ข้ามไปเนื้อหา

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543

← พ.ศ. 2539 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2547 →
ผู้ใช้สิทธิ58.87% (เพิ่มขึ้น 15.34 จุด)
 
ผู้สมัคร สมัคร สุนทรเวช สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ธวัชชัย สัจจกุล
พรรค ประชากรไทย ไทยรักไทย ประชาธิปัตย์
คะแนนเสียง 1,016,019 521,184 247,650
% 45.85 23.52 11.17

 
ผู้สมัคร วินัย สมพงษ์ กัลยา โสภณพนิช ปวีณา หงสกุล
พรรค คนรักเมืองหลวง กรุงเทพฯ สดใส ชาติพัฒนา
คะแนนเสียง 145,641 132,608 116,750
% 6.57 5.98 5.27

ผู้ว่าราชการก่อนการเลือกตั้ง

พิจิตต รัตตกุล
มดงาน

ว่าที่ผู้ว่าราชการ

สมัคร สุนทรเวช
ประชากรไทย

ตัวการ์ตูนสัญลักษณ์ของกรุงเทพมหานครในการรณรงค์การเลือกตั้ง

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543 จัดเป็น การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นครั้งที่ 6 สืบเนื่องจากการดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครของ ดร.พิจิตต รัตตกุล รอบวาระ 4 ปี ตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2539 โดยการเลือกตั้งมีขึ้นในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2543

สถานการณ์ก่อนการเลือกตั้ง

[แก้]

สืบเนื่องจาก การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปี 2539 และ ดร.พิจิตต รัตตกุล จาก กลุ่มมดงาน ได้รับการเลือกตั้ง

บัดนี้ ครบวาระการดำรงตำแหน่ง จึงเห็นสมควรให้มีการเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เสียใหม่ โดยกำหนดจัดการเลือกตั้ง ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2543

ผู้สมัครรับเลือกตั้ง

[แก้]

มีผู้สมัครทั้งหมด 23 คน ทั้งสังกัดพรรคการเมืองและอิสระ ซึ่งผู้สมัครที่โดดเด่น ได้แก่ สมัคร สุนทรเวช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร จาก พรรคประชากรไทย ซึ่งได้ลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อลงสมัครในครั้งนี้

ธวัชชัย สัจจกุล ผู้จัดการฟุตบอลทีมชาติไทย และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร จากพรรคประชาธิปัตย์, สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร จากพรรคไทยรักไทย, ปวีณา หงสกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร จากพรรคชาติพัฒนา ขณะที่ผู้สมัครอิสระ ได้แก่ พันเอก วินัย สมพงษ์ หมายเลข 2, พ.อ.ประจักษ์ สว่างจิตร หมายเลข 10 และ คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช หมายเลข 4 เป็นต้น[1]

โดยการเลือกตั้งครั้งนี้ นายสมัครได้กล่าวว่า เหตุที่ลงสมัคร เพื่อตอบรับคำเรียกร้องของ นายโกวิท สีตลายัน คอลัมนิสต์อาวุโสของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เจ้าของนามปากกา "มังกรห้าเล็บ"[2] และจะเป็นตำแหน่งทางการเมืองครั้งสุดท้ายแล้วของตน ซึ่งภายหลังจากนี้จะไปดำเนินรายการโทรทัศน์แนววิพากษ์วิจารณ์การเมืองแทน ซึ่งในระหว่างการหาเสียง นายสมัครไม่ร่วมประชันวิสัยทัศน์กับผู้สมัครคนอื่น ๆ ไม่ว่ารายการไหนก็ตาม ด้วยถือว่ามีอาวุโสทางการเมืองสูงกว่ามาก โดยมีนโยบายที่จะให้การค้าขายแผงลอยบนทางเท้าเป็นไปโดยเสรีตลอดทั้งสัปดาห์ จึงได้รับความนิยมอย่างมากจากบรรดาพ่อค้าแม่ค้า และใช้คำขวัญในการหาเสียงว่า "ถ้าจะใช้ผม กรุณาเลือกผม"[3]

รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543[4]

