paul Sartre (Stanford Encyclopedia of Philosophy)
- Sartre.org Articles, archives, and forum
- Texts on Sartre เก็บถาวร 2008-11-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Sartre Rubric on the website of the Sorbonne Marx Seminar
- "The Second Coming Of Sartre" เก็บถาวร 2005-09-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, John Lichfield, The Independent, 17 June 2005
- The World According to Sartre essay by Roger Kimball
- Reclaiming Sartre เก็บถาวร 2009-06-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน A review of Ian Birchall, Sartre Against Stalinism
- Biography and quotes of Sartre
- Living with Mother. Sartre and the problem of maternity เก็บถาวร 2009-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Benedict O'Donohoe, International WebjournalSens Public.
- L’image de la femme dans le théâtre de Jean-Paul Sartre - Jean-Paul Sartre:sexiste? by Stephanie Rupert
- Pierre Michel, Jean-Paul Sartre et Octave Mirbeau.
- Listen to Radio 4's In Our Time programme on Sartre - RealAudio
- Sartre: philosophy, literature, politics (articles), International Webjournal Sens Public
[[วิกิพีเดีย:|ข้อมูลบุคคล]] | |
---|---|
ชื่อ | Sartre, Jean Paul} |
ชื่ออื่น | |
รายละเอียดโดยย่อ | French philosopher |
วันเกิด | 21 มิถุนายน ค.ศ. 1905 |
สถานที่เกิด | Paris |
วันตาย | 15 เมษายน พ.ศ. 1980 |
สถานที่ตาย | Paris |
- ↑ At the time, the ENS was part of the University of Paris according to the decree of 10 November 1903.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อSchrift
- ↑ 3.0 3.1 3.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อSEP
- ↑ Ian H. Birchall, Sartre against Stalinism, Berghahn Books, 2004, p. 176: "Sartre praised highly [Lefebvre's] work on sociological methodology, saying of it: 'It remains regrettable that Lefebvre has not found imitators among other Marxist intellectuals'."
- ↑ "Sartre's Debt to Rousseau" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2 March 2010.
- ↑ Sartre, J.-P. 2004 [1937]. The Transcendence of the Ego. Trans. Andrew Brown. Routledge, p. 7.
- ↑ Siewert, Charles, "Consciousness and Intentionality", The Stanford Encyclopedia of Philosophy (Fall 2011 Edition), Edward N. Zalta (ed.).
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2448
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2523
- นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส
- นักปรัชญาการเมือง
- นักเขียนชาวฝรั่งเศส
- ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม
- ชาวฝรั่งเศสผู้ได้รับรางวัลโนเบล
- บุคคลจากปารีส
- ศิษย์เก่าจากเอกอลนอร์มาลซูว์เปรีเยอร์
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยปารีส
- เชลยศึกสงครามโลกครั้งที่สองที่ถูกจับโดยเยอรมนี
- นักสังคมนิยมแบบอิสรนิยม
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์