เค็นซาบูโร โอเอะ
เค็นซาบูโร โอเอะ 大江健三郎 | |
---|---|
เค็นซาบูโร โอเอะที่โคโลญ | |
เกิด | 31 มกราคม ค.ศ. 1935 โอเซะ จังหวัดเอฮิเมะ ประเทศญี่ปุ่น |
เสียชีวิต | 3 มีนาคม ค.ศ. 2023 | (88 ปี)
สัญชาติ | ชาวญี่ปุ่น |
อาชีพ | นักเขียนนวนิยาย, นักเขียนเรื่องสั้น, นักเขียนสารคดี |
ตำแหน่ง | นักเขียน |
รางวัล | รางวัลโนเบล ค.ศ. 1994 |
นักเขียนชาวญี่ปุ่น |
เค็นซาบูโร โอเอะ (ญี่ปุ่น: 大江健三郎; โรมาจิ: Ōe Kenzaburō) (31 มกราคม ค.ศ. 1935 – 3 มีนาคม ค.ศ. 2023) เป็นนักเขียนคนสำคัญชาวญี่ปุ่นที่ได้รับอิทธิพลเป็นอันมากจากวรรณกรรมฝรั่งเศสและอเมริกัน และทฤษฎีวรรณกรรมที่มีเนื้อหาเชิงการเมือง, สังคม และปรัชญาที่รวมทั้งปัญหาอาวุธนิวเคลียร์, ความไม่อยู่ในกรอบในแผนของสังคม (social non-conformism) และ อัตถิภาวนิยม (existentialism)
โอเอะได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมในปี ค.ศ. 1994 เพราะเป็นผู้สร้างงานเขียนที่เป็น “โลกที่เกิดจากจินตนาการ ที่ชีวิตและความลึกลับรวมกันเป็นภาพพจน์อันแสดงถึงภาวะของความกระอักกระอ่วนของสถานภาพของความกลืนไม่เข้าคายไม่ออกของสังคมปัจจุบัน”[1]
ชีวิต
[แก้]โอเอะเกิดที่หมู่บ้านโอเซะ (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเมืองอูจิโกะ) จังหวัดเอฮิเมะ บนเกาะชิโกกุในประเทศญี่ปุ่น เป็นลูกคนหนึ่งในบรรดาพี่น้องเจ็ดคน บิดาเสียชีวิตเมื่อโอเอะอายุได้เก้าขวบ พออายุได้สิบแปดปีโอเอะก็เริ่มศึกษาวรรณคดีฝรั่งเศสที่มหาวิทยาลัยโตเกียวโดยเขียนวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับงานเขียนของฌ็อง-ปอล ซาทร์ โอเอะเริ่มมีงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1957 ขณะที่ยังเป็นนักศึกษาซึ่งเป็นงานที่ได้รับอิทธิพลเป็นอย่างมากจากงานเขียนร่วมสมัยของฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา
โอเอะสมรสในปี ค.ศ. 1960 ยูการิ อิเคอูชิ ภรรยาของเขาเป็นน้องสาวของผู้กำกับภาพยนตร์จูโซ อิตามิ ในปีเดียวกันโอเอะก็ได้มีโอกาสพบกับเหมา เจ๋อตงเมื่อเดินทางไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน จากนั้นก็เดินทางต่อไปยังรัสเซียและยุโรปในปีต่อมา และได้ไปพบปะกับฌ็อง-ปอล ซาทร์ในปารีส
ปัจจุบันโอเอะพำนักอยู่ในโตเกียว โอเอะมีบุตรสามคน บุตรชายคนโต ฮิการิ โอเอะซึ่งเป็นคีตกวีเป็นผู้มีภาวะการเลื่อนผิดปรกติของสมองมาตั้งแต่กำเนิดในปี ค.ศ. 1963[2] ต่อมาฮิการิได้รับการผ่าตัดแต่ส่งผลให้เขาประสบความพิการทางการเรียน[3]
ในปี ค.ศ. 2004 โอเอะให้ชื่อและสนับสนุนการเป็นปฏิปักษ์ต่อข้อเสนอในการเปลี่ยนแปลงราชธรรมนูญของญี่ปุ่นที่วางไว้ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1947 ทัศนคติของโอเอะในข้อนี้เป็นสิ่งที่สร้างความขัดแย้งโดยผู้ที่ต้องการให้ญี่ปุ่นเพิกถอนราชธรรมนูญที่ห้ามการใช้กำลังทหารในการยุติปัญหาความขัดแย้งของนานาประเทศ ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิกถอนมาตรา 9 ของราชธรรมนูญ[4]