หมายเลข ชื่อผู้สมัคร สังกัด
1 มณฑล ชาติสุวรรณ ผู้สมัครอิสระ
2 พันเอก วินัย สมพงษ์ กลุ่มคนรักเมืองหลวง
3 ปวีณา หงสกุล พรรคชาติพัฒนา
4 คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช กลุ่มกรุงเทพฯ สดใส
5 สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ พรรคไทยรักไทย
6 จิตติพร อภิบาลภูวนาท ผู้สมัครอิสระ
7 สมัคร สุนทรเวช พรรคประชากรไทย
8 พันตำรวจตรี กานต์ เทียนแก้ว พรรคพลังประชาชน
9 ดำริห์ รินวงศ์ ผู้สมัครอิสระ
10 พันเอก ประจักษ์ สว่างจิตร กลุ่มสนองคุณแผ่นดินไทย
11 วรัญชัย โชคชนะ ผู้สมัครอิสระ
12 ชัยพร ประเสริฐเวชยากร ผู้สมัครอิสระ
13 ธวัชชัย สัจจกุล พรรคประชาธิปัตย์
14 วิวัฒน์ ศัลยกำธร กลุ่มกรุงเทพฯ สามัคคี
15 กิตติศักดิ์ ถิรวิศิษฎ์ ผู้สมัครอิสระ
16 สุชาติ เกิดผล ผู้สมัครอิสระ
17 สมิตร สมิทธินันท์ ผู้สมัครอิสระ
18 ชัยรัตน์ รัตนหนุ่มน้อย ผู้สมัครอิสระ
19 กุลภัทร กูรมะโรหิต ผู้สมัครอิสระ
20 อุดม วิบูลเทพาชาติ ผู้สมัครอิสระ
21 ขจร ชูแก้ว ผู้สมัครอิสระ
22 ณัฐธวัฒณ์ เรือนเรือง พรรคไท
23 ทรงพล สุวรรณกูฎ ผู้สมัครอิสระ

ผลการเลือกตั้ง

[แก้]

ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543

หมายเลข ผู้สมัคร สังกัด คะแนนเสียง
7 สมัคร สุนทรเวช พรรคประชากรไทย 1,016,096
5 สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ พรรคไทยรักไทย 521,184
13 ธวัชชัย สัจจกุล พรรคประชาธิปัตย์ 247,650
2 พันเอก วินัย สมพงษ์ กลุ่มคนรักเมืองหลวง 145,641
4 คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช กลุ่มกรุงเทพฯ สดใส 132,608
3 ปวีณา หงสกุล พรรคชาติพัฒนา 116,750
14 วิวัฒน์ ศัลยกำธร กลุ่มกรุงเทพฯ สามัคคี 13,659
10 พันเอก ประจักษ์ สว่างจิตร กลุ่มสนองคุณแผ่นดินไทย 10,321
6 จิตติพร อภิบาลภูวนาท ผู้สมัครอิสระ 2,278
1 มณฑล ชาติสุวรรณ ผู้สมัครอิสระ 2,008
8 พันตำรวจตรี กานต์ เทียนแก้ว พรรคพลังประชาชน 1,613
17 สมิตร สมิทธินันท์ ผู้สมัครอิสระ 1,312
9 ดำริห์ รินวงษ์ ผู้สมัครอิสระ 1,174
12 ชัยพร ประเสริฐเวชยากร ผู้สมัครอิสระ 916
23 ทรงพล สุวรรณกูฎ ผู้สมัครอิสระ 677
15 กิตติศักดิ์ ถิรวิศิษฎ์ ผู้สมัครอิสระ 578
18 ชัยรัตน์ รัตนหนุ่มน้อย ผู้สมัครอิสระ 410
20 อุดม วิบูลเทพาชาติ ผู้สมัครอิสระ 408
11 วรัญชัย โชคชนะ ผู้สมัครอิสระ 383
16 สุชาติ เกิดผล ผู้สมัครอิสระ 263
19 กุลภัทร กูรมะโรหิต ผู้สมัครอิสระ 183
22 ณัฐธวัฒณ์ เรือนเรือง พรรคไท 165
21 ขจร ชูแก้ว ผู้สมัครอิสระ 84
รวมคะแนนเสียงที่ให้ผู้สมัครทั้งหมด 2,215,953
บัตรเสีย N/A
รวม 2,215,953
ข้อมูล: [5]

ปฏิกิริยาหลังจากการเลือกตั้ง

[แก้]

ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นายสมัครชนะเลือกตั้งด้วยคะแนนถล่มทลาย โดยได้คะแนนถึง 1,016,096 คิดเป็นร้อยละ 45.85 ถึงขนาดที่เอาคะแนนของผู้ที่ได้ลำดับสอง คือ นางสุดารัตน์ ที่ได้ 521,184 คะแนน รวมกับคะแนนของนายธวัชชัยที่ได้ลำดับสาม คือ 247,650 คะแนน ก็ยังไม่อาจเท่า และถือเป็นคะแนนที่มากที่สุดในสถิติการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในทุกครั้งก่อนหน้า[6] [7] โดยมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งถึงร้อยละ 58.87[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จาก เก็บถาวร 2013-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรุงเทพมหานคร
  2. ตัวตนของหัวหน้าสมัคร สุนทรเวช จากไทยรัฐ
  3. อภิรักษ์ได้รับเลือกเป็นผู้ว่า กทม., หน้า 277. กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ISBN 978-974-228-070-3
  4. "รายนามผู้สมัคร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2000-11-19. สืบค้นเมื่อ 2021-08-13.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, เล่ม 117, ตอนที่ 76 ง, วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2543, หน้า 18
  6. สถิติการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จาก เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนผู้จัดการออนไลน์
  7. สมัคร สุนทรเวช การจากไปของ ‘ขวาอมตะ’ จากผู้จัดการออนไลน์[ลิงก์เสีย]
  8. สถิติการเลือกตั้ง(ผู้ว่ากทม.) จาก เก็บถาวร 2009-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนมติชน