อะเลคซันดร์ โซลเซนิตซิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อะเลคซันดร์ โซลเซนิตซิน
Алекса́ндр Иса́евич Солжени́цын
โซลเซนิตซินในปี ค.ศ. 1974
เกิด11 ธันวาคม ค.ศ. 1918
เสียชีวิต3 สิงหาคม ค.ศ. 2008
สัญชาติชาวรัสเซีย
อาชีพนักเขียนนวนิยาย, นักเขียนบทละคร, นักเขียนประวัติศาสตร์
ผลงานเด่น'The Gulag Archipelago
One Day in the Life of Ivan Denisovich
ตำแหน่งนักเขียน
รางวัลรางวัลโนเบล ค.ศ. 1970
รางวัลเทมเพิลทัน ค.ศ. 1983
ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม
โซลเซนิตซิน กับประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูติน (2007)

อะเลคซันดร์ อีซาเยวิช โซลเซนิตซิน (รัสเซีย: Александр Исаевич Солженицын)เป็นนักเขียนนวนิยาย, นักเขียนบทละคร และ นักประวัติศาสตร์คนสำคัญชาวรัสเซีย โซลเซนิตซิน

งานเขียนของโซลเซนิตซินทำให้โลกทราบถึงความทารุณของระบบค่ายแรงงานกูลัก (Gulag) ในสหภาพโซเวียตโดยเฉพาะในเรื่อง The Gulag Archipelago (ไทย: เกาะกูลาก) และ One Day in the Life of Ivan Denisovich (ไทย: วันหนึ่งในชีวิตของอิวาน เดนิโซวิค) ซึ่งเป็นงานสองชิ้นที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดของโซลเซนิตซิน งานเขียนอันสำคัญเหล่านี้เป็นผลทำให้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี ค.ศ. 1970 หลังจากนั้นโซลเซนิตซินก็ลี้ภัยจากสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1974 ต่อมาในปี ค.ศ. 1983 โซลเซนิตซินก็ได้รับรางวัลเทมเพิลทัน โซลเซนิตซินกลับไปรัสเซียในปี ค.ศ. 1994

งานที่ได้รับการตีพิมพ์และปาฐกถา[แก้]

