5 พยัคฆ์ทีวีบี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ห้าพยัคฆ์ทีวีบี
Five Tiger Generals of TVB
รู้จักในชื่อ5 เสือแห่งทีวีบี
ที่เกิดฮ่องกง
ช่วงปียุค 1980s (พ.ศ. 2523-2532)
สมาชิกเหมียว เฉียวเหว่ย
ทัง เจิ้นเยี่ย
หวง เย่อหัว
หลิว เต๋อหัว
เหลียง เฉาเหว่ย

ห้าพยัคฆ์ทีวีบี (จีน :無綫五虎將; พินอิน :Wúxiàn Wǔ Hǔ Jiàng; กวางตุ้ง :Mou4 Sin3 Ng5 Fu2 Zoeng3; อังกฤษ :The Five Tiger Generals of TVB) เป็นอดีตกลุ่มนักแสดงชายชาวฮ่องกงชื่อดัง 5 คนของสถานีโทรทัศน์ทีวีบี ที่ทางช่องได้ก่อตั้งขึ้นมาในยุค 80s ซึ่งประกอบไปด้วย เหมียว เฉียวเหว่ย (苗僑偉), ทัง เจิ้นเยี่ย (湯鎮業), หวง เย่อหัว (黄日华), หลิว เต๋อหัว (劉德華) และ เหลียง เฉาเหว่ย (梁朝偉) พวกเขาทั้ง 5 คนต่างมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและโด่งดังไปทั่วเอเชีย [1][2][3][4]

ในยุค 80s ซึ่งเป็นยุคทองของละครชุดฮ่องกงที่เฟื่องฟูไปทั่วเอเชีย ได้มีการรวมกลุ่มของนักแสดงดาวรุ่งจำนวน 5 คน จากการร่วมกันแสดงโชว์ชุดหนึ่งเมื่อปีพ.ศ. 2526 เพื่อขึ้นมาเป็นแกนนำนักแสดงรุ่นใหม่ของสถานีโทรทัศน์ TVB ซึ่งเป็นการปั้นขึ้นมาแทนที่ นักแสดงชายชื่อดังยุคก่อน อย่าง เจิ้งเส้าชิว และ โจวเหวินฟะ ที่ทั้งสองมีปัญหากับทางช่องและจะย้ายออกจาก TVB ไป

โดยที่ทั้ง 5 คนต่างเป็นนักแสดงฝึกหัดของทางช่องเอง โดยทางช่องก็พร้อมที่จะส่งเสริมและผลักดันอย่างเต็มที่ จนพวกเขาทั้ง 5 กลายเป็นไอดอลที่ได้รับความนิยมขึ้นมาอย่างรวดเร็วเนื่องจากทั้งห้าคนมีโอกาสในการแสดงมากมาย และแต่ละคนต่างมีผลงานที่โด่งดังเป็นของตัวเอง ซึ่งผลงานเหล่านั้นของแต่ละคน ต่างประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากจนมีฐานแฟนคลับมากมายทั่วเอเชีย โดยเฉพาะ หวงเย่อหัว และ เหลียงเฉาเหว่ย โด่งดังถึงขีดสุดในสายงานละครชุด ก้าวขึ้นเป็นพระเอกอันดับหนึ่ง ของสถานีโทรทัศน์ TVB อีกด้วย

จนกระทั่งหมดยุค 80s กลุ่มห้าพยัคฆ์ ได้แยกย้ายไปตามแนวทางของแต่ละคน และกลายเป็นตำนานที่พูดถึงมาจนถึงปัจจุบัน[5]

ประวัติ[แก้]

ในยุค 80s เป็นยุคที่อุตสาหกรรมละครชุดของฮ่องกง ได้รับความนิยมอย่างสูงทั่วทวีปเอเชีย และถือได้ว่าเป็นจุดกำเนิดของ กลุ่มห้าพยัคฆ์ทีวีบี ของสถานีโทรทัศน์ทีวีบี อีกด้วย ซึ่งในตอนนั้น ทางค่ายทีวีบี ได้ทำการคัดเลือกนักแสดงหนุ่มดาวรุ่งพุ่งแรงของทางช่องในขณะนั้นจำนวน 5 คน มารวมตัวกัน ซึ่งประกอบไปด้วย เหมียว เฉียวเหว่ย, ทัง เจิ้นเยี่ย, หวง เย่อหัว, หลิว เต๋อหัว และ เหลียง เฉาเหว่ย ซึ่งเป็นการส่งเสริมและผลักดัน นักแสดงชายทั้งห้าให้โด่งดังสุด ๆ เพราะช่วงเวลานั้นเหล่านักแสดงชายชื่อดังรุ่นพี่ของสถานีโทรทัศน์ TVB อย่าง เจิ้งเส้าชิว และ โจวเหวินฟะ ที่กำลังจะหมดสัญญาและคิดจะย้ายออกจาก TVB ไป

