คุรุซิกข์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก คุรุศาสดา)
ภาพวาดแสดงคุรุทั้ง 10 องค์

คุรุซิกข์ (ปัญจาบ: ਸਿੱਖ ਗੁਰੂ; สันสกฤต: सिक्खगुरवः) คือศาสดาทั้ง 10 องค์ของศาสนาซิกข์ โดยเริ่มเผยแผ่ศาสนาในปี 1469 [1] โดยคุรุนานักผู้เป็นคุรุศาสดาท่านแรก ในคัมภีร์คุรุครันถสาหิพและในบทสวดบางครั้งเรียกสั้น ๆ ว่า "นานัก" ซึ่งแปลว่า "แสงสว่าง" ในบทสวดยังมีการเปล่งนาม "นานัก" ในชื่อคุรุศาสดาท่านอื่น ๆ อีกด้วย

คุรุศาสดาประกอบด้วยคุรุมนุษย์ 10 ท่านและคุรุองค์ที่เป็น "อกาล" หรือเป็นนิรันดร์คือคุรุครันถสาหิพ หรือคือคัมภีร์ของศาสนาซิกข์ซึ่งแต่งตั้งโดยคุรุมนุษย์ท่านสุดท้ายคือคุรุโควินทสิงห์

รายชื่อ[แก้]

  1. คุรุนานัก (Guru Nanak)
  2. คุรุอังคัต (Guru Angat) หรือ คุรุอังกัต, คุรุอังคัท, คุรุอังขัต, คุรุอังฆัต
  3. คุรุอมรทาส (Guru Amar Das) หรือ คุรุอามัร ดาส
  4. คุรุรามทาส (Guru Ram Das) หรือ คุรุรามดาส
  5. คุรุอรชุน (Guru Arjan) หรือ คุรุอรยัน, คุรุอาร์จัน
  6. คุรุหรโคพินท์ (Guru Har Gobind) หรือ คุรุฮัรโควินท์
  7. คุรุหรราย (Guru Har Rai) หรือ คุรุฮัรราย, คุรุหาร์ไร
  8. คุรุหรกิศัน (Guru Har Krishan) หรือ คุรุฮัรกฤษณ
  9. คุรุเตฆ์บะฮาดุร (Guru Tegh Bahadur) หรือ คุรุเตค บฮาดัร
  10. คุรุโควินทสิงห์ (Guru Gobind Singh) หรือ คุรุโควินท์สิงห์
  11. คุรุครันถสาหิพ (Guru Granth Sahib) หรือ คุรุครันถ์ซาฮิบ

ช่วงเวลาของแต่ละคุรุ[2][แก้]

ครอบครัวต้นไม้ของคุรุ

อ้างอิง[แก้]

  1. Sen, Sailendra (2013). A Textbook of Medieval Indian History. Primus Books. pp. 186–187. ISBN 978-9-38060-734-4.
  2. Shiromani Gurdwara Prabandhak Committee. "Ten Gurus" เก็บถาวร 2010-01-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน