ลีกเอิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Ligue 1)
ลีกเอิง
Leigue1 Uber Eats
ก่อตั้ง1932
1932–1933 (นานาชาติ)
1933–2002 (ดิวิชัน)
ประเทศ ฝรั่งเศส (17 ทีม)
สโมสรอื่นจาก โมนาโก (1 ทีม)
สมาพันธ์ยูฟ่า
จำนวนทีม18
ระดับในพีระมิด1
ตกชั้นสู่ลีกเดอ
ถ้วยระดับประเทศกุปเดอฟร็องส์
ทรอเฟเดช็องปียง
ถ้วยระดับลีกกุปเดอลาลีก
ถ้วยระดับนานาชาติยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
ยูฟ่ายูโรปาลีก
ยูฟ่ายูโรปาคอนเฟอเรนซ์ลีก
ทีมชนะเลิศปัจจุบันปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง (11 สมัย)
(2022–23)
ชนะเลิศมากที่สุดปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง (11 สมัย)
หุ้นส่วนโทรทัศน์กานาลปลุสและบีอินสปอตส์
บีอินสปอตส์ (ในประเทศไทย)
เว็บไซต์www.ligue1.com
ปัจจุบัน: 2023–24

ลีกเอิง (ฝรั่งเศส: Ligue 1) เป็นลีกฟุตบอลสูงสุดของฟุตบอลในประเทศฝรั่งเศส โดยมีลีกรองลงมาคือ ลีกเดอ (League 2) ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) อยู่ภายใต้การบริหารของสหพันธ์ฟุตบอลฝรั่งเศส โดยมีการเล่นต่อเนื่องมาทุกปียกเว้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยในอดีตจำนวนทีมที่เล่นในลีกเอิงจะเปลี่ยนไปมาระหว่าง 18 และ 20 ทีม ซึ่งปัจจุบันมีทีมทั้งหมด 20 ทีม และมีการเล่นในแบบการแข่งเหย้าและเยือน ทีมละ 38 นัด [1]

เมื่อจบฤดูกาล 2 ทีมอันดับสุดท้ายของตารางจะตกชั้นลงในเล่นในลีกเดอ และทีม2อันดับแรกจากลีกเดอจะเลื่อนขึ้นมา และทีมอันดับ 18 จากลีกเอิงจะต้องไปตัดสินรอดตกชั้นกับทีมอันดับ 3-6 ของลีกเดอที่ชนะเลิศเพย์ออฟขึ้นมา ทีมใดมีผลคะแนนเหย้าเยือนมากกว่า ได้อยู่บนลีกสูงสุดต่อไป ส่วน 3 ทีมที่อันดับดีสุดจะได้ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก โดยสองทีมอันดับแรกจะผ่านเข้าไปรอในรอบแบ่งกลุ่ม(ทีมชนะเลิศได้อยู่โถ 1) ในขณะที่ทีมอันดับ 3 จะต้องแข่งรอบเพลย์ออฟอีกทีหนึ่ง ส่วนอันดับ 4 จะมีสิทธิเข้าไปเล่นในยูฟ่ายูโรปาลีก ตามอัตโนมัติ [2] ทีมที่ชนะลีกเอิงมากที่สุดคือ ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง (Paris Saint-Germain) ชนะเลิศ 11 สมัย ในขณะที่ทีมชนะเลิศติดต่อกันมากที่สุดคือ ลียง (Olympique Lyonnais) ชนะเลิศ 7 สมัยติดต่อกัน ฤดูกาล (2002-2008)

สโมสรที่เข้าร่วม (ฤดูกาล 2022–23)[แก้]