ต่อมาในเดือนกันยายน ปีพ.ศ. 2526 สถานีโทรทัศน์ทีวีบี ได้ทำการเปิดตัวกลุ่ม 5 พยัคฆ์ทีวีบี อย่างเป็นทางการ โดยให้พวกเขาทั้ง 5 คนได้แสดงโชว์ร่วมกัน ชุดหนึ่งของทางช่องทีวีบีจนเป็นจุดกำเนิดของชื่อ ห้าพยัคฆ์ ในเวลาต่อมา โดยในกลุ่มจะเรียงลำดับตามอายุ โดยมี เหมียวเฉียวเหว่ย เป็นพี่ใหญ่ (พยัคฆ์ใหญ่), ทังเจิ้นเยี่ย เป็นพี่รอง (พยัคฆ์ตัวที่สอง), หวงเย่อหัว เป็นพี่สาม (พยัคฆ์ตัวที่สาม), หลิวเต๋อหัว เป็นพี่สี่ (พยัคฆ์ตัวที่สี่) และพยัคฆ์น้องเล็ก อย่าง เหลียงเฉาเหว่ย โดยเป็นการเปรียบเทียบเชิงสัญลักษณ์ของกลุ่มให้คล้ายกับ 5 ขุนพลพยัคฆ์ ในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก อันประกอบด้วย กวนอู, จูล่ง,ฮองตง, ม้าเฉียว และ เตียวหุย

ในขณะที่สมาชิกทั้ง 5 คน ต่างเคยเป็นนักเรียนการแสดงกับทางสถานีโทรทัศน์ทีวีบีมาโดยตรง และผ่านการฝึกอบรมกับทางค่ายมาแล้ว ซึ่งพวกเขาทั้งห้า ได้เข้ามาเรียนการแสดงกับทางช่องในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ทังเจิ้นเยี่ย จบการแสดงก่อนคนอื่นและมีผลงานละครก่อนใคร ส่วนผลงานของแต่ละคนที่เริ่มได้รับบทเด่น คือ ทังเจิ้นเยี่ย ในละครเรื่อง แผ่นดินทอง (This Land is Mine 1980) ในปีพ.ศ. 2523, เหมียวเฉียวเหว่ย ในละครเรื่อง รักพยาบาล ( The Adventurer's 1980) ในปีพ.ศ. 2523, หวงเย่อหัว ในละครเรื่อง ไอ้หนุ่มเฮงระเบิด (The Misadventure of Zoo 1981) ในปีพ.ศ. 2524, หลิวเต๋อหัว ในละครเรื่อง ซิทคอม เรื่อง นี่แหละ...ฮ่องกง (Hong Kong'81) ปีพ.ศ. 2524, เหลียงเฉาเหว่ย ในละครเรื่อง เทพบุตรสลัม (Soldier of Fortune 1982) ปีพ.ศ. 2525 หลังจากนั้นพวกเขาทั้ง 5 ต่างก็มีผลงานที่สร้างชื่อให้แต่ละคน ต่างบทบาทกันไป

โดยผลงานละครที่โด่งดังจนกลายเป็นระดับตำนานของแต่ละคนที่ได้แสดงนำเป็นตัวเอก (วัดจากเรตติ้งเป็นหลัก) เช่น

  • เหมียว เฉียวเหว่ย

-เหยี่ยวถลาลม (The Lonely Hunter 1981)

