ชินโซ อาเบะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาเบะ ชินโซ
安倍 晋三
นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
ดำรงตำแหน่ง
26 กันยายน พ.ศ. 2549 – 26 กันยายน พ.ศ. 2550
กษัตริย์จักรพรรดิอากิฮิโตะ
ก่อนหน้าจุนอิจิโร โคอิซูมิ
ถัดไปยาซูโอะ ฟูกูดะ
ดำรงตำแหน่ง
26 ธันวาคม พ.ศ. 2555 – 16 กันยายน พ.ศ. 2563
กษัตริย์จักรพรรดิอากิฮิโตะ
จักรพรรดินารูฮิโตะ
รองนายกรัฐมนตรีทาโร อาโซ
ก่อนหน้าโยชิฮิโกะ โนดะ
ถัดไปโยชิฮิเดะ ซูงะ
หัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย
ดำรงตำแหน่ง
20 กันยายน พ.ศ. 2549 – 26 กันยายน พ.ศ. 2550
เลขาธิการพรรคสึโตมุ เทคบ
ฮิเดนาโอะ นากางาวะ
ทาโร อาโซ
ก่อนหน้าจุนอิจิโร โคอิซูมิ
ถัดไปยาซูโอะ ฟูกูดะ
ดำรงตำแหน่ง
26 กันยายน พ.ศ. 2555 – 14 กันยายน พ.ศ. 2563
รองหัวหน้าพรรคมาซาฮิโกะ โคมุระ
เลขาธิการพรรคชิเงรุ อิชิบะ
ซาดะคาซุ ทานิคากิ
โทชิฮิโระ นิไคย
ก่อนหน้าซาดะคาซุ ทานิคากิ
ถัดไปโยชิฮิเดะ ซูงะ
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรญี่ปุ่น
ดำรงตำแหน่ง
26 กันยายน พ.ศ. 2555 – 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555
กษัตริย์จักรพรรดิอากิฮิโตะ
นายกรัฐมนตรีโยชิฮิโกะ โนดะ
ก่อนหน้าซาดะคาซุ ทานิคากิ
ถัดไปบังริ ไคเอะดะ
เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น
ดำรงตำแหน่ง
31 ตุลาคม พ.ศ. 2548 – 26 กันยายน พ.ศ. 2549
นายกรัฐมนตรีจุนอิจิโร โคอิซูมิ
ก่อนหน้าฮิโรยูกิ โฮโซดะ
ถัดไปยาซูฮิซะ ชิโฮซากิ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรญี่ปุ่น
เริ่มดำรงตำแหน่ง
20 ตุลาคม พ.ศ. 2539
ก่อนหน้าเขตเลือกตั้งใหม่
เขตเลือกตั้งจังหวัดยามางูจิ เขต 4
คะแนนเสียง86,258 (58.40%)
ดำรงตำแหน่ง
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2539
ก่อนหน้าเขตเลือกตั้งใหม่
ถัดไปมาซาฮิโกะ โคมุระ
เขตเลือกตั้งจังหวัดยามางูจิ เขต 1
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 กันยายน พ.ศ. 2497 (69 ปี)
นางาโตะ จังหวัดยามางูจิ ประเทศญี่ปุ่น
ศาสนาพุทธชินโต[1][2]
พรรคการเมืองเสรีประชาธิปไตย
คู่สมรสอากิเอะ มัตสึซากิ

ชินโซ อาเบะ (ญี่ปุ่น: 安倍 晋三โรมาจิAbe Shinzō; เกิด 21 กันยายน พ.ศ. 2497) เป็นนักการเมืองชาวญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนที่ 57 และหัวหน้าพรรคเสรีปรระชาธิปไตย (LDP) ตั้งแต่ปี 2555 ถึง 2563 และก่อนหน้านั้นระหว่างปี 2549 ถึง 2550 เขายังเป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรีระหว่างปี 2548 ถึง 2549 นับเป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นที่ครองตำแหน่งนานที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น

อาเบะเกิดที่เมืองนางาโตะ จังหวัดยามางูจิ และได้ศึกษาด้านรัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเซเกะ และศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย ในสหรัฐอเมริกา ภายหลังจบการศึกษา ได้ทำงานกับบริษัทโคเบะสตีล และได้ลาออกในปี 2525 เพื่อเข้ามาเล่นการเมือง เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2550 อาเบะได้ประกาศว่าจะลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยเขาและคณะรัฐมนตรีทั้งคณะได้ลาออกพร้อมกันในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550 อย่างไรก็ตามอาเบะก็ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และได้ประกาศยุบสภาในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ก่อนครบวาระตำแหน่ง เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 14 ธันวาคม 2557