  • The Solzhenitsyn Reader: New and Essential Writings, 1947-2005, ตรวจแก้โดยเอ็ดเวิร์ด อี. เอริคสัน จูเนียร์ และแดเนียล เจ. มาโฮนี (2009) - (ไทย: อ่านโซลเซนิตซิน: งานเขียนใหม่และงานเขียนสำคัญ)
  • A Storm in the Mountains - (ไทย: พายุบนภูเขา)
  • One Day in the Life of Ivan Denisovich (1962; นวนิยายขนาดสั้น) - (ไทย: วันหนึ่งในชีวิตของอิวาน เดนิโซวิค)
  • An Incident at Krechetovka Station (1963; นวนิยายขนาดสั้น) - (ไทย: เหตุการณ์ที่สถานีเครเชทอฟคา)
  • Matryona's Place (1963; นวนิยายขนาดสั้น) - (ไทย: บ้านของมาทริโยนา) เรื่องที่บรรยายโดยอดีตนักโทษกูลากผู้เป็นครูสอนคณิตศาสตร์ผู้ได้เช่าห้องที่อยู่ในสภาพที่โทรมจากมาทริโยนา
  • For the Good of the Cause (1964; นวนิยายขนาดสั้น) - (ไทย: เพื่อเหตุผลที่ดี)
  • The First Circle (1968; novel) - (ไทย: ภูมิแรก) ตั้งตามชื่อภูมิแรกซึ่งคือนรกภูมิในไตรภูมิดานเต[1]โดยดานเต อลิเกียริ
  • Cancer Ward (1968; นวนิยาย) - (ไทย: คนเป็นมะเร็ง) นวนิยายกึ่งอัตชีวประวัติเกี่ยวกับกลุ่มผู้เป็นโรคมะเร็งในอุซเบกิสถานในปี ค.ศ. 1955 หลังสมัยการปกครองของสตาลิน
  • The Love-Girl and the Innocent (1969; บทละคร) หรือ The Prisoner and the Camp Hooker หรือ The Tenderfoot and the Tart - (ไทย: โสเภณีและผู้บริสุทธิ์) บรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอาทิตย์หนึ่งในค่ายนักโทษโซเวียตในสมัยสตาลิน
  • Nobel Prize delivered speech (1970; บทปาฐกถา) บทปาฐกถาสำหรับสถาบันสวีเดนที่เป็นงานเขียนที่มิได้กล่าวจริงที่สถาบัน
  • August 1914 (1971; นวนิยายประวัติศาสตร์) ที่มาของประวัติศาสตร์การกำเนิดและการก่อตั้งสหภาพโซเวียต หัวใจนวนิยายอยู่ที่การพ่ายแพ้อันยับเยินยุทธการแทนเนนเบิร์ก ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1914 และความขาดประสิทธิภาพของผู้นำทางการทหาร ตามด้วย งานอื่นที่มีชื่อเรื่องคล้ายคลึงกัน
  • The Gulag Archipelago (สามเล่ม) (1973–1978; ประวัติศาสตร์) (ไทย: เกาะกูลาก) ไม่ใช่งานบันทึกชีวประวัติแต่เป็นประวัติของขบวนการก่อตั้งและบริหารรัฐตำรวจในสหภาพโซเวียต
  • Prussian Nights (1951, ตีพิมพ์ครั้งแรก 1974; กวีนิพนธ์) (ไทย: คืนปรัสเซีย) บรรยายการเดินทางของกองทัพโซเวียตข้ามปรัสเซียตะวันออกที่โซลเซนิตซินได้เห็นเหตุการณ์การข่มขืนและการฆาตกรรม
  • Aleksandr Solzhenitsyn's speech บทปาฐกที่งานเลี้ยงรับรองในการมอบรางวัลโนเบลในสต็อกโฮล์มเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1974
  • A Letter to the Soviet leaders, (1974) (ไทย: จดหมายถึงผู้นำโซเวียต), ISBN 0-06-013913-7
  • The Oak and the Calf (1975) บันทึกความพยายามตีพิมพ์งานเขียนในโซเวียน
  • Lenin in Zürich (1976) (ไทย: เลนินในซูริค)
  • Warning to the West (1976; ปาฐกถา 5 บท) (ไทย: คำเตือนต่อโลกตะวันตก)
  • Harvard Commencement Address (1978) link (ไทย: บทปาฐกถาในงานรับปริญญาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด)
  • The Mortal Danger: Misconceptions about Soviet Russia and the Threat to America (1980) (ไทย: มหาอันตราย: ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโซเวียตรัสเซียและอันตรายต่อสหรัฐอเมริกา)
  • Pluralists (1983; โบรชัวร์การเมือง)
  • November 1916 (1983; นวนิยายในชุด The Red Wheel)
  • Victory Celebration (1983) (ไทย: ฉลองชัยชนะ)
  • Prisoners (1983) (ไทย: นักโทษ)
  • Godlessness, the First Step to the Gulag. (1983) (ไทย: ไร้พระเจ้า, ก้าวแรกไปสู่กูลาก) บทรับรางวัลเทมเพิลทันในลอนดอนเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1983
  • August 1914 (1984; นวนิยาย, ฉบับขยายเต็มที่)
  • Rebuilding Russia (1990) - (ไทย: สร้างรัสเซียใหม่)
  • March 1917 (1990)
  • April 1917
  • The Russian Question (1995) - (ไทย: ปัญหารัสเซีย)
  • Invisible Allies[2] (1997) - (ไทย: พันธมิตรไม่มีตัวตน)
  • Russia under Avalanche (Россия в обвале,1998; โบรชัวร์การเมือง) เนื้อหาภาษารัสเซีย (ไทย: รัสเซียใต้กองปัญหา)
  • Two Hundred Years Together (2003) - (ไทย: สองร้อยปีร่วมกัน) เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของรัสเซีย-ยิวตั้งแต่ ค.ศ. 1772, ปฏิกิริยาหลายมุมมองจากผู้อ่าน[3][4][5]

อ้างอิง[แก้]

  1. The Divine Comedy by Dante Alighieri, translated by Henry Wadsworth Longfellow
  2. Solzhenitsyn, Aleksandr (1997). Invisible Allies. Basic Books. ISBN 9781887178426.
  3. Solzhenitsyn breaks last taboo of the revolution The Guardian January 25, 2003.
  4. "Russian Jews accuse Solzhenitsyn of altering history". Jewish telegraphic agency. สืบค้นเมื่อ 10 December 2019.
  5. Interview with Solzhenitsyn about "200 Years Together" เก็บถาวร 2005-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Lydia Chukovskaya, OrthodoxyToday.com January 1-7 2003.