ข้ามไปเนื้อหา

สารยับยั้งเอซีอี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ACE inhibitor)
Angiotensin-converting-enzyme inhibitor
ระดับชั้นของยา
Captopril, the first synthetic ACE inhibitor
Class identifiers
ใช้ในHypertension
ATC codeC09A
Biological targetAngiotensin-converting enzyme
Clinical data
Drugs.comDrug Classes
Consumer ReportsBest Buy Drugs
WebMDMedicineNet  RxList
External links
MeSHD000806
In Wikidata

เอซีอี อินฮิบิเตอร์ (อังกฤษ: ACE inhibitors) หรือ ตัวยับยั้ง แองจิโอเทนซิน-คอนเวอร์ติง เอนไซม์ (Angiotensin-Converting Enzyme) เป็นกลุ่ม ยา ที่ใช้รักษาอาการเบื้องต้นใน โรคความดันโลหิตสูง (hypertension) และ หัวใจล้มเหลวแบบเลือดคั่ง (congestive heart failure) โดยจะเป็นยาเลือกใช้อันดับแรก

การใช้ทางคลินิก

[แก้]

ข้อบ่งใช้ของ เอซีอี อินฮิบิเตอร์ คือ:

ในข้อบ่งใช้ต่างๆ เหล่านี้ เอซีอี อินฮิบิเตอร์ จะเป็นยากลุ่มแรกที่ถูกเลือกใช้ก่อนยากลุ่มอื่นๆ และแสดงผลการรักษาที่เหนือกว่าในการลดอัตราการป่วย (morbidity) และ การตาย (mortality)


กลไกการออกฤทธิ์

[แก้]

ตัวยาทำงานโดยการปรับแต่งระบบ RAAS (renin-angiotensin system หรือ renin-angiotensin-aldosterone) โดยการยับยั้ง แองจิโอเทนซิน-คอนเวอร์ติง เอนไซม์ เป็นผลให้เกิดการหยุดการเปลี่ยน แองจิโอเทนซิน 1 (angiotensin I) ไปเป็น แองจิโอเทนซิน 2 (angiotensin II) ในขณะเดียวกัน เอซีอี อินฮิบิเตอร์ ก็มีผลลดการสลายตัวของ แบรดีไคนิน (bradykinin) สรุป เอซีอี อินฮิบิเตอร์ ทำให้ความดันโลหิตต่ำได้โดย

  1. ลดการผลิตสารที่ทำให้เส้นเลือดหดตัว แองจิโอเทนซิน 2 และ
  2. ลดการสลายตัวของสารที่ทำให้เส้นเลือดขยายตัว แบรดีไคนิน

ผลของ เอซีอี อินฮิบิเตอร์

[แก้]

เอซีอี อินฮิบิเตอร์ มีผล

  1. ลดความต้านทานของ ระบบหลอดเลือดแดง (arteriole)
  2. เพิ่มความจุของระบบหลอดเลือดดำ (venous capacitance)
  3. เพิ่ม คาร์ดิแอก อาวต์พุต (cardiac output) และ คาร์ดิแอก อินเดกซ์ (cardiac index) สโตรก เวิอร์ค (stroke work) และ สโตรก โวรุม (stroke volume)
  4. ลดความต้านทานของเส้นเลือดเลี้ยงไต (renovascular resistance) และนำไปสู่การเพิ่ม นาตริยูรีสิส (natriuresis คือการขับถ่าย โซเดียม ใน ปัสสาวะ)
  5. ในทาง ระบาดวิทยา (Epidemiology) และการศึกษาทางคลินิกพบว่า เอซีอี อินฮิบิเตอร์ ช่วยลดความรุนแรงของโรคไตที่เกิดจากเบาหวานหรือเบาจืด (diabetic nephropathy) ซึ่งผลจากประสิทธิภาพของยาจึงนิยมใช้ เอซีอี อินฮิบิเตอร์ ป้องกันโรคไตวายจากเบาหวานหรือเบาจืดด้วย

ผลข้างเคียงของยา (Adverse effects)

[แก้]

ผลข้างเคียงของยา เอซีอี อินฮิบิเตอร์ มีดังนี้

  1. ความดันต่ำ (hypotension)
  2. ไอ (cough)
  3. ภาวะโปตัสเซียมในเลือดสูง (hyperkalaemia)
  4. ปวดศีรษะ (headache)
  5. วิงเวียนศีรษะ (dizziness)
  6. เมื่อยล้า (fatigue)
  7. คลื่นเหียน (nausea)
  8. มีผลต่อไต (renal impairment)

สำหรับผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดอาการไอ เชื่อว่าเป็นผลจากการที่ เอซีอี อินฮิบิเตอร์ มีฤทธิ์เพิ่ม แบรดีไคนิน และคนไข้จะถูกแนะนำให้ไปใช้ยาในกลุ่มแองจิโอเทนซิน 2 รีเซพเตอร์ แอนตาโกนีสต์ (angiotensin II receptor antagonist) แทน

