ข้ามไปเนื้อหา

คณะกรรมาธิการยุโรป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะกรรมาธิการยุโรป
ประเภทสถาบันของสหภาพยุโรป
บทบาทฝ่ายบริหาร
จัดตั้งพ.ศ. 2501
โครงสร้าง
ประธานอัวร์ซูลา ฟ็อน แดร์ ไลเอิน
รองประธานที่หนึ่งฟรันส์ ทิมเมอมันส์
จำนวนสมาชิก27 ผู้แทน
การดำเนินงาน
ภาษาทางการอังกฤษ
ฝรั่งเศส
เยอรมัน
ลูกจ้าง23,000[1]
ที่ทำการบรัสเซลส์, ประเทศเบลเยียม
ลักเซมเบิร์ก, ประเทศลักเซมเบิร์ก
เว็บไซต์
ec.europa.eu

คณะกรรมาธิการยุโรป (อังกฤษ: European Commission, เยอรมัน: Europäische Kommission) เป็นองค์กรฝ่ายบริหารของสหภาพยุโรป รับผิดชอบการออกกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ของสหภาพยุโรป รวมไปถึงดำเนินกิจการต่าง ๆ ของสหภาพยุโรปให้เป็นไปอย่างเรียบร้อยในทุก ๆ วัน[2] ก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ สมาชิกคณะกรรมาธิการจะต้องให้สัตย์สาบานต่อศาลยุติธรรมแห่งยุโรปซึ่งตั้งอยู่ในลักเซมเบิร์ก ว่าจะเคารพซึ่งสนธิสัญญาต่าง ๆ รวมถึงจะเป็นกรรมาธิการซึ่งมีอิสระในการตัดสินใจโดยไม่ขึ้นแก่ผู้ใดในระหว่างที่ดำรงตำแหน่ง[3]

คณะกรรมาธิการยุโรปปฏิบัติหน้าที่เสมือนคณะรัฐมนตรีซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 27 คน(ที่เรียกว่า "กรรมาธิการ")จาก 27 ชาติสมาชิกสหภาพยุโรป แม้จะเป็นตัวแทนของแต่ละชาติ แต่กรรมาธิการจะต้องสาบานตนว่าจะดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่เพื่อพิทักษ์ซึ่งผลประโยชน์ของสหภาพยุโรป กระบวนการสรรหาคณะกรรมาธิการจะเริ่มที่คณะมนตรียุโรป (European Council) เสนอชื่อบุคคลหนึ่งเพื่อให้รัฐสภายุโรปลงมติรับรองให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมาธิการ หลังจากนั้นคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปจะเสนอชื่อกรรมาธิการอีก 27 คนให้ประธานกรรมาธิการพิจารณาเห็นชอบ หลังจากเห็นชอบแล้ว จึงเสนอชื่อกรรมาธิการทั้งคณะ 28 คนให้รัฐสภายุโรปลงมติรับรองอีกครั้งหนึ่ง เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการสรรหา

คณะกรรมาธิการยุโรปถือเป็นฝ่ายบริหารของสหภาพยุโรป มีเจ้าหน้าที่ในกำกับกว่า 23,000 คนซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็นหลายกองที่เรียกว่า "กองอำนวยการ" (directorate-general) แต่ละกองมีผู้อำนวยการ (director-general) เป็นหัวหน้ากอง ทุกกองมีที่ทำการอยู่ในกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม

คณะกรรมาธิการยุโรป

อ้างอิง

[แก้]
  1. EC.europa.eu
  2. "Institutions of the EU: The European Commission". Europa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-23. สืบค้นเมื่อ 18 June 2007.
  3. europa.eu: "European Commission swears oath to respect the EU Treaties" 3 May 2010

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • European Commission European Commission welcome page – Retrieved 12 May 2016.
  • Documents of the European Commission are consultable at the Historical Archives of the EU in Florence.
  • European Commissions on CVCE website – Multimedia website with historical information on the European integration Studies. No such material is found on the page. This page contains a legal Notice and warning about copyrighted material. Last Access 18 April 2013.