ข้ามไปเนื้อหา

คิตะกีวชู

พิกัด: 33°53′N 130°53′E / 33.883°N 130.883°E / 33.883; 130.883
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คิตะกีวชู

北九州市
ตามเข็มนาฬิกาจากบน: ศูนย์การค้าริเวอร์วอล์ก; ปราสาทโคกูระ; สถานีรถไฟโมจิโก; อดีตเตาสูงถลุงเหล็กฮิงาชิดะ; ทิวทัศน์ยามค่ำคืนของโคกูระจากภูเขาอาดาจิ; ตลาดทังงะในโคกูระ
ตามเข็มนาฬิกาจากบน: ศูนย์การค้าริเวอร์วอล์ก; ปราสาทโคกูระ; สถานีรถไฟโมจิโก; อดีตเตาสูงถลุงเหล็กฮิงาชิดะ; ทิวทัศน์ยามค่ำคืนของโคกูระจากภูเขาอาดาจิ; ตลาดทังงะในโคกูระ
ธงของคิตะกีวชู
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของคิตะกีวชู
ตรา
แผนที่
ที่ตั้งของคิตะกีวชูในจังหวัดฟูกูโอกะ
คิตะกีวชูตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
คิตะกีวชู
คิตะกีวชู
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 33°53′N 130°53′E / 33.883°N 130.883°E / 33.883; 130.883
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคคีวชู
จังหวัดฟูกูโอกะ
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีคาซุฮิสะ ทาเคอุจิ
พื้นที่
 • นครใหญ่ที่รัฐกำหนด491.95 ตร.กม. (189.94 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 มิถุนายน 2019)
 • นครใหญ่ที่รัฐกำหนด940,978 คน
 • ความหนาแน่น1,900 คน/ตร.กม. (5,000 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+09:00 (JST)
ที่อยู่ศาลาว่าการ1-1 Jōnai, Kokura Kita-ku, Kitakyushu-shi, Fukuoka-ken
803-8501
เว็บไซต์www.city.kitakyushu.lg.jp
สัญลักษณ์
ดอกไม้สึตสึจิ (อาซาเลีย)
ฮิมาวาริ (ทานตะวัน)
ต้นไม้อิจิอิงาชิ (ต้นบีชญี่ปุ่น)

คิตะกีวชู (ญี่ปุ่น: 北九州市โรมาจิKitakyūshū-shi) เป็นนครที่ตั้งอยู่ในจังหวัดฟูกูโอกะ มีประชากร 940,978 คน นับเป็นนครใหญ่อันดับสองของจังหวัดฟูกูโอกะและเกาะคีวชูรองจากนครฟูกูโอกะ คิตะกีวชูเป็นหนึ่งใน 20 นครใหญ่ที่รัฐกำหนดของประเทศญี่ปุ่น

คิตะกีวชูถูกจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ 1963 จากการรวมเขตการปกครองเดิมซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองโคกูระ โดยชื่อคิตะกีวชูมีความหมายในภาษาญี่ปุ่นว่า "คีวชูเหนือ" ซึ่งเป็นตำแหน่งที่อยู่เหนือสุดของเกาะคีวชู อยู่ตรงข้ามกับนครชิโมโนเซกิของจังหวัดยามางูจิบนเกาะฮนชู โดยมีช่องแคบคัมมงกั้นระหว่างกัน จึงเป็นชุมทางสำคัญของการขนส่งระหว่างเกาะฮนชูกับเกาะคีวชูและมีท่าเรือขนาดใหญ่ จากสำมะโนประชากร ปี 2015 เขตมหานครใหญ่ฟูกูโอกะ-คิตะกีวชูมีประชากร 5,538,142 คน จัดเป็นเขตมหานครที่มีประชากรมากเป็นลำดับ 4 ของประเทศญี่ปุ่น

ประวัติศาสตร์

[แก้]

จังหวัดโคกูระ

[แก้]

จังหวัดโคกูระเดิมเป็นจังหวัดในปี ค.ศ. 1871 หลังจากมีการยกเลิกระบบแคว้นของญี่ปุ่น โดยมีศาลาว่าการจังหวัดเดิมตั้งอยู่ตรงข้ามศูนย์การค้าริเวอร์วอล์ก หลังจากนั้นในปี ค.ศ 1876 จังหวัดโคกูระได้ถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดฟูกูโอกะ และเมืองโคกูระได้รับการยกฐานะเป็นนครในปี ค.ศ. 1900

