ข้ามไปเนื้อหา

โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โบรุสเซียดอร์ทมุนด์)
โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์
ชื่อเต็มBallspiel-Verein Borussia 1909 e. V. Dortmund
ฉายาDie Schwarzgelben (ดำเหลือง)
Der BVB (The BVB)
ผึ้งน้อย (ในภาษาไทย)
เสือเหลือง (ในภาษาไทย)
ก่อตั้ง19 ธันวาคม ค.ศ. 1909
สนามเว็สท์ฟาเลินชตาดีอ็อน
ความจุ81,365[1]
ประธานเรอินฮาร์ด ราอูบอลล์
ซีอีโอฮานส์ โยอาคิม วาทซ์เกอ
หัวหน้าผู้ฝึกสอนนูรี ชาฮิน
ลีกบุนเดิสลีกา
2022–23บุนเดิสลีกา อันดับที่ 9
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
ยุโรป
ฤดูกาลปัจจุบัน

โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ (เยอรมัน: Borussia Dortmund; ชื่อจัดตั้ง Ballspielverein Borussia 09 e.V. Dortmund) ย่อว่า เบเฟาเบ (BVB) หรือ ดอร์ทมุนท์ (Dortmund) เป็นสโมสรกีฬาอาชีพเยอรมนี ตั้งอยู่ที่ดอร์ทมุนท์ในรัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน สโมสรแห่งนี้มีชื่อเสียงจากทีมฟุตบอลอาชีพชาย ซึ่งปัจจุบันแข่งขันในบุนเดิสลีกา ลีกฟุตบอลสูงสุดของเยอรมัน สโมสรชนะเลิศลีก 8 สมัย เดเอ็ฟเบ-โพคาล 5 สมัย ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกหนึ่งสมัย อินเตอร์คอนติเนนตัลคัพหนึ่งสมัย และยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพหนึ่งสมัย คำว่า "โบรุสซีอา" (Borussia) เป็นคำในภาษาละติน หมายถึงปรัสเซีย อดีตอาณาจักรที่เป็นผู้นำรวบรวมแว่นแคว้นเยอรมนีให้เป็นปึกแผ่นจนเป็นมหาอำนาจของโลก

โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1909 โดยนักฟุตบอลท้องถิ่นจำนวน 18 คน ปัจจุบันทีมฟุตบอลนี้เป็นส่วนหนึ่งของสโมสรกีฬาขนาดใหญ่ที่มีสมาชิกมากกว่า 145,000 คน[2] ซึ่งทำให้โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์เป็นสโมสรกีฬาที่มีสมาชิกมากเป็นอันดับที่สองของประเทศ นอกเหนือจากฟุตบอลแล้ว สโมสรยังมีกีฬาชนิดอื่นที่ยังคงแข่งขันอยู่ ได้แก่ ทีมแฮนด์บอลหญิง นับตั้งแต่ ค.ศ. 1974 ดอร์ทมุนท์ลงเล่นเกมเหย้าที่เว็สท์ฟาเลินชตาดีอ็อน ซึ่งถือเป็นสนามฟุตบอลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และดอร์ทมุนท์เองยังเป็นสโมสรฟุตบอลที่มีผู้ชมโดยเฉลี่ยสูงที่สุดในโลก[3]

โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ใช้ชุดสีดำเหลืองเป็นชุดเหย้า ซึ่งสอดคล้องกับฉายา die Schwarzgelben ของสโมสร[4][5] ดอร์ทมุนท์มีสโมสรคู่ปรับสำคัญได้แก่ ชัลเคอ 04 ซึ่งถือเป็นคู่ปรับร่วมภูมิภาค Ruhr และการพบกันของทั้งคู่ถูกเรียกว่า เรเวียร์ดาร์บี นอกจากนี้ ดอร์ทมุนท์ยังเป็นคู่ปรับกับไบเอิร์นมิวนิกซึ่งการพบกันของทั้งคู่ถูกเรียกว่า แดร์คลัสซิคเคอร์