ในปี ค.ศ. 2005 นายทหารผู้ที่เกษียณแล้วฟ้องโอเอะในข้อหาสร้างความเสียหายในบทความ “Okinawa Notes” (ค.ศ. 1970) ในบทความนี้โอเอะกล่าวว่านายทหารญึ่ปุ่นหว่านล้อมให้พลเรือนโอกินาวะเป็นจำนวนมากทำการฆ่าตัวตายระหว่างการรุกของกองทัพฝ่ายพันธมิตรบนเกาะโอกินาวะ ในปี ค.ศ. 1945 แต่ในปี ค.ศ. 2008 ศาลโอซากะยกฟ้องข้อกล่าวหาทุกข้อต่อโอเอะ ในการให้คำตัดสินผู้พิพากษาโทชิมาซะ ฟูกามิกล่าวว่า “กองทัพญึ่ปุ่นมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเต็มตัวกับการฆ่าตัวตายหมู่” ในการพบปะกับผู้สื่อข่าวหลังการตัดสินโอเอะกล่าวว่า “ผู้พิพากษาอ่านงานเขียนของผมอย่างถูกต้อง”[5]
เค็นซาบูโร โอเอะเสียชีวิตในวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 2023[3]
งานเขียน
[แก้]งานเขียนของโอเอะแบ่งได้เป็นหลายหัวข้อ โอเอะให้คำอธิบายไม่นานหลังจากที่ได้ข่าวว่าจะได้รับรางวัลโนเบลว่า “ผมกำลังเขียนเกี่ยวกับความมีศักดิ์ศรีของมนุษย์”[6]
หลังจากงานเขียนเมื่อยังเป็นนักศึกษาที่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัยแล้ว ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 โอเอะก็เขียนงานหลายชิ้น (เช่น “Prize Catch” และ “ฆ่ามันซะ! อย่าให้มันโต” (Nip the Buds, Shoot the Kids)) ที่เน้นถึงชีวิตของเด็กน้อยที่อยู่บนเกาะชิโกกุในโลกของโอเอะระหว่างที่เติบโตขึ้นมา[7] ต่อมาโอเอะกล่าวว่าเด็กที่เขียนถึงเป็นแม่แบบ (archetype) ของความเป็นเด็ก (Child archetype) ของนักจิตวิทยาคาร์ล ยุง (Carl Jung) และ นักเทพวิทยากรีกคาร์ล เคเรยี (Karl Kerényi) ที่เป็นเด็กที่ถูกทอดทิ้ง, เป็นได้ทั้งหญิงและชาย (hermaphrodism), ไม่เปลี่ยนแปลง และ มีความสัมพันธ์กับการเริ่มต้นและการสิ้นสุด[8] ลักษณะสองอย่างแรกปรากฏในงานเขียนในช่วงแรก ส่วนอีกสองลักษณะมาปรากฏในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับ 'idiot boy' ที่เขียนต่อมาหลังจากการเกิดของฮิการิ[9]
ระหว่างปี ค.ศ. 1958 ถึงปี ค.ศ. 1961 โอเอะพิมพ์งานหลายเล่มที่ผสานอุปมาทางเพศเกี่ยวกับการยึดครองญี่ปุ่น ที่โอเอะสรุปว่าโดยทั่วไปแล้วเป็นหัวเรื่องของ “ความสัมพันธ์ระหว่างชาวต่างประเทศในฐานะผู้มีอำนาจ [Z], ชาวญี่ปุ่นที่อยู่ในเชิงภาวะที่ต่ำต้อย [X] และระหว่างชนสองชั้นก็จะเป็นกลุ่มที่สาม [Y] (ที่อาจจะเป็นโสเภณีที่รับงานเฉพาะจากคนต่างชาติหรือผู้แปล)”[10] ในงานแต่ละชิ้นชาวญี่ปุ่น [X] จะเฉื่อยชา ไม่แสดงความกระตือรือร้นที่จะแก้ปัญหา หรือไม่แสดงการพัฒนาทางจิตใจและจิตวิญญาณ[11] การบรรยายเรื่องเพศอย่างแจ่มแจ้งในเรื่องต่างๆ ที่เขียนก่อให้เกิดการวิจารณ์กันอย่างขนานใหญ่ ซึ่งมาถึงจุดสูงสุดในเรื่อง “Our Times” ที่โอเอะกล่าวว่า “ตัวผมเองชอบนวนิยายเรื่องนี้[เพราะ]ผมไม่คิดว่าผมจะสามารถเขียนนวนิยายเรื่องอื่นที่เต็มไปด้วยคำที่เกี่ยวกับเรื่องเพศเท่านั้นได้อีก”[12]
