อากิเอะ อาเบะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อากิเอะ อาเบะ
安倍 昭恵
อาเบะใน พ.ศ. 2562
คู่สมรสนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
ดำรงตำแหน่ง
26 ธันวาคม 2555 – 16 กันยายน 2563
กษัตริย์
นายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ
ก่อนหน้า ฮิโตมิ โนดะ
ถัดไป มาริโกะ ซูงะ
ดำรงตำแหน่ง
26 กันยายน 2549 – 26 กันยายน 2550
กษัตริย์
นายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ
ก่อนหน้า จิเอโกะ โมริ
ถัดไป คิโยโกะ ฟูกูดะ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด อากิเอะ มัตสึซากิ
10 มิถุนายน พ.ศ. 2505 (60 ปี)
โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
พรรค พรรคเสรีประชาธิปไตย
บิดา อากิโอะ มัตสึซากิ
มารดา เอมิโกะ มัตสึซากิ
คู่สมรส ชินโซ อาเบะ (2530–2565)
ศิษย์เก่า วิทยาลัยการอาชีพพระหฤทัย
มหาวิทยาลัยริกเกียว
อาชีพ นักจัดรายการวิทยุ

อากิเอะ อาเบะ (ญี่ปุ่น: 安倍 昭恵; สกุลเดิม มัตสึซากิ; เกิด 10 มิถุนายน พ.ศ. 2505) หรือที่รู้จักในนาม ดีเจอักกี (ญี่ปุ่น: アッキー) เป็นภรรยาของชินโซ อาเบะนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น

ประวัติ[แก้]

อากิเอะ อาเบะ เกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2505 เธอเกิดในครอบครัวที่มีฐานะ มีชื่อเดิมว่า อากิเอะ มัตสึซากิ (ญี่ปุ่น: 松崎 昭恵) เป็นบุตรสาวของอากิโอะ มัตสึซากิ กับเอมิโกะ มัตสึซากิ บิดาของเธอเคยเป็นอดีตผู้บริหารบริษัทโมรินางะ[1] หนึ่งในบริษัทผลิตขนมหวานที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น เธอสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนพระหฤทัยโตเกียว (ญี่ปุ่น: 聖心女子学院 Seishin Joshi Gakuin) ซึ่งเป็นโรงเรียนในคริสต์ศาสนา และสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยการอาชีพพระหฤทัย (ญี่ปุ่น: 聖心女子専門学校 Seishin Joshi Gakuin Senmon Gakkō)[1][2]

หลังจากสำเร็จการศึกษา เธอได้เริ่มงานกับบริษัทเด็งสึ ซึ่งเป็นบริษัทโฆษณาขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของโลก ภายหลังเธอจึงได้สมรสกับชินโซ อาเบะ ในปี พ.ศ. 2530 แต่ไม่มีบุตร-ธิดาด้วยกัน

หน้าที่การงาน[แก้]

ต่อมาหลังจากการสมรสกับสามี เธอได้ทำงานเป็นนักจัดรายการวิทยุในช่วงปี พ.ศ. 2533 โดยจัดรายการที่บ้านเกิดของสามีที่ชิโมะโนะเซกิ จนมีชื่อเสียงในนามของดีเจอักกี (Akky) นอกจากนี้เธอยังเป็นแฟนคลับของละครเกาหลีใต้ และชื่นชอบศิลปินเกาหลีใต้อย่าง แพ ยง-จุน และพัก ยง-ฮา[3]

ทั้งนี้เธอนับว่าเป็นภริยาของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นที่มีอายุน้อย หากเปรียบเทียบกับภริยาของอดีตนายกรัฐมนตรีท่านอื่น ๆ เป็นสตรียุตใหม่ที่มีความคิดอ่าน กล้าแสดงออกด้านความคิดเห็นมากกว่าภริยานายกในอดีต อาทิ ในปี พ.ศ. 2556 เธอแสดงตัวว่าเป็นนักต่อต้านการใช้พลังงานนิวเคลียร์[4] และในปี พ.ศ. 2557 เธอได้ร่วมงานเดินขบวนของกลุ่มเพศที่สามที่รณรงค์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ[5]

อากิเอะเป็นภริยานายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นคนแรกที่ใช้เครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม แต่ภายหลังเธอได้ลดกิจกรรมด้านนี้ลงและปรับเปลี่ยมลักษณะการโพสต์ หลังเกิดกรณีทุจริตการซื้อขายที่ดินโรงเรียนโมริโตโมะกากูเอ็ง (ญี่ปุ่น: 学校法人森友学園) อันอื้อฉาวซึ่งทั้งนายกรัฐมนตรีและคู่สมรสต่างมีส่วนรู้เห็น[6][7]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 オフイス・マツナガ2006年5月30日ポスト小泉レース 次のファーストレデイはだれだ!
  2. 聖心女子専門学校:ホーム เก็บถาวร 2016-07-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ญี่ปุ่น)
  3. Japan’s First Lady-to-Be an Avid Korean Wave Fan เก็บถาวร 2006-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Chosun Ilbo. Accessed September 26, 2006.
  4. "สตรีหมายเลข 1 ญีปุ่นประกาศตัวนักต่อต้านนิวเคลียร์". เดลินิวส์. 11 มิถุนายน 2556. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  5. "ภริยาผู้นำญี่ปุ่นร่วมพาเหรดสีรุ้ง". กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. 29 เมษายน 2557. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  6. "Akie Abe's social media silence creates questions". Mainichi Daily News (ภาษาอังกฤษ). 2017-04-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-24. สืบค้นเมื่อ 2017-04-24.
  7. "สะดุดคำ เรื่องวุ่นๆ ของ "สตรีหมายเลขหนึ่งญี่ปุ่น" กับ "โมะริโตะโมะกะกุเอ็ง"". MGR Online. 27 มีนาคม 2560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-03. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]