จากการจัดอันดับฟุตบอลมันนีลีกประจำปีของดีลอยต์ทูชโทมัตสุ ดอร์ทมุนท์เป็นสโมสรกีฬาที่ร่ำรวยเป็นอันดับที่สองของเยอรมนีและเป็นทีมฟุตบอลที่ร่ำรวยเป็นอันดับที่ 12 ของโลกใน ค.ศ. 2015[6] ยิ่งไปกว่านั้น ดอร์ทมุนท์ภายใต้การบริหารของ Michael Zorc นับตั้งแต่ทศวรรษ 2010 ได้รับการยกย่องว่าเป็นสถานที่บ่มเพาะผู้เล่นเยาวชนที่มีพรสวรรค์และพวกเขาเองก็ให้ความสำคัญกับระบบเยาวชนมาก[7] ดอร์ทมุนท์ยังได้รับการยกย่องจากการยึดมั่นในปรัชญาฟุตบอลเกมรุกของพวกเขาด้วยเช่นกัน[8]

ประวัติ

[แก้]

ยุคแรก

[แก้]
โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ใน ค.ศ. 1913

สโมสรก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 1909 โดยกลุ่มเยาวชนที่ไม่พอใจที่ทางโบสถ์คาทอลิกที่สนับสนุนเฉพาะเด็กที่นับถือศาสนาเดียวกัน พวกเขาเล่นฟุตบอลด้วยสายตาแข็งกร้าว ไม่สนใจสายตาของนักบวชที่มองมา โดยบาทหลวงดีวาลด์เคยถูกขังไว้ข้างนอกในตอนที่เขาพยายามจะยุติการประชุมทีมที่ห้องของผับ Zum Widshutz กลุ่มผู้ก่อตั้งสโมสรประกอบไปด้วย ฟรานซ์ และพอล บรัวน์, เฮนรี เคลฟ, ฮานส์ เดเบสต์, พอล ดีเซียนด์เซียเล่, ฟรานซ์, จูเลียส และวิลเฮิล์ม จาโคบี, ฮานส์ คาห์น, กุสตาฟ มูลเลอร์, ฟรานซ์ ริซซี่, ฟริทซ์ สชัวล์เต้, ฮานส์ เซียโบลด์, ออกัสต์ โตนเนสแม่นน์, เฮนริช และโรเบิร์ต อูเกอร์, ฟริทซ์ เวเบอร์ และฟรานซ์ เวนด์ท โดยชื่อ โบรุสซีอา มาจากภาษาละตินที่แปลว่าปรัสเซีย แต่ชื่อสโมสรตั้งชื่อตามโรงเบียร์โบรุสซีอาที่ตั้งอยู่ในเมืองดอร์ทมุนท์ ในช่วงแรก พวกเขาสวมเสื้อสีน้ำเงิน-ขาว คาดแดง กางเกงสีดำ ต่อมาใน ค.ศ. 1913 พวกเขาก็เปลี่ยนมาใช้สีเหลือง-ดำจนถึงปัจจุบัน

พวกเขาได้โลดแล่นอยู่ในลีกระดับท้องถิ่นเป็นระยะเวลากว่าสิบปี จนกระทั่งใน ค.ศ. 1929 พวกเขามีปัญหาทางการเงินเมื่อพวกเขาได้จ้างผู้เล่นระดับอาชีพแต่ไม่มีเงินเพียงพอที่จะจ่ายค่าจ้างจนทำให้สโมสรเกือบล้มละลาย แต่ยังโชคดีที่ได้ผู้สนับสนุนเข้ามาช่วยทีมได้ทันเวลา