ช่วงต่อมาโอเอะก็เปลี่ยนจากเนื้อหาที่เกี่ยวกับเรื่องเพศไปเป็นเรื่องของความโหดร้ายของสังคม งานที่พิมพ์ระหว่างปี ค.ศ. 1961 ถึงปี ค.ศ. 1964 เป็นงานที่ได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมเชิงอัตถิภาวนิยม และ เชิงผจญภัย (Picaresque) ของ“ผู้ร้าย” (criminal rogue) และอวีรบุรุษ (Antihero) ผู้อยู่ริมนอกของสังคม (fringe of society) ที่ทำให้อยู่ในตำแหน่งที่สามารถเสนอข้อวิจารณ์สังคมได้[13] การที่โอเอะยอมรับว่า “ฮัคผจญภัย” โดยมาร์ค ทเวนเป็นนวนิยายเรื่องที่ชอบมากที่สุดทำให้เห็นอิทธิพลที่เกิดขึ้นในบริบทของการเขียนในช่วงระยะเวลานี้[14]
ฮิการิมีอิทธิพลเป็นอย่างมากใน “Father, Where are you Going?” (ไทย: พ่อ, พ่อจะไปไหน?), “Teach Us to Outgrow Our Madness” (ไทย: สอนเราให้หายจากความคลั่ง) และ “The Day He Himself Shall Wipe My Tears Away” (ไทย: จนจะถึงวันที่ลูกจะลบน้ำตาพ่อ) นวนิยายสามเรื่องที่เขียนจากมูลฐานเดียวกัน—บิดาผู้มีบุตรที่พิการพยายามที่จะสร้างชีวิตใหม่ให้กับพ่อของตนเองผู้ขังตัวเองจนตาย ความขาดความเข้าใจเกี่ยวกับพ่อของตัวเอกเปรียบเทียบได้กับความไม่สามารถของลูกที่ไม่อาจจะเข้าใจตัวของเขาเองได้ การขาดข้อมูลเกี่ยวกับพ่อของตนเองทำให้ยากต่อทำให้ลงตัว และสามารถทำให้สร้างความซ้ำซ้อนได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และ “ความซ้ำซ้อนเป็นกระสายของการเขียนเรื่องต่างๆ ขึ้นได้”[15] โดยทั่วไปแล้วโอเอะเชื่อว่านักเขียนนวนิยายจะเขียนนวนิยายที่กระตุ้นจินตนาการของผู้อ่านอยู่เสมอ[1]
“Teach Us to Outgrow Our Madness” ใช้ตัวละครชื่อ 'โมริ' สำหรับ 'ลูกงี่เง่า' (โอเอะใช้คำว่า 'idiot-son') ที่แปลได้ทั้ง 'ตาย' และ 'โง่เง่า' ในภาษาลาติน และ 'ป่า' ในภาษาญี่ปุ่น.ความเกี่ยวพันระหว่างเด็กพิการและป่ามาปรากฏขึ้นอีกในงานเขียนต่อมา เช่นในเรื่อง “The Waters Are Come in unto My Soul” (ไทย: และสายน้ำก็จะหลั่งไหลเข้ามาในวิญญาณของฉัน) และ “M/T and the narrative about the marvels of the forest” (ไทย: เอ็ม/ที และการบรรยายเกี่ยวกับความตื่นตาของป่า)
โอเอะเชื่อว่าเป็นนักเขียนญี่ปุ่นที่แท้จริง โดยกล่าวว่า “ผมมีความต้องการอยู่เสมอที่จะเขียนเรื่องราวของประเทศของเราเอง, สังคมของเราเอง และความรู้สึกเกี่ยวกับสถานะภาพของสังคมร่วมสมัย แต่ก็ยังคงมีความแตกต่างเป็นอย่างมากระหว่างวรรณกรรมร่วมสมัยและวรรณกรรมโบราณของญี่ปุ่น” ในปี ค.ศ. 1994 โอเอะอธิบายว่าตนเองมีความภูมิใจที่สถาบันสวีเดนให้เกียรติแก่วรรณกรรมญี่ปุ่นและมีความหวังว่ารางวัลที่ได้รับนี้จะเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมนักเขียนญี่ปุ่นผู้อื่น[6]
นวนิยายขนาดสั้น “The Catch” (ไทย: จับได้) มีเนื้อหาเกี่ยวกับนักบินชาวแอฟริกัน-อเมริกันที่ถูกยิงตกระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองโดยชาวบ้านชาวญี่ปุ่นได้รับการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์โดยนางิซะ โอชิมะและออกฉายในปี ค.ศ. 1961
การหยุดเขียน
[แก้]โอเอะหยุดเขียนไปสองปีขณะยุ่งอยู่กับการถูกฟ้องร้องและการพิจารณาคดีระหว่างปี ค.ศ. 2006 ถึงปี ค.ศ. 2008 เดอะนิวยอร์กไทมส์ รายงานว่าโอเอะกำลังเริ่มเขียนนวนิยายเรื่องใหม่ที่มีตัวละครที่มืพื้นฐานมาจากบิดาของตนเอง ผู้เป็นผู้สนับสนุนระบบจักรพรรดิอย่างแข็งขันผู้จมน้ำตายระหว่างน้ำท่วมระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ตัวละครอีกตัวหนึ่งที่อาจจะมีเป็นหญิงสาวร่วมสมัยผู้ “ไม่ยอมรับทุกสิ่งทุกอย่างที่แสดงความเป็นญี่ปุ่น” และในฉากหนึ่งถึงกับพยายามทำลายระบบจักรพรรดิ[16] ในนวนิยายเรื่องนี้ก็เช่นเดียวกับงานเขียนอื่น โอเอะเป็นปรมาจารย์ในการใช้วลีญี่ปุ่นที่กำกวม และเขียนเนื้อหาที่ไม่จะแจ้งว่าดีหรือร้ายแต่จะคาบระหว่างปรัชญาทั้งสอง[17]
รางวัลและอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ
[แก้]- รางวัลอากูตางาวะ (Akutagawa Prize), ค.ศ. 1958[7]
- รางวัลวรรณกรรมชินโจซะ, ค.ศ. 1964
- Jun'ichirō Tanizaki Prize, ค.ศ. 1967
- รางวัลจิโร โอซารางิ (Asahi Shimbun), ค.ศ. 1983
- รางวัลโนะมะ, ค.ศ. 1973
- รางวัลโนเบล, ค.ศ. 1994[6]
- เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งวัฒนธรรม, ค.ศ. 1994 - ไม่ยอมรับ[16]
ผลงานบางชิ้น
[แก้]โอเอะมีผลงานเป็นเพียงจำนวนน้อยที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาอื่น ส่วนใหญ่แล้วจะยังคงเป็นภาษาญี่ปุ่น[18]
ผลงานที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษและไทย:
- Memeushiri Kouchi, ค.ศ. 1958 - Nip the Buds, Shoot the Kids (แปลโดย Paul Mackintosh และ Maki Sugiyama) หรือ ฆ่ามันซะ! อย่าให้มันโต (แปลโดยเดือนเต็ม กฤษดาธานนท์)
- Sebuntiin, ค.ศ. 1961- Seventeen (แปลโดย Luk Van Haute)
- Seiteki Ningen ค.ศ. 1963 Sexual Humans, published as J (แปลโดย Luk Van Haute)
- Kojinteki na taiken, ค.ศ. 1964 - A Personal Matter (แปลโดย John Nathan) หรือ รอยชีวิต (แปลโดยเดือนเต็ม กฤษดาธานนท์)
- Hiroshima noto, ค.ศ. 1965 - Hiroshima Notes (แปลโดย David L. Swain, Toshi Yonezawa)
- Man'en gannen no futtoboru, ค.ศ. 1967 - The Silent Cry (แปลโดย John Bester) หรือ เสียงร่ำไห้ที่เงียบงัน (แปลโดยเดือนเต็ม กฤษดาธานนท์)
- Warera no kyōki wo ikinobiru michi wo oshieyo, ค.ศ. 1969 - Teach Us to Outgrow Our Madness (ค.ศ. 1977)
- Mizukara waga namida wo nuguitamau hi, ค.ศ. 1972 - The Day He Himself Shall Wipe My Tears Away in Teach Us to Outgrow Our Madness (ค.ศ. 1977)
- Pinchiranna chosho,' ค.ศ. 1976 - The Pinch Runner Memorandum (แปลโดย Michiko N. Wilson)
- Atarashii hito yo mezame yo, ค.ศ. 1983 - Rouse Up O Young Men of the New Age! (แปลโดย John Nathan)
- Jinsei no shinseki, ค.ศ. 1989 - An Echo of Heaven (แปลโดย Margaret Mitsutani)
