ข้ามไปเนื้อหา

เฮิรตซ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก THz)
คลื่นไซน์ในความถี่ที่แตกต่างกัน
บนลงล่าง: ไฟที่กระพริบในความถี่ f = 0.5 Hz, 1.0 Hz และ 2.0 Hz นั่นคือที่เวลา 0.5, 1.0 และ 2.0 วินาทีตามลำดับ ไฟจะกระพริบ 1 ครั้ง เวลาในการกระพริบแต่ละครั้งสามารถหาได้จาก  คาบ (T)  ซึ่งสูตรคือ 1/f (แปรผกผันกับ f) นั่นคือเวลา 2, 1 และ 0.5 วินาทีตามลำดับ

เฮิรตซ์ (อังกฤษ: Hertz ย่อว่า Hz)[1] เป็นหน่วยอนุพัทธ์เอสไอ (SI) ซึ่งเป็นหน่วยของค่าความถี่ โดย 1 Hz คือ ความถี่ที่เท่ากับ 1 ครั้ง ต่อวินาที (1/s) หรือ : ดังนั้น 50 Hz หมายถึงมีความถี่เท่ากับ 50 ครั้งต่อ 1 วินาที[2]

หน่วยความถี่อื่น ๆ ได้แก่ เรเดียนต่อวินาที (radian/second, rad/s) และรอบต่อนาที (revolutions per minute, RPM)

ชื่อหน่วยเฮิรตซ์มาจากชื่อนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ชื่อ ไฮน์ริช แฮทซ์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า

หน่วยเฮิรตซ์ได้กำหนดครั้งแรกใน พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) แล้วเริ่มมาใช้แทน หน่วย รอบต่อวินาที (cycle per second หรือ cps) ในปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) หน่วย Hz ได้ใช้ทดแทนการใช้ cps แทบทั้งหมด

หน่วยพหุคูณ

[แก้]
พหุคูณเอสไอสำหรับหน่วยเฮิรตซ์ (Hz)
พหุคูณย่อย พหุคูณใหญ่
ค่า สัญลักษณ์ ชื่อ ค่า สัญลักษณ์ ชื่อ
10–1 Hz dHz เดซิเฮิรตซ์ 101 Hz daHz เดคาเฮิรตซ์
10–2 Hz cHz เซนติเฮิรตซ์ 102 Hz hHz เฮกโตเฮิรตซ์
10–3 Hz mHz มิลลิเฮิรตซ์ 103 Hz kHz กิโลเฮิรตซ์
10–6 Hz µHz ไมโครเฮิรตซ์ 106 Hz MHz เมกะเฮิรตซ์
10–9 Hz nHz นาโนเฮิรตซ์ 109 Hz GHz จิกะเฮิรตซ์
10–12 Hz pHz พิโกเฮิรตซ์ 1012 Hz THz เทระเฮิรตซ์
10–15 Hz fHz เฟมโตเฮิรตซ์ 1015 Hz PHz เพตะเฮิรตซ์
10–18 Hz aHz อัตโตเฮิรตซ์ 1018 Hz EHz เอกซะเฮิรตซ์
10–21 Hz zHz เซปโตเฮิรตซ์ 1021 Hz ZHz เซตตะเฮิรตซ์
10–24 Hz yHz ยอกโตเฮิรตซ์ 1024 Hz YHz ยอตตะเฮิรตซ์
10−27 Hz rHz รอนโตเฮิรตซ์ 1027 Hz RHz รอนนาเฮิรตซ์
10−30 Hz qHz เควกโตเฮิรตซ์ 1030 Hz QHz เควตตาเฮิรตซ์
หน่วยที่นิยมใช้แสดงเป็นตัวหนา

อ้างอิง

[แก้]
  1. ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (สืบค้นคำว่า hertz)
  2. "hertz". (1992). American Heritage Dictionary of the English Language, 3rd ed. Boston: Houghton Mifflin.