สงครามโลกครั้งที่ 2

[แก้]

ในวันที่ 16 มิถุนายม ค.ศ. 1944 ยาฮาตะเป็นเป้าหมายของการเริ่มต้นการทิ้งระเบิดของสหรัฐอเมริกา[1] นอกจากนี้โคกูระเป็นเป้าหมายแรกของการทิ้งระเบิดปรมาณูแฟตแมน ในวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ 1945 แต่ได้เกิดหมอกควันหนาแน่นจากการทิ้งระเบิดในบริเวณใกล้เคียงก่อนหน้านี้ รวมถึงการตั้งใจปล่อยควันหรือไอน้ำจากโรงงานถ่านหินและน้ำมันในบริเวณโดยรอบ[2][3] ทำให้ไม่สามารถทิ้งระเบิดได้ จึงได้มีการเปลี่ยนเป้าหมายไปทิ้งระเบิดที่นางาซากิแทน

นคร

[แก้]

นครคิตะกีวชูถูกจัดตั้งขึ้นในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1963 จากการควบรวมเขต 5 เขต ได้แก่เขตโมจิ, โคกูระ, โทบาตะ, ยาฮาตะ และวากามัตสึ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เขตโคกูระ และได้รับการยกฐานะเป็นนครใหญ่ที่รัฐกำหนดในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1963 สัญลักษณ์ของนครเป็นรูปดอกไม้ 5 กลีบสื่อถึงเมืองทั้ง 5 เมืองที่รวมตัวกัน และมีตัวอักษรคันจิ (北, คิตะ) อยู่ตรงกลาง

เขตการปกครอง

[แก้]
นครคิตะกีวชูประกอบด้วย 7 เขตการปกครอง (กุ): เขต ประชากร พื้นที่ ความหนาแน่น
เมื่อ ก.ย. 2567 ตร.กม. คน/ตร.กม.
เขตโคกูระคิตะ (小倉北区)
(เขตศูนย์กลาง)
179,312 39.23 4,571
เขตโคกูระมินามิ (小倉南区) 203,491 171.51 1,186
เขตโมจิ (門司区) 88,513 73.66 1,202
เขตโทบาตะ (戸畑区) 54,921 16.61 3,307
เขตยาฮาตะฮิงาชิ (八幡東区) 61,808 36.26 1,705
เขตยาฮาตะนิชิ (八幡西区) 242,752 83.13 2,920
เขตวากามัตสึ (若松区) 77,582 72.10 1,076

เดิมนากามะมีแผนที่จะเข้าร่วมเป็นเขตที่ 8 ของนครคิตะกีวชูในปี ค.ศ 2005 แต่ได้ถูกยกเลิกแผนไปเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 2004 โดยคณะกรรมการนครนากามะ

เมืองพี่น้อง

[แก้]

คิตะกีวชูเป็นเมืองคู่แฝดกับเมืองต่างๆ ภายนอกประเทศญี่ปุ่น[4]

และมีเมืองคู่แฝด 1 เมืองในประเทศญี่ปุ่น:

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Shigeru Mizuki, A History of Japan Vol 3 Showa 1944-1953, p.152
  2. "Steel mill worker reveals blocking view of U.S. aircraft on day of Nagasaki atomic bombing". Mainichi. Mainichi Japan. 26 July 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 November 2015. สืบค้นเมื่อ 29 July 2014.
  3. "Nagasaki: The Last Bomb". The New Yorker. 7 August 2015. สืบค้นเมื่อ 8 August 2015.
  4. 姉妹・友好都市の紹介 [Introduction of sisters · friendship cities]. City of Kitakyushu (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-06. สืบค้นเมื่อ 25 January 2015.
  5. Câmara Municipal de Ipatinga: Lei Nº618 de 24/07/1978 - "Considera Kitakyushu, no Japão, cidade irmã de Ipatinga".
  6. 姉妹都市・交流都市 [Sister city, exchange city]. Minamikyushu city (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-17. สืบค้นเมื่อ 23 February 2015.