- Shizuka-na seikatsu, ค.ศ. 1990 - A Quiet Life (แปลโดย Kunioki Yanagishita & William Wetherall)
- Kaifuku suru kakozu, ค.ศ. 1995 - A Healing Family (แปลโดย Stephen Snyder, ill. by Yukari Oe) หรือ บ้านสมานใจ (แปลโดยนุชจรีย์ ชลคุป)
- Chugaeri, ค.ศ. 1999 - Somersault (แปลโดย Philip Gabriel)
ปี | ชื่อภาษาญี่ปุ่น | ชื่อภาษาอังกฤษ | หมายเหตุ |
ค.ศ. 1957 | 奇妙な仕事 Kimyou na shigoto |
The Strange Work | เรื่องสั้นเรื่องแรก |
死者の奢り Shisha no ogori |
Lavish Are The Dead | เรื่องสั้น | |
他人の足 Tanin no ashi |
Someone Else's Feet | เรื่องสั้น | |
飼育 Shiiku |
Prize Stock | เรื่องสั้นที่ได้รับรางวัลอะคุทะกะวะ | |
ค.ศ. 1958 | 見るまえに跳べ Miru mae ni tobe |
Leap before you look | เรื่องสั้น |
芽むしり仔撃ち Memushiri kouchi |
Nip the Buds, Shoot the Kids | นวนิยายเรื่องแรก | |
ค.ศ. 1961 | セヴンティーン Sevuntīn |
Seventeen | เรื่องสั้น |
ค.ศ. 1963 | 叫び声 Sakebigoe |
Cry | |
性的人間 Seiteki ningen |
The sexual man (หรือ "J") | เรื่องสั้น | |
ค.ศ. 1964 | 空の怪物アグイー Sora no kaibutsu Aguī |
Aghwee the Sky Monster | เรื่องสั้น |
個人的な体験 Kojinteki na taiken |
A Personal Matter | Awarded the Shinchosha Literary Prize | |
ค.ศ. 1965 | 厳粛な綱渡り Genshuku na tsunawatari |
The solemn rope-walking | บทความ |
ヒロシマ・ノート Hiroshima nōto |
Hiroshima Notes | บันทึกเหตุการณ์ (Reportage) | |
ค.ศ. 1967 | 万延元年のフットボール Man'en gan'nen no futtobōru |
The Silent Cry | ได้รับรางวัล Jun'ichirō Tanizaki |
ค.ศ. 1968 | 持続する志 Jizoku suru kokorozashi |
Continuous will | บทความ |
ค.ศ. 1969 | われらの狂気を生き延びる道を教えよ Warera no kyōki wo ikinobiru michi wo oshieyo |
Teach Us to Outgrow Our Madness | |
ค.ศ. 1970 | 壊れものとしての人間 Kowaremono toshiteno ningen |
Human being as a fragile article | บทความ |
核時代の想像力 Kakujidai no sozouryoku |
Imagination of the atomic age | ปาฐกถา | |
沖縄ノート Okinawa nōto |
Okinawa Notes | บันทึกเหตุการณ์ (Reportage) | |
ค.ศ. 1972 | 鯨の死滅する日 Kujira no shimetsu suru hi |
The day whales vanish | บทความ |
みずから我が涙をぬぐいたまう日 Mizukara waga namida wo nuguitamau hi |
The Day He Himself Shall Wipe My Tears Away | ||
ค.ศ. 1973 | 同時代としての戦後 Doujidai toshiteno sengo |
The post-war times as contemporaries | บทความ |
洪水はわが魂に及び Kōzui wa waga tamashii ni oyobi |
The Flood invades my spirit | ได้รับรางวัลโนมา | |
ค.ศ. 1976 | ピンチランナー調書 Pinchi ran'nā chōsho |
The Pinch Runner Memorandum | |
ค.ศ. 1979 | 同時代ゲーム Dojidai gemu |
The Game of Contemporaneity | |
ค.ศ. 1980 | (現代 ゲーム) Ume no chiri |
Sometimes the Heart of the Turtle | |
ค.ศ. 1982 | 「雨の木」を聴く女たち Rein tsurī wo kiku on'natachi |