-มังกรหยก 1983 ฉบับปีพ.ศ. 2526

-เทพอาจารย์จอมอิทธิฤทธิ์

-ชอลิ้วเฮียง ตอน ถล่มวังค้างคาว

  • ทัง เจิ้นเยี่ย

-แปดเทพอสูรมังกรฟ้า ฉบับปีพ.ศ 2525

  • หวง เย่อหัว

-เหยี่ยวถลาลม (The Lonely Hunter 1981)

-แปดเทพอสูรมังกรฟ้า ฉบับปีพ.ศ 2525

-มังกรหยก 1983 ฉบับปีพ.ศ. 2526

-ศึกลำน้ำเลือด ปีพ.ศ. 2530

-คู่แค้นสายโลหิต ปีพ.ศ. 2532

-เจ้าพ่อสนามม้า ปีพ.ศ. 2536

-แปดเทพอสูรมังกรฟ้า ฉบับปีพ.ศ. 2540

  • หลิว เต๋อหัว

-มือปราบจ้าวอินทรีย์(The Emissary 1982)

-มังกรหยก ภาค 2 ตอน จอมยุทธอินทรี ฉบับปีพ.ศ. 2526

-อุ้ยเสี่ยวป้อ ฉบับปีพ.ศ. 2527

  • เหลียงเฉาเหว่ย

-อุ้ยเสี่ยวป้อ ฉบับปีพ.ศ. 2527

-ขวัญใจโปลิศ ภาค1 (ปีพ.ศ. 2527)

-เดชเซียวฮื้อยี้ (Two Most Honorable Knights 1988)

-ดาบมังกรหยก ฉบับปีพ.ศ. 2529

-ศึกลำน้ำเลือด ปีพ.ศ. 2530

พวกเขาทั้งห้า มีชื่อเสียงโด่งดังในยุค 80s เป็นอย่างมากและต่างก็เป็นขวัญใจผู้ชมละคร เพราะมีฐานแฟนคลับมากมายทั่วเอเชีย จนกระทั่งหมดยุค และก้าวเข้าสู่ยุค 90s ทุกคนต่างแยกย้ายไปตามแนวทางของแต่ละคน เช่น

  • หลิวเต๋อหัว หันไปทุมเทกับการเล่นหนังใหญ่ และการเป็นนักร้อง จนประสบความสำเร็จในวงการจอเงินและการเป็นนักร้องดัง และได้กลายเป็นซุปเปอร์สตาร์
  • เหลียงเฉาเหว่ย หันไปทุมเทกับการเล่นหนังใหญ่เช่นกัน จนกลายเป็นยอดนักแสดงมากฝีมือในวงการหนังอีกคน
  • เหมียวเฉียวเหว่ย ไปทำธุรกิจแว่นตาจนกลายเป็นเศรษฐี ก่อนจะเซ็งกิจการและกลับมารับงานแสดงโดยเน้นไปทางละคร
  • ทังเจิ้นเยี่ย ออกจากวงการบันเทิงฮ่องกง ย้ายไปอยู่ที่ไต้หวันชั่วขณะหนึ่ง (เพราะเขาทนต่อแรงด่าทอของสังคมในฮ่องกงไม่ไหว เกี่ยวกับกรณีการฆ่าตัวตายของอดีตแฟนสาวดาราดัง องเหม่ยหลิง) ก่อนที่เขาจะหวนกลับมารับงานแสดงในฮ่องกงอักครั้งแต่ไม่ดังเหมือนในอดีตอีกเลย
  • หวงเย่อหัว เพียงคนเดียวเท่านั้นที่หลังจากกลุ่ม ห้าพยัคฆ์ทีวีบี แตก เขายังคงรับเล่นละครทีวี อย่างต่อเนื่อง จนล่าสุดถูกทางช่องทีวีบี ขึ้นบัญชีดำมาจนถึงปัจจุบันทำให้เขาไม่สามารถกลับไปเล่นละครให้กับทางทีวีบีได้อีก

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย[แก้]