ทศวรรษ 1930 เป็นช่วงเวลาที่ทีมเติบโตขึ้น เมื่อมีการปรับโครงสร้างการแข่งขันฟุตบอลให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น ต่อมา ประธานสโมสรดอร์ทมุนท์ถูกสับเปลี่ยน เนื่องจากพวกเขาไม่ยอมเข้าร่วมกลุ่มนาซี อีกทั้งสมาชิกในสโมสรสองคนก็ทำใบปลิวต่อต้านนาซีอีกด้วย สโมสรประสบความสำเร็จอย่างมากในยุคของเจาลิกา เวสต์มาเลน แต่ก็ต้องรอให้สงครามโลกยุติจึงจะกลับมาได้ ในช่วงเวลานี้ มีทีมคู่แข่งจากเมืองข้างเคียง นั่นคือ ชัลเคอ 04 เนื่องจากเมืองดอร์ทมุนท์เข้าไปมีส่วนร่วมในสงครามโลก ทำให้หน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงสโมสรฟุตบอลถูกยุบ ต่อมาได้มีความพยายามที่จะควบรวมสองสโมสรอย่างเวิร์กสปอร์ตชีเมนส์ชาฟท์และเฟรเออร์ สปอร์ตเวเรน 98 เข้าด้วยกันในชื่อ สปอร์ตชีเมนส์ชาฟท์ โบรุสซีอา วอน 1898 แต่ตอนที่ลงแข่งครั้งแรกในลีกระดับชาติกลับใช้ชื่อ บอลล์สเปียล เวเรน โบรุสซีอา (BVB) โดยพวกเขาแพ้ต่อวีเออาร์ มานน์ไฮม 2-3

ยุคบุนเดิสลีกา

[แก้]
แผนภูมิแสดงถึงผลงานในลีกของโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์หลังสงครามโลกครั้งที่สอง

ในช่วง ค.ศ.1946-1963 ทีมได้ลงเล่นในรายการ โอเบอร์ลีกา เวสต์ ปี ค.ศ.1949 พวกเค้าเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศที่สตุ๊ดการ์ต เจอกับ ทีมวีเอฟอาร์ มานน์ไฮม ปรากฏว่าพวกเขาแพ้ไป 2-3 ทีมได้ลงเล่นฟุตบอลลีกของเยอรมันครั้งแรกในปี ค.ศ.1956 หลังจากที่ลีกเพิ่งก่อตั้งใน ค.ศ.1950 หลังการเข้าร่วมฟุตบอลลีกได้ 1 ปี พวกเขาชนะฮัมบวร์ค เอสวี คว้าอันดับที่2 ในฟุตบอลเยอรมัน ฟุตบอล แชมป์เปี้ยนชิพ ในปี ค.ศ.1963 พวกเขาได้ตำนานอัลเฟรดทั้ง 3ได้แก่ อัลเฟรด ไพรบ์เลอร์,อัลเฟรด เคลบาสซ่า และอัลเฟรด นีเพียโคล ช่วยให้คว้าแชมป์ เยอรมัน ฟุตบอล แชมป์เปี้ยนชิพ ครั้งสุดท้าย ก่อนเปลี่ยนระบบการแข่งขันเป็นบุนเดิสลีกา ในปีค.ศ.1962 ดอร์ทมุนท์มีส่วนร่วมในการโหวตเพื่อสร้างฟุตบอลลีกอาชีพของประเทศเยอรมัน ในชื่อ บุนเดิสลีกา โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์เป็น 1 ใน 16 ทีมที่ได้ร่วมแข่งขันหลังจากผ่านการคัดเลือกจากการแข่งขัน ปรี บุนเดิสลีกา เนชั่นแนล แชมป์เปี้ยนชิพ โดยประตูแรกที่ทีมทำได้ในลีก เกิดขึ้นจาก เฟรดเฮห์ม โคเนียท์สก้า ที่ทำได้ในนัดแรกที่พวกเค้าพบกับแวร์เดอร์ เบรเมน ค.ศ.1965 พวกเค้าคว้าแชมป์ DFB Pokal ได้สำเร็จ ปีถัดมาก็ได้แชมป์ ยูโรเปี้ยน คัพวินเนอร์สคัพ โดยเอาชนะลิเวอร์พูลได้ในช่วงต่อเวลาพิเศษ 2-1 ปีเดียวกันนี้พวกเค้าพลาดแชมป์ฟุตบอลลีก เมื่อพลาดท่าแพ้ 4 นัดจาก 5 นัด ทำได้คะแนนน้อยกว่า 1860 มิวนิก แค่ 3 แต้ม โดยมีจอมถล่มประตูอย่าง โคเนียท์สก้า ที่เพิ่งย้ายไปจากดอร์ทมุนท์นั่นเอง

