ความสัมพันธ์เบลารุส–รัสเซีย
เบลารุส |
รัสเซีย |
ความสัมพันธ์เบลารุส–รัสเซีย หมายถึงความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างประเทศเบลารุสกับประเทศรัสเซีย ทั้งสองประเทศมีพรมแดนทางบก และถือเป็นสหภาพรัฐเหนือชาติ ซึ่งรัสเซียเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจและการเมืองที่ใหญ่ที่สุดรวมทั้งสำคัญที่สุดของเบลารุส ทั้งสองเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ รวมถึงเครือรัฐเอกราช, สหภาพศุลกากรยูเรเซียน, องค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกัน และสหประชาชาติ
การเปรียบเทียบประเทศ
[แก้]ชื่อสามัญ | ประเทศเบลารุส | ประเทศรัสเซีย |
---|---|---|
ชื่อทางการ | สาธารณรัฐเบลารุส | สหพันธรัฐรัสเซีย |
ธง | ||
ตราประจำชาติ | ||
ประชากร | 9,155,978 คน | 146,150,789 คน |
เมืองหลวง | มินสค์ | มอสโก |
เมืองที่ใหญ่ที่สุด | มินสค์ | มอสโก |
รัฐบาล | ระบบกึ่งประธานาธิบดีเดี่ยว | ระบบกึ่งประธานาธิบดีเดี่ยว |
ผู้นำคนแรก | อาเลียกซันดร์ ลูกาแชนกา | บอริส เยลต์ซิน |
ผู้นำคนปัจจุบัน | อาเลียกซันดร์ ลูกาแชนกา | วลาดีมีร์ ปูติน |
ศาสนา | คริสต์ศาสนา | คริสต์ศาสนา, การไม่มีศาสนา, ศาสนาอิสลาม |
ตัวเขียนอย่างเป็นทางการ | ซีริลลิก | ซีริลลิก |
ภาษาทางการ | เบลารุส และรัสเซีย | รัสเซีย |
ประวัติ
[แก้]ต้นคริสต์ทศวรรษ 1990
[แก้]หลังจากที่สหภาพโซเวียตล่มสลาย รัฐรัสเซียที่ตั้งขึ้นใหม่พยายามที่จะรักษาการควบคุมพื้นที่หลังสหภาพโซเวียต โดยการสร้างองค์การระดับภูมิภาคขึ้นในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1991 – ซึ่งคือเครือรัฐเอกราช (CIS) อย่างไรก็ตาม ประเทศเบลารุส เช่นเดียวกับสาธารณรัฐอื่น ๆ ในเครือรัฐเอกราช เริ่มถอยห่างจากประเทศรัสเซีย ซึ่งในขณะนั้นกำลังพยายามรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจที่พังทลาย และความสัมพันธ์กับโลกตะวันตก[1]
ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 รัสเซียกังวลว่าการมีส่วนร่วมในต่างประเทศใกล้เคียง เช่น เบลารุส จะเสี่ยงต่อความสัมพันธ์ที่พยายามสร้างร่วมกับโลกตะวันตก อย่างไรก็ตาม เมื่อเนโทเริ่มขยายไปทางตะวันออก รัสเซียพบว่าตัวเองอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก ด้านหนึ่ง กำลังเผชิญกับการล่มสลายของกลุ่มภูมิรัฐศาสตร์ขนาดใหญ่ที่เคยควบคุม ส่วนอีกด้านหนึ่ง ก็รู้สึกว่าโลกตะวันตกกำลังพยายามแยกมันโดยอาศัยการล้อมรอบของยุโรป โดยการรวบรวมบรรดาชิ้นส่วนอดีตจักรวรรดิของตน ซึ่งสิ่งนี้ได้นำไปสู่การเพิ่มเพิ่มความสำคัญ ของความสัมพันธ์ที่ดีต่อประเทศเบลารุส[2]
-
ธงชาติสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย (ค.ศ. 1954–1991)
-
ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย (ค.ศ. 1951–1991)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Two Decades of the Russian Federation’s Foreign Policy in the Commonwealth of Independent States: The Cases of Belarus and Ukraine เก็บถาวร 20 พฤศจิกายน 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Ef.huji.ac.il, p. 17
- ↑ Doklad ‘Rossiia-SNG’: nuzhdaetsia li v korrektirovke pozitsiia Zapada? (Moscow: Sluzhba vneshnei razvedki Rossii, 1994)