ข้ามไปเนื้อหา

โอกาวะ (จังหวัดฟูกูโอกะ)

พิกัด: 33°12′24″N 130°23′02″E / 33.20667°N 130.38389°E / 33.20667; 130.38389
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โอกาวะ

大川市
ทิวทัศน์นครโอกาวะริมแม่น้ำชิกูโงะ มองจากสะพานชินเด็ง
ทิวทัศน์นครโอกาวะริมแม่น้ำชิกูโงะ มองจากสะพานชินเด็ง
ธงของโอกาวะ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของโอกาวะ
ตรา
ที่ตั้งของโอกาวะ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดฟูกูโอกะ
ที่ตั้งของโอกาวะ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดฟูกูโอกะ
แผนที่
โอกาวะตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
โอกาวะ
โอกาวะ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 33°12′24″N 130°23′02″E / 33.20667°N 130.38389°E / 33.20667; 130.38389
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคคีวชู
จังหวัด ฟูกูโอกะ
การปกครอง
 • ประเภทเทศบาลนคร
 • นายกเทศมนตรีเรียวอิจิ คูราชิเงะ (倉重 良一, ตั้งแต่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 2016)
พื้นที่
 • ทั้งหมด33.62 ตร.กม. (12.98 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 กรกฎาคม ค.ศ. 2024)[1]
 • ทั้งหมด30,860 คน
 • ความหนาแน่น918 คน/ตร.กม. (2,380 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+09:00 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
รหัสท้องถิ่น40212-5
ที่อยู่ศาลาว่าการ256-1 ซากามิ นครโอกาวะ จังหวัดฟูกูโอกะ 831-8601
เว็บไซต์www.city.okawa.fukuoka.jp
สัญลักษณ์
ดอกไม้Canna
ต้นไม้คิริ (Paulownia tomentosa)

โอกาวะ (ญี่ปุ่น: 大川市โรมาจิŌkawa-shi) เป็นนครที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น[2][3] มีขนาดพื้นที่ทั้งหมด 33.62 ตารางกิโลเมตร (12.98 ตารางไมล์) มีจำนวนประชากร ณ วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2024 ประมาณ 30,860 คน[1] มีความหนาแน่นของประชากร 918 คนต่อตารางกิโลเมตร[4]

ภูมิศาสตร์

[แก้]
สะพานเปิดข้ามแม่น้ำชิกูโงะ

โอกาวะตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดฟูกูโอกะ ติดกับเขตแดนจังหวัดซางะ มีแม่น้ำชิกูโงะไหลจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปยังทิศตะวันตกเฉียงใต้ผ่านตัวเมืองซึ่งเป็นพื้นที่ราบเรียบ บริเวณใจกลางเมืองของโอกาวะมีแม่น้ำฮานามูเนะที่เป็นลำน้ำสาขาไหลลงสู่แม่น้ำชิกูโงะ

เทศบาลข้างเคียง

[แก้]

ภูมิอากาศ

[แก้]

โอกาวะมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นกึ่งเขตร้อน (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน Cfa) มีลักษณะคือ ฤดูร้อนที่อบอุ่น และฤดูหนาวที่เย็นสบาย มีหิมะตกเล็กน้อยถึงไม่มีเลย อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในโอกาวะอยู่ที่ 16.3 °C ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 1,946 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยอยู่ในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ประมาณ 27.1 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคมอยู่ที่ประมาณ 6.0 °C[5]

สถิติประชากร

[แก้]

ตามข้อมูลสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น ประชากรของโอกาวะลดลงในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
1940 38,249—    
1950 46,345+21.2%
1960 50,351+8.6%
1970 51,637+2.6%
1980 49,537−4.1%
1990 45,704−7.7%
2000 41,338−9.6%
2010 37,465−9.4%
2020 32,988−11.9%

ประวัติศาสตร์

[แก้]

