ข้ามไปเนื้อหา

ทะเลแดง

พิกัด: 22°N 38°E / 22°N 38°E / 22; 38
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Red Sea)
ทะเลแดง
ชายฝั่งทะเลแดงที่อ่าวมะกาดี
ภาพถ่ายดาวเทียมของทะเลแดง
ที่ตั้งแอฟริกาเหนือ, แอฟริกาตะวันออก และเอเชียตะวันตก
พิกัด22°N 38°E / 22°N 38°E / 22; 38
ชนิดทะเล
แหล่งน้ำไหลเข้าหลักแม่น้ำบัรกะฮ์, แม่น้ำฮัดดัส, แม่น้ำอันเซบา, วาดีกาซุส
แหล่งน้ำไหลออกบาบุลมันดิบ
ประเทศในลุ่มน้ำจิบูตี, อียิปต์, เอริเทรีย, ซาอุดีอาระเบีย, ซูดาน, เยเมน, โซมาเลีย, อิสราเอล และจอร์แดน
ช่วงยาวที่สุด2,250 กิโลเมตร (1,400 ไมล์)
ช่วงกว้างที่สุด355 กิโลเมตร (221 ไมล์)
พื้นที่พื้นน้ำ438,000 ตารางกิโลเมตร (169,000 ตารางไมล์)
ความลึกโดยเฉลี่ย490 เมตร (1,610 ฟุต)
ความลึกสูงสุด3,040 เมตร (9,970 ฟุต)
ปริมาณน้ำ233,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร (56,000 ลูกบาศก์ไมล์)

ทะเลแดง (อังกฤษ: Red Sea; อาหรับ: البحر الأحمر; ฮีบรู: ים סוף, อักษรโรมัน: yam sûp̲‎ หรือ ฮีบรู: הים האדום, อักษรโรมัน: hayyām hāʾād̲ôm‎; คอปติก: ⲫⲓⲟⲙ `ⲛϩⲁϩ Phiom Enhah หรือ ⲫⲓⲟⲙ ̀ⲛϣⲁⲣⲓ Phiom ̀nšari; ทือกรึญญา: ቀይሕ ባሕሪ Qeyih Bahri; โซมาลี: Badda Cas) เป็นส่วนเชื่อมน้ำทะเลของมหาสมุทรอินเดีย ตั้งอยู่ระหว่างทวีปแอฟริกาและทวีปเอเชีย ทางใต้มีช่องแคบบาบุลมันดิบกับอ่าวเอเดนเชื่อมกับมหาสมุทร ส่วนทางเหนือติดกับคาบสมุทรไซนาย, อ่าวอะเกาะบะฮ์ และอ่าวสุเอซ (เส้นทางไปยังคลองสุเอซ) ข้างใต้ทะเลมีรอยแยกทะเลแดง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเกรตริฟต์แวลลีย์

ทะเลแดงมีพื้นที่ผิวราว 438,000 ตารางกิโลเมตร (169,100 ตารางไมล์)[1] โดยมีความยาวประมาณ 2,250 กิโลเมตร (1,398 ไมล์) และจุดกว้างสุดมีความกว้าง 355 กิโลเมตร (220.6 ไมล์) ทะเลนี้มีความลึกโดยเฉลี่ยที่ 490 เมตร (1,608 ฟุต) และจุดที่ลึกสุดมีความลึกที่ 3,040 เมตร (9,970 ฟุต)[2]

ขอบเขต

[แก้]

องค์การอุทกศาสตร์สากลระบุของเขตของทะเลแดงไว้ดังนี้:[3]

ทางเหนือ ขอบทางใต้สุดของอ่าวสุเอซ [เส้นจากรอสมุฮัมมัด (27°43'N) ไปยังจุดทางใต้ของเกาะชัดวาน (34°02'E) และจากที่นั่นไปทางตะวันตกบนเส้นขนาน (27°27'N) ไปยังชายฝั่งแอฟริกา] และอะเกาะบะฮ์ [เส้นจาก Ràs al Fasma ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ถึงเกาะ Requin (27°57′N 34°36′E / 27.950°N 34.600°E / 27.950; 34.600) ผ่านเกาะตีรอนไปจุดตะวันตกเฉียงใต้ของจุดดังกล่าวและจากที่นั่นไปยังเส้นขนาน (27°54'N) ถึงชายฝั่งคาบสมุทรไซนาย]
ทางใต้ เส้นรวมกันที่ฮุซน์มุรอด (12°40′N 43°30′E / 12.667°N 43.500°E / 12.667; 43.500) กับเราะส์ซิยาน (12°29′N 43°20′E / 12.483°N 43.333°E / 12.483; 43.333).