คว้าความสำเร็จในเยอรมันและยุโรป

[แก้]

ค.ศ.1970 พวกเค้าประสบปัญหาด้านการเงิน ทำให้ทีมตกชั้นในปี ค.ศ.1972 หลังจากนั้น ค.ศ.1974 ทีมเปิดใช้สนาม เว็สท์ฟาเลินสเตเดี้ยน ในแถบเว็สท์ฟาเลิน ทีมก็กลับขึ้นชั้นมาเล่นในบุนเดิสลีกาอีกครั้งใน ค.ศ.1976 ดอร์ทมุนท์มีปัญหาด้านการเงินอีกครั้งใน ค.ศ.1980 จนต้องแข่งเพลย์ออฟเลื่อนชั้น-ตกชั้นในปี 1986 โดยพบกับฟอร์ทูน่า โคโลญน์ และเป็นดอร์ทมุนที่เอาชนะมาได้ ฤดูกาลต่อมาพวกเค้าจบด้วยอันดับที่ 16 พวกเคาไม่ประสบความสำเร็จเลย จนกระทั่งปี ค.ศ.1989 พวกเค้าได้แชมป์ DFB Pokal เมื่อเอาชนะแวร์เดอร์ เบรเมน ได้ในนัดชิงชนะเลิศ โดยเป็นถ้วยแชมป์ครั้งแรกของผู้จัดการทีมอย่าง ฮอร์สต์ คอปเปล ปี 1 ค.ศ.1989 พวกเค้าก็ได้แชมป์ DFL ซูเปอร์คัพ โดยการชนะบาร์เยิร์น มิวนิก 4-3 หลังจบฤดูกาลบุนเดิสลีกาใน ค.ศ.1991 พวกเค้าได้อันดับที่ 10 ฮอร์สต์ คอปเปล ลาออกและได้ ออตมาร์ ฮิตซ์เฟลต์ มาคุมทีมแทน ปี ค.ศ.1992 พวกเค้าได้ที่ 2 หลังพลาดท้าย่ายต่อสตุ๊ดการ์ตในนัดสุดท้าย และฤดูกาลถัดมาได้อันดับ 4 โดยพวกเค้าได้เข้าชิงชนะเลิศ ยูฟ่า คัพ แต่ก็แพ้ต่อยูเวนตุสไป 1-6 แม้จะได้แค่รองแชมป์ แต่พวกเค้าก็ได้เงินรางวัลมากพอที่จะซื้อนักเตะชื่อดังมาร่วมทีม

ครองจ้าวยุโรปของสโมสร

[แก้]