ผื่นคันและการรับรสผิดปกติพบไม่บ่อยนักในผู้ใช้ยา เอซีอี อินฮิบิเตอร์ แต่ก็มีบ้างสำหรับผู้ใช้ แคปโตพริล (captopril) เนื่องจากว่าตัวยามีโครงสร้างโมเลกุนบางส่วนที่เป็น ซัลฟ์ไฮดริล (sulfhydryl) แพทย์จึงลดปริมาณยาให้น้อยลง

ตัวอย่างยาในกลุ่ม เอซีอี อินฮิบิเตอร์

[แก้]

เอซีอี อินฮิบิเตอร์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ตามโครงสร้างโมเลกุลของมันดังนี้:

เอซีอี อินฮิบิเตอร์ ที่มี ซัลฟ์ไฮดริล (sulfhydryl)

[แก้]

เอซีอี อินฮิบิเตอร์ ที่มี ไดคาร์บอกซิเลต (Dicarboxylate)

[แก้]

เอซีอี อินฮิบิเตอร์ กลุ่มใหญ่ประกอบด้วย:

เอซีอี อินฮิบิเตอร์ ที่มี ฟอสโฟเนต (Phosphonate)

[แก้]

การเกิดตามธรรมชาติ

[แก้]

คาโซคินิน (Casokinin) และ แลคโตคินิน (lactokinin) เป็นสารที่สะลายตัวจาก คาซีอิน (casein) และ หางนม (whey) ซึ่งจะเกิดตามธรรมชาติหลังจากกินผลิตภัณฑ์นมโดยเฉพาะอย่างยิ่งนมเปรี้ยว ส่วนหลักการควบคุมความดันโลหิต ของตัวยายังไม่เป็นที่เข้าใจแน่ชัด

ข้อมูลเปรียบเทียบ (Comparative information)

[แก้]

เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่าง เอซีอี อินฮิบิเตอร์ ทั้งหมดจะมีประสิทธิภาพในการลดความดันใกล้เคียงกันเมื่อได้รับยาในปริมาณที่เท่ากัน แต่มีความแตกต่างกันตรงที่ แคปโตพริล ซึ่งเป็น เอซีอี อินฮิบิเตอร์ ตัวแรกที่มีช่วงเวลาออกฤทธิ์ที่สั้นและมีผลข้างเคียงมากที่สุด

จากการศึกษาทางคลินิกมากมายพบว่า เอซีอี อินฮิบิเตอร์ ช่วยลดอัตราการตายจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (myocardial infarct) และป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้มาก

ข้อห้ามใช้ และ ข้อควรระวัง

[แก้]

เอซีอี อินฮิบิเตอร์ มีข้อห้ามใช้ในคนไข้ดังนี้:

เอซีอี อินฮิบิเตอร์ ควรระมัดระวังเป็นพิเศษในคนไข้ดังนี้:

การให้ โพแทสเซียม เสริมควรทำอย่างระมัดระวังและอยู่ในการดูแลของแพทย์ เนื่องจาก เอซีอี อินฮิบิเตอร์ มีฤทธิ์ทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง (hyperkalemia) ด้วย

แองจิโอเทนซิน 2 รีเซพเตอร์ แอนตาโกนีสต์

[แก้]

เอซีอี อินฮิบิเตอร์ มีคุณสมบัติทั่วไปคล้ายกับยาในกลุ่มอื่นของ ยาในระบบหัวใจและหลอดเลือด ที่ชื่อว่า แองจิโอเทนซิน 2 รีเซพเตอร์ แอนตาโกนีสต์ซึ่งจะถูกเลือกใช้ในกรณีที่คนไข้มีผลข้างเคียงในระดับอันตรายจากการใช้ เอซีอี อินฮิบิเตอร์

อ้างอิง

[แก้]
  • FitzGerald RJ, Murray BA, Walsh DJ. Hypotensive peptides from milk proteins. J Nutr 2004;134:980S-8S. PMID 15051858.
  • Molinaro G, Cugno M, Perez M, Lepage Y, Gervais N, Agostoni A, Adam A. Angiotensin-converting enzyme inhibitor-associated angioedema is characterized by a slower degradation of des-arginine (9) -bradykinin. J Pharmacol Exp Ther 2002;303:232-7. PMID 12235256.
  • Rossi S (Ed.) (2004). Australian Medicines Handbook 2004. Adelaide: Australian Medicines Handbook. ISBN 0-9578521-4-2.
  • Rossi S (Ed.) (2005). Australian Medicines Handbook 2005. Adelaide: Australian Medicines Handbook. ISBN 0-9578521-9-3.
  • Thomas, M.C. (2000). Diuretics, ACE inhibitors and NSAIDs - the triple whammy. Med J Aust 172, 184-185.