อาเบะเป็นนักอนุรักษนิยม ซึ่งนักวิจารณ์การเมืองเรียกเขาอย่างแพร่หลายว่าเป็นชาตินิยมฝ่ายขวา[3][4][5][6] เขาเป็นสมาชิกของนิปปงไคจิ (日本会議) และมีทัศนะแบบแก้ไขประวัติศาสตร์ (revisionist) ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น[7] รวมทั้งการปฏิเสธบทบาทของรัฐบาลในการบีบบังคับเกณฑ์หญิงบำเรอระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง[8] ซึ่งทำให้เกิดความตึงเครียดกับประเทศเกาหลีใต้[9][10] เขาถือว่าเป็นสายแข็งในประเด็นเกาหลีเหนือ และส่งเสริมการทบทวนมาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญเพื่อเปิดให้ญี่ปุ่นมีกองทัพ[11][12] อาเบะมีชื่อเสียงระดับนานาชาติในด้านนโยบายเศรษฐกิจของเขา ชื่อ "อะเบะโนมิกส์" ซึ่งมีการอัดฉีดปริมาณเงิน การกระตุ้นการคลัง และการปฏิรูปโครงสร้าง[13]

วันที่ 28 สิงหาคม 2563 อาเบะประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเนื่องจากลำไส้ใหญ่อักเสบมีแผล (ulcerative colitis) และสุขภาพที่ไม่แข็งแรง เขาระบุว่าเขาจะยังคงดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าพรรคพรรคเสรีประชาธิปไตยที่ตนเป็นหัวหน้าพรรคจะเลือกผู้สืบทอด[14][15] โดยตัวเต็งที่จะมาเข้ารับหน้าที่แทน ได้แก่ ทาโร อาโซ รองนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งมายาวนานและอดีตนายกรัฐมนตรี โยชิฮิเดะ ซูงะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีของอาเบะ; ชิเกรุ อิชิบะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมที่เคยชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคกับอาเบะ ฟูมิโอะ คิชิดะ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ และทาโร โคโนะ รัฐมนตรีกลาโหมคนปัจจุบัน[16]

ครอบครัวของอาเบะเป็นครอบครัวนักการเมือง โดยปู่ คัง อาเบะ และ พ่อ ชินตาโร อาเบะ ทั้งคู่เป็นนักการเมือง

บรรพบุรุษ

อ้างอิง

  1. http://www.sinseiren.org/ouen/kokugikon.html
  2. http://press.jodo.or.jp/press/2003/03/news.html
  3. Lucy Alexander (17 December 2012). "Landslide victory for Shinzo Abe in Japan election". The Times.
  4. "Japan election: Shinzo Abe set for record tenure". BBC News. 23 October 2017. สืบค้นเมื่อ 13 June 2019.
  5. Ohi, Akai (20 December 2018). "Two Kinds of Conservatives in Japanese Politics and Prime Minister Shinzo Abe's Tactics to Cope with Them". East-West Center. สืบค้นเมื่อ 13 June 2019.
  6. Justin McCurry (28 September 2012). "Shinzo Abe, an outspoken nationalist, takes reins at Japan's LDP, risking tensions with China, South Korea". GlobalPost.
  7. "Tea Party Politics in Japan" (New York Times - 2014/09/13)
  8. "Gov't distances itself from NHK head's 'comfort women' comment". Japan Today (ภาษาอังกฤษ). 27 January 2014. สืบค้นเมื่อ 22 July 2018.
  9. Abe, Shinzo (22 February 2013). Japan is Back (Speech). CSIS. สืบค้นเมื่อ 29 December 2015.
  10. "Abe meets Xi for first China-Japan summit in more than two years". The Japan Times. 10 November 2014. สืบค้นเมื่อ 29 December 2015.
  11. New Japanese Leader Looks to Expand Nation's Military, NewsHour, 20 September 2006.
  12. BBC website Japan upgrades its defence agency, bbc.co.uk, 9 January 2007.
  13. "Definition of Abenomics". Financial Times Lexicon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 November 2017. สืบค้นเมื่อ 28 January 2014.
  14. "Shinzo Abe: Japan's PM resigns for health reasons". BBC. Retrieved 28 August 2020.
  15. "Japan PM Abe announces his resignation at press conference". Kyodo News. 28 สิงหาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2563.
  16. "Shinzo Abe, Japan’s Longest-Serving Leader, Resigns Because of Illness". 28 สิงหาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2563.