ภายใต้การนำของนักเตะยอดเยี่ยมยุโรปอย่าง มาเทียส แซมเมอร์ พวกเค้าได้แชมป์บุนเดิสลีกาในปี ค.ศ.1995 และ 1996 และแชมป์ DFL ซูเปอร์คัพ ใน ปี ค.ศ.1995 และ 1996 เช่นกัน และปี ค.ศ.1997 พวกเค้าก็ได้แชมป์ ยูฟ่า แชมเปี้ยนลีก ครั้งแรกหลังเอาชนะยูเวนตุสได้ 3-1 ได้ที่สนามโอลิมปิค สเตเดี้ยน ในมิวนิก หลังจากนั้นปีเดียวกันพพวกเค้าก็คว้าแชมป์ อินเตอร์คอนติเนลทอล คัพ โดยชนะ ครูไซโร่ 2-0 เป็นทีมที่ 2 จากเยอรมันที่ได้แชมป์รายการนี้ หลังจากบาร์เยิร์น มิวนิกทำได้ ในปี ค.ศ.1976 ปี ค.ศ.1998 ดอร์ทมุนท์ทีมแชมป์เก่าในรายการยูฟ่า แชมป์เปี้ยนลีก เข้าถึงรอบรองชนะเลิศ พบกับเรอัลมาดริด แต่ทีมประสบปัญหานักเตะตัวหลักบาดเจ็บหลายคน ทำให้ทีมตกรอบแค่รอบนี้ เดือนตุลาคม ค.ศ.2000 โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ได้ทำการขายหุ้นสโมสรแก่บุคคลทั่วไปเป็นทีมแรกของเยอรมัน ต่อมาปี ค.ศ.2002 ดอร์ทมุนท์กลับมาคว้าแชมป์บุนเดิสลีกา ได้อีกครั้ง โดยมี มาเทียส แซมเมอร์ เป็นผู้จัดการทีมประวัติศาสตร์ ที่สามารถคว้าแชมป์ได้ทั้งตอนที่เป็นนักเตะและผู้จัดการทีม ฤดูกาลเดียวกันนี้พวกเค้าได้รองแชมป์ยูฟ่าคัพ โดยแพ้นัดชิงต่อ เฟเยนูร์ด อย่างน่าเสียดาย

ประสบปัญหาด้านการเงินแต่กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง

[แก้]

ดอร์ทมุนเริ่มประสบปัญหาด้านการเงินอย่างรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จนนำไปสู่การขายสนามเว็สท์ฟาเลิน สเตเดี้ยน เพื่อหาเงินมาจ่ายหนี้เงินกู้ ต้นตอของปัญหาเกิดจากการที่พวกเค้าตกรอบคัดเลือกการแข่งขัน ยูฟ่า แชมป์เปี้ยนลีก โดยแพ้ คลับ บลู๊ก ในปี ค.ศ.2003 โดยมีทางบาร์เยิร์น มิวนิก ที่ให้ยืมเงินมูลค่า 2 ล้านยูโร เพื่อแก้ปัญหานี้ อย่างไรก็ตามปี ค.ศ.2005 พวกเค้าก็เจอปัญหาด้านการเงินอีกครั้ง จนหุ้นสโมสรตกลงกว่า 80% โดยสโมสรแก้ปัญหาด้วยการจ่ายค่าเหนื่อยนักเตะเพียง 20% ของสัญญา และเพื่อลดหนี้สินลง ทางสโมสรได้เปลี่ยนชื่อสนามเป็น ซิกแนล อิดูน่า พาร์ค ตามชื่อบริษัทประกันภัยท้องถิ่นที่เข้ามาสนับสนุนทางการเงินให้สโมสร โดยจะใช้ชื่อนี้จนถึงปี ค.ศ.2021 ฤดูกาล 2005-2006 ดอร์ทมุนท์กลับมามีกำไรอีกครั้ง หลังขาย ดาวิด โอดองเคอร์ ให้กับ เรอัล เบติส และขาย โทมัส โรซิคกี้ ให้กับอาร์เซนอล โดยฤดูกาลนั้นพวกเค้าได้อันดับ 7 พลาดการไปแข่งยูฟ่าคัพ ฤดูกาล 2006-2007 ทีมเกือบตกชั้นเมื่ออยู่เหนือโซนตกชั้นแค่ 1 คะแนน วันที่ 13 มีนาคม 2007 ทีมได้แต่งตั้ง โทมัส ดอลล์ เป็นผู้จัดการทีม ฤดูกาล 2007-2008 พวกเค้าได้อันดับ 13 และเข้าชิง DFB Pokal แต่แพ้ บาร์เยิร์น มิวนิก 1-2 อย่างไรก็ตามทีมได้สิทธิไปเล่นยูฟ่า คัพ เนื่องจากบาร์เยิร์น มิวนิก ไปเล่นในถ้วย ยูฟ่า แชมป์เปี้ยน ลีก วันที่ 19 พฤษภาคม 2008 โทมัส ดอลล์ ลาออกจากการเป็นผู้จัดการทีมและถูกแทนที่ด้วย เจอเก้น คล๊อปป์

