ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศจีน
ภูมิประเทศที่มีขนาดใหญ่และหลากหลายของประเทศจีน เป็นบ้านที่มีความหลากหลายและความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์ป่าอย่างลึกซึ้ง ในฐานะที่เป็นหนึ่งใน 17 ประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอุดมสมบูรณ์มากที่สุดในโลก[1] จากประมาณการ ประเทศจีนมีสัตว์มีกระดูกสันหลัง 7,516 สายพันธุ์ ซึ่งประกอบด้วย ปลา 4,936 สายพันธุ์, นก 1,269 สายพันธุ์, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม 562 สายพันธุ์, สัตว์เลื้อยคลาน 403 สายพันธุ์ และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 346 สายพันธุ์[2] ในแง่ของจำนวนของสายพันธุ์ ประเทศจีนมีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมากเป็นอันดับสามของโลก,[3] มีนกมากเป็นอันดับแปด,[4] สัตว์เลื้อยคลานมากเป็นอันดับเจ็ด[5] และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำมากเป็นอันดับเจ็ด[6] โดยในแต่ละประเภท ประเทศจีนนับว่ามีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดของประเทศนอกเขตร้อน
ประเทศจีนมีสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นอยู่หลายสายพันธุ์ ทั้งยังเป็นประเทศที่มีแพนด้ายักษ์ ซึ่งเป็นสัตว์ป่าที่มีชื่อเสียงมากที่สุด รวมถึงหนึ่งในหกของสายพันธุ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม และสองในสามของสายพันธุ์สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ต่างก็เป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นของประเทศจีน[3][6]
ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศจีนที่อาศัยอยู่ร่วมกัน กับการแบกรับความกดดันจากจำนวนประชากรมนุษย์ที่มีมากที่สุดในโลก มีสัตว์อย่างน้อย 840 สายพันธุ์ที่ถูกคุกคาม, เสี่ยงอันตรายต่อการสูญพันธุ์ในประเทศจีน โดยมีสาเหตุหลักมาจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การทำลายสิ่งแวดล้อม, มลพิษ และการแย่งอาหาร, การใช้ขนสัตว์ และส่วนผสมสำหรับการแพทย์แผนจีน[7] สัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย และในขณะที่ปี ค.ศ. 2005 ประเทศนี้มีพื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติถึงกว่า 2,349 แห่ง โดยครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 149.95 ล้านเฮกตาร์ (578,960 ตารางไมล์) ซึ่งคิดเป็นประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ประเทศจีนทั้งหมดที่มีอยู่[8]
เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ "Biodiversity Theme Report". Environment.gov.au. 10 December 2009. สืบค้นเมื่อ 27 April 2010.
- ↑ "Number of vertebrate species in China in 2012, by type" Accessed 2014-06-24
- ↑ 3.0 3.1 IUCN Initiatives – Mammals – Analysis of Data – Geographic Patterns 2012. IUCN. Retrieved 24 April 2013. Data does not include species in Taiwan.
- ↑ Countries with the most bird species. Mongabay.com. 2004 data. Retrieved 24 April 2013.
- ↑ Countries with the most reptile species. Mongabay.com. 2004 data. Retrieved 24 April 2013.
- ↑ 6.0 6.1 IUCN Initiatives – Amphibians – Analysis of Data – Geographic Patterns 2012. IUCN. Retrieved 24 April 2013. Data does not include species in Taiwan.
- ↑ Top 20 countries with most endangered species IUCN Red List. 5 March 2010. Retrieved 24 April 2013.
- ↑ "Nature Reserves". China.org.cn. สืบค้นเมื่อ 2 December 2013.
บรรณานุกรม
[แก้]- Smith, Andrew T., บ.ก. (2010). A Guide to the Mammals of China. Yan Xie, Robert S. Hoffmann, Darrin Lunde, John MacKinnon, Don E. Wilson, W. Chris Wozencraft. Princeton University Press. pp. 332–333. ISBN 9781400834112.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- China Wildlife Conservation Association เก็บถาวร 2015-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน