คุรุอมรทาส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คุรุอมรทาส
Guru Amar Das - Goindwal
ภาพของคุรุอมรทาส
ชื่ออื่นคุรุองค์ที่ 3
ส่วนบุคคล
เกิด
อมรทาส

5 พฤษภาคม ค.ศ.1479
หมู่บ้าน Basarke, (ปัจจุบันคืออมฤตสระ, รัฐปัญจาบ, ประเทศอินเดีย)[1]
มรณภาพ1 กันยายน ค.ศ. 1574(1574-09-01) (95 ปี)
ศาสนาศาสนาซิกข์
คู่สมรสMata Mansa Devi
บุตรBhai Mohan, Bhai Mohri, Bibi Dani, และ Bibi Bhani
บุพการีTej Bhan กับ Mata Lachmi
ชื่ออื่นคุรุองค์ที่ 3
ตำแหน่งชั้นสูง
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าคุรุอังคัต
ผู้ดำรงตำแหน่งถัดมาคุรุรามทาส

คุรุอมรทาส (อังกฤษ: Guru Amar Das; ปัญจาบ: ਸ੍ਰੀ ਗੁਰੂ ਅਮਰਦਾਸ ਜੀ) เป็นคุรุศาสดาองค์ที่ 3 ของศาสนาซิกข์[2]

เดิมทีท่านนับถือลัทธิไวษณพในศาสนาฮินดู[3][4] จนกระทั่งเมื่อท่านได้ฟังบีบี อมโร (Bibi Amro) ผู้เป็นภรรยาของหลานชายท่านกำลังสวดเพลงสวดของท่านคุรุนานัก ทำให้ท่านเกิดความสนใจในศาสนาซิกข์ขึ้นเป็นอย่างมาก[3] ท่านอมรทาสจึงได้ขอให้บีบี อมโร พาท่านไปพบกับบิดาของนางซึ่งคือคุรุอังคัต ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำสูงสุดของซิกข์ในขณะนั้น[5] ท่านได้เปลี่ยนศาสนาเป็นซิกข์ในปี ค.ศ. 1539 หลังพบกับท่านคุรุอังคัต ด้วยอายุ 60 ปี และปรณิบัติรับใช้ท่านคุรุอังคัตอย่างดี[6] ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นคุรุศาสดาองค์ถัดไปโดยคุรุอังคัตก่อนการเสียชีวิตของคุรุอังคัตในปี ค.ศ. 1552[7]

คุรุอมรทาสถือเป็นนักพัฒนาที่สำคัญของศาสนาซิกข์ เช่น การริเริ่มองค์กร "มานชิ" (Manji)[5][3], การแต่งหนังสือรวมเพลงสวด "โปธิ" (Pothi) ซึ่งช่วยให้การแต่งคัมภีร์แรก "อดิ กรันตะ" (Adi Granth) ของคุรุรามดาส ผู้เป็นคุรุศาสดาองค์ถัดมาเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และการสร้างประเพณีและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ได้แก่ การตั้งชื่อบุตร-ธิดา, พิธีมงคลสมรส (อนันตขาราช; Anand Karaj) และ พิธีศพ และ รวมถึงเทศกาลซิกข์ เช่น ดิวาลี (Diwali), มัคขี (Maghi) และ วิสาขี (Vaisakhi) และท่านได้ประกาศให้หริมันทิรสาหิบเป็นศาสนสถานที่เป็นศูนย์รวมของซิกข์

ท่านคุรุเสียชีวิตลงด้วยอายุ 95 ปี และแต่งตั้งภัย เชธา (Bhai Jetha) บุตรเขยของท่านเป็นคุรุศาสดาองค์ถัดไป พร้อมมอบชื่อใหม่ว่า "คุรุรามดาส" อันแปลว่า ผู้รับใช้ของพระเจ้า[3][8]

อ้างอิง[แก้]

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ eosamardas
  2. "BBC – Religions – Sikhism: Guru Angad Dev".
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Louis E. Fenech; W. H. McLeod (2014). Historical Dictionary of Sikhism. Rowman & Littlefield. pp. 29–30. ISBN 978-1-4422-3601-1.
  4. Gopal Singh (1971). The Religion of the Sikhs. Allied. p. 11. ISBN 978-0-210-22296-6. Guru Amar Das was a farmer-trader and a strong Vaishnavite before he met Guru Angad at a fairly advanced age.
  5. 5.0 5.1 William Owen Cole; Piara Singh Sambhi (1995). The Sikhs: Their Religious Beliefs and Practices. Sussex Academic Press. pp. 20–21. ISBN 978-1-898723-13-4.
  6. Arvind-Pal Singh Mandair (2013). Sikhism: A Guide for the Perplexed. Bloomsbury. p. 37. ISBN 978-1-4411-0231-7.
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Farhadian2015p342
  8. H. S. Singha (2000). The Encyclopedia of Sikhism (over 1000 Entries). Hemkunt Press. pp. 14–17, 52–56. ISBN 978-81-7010-301-1.
ก่อนหน้า คุรุอมรทาส ถัดไป
คุรุอังคัต คุรุศาสดาของศาสนาซิกข์
คุรุรามทาส