ยุค 2010S

[แก้]

ฤดูกาล 2009-2010 คล๊อปป์พัฒนาดอร์ทมุนจนทีมคว้าอันดับ 5 ได้ ได้สิทธิไปเล่นฟุตบอล ยูฟ่า ยูโรป้า ลีก ฤดูกาล 2010-2011 ดอร์ทมุนท์คว้าแชมป์บุนเดสลีกกา เมื่อมีแต้มนำทีมอันดับ 2 อย่าง ไอเออร์ ลิเวอร์คูเซ่น 8 แต้ม และเหลือการแข่งขันแค่ 2 นัด พร้อมได้สิทธิเข้าแข่งรายการ ยูฟ่า แชมป์เปี้ยนลีก อัตโนมัติ หนึ่งปีต่อมา พวกเค้าป้องกันแชมป์บุนเดิสลีกาได้สำเร็จ และสร้างสถิติทำได้ 81 แต้ม มากที่สุดตั้งแต่มีลีกบุนเดิสลีกา ก่อนที่บาร์เยิร์น มิวนิก จะทำลายสถิติที่ 91 แต้มในฤฟดูกาลต่อมา ในฤดูกาล 2012-2013 พวก เค้าได้ 2 แชมป์ด้วยกันคือ บุนเดิสลีกาและ DFB Pokal ซึ่งมีแค่ 4 สโมสรเท่านั้นที่ทำได้คือ บาร์เยิร์น มิวนิก,โคโลญน์,แวร์เดอร์ เบรเมน และดอร์ทมุน นอกจากนี้ทีมยังได้รับรางวัล Sportler des Jahres อีกด้วย ฤดูกาล 2012-2013 พวกเค้าจบด้วยอันดับ 2 ของตารางและได้เข้าชิงชนะเลิศ ยูฟ่า แชมป์เปี้ยนลีก กับ บาร์เยิร์น มิวนิก ที่สนามเวมบลีย์ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่รอบชิงชนะเลิศเป็นทีมจากเยอรมันทั้ง 2 ทีม โดยพวกเค้าแพ้ไป 1-2 เริ่มฤดูกาล 2013-2014 พวกเค้าเริ่มฤดูกาลด้วยการชนะ DFL ซูเปอร์คัพ และในลีกพวกเค้าก็ชนะ 5 นัดรวด อย่างไรก็ตามด้วยขนาดทีมที่ไม่ใหญ่พอ เมื่อนักเตะตัวหลักเริ่มได้รับบาดเจ็บ และมาสามารทดแทนด้วยตัวสำรองได้ ทำให้พวกเค้าแพ้เรอัลมาดริดในรอบก่อนรองชนะเลิศ ในรายการยูฟ่า แชมป์เปี้ยนลีก และจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 2 พร้อมเข้าชิง DFB Pokal แต่ก็แพ้ต่อบาร์เยิร์น มิวนิก 0-2 ฤดูกาล 2014-2015 พวกเค้าเริ่มต้นได้สวยงาม ด้วยการชนะบาร์เยิร์น มิวนิก ในรายการ DFL ซูเปอร์คัพ 2-0 แต่ปรากฏว่าพวกเค้ากลับทำผลงานในลีกได้ไม่ดีนัก โดยมีคะแนนขึ้นๆลงๆอยู่ระหว่างโซนล่างของตาราง วันที่ 15 เมษายน 2015 เจอเก้น คล๊อปป์ ประกาศลาออกจากทีมหลังจบฤดูกาล และโธมัส ทูเคิ้ล มาแทนที่ พวกเค้าจบฤดูกาลด้วยอันดับ 8 และผ่านเข้าไปเล่นฟุตบอล ยูโรป้า ลีก ในฤดูกาล 2015-2016 ฤดูกาล 2015-2016 ดอร์ทมุนท์จบฤดูกาลด้วยการชนะ 24 ครั้ง ได้อันดับที่ 2 ของลีก โดยถือว่าเป็นอันดับ 2 ที่มีผลงานดีที่สุดตลาดการ ในยูโรป้า ลีก พวกเค้าต้องตกรอบเมื่อพบกับลิเวอร์พูล ภายใต้การนำของเจอเก้น คล๊อปป์ อดีตโค้ชของเค้าเอง และพวกเค้ายังได้เข้าชิง DFB Pokal เป็นครั้งที่ 3 ติดต่อกัน แต่ก็แพ้ต่อ บาร์เยิร์น มิวนิก ในการดวลจุดโทษตัดสิน วันที่ 11 เมษายน 2017 ระหว่างที่พวกเค้าเตรียมตัวแข่งฟุตบอลแชมป์เปี้ยนลีก กับ เอเอส โมนาโก ที่โมนาโก เกิดเหตุระเบิดใกล้ๆกับรถบัสของนักเตะที่ซิกแนล อิดูน่า พาร์ค ส่งผลให้กองหลังของทีม 1 คน คือมาร์ค บาร์ทราร์และได้รับบาดเจ็บต้องเข้าโรงพยาบาล สุดท้ายพวกเค้าก็พ่าย ทั้ง 2 เกมตกรอบยูฟ่า แชมป์เปี้ยนลีกในที่สุด วันที่ 26 เมษายน 2017 พวกเค้าเข้าชิง DFB Pokal เป็นครั้งที่ 4 ติดต่อกัน ใน 6 ฤดูกาลหลังสุด แต่ก็แพ้ต่อ บาร์เยิร์น มิวนิก วันที่ 27 พฤษภาคม 2017 ดอร์ทมุนชนะการแข่งขัน DFB Pokal โดยการชนะ แฟรงค์เฟิร์ต จากจุดโทษของ โอบาเมยอง