  • ทราบหรือไม่ว่าทั้ง 5 คน มีภาพยนตร์ที่ต่างเคยเล่นด้วยกันถึง 37 เรื่อง แต่ทว่า...มีเพียงเรื่องเดียวเท่านั้น ที่ทั้ง 5 พยัคฆ์มีโอกาสโคจรมาเล่นพร้อมกันทั้ง 5 คนโดยไม่ขาดคนใดคนหนึ่งไปเลย นั้นก็คือเรื่อง เพื่อเพื่อนสับมันเลย (The Tigers 1991; 五虎將之決裂) ที่สร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2534
  • ส่วนทางด้านละครที่ต่างฝ่ายต่างเคยเล่นด้วยกันนั้นมีถึง 24 เรื่อง แต่ก็มีเพียงแค่เรื่องเดียวที่ได้เล่นร่วมกันทั้ง 5 คนนั่นก็คือเรื่อง ขุนศึกตระกูลหยาง (The Yang's Saga 1985; 楊家將) ซึ่งเป็นละครดังที่มีดาราดังเกือบทุกคนในค่ายมาเล่นด้วยกัน เป็นละครที่ถูกสร้างขึ้นในโอกาสพิเศษครบรอบ 18 ปีของสถานีโทรทัศน์ทีวีบี เมื่อปีพ.ศ. 2528 นั่นเอง
  • เหมียวเฉียวเหว่ย ถ้าเรียงตามอายุเขาจะเป็นพี่ชายคนโตในทีม 5 พยัคฆ์ทีวีบี แต่ถ้าเรียงความสำเร็จทางด้านเรตติ้งละคร เขามักถูกเรียกเป็น พี่ชายคนที่สาม เนื่องจากเขาทำเรตติ้งละครได้สูงรองจาก หวงเย่อหัว และ หลิวเต๋อหั และสื่อในฮ่องกง มักจะเรียกเขาว่า พี่ชายคนที่สามแห่ง 5 พยัคฆ์ทีวีบี

ส่วนอื่นที่เกี่ยวข้อง[แก้]

หมายเหตุ แต่เดิม องเหม่ยหลิง จะมีชื่ออยู่ใน 2 กลุ่ม คือ 4 ดรุณีหยก ยุค 80s กับ 7 สาวงามในชุดโบราณ ยุค 80s แต่ หลังจากดาราสาวชื่อดัง องเหม่ยหลิง เสียชีวิตกะทันหันในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2528 ได้มีการเพิ่มนักแสดงหญิงเข้าไปแทนเธอเพื่อให้เป็น เจ็ดสาวงามในชุดโบราณ โดยได้ เติ้งชุ่ยเหวิน เข้ามาแทน องเหม่ยหลิง ส่วนกลุ่ม 4 ดรุณีหยก ได้ยุบตัวไปก่อตั้งเป็นกลุ่ม 5 ธิดามังกรขึ้นมาใหม่

อ้างอิง[แก้]

  1. "Be My Guest: Episode 133". TVB (ภาษาจีน). 2009-07-25.
  2. "ช่วงที่2: สถานีโทรทัศน์, ห้าพยัคฆ์ทีวีบี". Big5.china.com (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 2018-09-12.[ลิงก์เสีย]
  3. "การรวมตัวอีกครั้งของทีม 5 พยัคฆ์ทีวีบี". 163 (ภาษาจีน). 2010-06-27. สืบค้นเมื่อ 2018-09-12.
  4. "ความเป็นมาของ 5 พยัคฆ์ทีวีบี" (ภาษาจีน). 2017-03-10. สืบค้นเมื่อ 2019-12-17.
  5. "明星关系 黄日华" (2017-03-10). ""หวงเย่อหัว กับ เหลียงเฉาเหว่ย " 2 ใน 5 พยัคฆ์ ที่มีละครฮิตมากกว่าคนอื่น". hket. สืบค้นเมื่อ 2018-09-13.
  6. "Golden Five Tigers". ""5 พยัคฆ์ทีวีบี vs 5นางฟ้าทีวีบี"". tripod. สืบค้นเมื่อ 2018-09-13.
  7. "TVB's Five Tigers 80s" (2015-08-11). ""TVB's Five Tigers vs Five Beauties"". yanie02. สืบค้นเมื่อ 2018-09-13.
  8. "การกลับคืนวงการของหนึ่งในอดีต 7 บุปพางามทีวีบี". โดย hk. สืบค้นเมื่อ June 21, 2019.
  9. ฟิล์มโฟกัส (October 19, 2018). "7 บุปพางามทีวีบีแห่งยุคทศวรรษ 80". โดย sohu. สืบค้นเมื่อ June 22, 2019.

แหล่งข้อมูล[แก้]