สโมสร ที่ตั้ง สนาม ความจุ
(ที่นั่ง)
ฤดูกาล 2021–22
อาฌักซิโอ อาฌักซิโอ สตาดฟร็องซัวส์โกตี 10,446 ลีกเดอ, อันดับที่ 2
อ็องเฌ อ็องเฌ สนามกีฬาแรมง กอปา 18,752 อันดับที่ 14
โอแซร์ โอแซร์ สตาด เดอ ล'อับเบ-เดส์ชอมส์ 21,379 ลีกเดอ, อันดับที่ 3
แบร็สต์ แบร็สต์ ฟร็องซิส เลอ เบล 15,931 อันดับที่ 11
แกลร์มง แกลร์มง-แฟร็อง สนามกีฬากาบรีเยลมงปิเอด์ 11,980 อันดับที่ 17
ล็องส์ ล็องส์ บอลาร์ต-เดอเลลิส 37,705 อันดับที่ 7
ลีล วีลเนิฟว์-ดัสก์ ดีแคทลอนอารีนา ปีแยร์ โมรัว สเตเดียม 50,186 อันดับที่ 10
ลอรีย็อง ลอรีย็อง สตาดดูว์มุสตัวร์ 18,890 อันดับที่ 16
ลียง ลียง กรูปามาสเตเดียม 59,186 อันดับที่ 8
มาร์แซย์ มาร์แซย์ ออร็องฌ์เวลอดรอม 67,394 อันดับที่ 2
มอนาโก โมนาโก มอนาโก สตาดลูย-เดอ 18,523 อันดับที่ 3
มงเปอลีเย มงเปอลีเย สตาดเดอลามอซง 32,900 อันดับที่ 13
น็องต์ น็องต์ สตาดเดอลาโบฌัวร์ 35,322 อันดับที่ 9
นิส นิส อลิอันซ์ริวีเอรา 35,624 อันดับที่ 5
ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง ปารีส ปาร์กเดแพร็งส์ 48,583 อันดับที่ 1
แร็งส์ แร็งส์ สนามกีฬาโอกุสต์ เดอโลน 21,684 อันดับที่ 12
แรน แรน โรอาซงปาร์ก 29,778 อันดับที่ 4
สทราซบูร์ สทราซบูร์ สตาดเดอลาแมโน 29,230 อันดับที่ 6
ตูลูซ ตูลูซ สนามกีฬาเทศบาล 33,150 ลีกเดอ, อันดับที่ 1
ทรัว ทรัว สตาดเดอลอบ 21,684 อันดับที่ 15

ทำเนียบผู้ชนะเลิศ[แก้]

ผู้ชนะเลิศแบ่งตามปี[แก้]

ฤดูกาล ทีมชนะเลิศ
1932–33 ออแล็งปิกลีลัว
1933–34 แซ็ต
1934–35 ซอโช-มงเบลียาร์
1935–36 แอร์เซ ปารี
1936–37 มาร์แซย์
1937–38 ซอโซ-มงเบลียาร์
1938–39 แซ็ต
1940–45 งดการแข่งขันเนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง
1945–46 ลีล
1946–47 รูแบ-ตูร์กวง
1947–48 มาร์แซย์
1948–49 แร็งส์
1949–50 บอร์โด
1950–51 นิส
1951–52 นิส
1952–53 แร็งส์
1953–54 ลีล
1954–55 แร็งส์
1955–56 นิส
1956–57 แซ็งเตเตียน
1957–58 แร็งส์
1958–59 นิส
1959–60 แร็งส์
1960–61 มอนาโก
1961–62 แร็งส์
1962–63 มอนาโก
1963–64 แซ็งเตเตียน
1964–65 น็องต์
1965–66 น็องต์
1966–67 แซ็งเตเตียน
1967–68 แซ็งเตเตียน
1968–69 แซ็งเตเตียน
1969–70 แซ็งเตเตียน
1970–71 มาร์แซย์
1971–72 มาร์แซย์
1972–73 น็องต์
1973–74 แซ็งเตเตียน
1974–75 แซ็งเตเตียน
1975–76 แซ็งเตเตียน
1976–77 น็องต์
1977–78 มอนาโก
1978–79 สทราซบูร์
1979–80 น็องต์
1980–81 แซ็งเตเตียน
1981–82 มอนาโก
1982–83 น็องต์
1983–84 บอร์โด
1984–85 บอร์โด
1985–86 ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง
1986–87 บอร์โด
1987–88 มอนาโก
1988–89 มาร์แซย์
1989–90 มาร์แซย์
1990–91 มาร์แซย์
1991–92 มาร์แซย์
1992–93 ไม่มีแชมป์เนื่องจากมาร์แซย์ถูกริบแชมป์ในกรณีล้มบอล
1993–94 ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง
1994–95 น็องต์
1995–96 โอแซร์
1996–97 มอนาโก
1997–98 ล็องส์
1998–99 บอร์โด
1999–00 มอนาโก
2000–01 น็องต์
2001–02 ลียง
2002–03 ลียง
2003–04 ลียง
2004–05 ลียง
2005–06 ลียง
2006–07 ลียง
2007–08 ลียง
2008–09 บอร์โด
2009–10 มาร์แซย์
2010–11 ลีล
2011–12 มงปอลีเย
2012–13 ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง
2013–14 ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง
2014–15 ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง
2015–16 ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง
2016–17 มอนาโก
2017–18 ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง
2018–19 ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง
2019–20 ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง
2020–21 ลีล
2021–22 ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง
2022–23 ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง

ผู้ชนะเลิศแบ่งตามสโมสร[แก้]

สโมสร ชนะเลิศ (สมัย) ปีที่ชนะเลิศ
ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง
11
1985–86, 1993–94, 2012–13, 2013–14, 2014–15, 2015–16, 2017–18, 2018–19, 2019–20, 2021–22, 2022–23
แซ็งเตเตียน
10
1956–57, 1963–64, 1966–67, 1967–68, 1968–69, 1969–70, 1973–74, 1974–75, 1975–76, 1980–81
มาร์แซย์
9
1936–37, 1947–48, 1970–71, 1971–72, 1988–89, 1989–90, 1990–91, 1991–92, 2009–10
มอนาโก
8
1960–61, 1962–63, 1977–78, 1981–82, 1987–88, 1996–97, 1999–2000, 2016–17
น็องต์
8
1964–65, 1965–66, 1972–73, 1976–77, 1979–80, 1982–83, 1994–95, 2000–01
ลียง
7
2001–02, 2002–03, 2003–04, 2004–05, 2005–06, 2006–07, 2007–08
บอร์โด
6
1949–50, 1983–84, 1984–85, 1986–87, 1998–99, 2008–09
แรงส์
6
1948–49, 1952–53, 1954–55, 1957–58, 1959–60, 1961–62
นิส
4
1950–51, 1951–52, 1955–56, 1958–59
ลีล
4
1945–46, 1953–54, 2010–11, 2020–21
ซอโช-มงเบลียาร์
2
1934–35, 1937–38
แซ็ต
2
1933–34, 1938–39
ล็องส์
1
1997–98
แอร์เซ ปารี
1
1935–36
สทราซบูร์
1
1978–79
ออแล็งปิกลีลัว
1
1932–33
รูแบ-ตูร์กวง
1
1946–47
โอแซร์
1
1995–96
มงเปอลีเย
1
2011–12

สถิติผู้ชนะเลิศ[แก้]

ผู้ชนะเลิศแบ่งตามแคว้น[แก้]

แคว้น สมัย ทีมชนะเลิศ
โอแวร์ญ-โรนาลป์
17
แซ็งเตเตียน (10), ลียง (7)
พรอว็องซาลป์-โกตดาซูร์
13
มาร์แซย์ (9), นิส (4)
อีล-เดอ-ฟร็องส์
12
ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง (11), แอร์เซ ปารี (1)
กร็องแต็สต์
9
แร็งส์ (6), ซอโช-มงเบลียาร์ (2), สทราซบูร์ (1)
โมนาโก
8
มอนาโก (8)
เปอีเดอลาลัวร์
8
น็องต์ (8)
นูแวลากีแตน
7
บอร์โด (6) ล็องส์ (1)
โอดฟร็องส์
6
ลีล (4), รูแบ-ตูร์กวง (1), ออแล็งปิกลีลัว (1)
อ็อกซีตานี
3
แซ็ต (2), มงเปอลีเย (1)
ซ็องทร์-วาลเดอลัวร์
1
โอแซร์ (1)

ผู้ชนะเลิศแบ่งตามเมือง[แก้]

เมือง สมัย ทีมชนะเลิศ
ปารีส
12
ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง (11), แอร์เซ ปารี (1)
แซ็งเตเตียน
10
แซ็งเตเตียน (10)
มาร์แซย์
9
มาร์แซย์ (9)
โมนาโก
8
มอนาโก (8)
น็องต์
8
น็องต์ (8)
ลียง
7
ลียง (7)
บอร์โด
7
บอร์โด (6), ล็องส์ (1)
แร็งส์
6
แร็งส์ (6)
ลีล
6
ลีล (4), รูแบ-ตูร์กวง (1), ออแล็งปิกลีลัว (1)
นิส
4
นิส (4)
สทราซบูร์
3
ซอโช-มงเบลียาร์ (2), สทราซบูร์ (1)
มงเปอลีเย
3
แซ็ต (2), มงเปอลีเย (1)
โอแซร์
1
โอแซร์ (1)

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "UEFA rankings for club competitions". UEFA. 24 February 2018. สืบค้นเมื่อ 24 February 2018.
  2. "Bilan des clubs". Ligue de Football Professionnel (ภาษาฝรั่งเศส). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2010. สืบค้นเมื่อ 19 March 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]