ชุดและสปอนเซอร์ที่ใช้

[แก้]
ผู้เล่นของโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ฉลองหลังจากการคว้าแชมป์ บุนเดิสลีกาในปี 2011

ชุดแข่ง

[แก้]

สปอนเซอร์บนเสื้อ

[แก้]
  • 1974–1976: เมืองดอร์ทมุนท์
  • 1976–1978: Samson (ยาสูบ)
  • 1978–1980: Prestolith (สีและกำจัดสารเคลือบเงา)
  • 1980–1983: UHU (กาว)
  • 1983–1986: Artic (ไอศกรีม)
  • 1986–1997: Die Continentale (การประกันสุขภาพ)
  • 1997–1999: s.Oliver (เครื่องแต่งกาย)
  • 1999–2005: E.ON (พลังงาน)
  • 2006–ปัจจุบัน: Evonik (สารเคมีพลังงานและอสังหาริมทรัพย์)

ผู้เล่น

[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

[แก้]
ณ วันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 2024 [10]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK สวิตเซอร์แลนด์ เกรกอร์ โคเบิล
2 DF สเปน มาเตว โมเรย์
4 DF เยอรมนี นีโค ชล็อทเทอร์เบ็ค
6 MF ตุรกี ซาลีห์ เอิซจัน
7 MF สหรัฐ โจวันนี เรย์นา
8 MF เยอรมนี มาห์มูด ดาฮูด
9 FW โกตดิวัวร์ เซบัสเตียง อาแลร์
10 MF อังกฤษ เจดอน แซนโช (ยืมตัวจาก แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด)
11 FW เยอรมนี มาร์โค ร็อยส์ (กัปตัน)
13 DF โปรตุเกส ราฟาแอล กึไรรู
14 DF เยอรมนี นีโค ชูลซ์
15 DF เยอรมนี มัทซ์ ฮุมเมิลส์
16 DF สวิตเซอร์แลนด์ มานูเอ็ล อาคันจี
17 MF เยอรมนี มารีอุส ว็อล์ฟ
18 FW เยอรมนี ยูซูฟา มูโกโก
19 MF เยอรมนี ยูลีอาน บรันท์
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
20 MF ออสเตรีย มาร์เซ็ล ซาบิทเซอร์
21 FW เนเธอร์แลนด์ โดนีเยล มาเลิน
23 MF เยอรมนี แอมแร จัน
24 DF ฝรั่งเศส ตอมา เมอนีเย
25 DF เยอรมนี นิคคลัส ซือเลอ
27 FW เยอรมนี คาริม อเดเยมี
30 MF เยอรมนี เฟลิคส์ พัสลัค
32 MF กินี อับดูลาย กามารา
33 GK เยอรมนี อเล็คซันเดอร์ ไมเออร์
35 GK โปแลนด์ มาร์แซล ลอตกา
36 MF เยอรมนี ทอม โรเทอ
38 GK เยอรมนี ลูคา อุนเบอเฮาน์
42 MF เยอรมนี ก็อคทัน เกือร์พึซ
43 FW อังกฤษ เจมี บีโน-กิตเทนส์
44 DF ฝรั่งเศส ซูมาอิลา กูลีบาลี