Women listening to the "rain tree" | ได้รับรางวัลโยะมิอุริ |
ค.ศ. 1983 | 新しい人よ眼ざめよ Atarashii hito yo, mezameyo |
Rouse Up O Young Men of the New Age! | ได้รับรางวัลจิโระ โอะซะระงิ |
ค.ศ. 1984 | いかに木を殺すか Ikani ki wo korosu ka |
How do we kill the tree ? | |
ค.ศ. 1985 | 河馬に嚙まれる Kaba ni kamareru |
Bitten by the hippopotamus | ได้รับรางวัลวรรณกรรมยะสุนาริ คะวะบะตะ |
ค.ศ. 1986 | M/Tと森のフシギの物語 M/T to mori no fushigi no monogatari |
M/T and the Narrative About the Marvels of the Forest | |
ค.ศ. 1987 | 懐かしい年への手紙 Natsukashī tosi eno tegami |
Letters for nostalgic years | |
ค.ศ. 1988 | 「最後の小説」 'Saigo no syousetu' |
'The last novel' | บทความ |
新しい文学のために Atarashii bungaku no tame ni |
For the new literature | บทความ | |
キルプの軍団 Kirupu no gundan |
The army of Quilp | ||
ค.ศ. 1989 | 人生の親戚 Jinsei no shinseki |
An Echo of Heaven | ได้รับรางวัลวรรณกรรมเซอิ อิโตะ |
ค.ศ. 1990 | 治療塔 Chiryou tou |
The tower of treatment | |
静かな生活 Shizuka na seikatsu |
A Quiet Life | ||
ค.ศ. 1991 | 治療塔惑星 Chiryou tou wakusei |
The tower of treatment and the planet | |
ค.ศ. 1992 | 僕が本当に若かった頃 Boku ga hontou ni wakakatta koro |
The time that I was really young | |
ค.ศ. 1993 | 「救い主」が殴られるまで 'Sukuinushi' ga nagurareru made |
Until the Savior Gets Socked | 燃えあがる緑の木 第一部 Moeagaru midori no ki dai ichi bu The Flaming Green Tree Trilogy I |
ค.ศ. 1994 | 揺れ動く (ヴァシレーション) Yureugoku (Vashirēshon) |
Vacillating | 燃えあがる緑の木 第二部 Moeagaru midori no ki dai ni bu The Flaming Green Tree Trilogy II |
ค.ศ. 1995 | 大いなる日に Ōinaru hi ni |
On the Great Day | 燃えあがる緑の木 第三部 Moeagaru midori no ki dai san bu The Flaming Green Tree Trilogy III |
曖昧な日本の私 Aimai na Nihon no watashi |
Japan, the Ambiguous, and Myself: The Nobel Prize Speech and Other Lectures | ปาฐกถา | |
恢復する家族 Kaifukusuru kazoku |
A Healing Family | บทความกับยูการิ โอเอะ | |
ค.ศ. 1999 | 宙返り Chūgaeri |
Somersault | |
ค.ศ. 2000 | 取り替え子 (チェンジリング) Torikae ko (Chenjiringu) |
The Changeling | |
ค.ศ. 2001 | 「自分の木」の下で 'Jibun no ki' no shita de |
Under the 'tree of mine' | บทความกับยูการิ โอเอะ |
ค.ศ. 2002 | 憂い顔の童子 Ureigao no dōji |
The Infant with a Melancholic Face | |
ค.ศ. 2003 | 「新しい人」の方へ 'Atarashii hito' no hou he |
Toward the 'new man' | บทความกับยูการิ โอเอะ |
二百年の子供 Nihyaku nen no kodomo |
The children of 200 years | ||
2005 | さようなら、私の本よ! Sayōnara, watashi no hon yo! |
Farewell, My Books! | |
ค.ศ. 2007 | 臈たしアナベル・リイ 総毛立ちつ身まかりつ Routashi Anaberu rī souke dachitu mimakaritu |
The beautiful Annabel Lee was chilled and killed | |
ค.ศ. 2009 | 水死 sui si |