พื้นที่ที่เป็นโอกาวะในปัจจุบัน เดิมเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นในอดีตที่ชื่อแคว้นชิกูโงะ ครั้นในยุคเอโดะ พื้นที่แห่งนี้ถูกแบ่งออกเป็นแคว้นศักดินาคูรูเมะและแคว้นศักดินายานางาวะ หลังจากการปฏิรูปเมจิ ได้มีการประกาศใช้ระบบเทศบาล เมืองโอกาวะได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1889 ใน ค.ศ. 1890 ได้มีการสร้างเขื่อนกั้นน้ำขึ้นที่กลางแม่น้ำชิกูโงะโดยวิศวกรชาวดัตช์ชื่อ Johannis de Rijke เมืองโอกาวะได้ผนวกหมู่บ้านข้างเคียงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1955 และยกฐานะเป็นนครโอกาวะ

เขื่อนกั้นน้ำกลางแม่น้ำชิกูโงะ

การเมืองการปกครอง

[แก้]
ศาลาว่าการนครโอกาวะ

โอกาวะมีการบริหารในรูปแบบนายกเทศมนตรี-สภา โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และสภานครที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติระบบสภาเดียวซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 15 คน ในแง่ของการเมืองระดับจังหวัด นครโอกาวะกับเมืองโอกิรวมกันเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดฟูกูโอกะจำนวน 1 คน ในแง่ของการเมืองระดับชาติ นครโอกาวะเป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งที่ 6 จังหวัดฟูกูโอกะ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นสภาล่างของรัฐสภาญี่ปุ่น

เศรษฐกิจ

[แก้]

โอกาวะขึ้นชื่อในเรื่องการผลิตงานไม้ที่เกี่ยวข้องกับเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ช่วงปลายยุคมูโรมาจิ

การศึกษา

[แก้]

โอกาวะมีโรงเรียนที่สังกัดเทศบาลนคร ได้แก่ โรงเรียนประถมศึกษา 8 แห่ง และโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 2 แห่ง โรงเรียนที่สังกัดคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดฟูกูโอกะ ได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 1 แห่ง นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายเอกชนอีก 1 แห่ง และโอกาวะยังเป็นตั้งของมหาวิทยาลัยสุขภาพและสวัสดิการนานาชาติ (International University of Health and Welfare) วิทยาเขตโอกาวะ

การขนส่ง

[แก้]

รถไฟ

[แก้]

โอกาวะไม่มีเส้นทางรถไฟโดยสารให้บริการเลยนับตั้งแต่การยุติการให้บริการทางรถไฟสายซางะของการรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่นเมื่อ ค.ศ. 1987 สถานีรถไฟที่ใกล้ที่สุดหากเป็นสำหรับพื้นที่ทางตอนกลางและตอนใต้ของโอกาวะคือ สถานีรถไฟนิชิเต็ตสึยานางาวะ บนสายเท็นจิงโอมูตะของบริษัทรถไฟนิชิเต็ตสึ ในนครยานางาวะ สำหรับพื้นที่ทางตะวันออกของโอกาวะจะเป็น สถานีรถไฟฮัตโจมูตะ ในเมืองโอกิ และสถานีรถไฟคามาจิ ในนครยานางาวะ และสำหรับพื้นที่ทางตอนเหนือของโอกาวะจะเป็น สถานีรถไฟไดเซ็นจิ ในนครคูรูเมะ

ทางหลวง

[แก้]

เมืองพี่น้อง

[แก้]

บุคคลที่มีชื่อเสียง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 福岡県 人口移動調査 第1表 市区町村別人口(令和2年11月~) [ตารางสำรวจการเคลื่อนย้ายของประชากรจังหวัดฟูกูโอกะ ตารางที่ 1 ประชากรจำแนกตามเทศบาล (ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2020)]. 自治体オープンデータのCKAN (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2024.
  2. "大川市 | 4地域と60市町村紹介|福岡県ってどんなところ?|福岡県 移住・定住ポータルサイト 福がお~かくらし". 福岡県 移住・定住ポータルサイト 福がお~かくらし (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2022-10-22.
  3. "家具のまち大川市で高校生が踊る『ロボ家具』ダンスとは!?ハイスクWish大川樟風高校 ~ふるさとWish大川市~(九州朝日放送)". Yahoo!ニュース (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-22. สืบค้นเมื่อ 2022-10-22.
  4. "สถิติทางการของนครโอกาวะ" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan.
  5. ภูมิอากาศโอกาวะ: อุณหภูมิเฉลี่ย สภาพอากาศรายเดือน

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]