สตาฟโค้ชปัจจุบัน

[แก้]
ตำแหน่ง ชื่อ
หัวหน้าผู้ฝึกสอน เยอรมนี เอดิน แตร์ซิช
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน กานา อ็อทโท อัดโด
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน เยอรมนี เซบาสเตียน เกปเพิร์ต
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู เยอรมนี แมตเธียส ไคลน์สไตเบอร์
ผู้ฝึกสอนด้านฟิตเนส อังกฤษ โอลิเวอร์ บาร์ตเลตต์
ผู้ฝึกสอนด้านฟิตเนส เยอรมนี ฟรอริอัน วังค์เลอร์
นักกายภาพบำบัด เยอรมนี เปเตอร์ คันหต์
นักกายภาพบำบัด เยอรมนี ทอร์เบิน โวเอสเต
นักกายภาพบำบัด เยอรมนี ไมเคิล เวนเซิล
นักกายภาพบำบัด เยอรมนี โทมัส เซตซ์แมนน์
แพทย์ประจำสโมสร เยอรมนี ด็อกเตอร์ มาร์คัส บราอัน
หัวหน้าผู้สรรหานักเตะ เยอรมนี สเวน มิสลินแทต
หัวหน้านักกีฬา เยอรมนี ไมเคิล ซอร์ก
หัวหน้าของการพัฒนาเด็กและเยาวชน เยอรมนี ลาร์ส ริกเคน
ผู้เข้าร่วมประชุมแฟน เยอรมนี ซิกฟริเอด เฮลด์

เกียรติประวัติ

[แก้]

เยอรมนี ระดับประเทศ

[แก้]

ยุโรป ระดับทวีปยุโรป

[แก้]

โลก ระดับโลก

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Borussia Dortmund's Signal Iduna Park expansion: Germany's biggest stadium set to get bigger!". Bundesliga. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-10. สืบค้นเมื่อ 1 July 2018.
  2. "The fourth biggest club in the world". bvb.de. 28 November 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-30. สืบค้นเมื่อ 29 November 2016.
  3. "The top 50 average attendances in football over the last five years". 12 April 2019.
  4. "Borussia Dortmund – Puma SE". puma.com. Puma SE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 มกราคม 2014. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2013.
  5. "Borussia Dortmund". UEFA. สืบค้นเมื่อ 17 August 2013.
  6. "Deloitte Football Money League 2015 – Commercial breaks" (PDF). deloitte.com. 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 22 January 2015. สืบค้นเมื่อ 12 March 2015.
  7. "Why Borussia Dortmund's not-so-secret recipe for success is so hard to copy". Standard. 6 April 2019. สืบค้นเมื่อ 3 February 2020.
  8. "Borussia Dortmund stopped spending and started scouting. Now they're top of the Bundesliga". ESPN. 17 January 2019. สืบค้นเมื่อ 3 February 2020.
  9. "PUMA announces partnership with Borussia Dortmund (BVB)". Puma AG. 26 October 2011. สืบค้นเมื่อ 28 November 2011.
  10. "First Team". Borussia Dortmund. สืบค้นเมื่อ 2 July 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]