The death by drowning |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "an imagined world, where life and myth condense to form a disconcerting picture of the human predicament today." "Oe, Pamuk: World needs imagination," เก็บถาวร 2008-05-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Yomiuri Shimbun. May 18, 2008.
- ↑ "Nobel prize-winning author Kenzaburo Oe dies". BBC News. 13 March 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2023.
- ↑ 3.0 3.1 Lewis, Daniel (13 March 2023). "Kenzaburo Oe, Nobel Laureate and Critic of Postwar Japan, Dies at 88". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2023.
- ↑ Junkerman, John. "The Global Article 9 Conference: Toward the Abolition of War," เก็บถาวร 2009-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Japan Focus. May 25, 2008.
- ↑ Onishi, Norimitsu. "Japanese Court Rejects Defamation Lawsuit Against Nobel Laureate," New York Times. March 29, 2008.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Sterngold, James. "Nobel in Literature Goes to Kenzaburo Oe of Japan," New York Times. October 14, 1994.
- ↑ 7.0 7.1 Wilson, Michiko. (1986) The Marginal World of Ōe Kenzaburō: A Study in Themes and Techniques, p. 12.
- ↑ Ōe, The Method of a Novel, p. 197.
- ↑ Wilson, p. 135.
- ↑ Ōe, Ōe Kenzaburō Zensakuhin, Vol. 2 (Supplement No. 3). p. 16.
- ↑ Wilson p. 32.
- ↑ Wilson, p. 29.
- ↑ Wilson p. 47.
- ↑ Theroux, Paul. "Speaking of Books: Creative Dissertating; Creative Dissertating," New York Times. February 8, 1970.
- ↑ Wilson, p. 61.
- ↑ 16.0 16.1 Onishi, Norimitsu. "Released From Rigors of a Trial, a Nobel Laureate’s Ink Flows Freely," New York Times. May 17, 2008.
- ↑ Altman, Daniel. "A Relaxing Tradition Dips a Toe in the 21st Century," New York Times. January 20, 2008.
- ↑ Books and Writers: Kenzaburo Ōe เก็บถาวร 2015-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Ōe, Kanzaburō. (1968). Ōe Kenzaburō Zensakuhin (Complete Works of Oe Kenzaburo).Tokyo: Shinchosha.
- _____________. (1978). Shosetsu no hoho (The Method of a Novel). Tokyo: Iwanami Shoten Publishing.
- Wilson, Michiko N. (1986). The Marginal World of Ōe Kenzaburō: A Study in Themes and Techniques. Armonk, New York: M. E. Sharpe. 13-ISBN 978-0-87332-343-7 (cloth) -- 13-ISBN 978-1-56324-580-0 (paper)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Nobel Biography
- Nobel Laureate page เก็บถาวร 2005-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Kenzaburō Ōe Prize