เขตเศรษฐกิจจำเพาะ

[แก้]

เขตเศรษฐกิจจำเพาะในทะเลแดง มีดังนี้:[4]

อันดับ ประเทศ พื้นที่ (ตารางกิโลเมตร)
1 ธงของประเทศซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบีย 186,392
2 ธงของประเทศซูดาน ซูดาน 92,513
3 ธงของประเทศอียิปต์ อียิปต์ 91,279
4 ธงของประเทศเอริเทรีย เอริเทรีย 78,383
5 ธงของประเทศเยเมน เยเมน 35,861
6 ธงของประเทศจิบูตี จิบูตี 7,037
รวม ทะเลแดง 438,000

หมายเหตุ: บีรเฏาะวีลเป็นดินแดนพิพาทระหว่างซูดานและอียิปต์ ซึ่งมีการคำนวณพื้นที่นี้ในทั้งสองประเทศ

ประเทศที่ติดกับทะเลแดง

[แก้]
แผนที่ประเทศที่ติดกับทะเลแดง

ในทางภูมิศาสตร์ ทะเลแดงอาจแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือพื้นที่ทะเลแดง อ่าวอะเกาะบะฮ์ และอ่าวสุเอซ หกประเทศที่ติดกับพื้นที่ทะเลแดงมีดังนี้:

อ่าวสุเอซอยู่ในประเทศอียิปต์ทั้งหมด ส่วนอ่าวอะเกาะบะฮ์ติดชายแดนกับประเทศอียิปต์, อิสราเอล, จอร์แดน และซาอุดีอาระเบีย

นอกจากประเทศเหล่านี้ บางพื้นที่อย่างโซมาลีแลนด์ถูกระบุว่าอยู่ในพื้นที่ทะเลแดง สาเหตุหลักมาจากความใกล้ชิดและความคล้ายคลึงทางธรณีวิทยากับประเทศต่าง ๆ ที่ติดกับทะเลแดงและ/หรือมีความสัมพันธ์ทางการเมืองกับพื้นที่ดังกล่าว[5][6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "STATE OF THE MARINE ENVIRONMENT REPORT FOR THE RED SEA AND GULF OF ADEN: 2006" (PDF). 2008-06-16. สืบค้นเมื่อ 25 January 2020.
  2. Robert Dinwiddie: Ocean_ The World's Last Wilderness Revealed. Dorling Kindersley, London 2008, p. 452
  3. "Limits of Oceans and Seas, 3rd edition" (PDF). International Hydrographic Organization. 1953. สืบค้นเมื่อ 28 December 2020.
  4. "Sea Around Us | Fisheries, Ecosystems and Biodiversity". www.seaaroundus.org. สืบค้นเมื่อ 2021-02-25.
  5. Barth, Hans-Jörg (2002). Sabkha ecosystems, Volume 2. Springer. p. 148. ISBN 1-4020-0504-0.
  6. Makinda, Samuel M. (1987). Superpower diplomacy in the Horn of Africa. Routledge. p. 37. ISBN 0-7099-4662-7.

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Hamblin, W. Kenneth & Christiansen, Eric H. (1998). Earth's Dynamic Systems (8th ed.). Upper Saddle River: Prentice-Hall. ISBN 0-13-745373-6.
  • Miran, Jonathan. (2018). "The Red Sea," in David Armitage, Alison Bashford and Sujit Sivasundaram (eds.), Oceanic Histories (Cambridge: Cambridge University Press), pp. 156–181.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]