แอโรไวรอนเมนต์ อาร์คิว-11 เรฟเวน
อาร์คิว-11 เรฟเวน | |
---|---|
อากาศยานไร้คนขับอาร์คิว-11 ในเที่ยวบิน | |
หน้าที่ | อากาศยานไร้คนขับที่ควบคุมจากระยะไกล[1] |
ผู้ผลิต | แอโรไวรอนเมนต์ |
เที่ยวบินแรก | ตุลาคม ค.ศ. 2001 |
เริ่มใช้ | พฤษภาคม ค.ศ. 2003 |
สถานะ | ประจำการ |
ผู้ใช้หลัก | กองทัพบกสหรัฐ กองทัพอากาศสหรัฐ, เหล่านาวิกโยธินสหรัฐ, กองทัพบกสหรัฐ, กองกำลังทางบกทั่วโลก |
การผลิต | ค.ศ. 2004–ปัจจุบัน |
จำนวนที่ถูกผลิต | มากกว่า 19,000 ลำ |
ค่าใช้จ่ายต่อลำ |
173,000 ดอลลาร์ต่อระบบ (รวม 4 อากาศยานไร้คนขับ, 2 สถานีควบคุมภาคพื้นดิน และชิ้นส่วนอะไหล่)[2]
|
พัฒนาจาก | เอฟคิวเอ็ม-151 พอยเตอร์ |
แอโรไวรอนเมนต์ อาร์คิว-11 เรฟเวน (อังกฤษ: AeroVironment RQ-11 Raven) เป็นอากาศยานไร้คนขับทางไกลที่ควบคุมด้วยมือ (หรืออากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก)[3] ซึ่งพัฒนาขึ้นสำหรับกองทัพสหรัฐ แต่ปัจจุบันได้รับการนำมาใช้โดยกองกำลังทหารของประเทศอื่น ๆ อีกมาก
อาร์คิว-11 เรฟเวน ได้รับการนำมาใช้ครั้งแรกในฐานะเอฟคิวเอ็ม-151 ใน ค.ศ. 1999 แต่ใน ค.ศ. 2002 ได้รับการพัฒนาเป็นรูปแบบปัจจุบัน[4] คล้ายกับเครื่องบินโมเดลฟรีไฟลต์ รุ่นเอฟ1ซี ของสหพันธ์กีฬาทางอากาศโลกที่มีขนาดใหญ่ขึ้น อากาศยานชนิดนี้ได้รับการปล่อยตัวด้วยมือและขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าในรูปแบบของการผลัก เครื่องบินสามารถบินได้สูงถึง 6.2 ไมล์ (10.0 กม.) ที่ระดับความสูงอย่างคร่าว ๆ 500 ฟุต (150 ม.) เหนือระดับพื้นดิน (AGL) และมากกว่า 15,000 ฟุต (4,600 เมตร) เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง (MSL) ที่ความเร็วการบินที่ 28–60 ไมล์ต่อชั่วโมง (45–97 กม./ชม.)[5] ทั้งนี้ กองทัพบกสหรัฐใช้เรฟเวนในระดับกองร้อย[6]
การออกแบบและพัฒนา
[แก้]เรฟเวนอาร์คิว-11บี ยูเอเอส ผลิตโดยแอโรไวรอนเมนต์ มันเป็นผู้ชนะโครงการอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กของกองทัพบกสหรัฐใน ค.ศ. 2005 และเข้าสู่การผลิตแบบเต็มอัตรา (FRP) ในปี ค.ศ. 2006 หลังจากนั้นไม่นาน มันก็ได้รับเป็นของตนโดยเหล่านาวิกโยธินสหรัฐ และกองทัพอากาศสหรัฐสำหรับโครงการเอฟแพสที่กำลังดำเนินอยู่ มันได้รับการรับรองโดยกองกำลังทหารของหลาย ๆ ประเทศ (ดูด้านล่าง) มีการส่งมอบเรฟเวนมากกว่า 19,000 ลำให้แก่ลูกค้าทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน เรฟเวนเวอร์ชันที่เปิดใช้งานลิงก์ข้อมูลดิจิทัลใหม่ในขณะนี้อยู่ในระหว่างการผลิตสำหรับกองกำลังสหรัฐและพันธมิตร โดยได้ปรับปรุงความทนทาน ท่ามกลางการปรับปรุงอื่น ๆ อีกนานัปการ[ต้องการอ้างอิง]
เรฟเวนสามารถควบคุมได้จากระยะไกลจากสถานีภาคพื้นดินหรือบินภารกิจอิสระอย่างสมบูรณ์โดยใช้การนำทางด้วยจีพีเอส ทั้งสามารถสั่งให้อากาศยานไร้คนขับนี้กลับสู่จุดเริ่มต้นได้ทันทีเพียงกดปุ่มคำสั่งเดียว[1] ส่วนวัตถุของยวดยานภารกิจมาตรฐาน ได้แก่ กล้องถ่ายวิดีโอสีซีซีดี และกล้องส่องกลางคืนอินฟราเรด[ต้องการอ้างอิง]
อาร์คิว-11บี เรฟเวน ยูเอ มีน้ำหนักประมาณ 1.9 กก. (4.2 ปอนด์) มีความทนทานต่อเที่ยวบิน 60–90 นาที และรัศมีการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพประมาณ 10 กม. (6.2 ไมล์)[7]
อาร์คิว-11บี เรฟเวน ยูเอ ปล่อยตัวด้วยมือ โดยกว้างไปในอากาศเหมือนเครื่องบินจำลองเที่ยวบินฟรี เรฟเวนลงจอดด้วยตัวเองโดยการขับอัตโนมัติไปยังจุดลงจอดที่กำหนดไว้ล่วงหน้า จากนั้นทำการเอียง 45 องศา (ลง 1 ฟุตทุก ๆ 1 ฟุตไปข้างหน้า) ซึ่งควบคุมการเคลื่อนลงมาของระบบ "การลงจอดอัตโนมัติ" (Autoland) ระบบอากาศยานไร้คนขับนี้สามารถจัดหาข่าวกรอง, เฝ้าตรวจ, ค้นหาเป้าหมาย และลาดตระเวนทางอากาศ ทั้งกลางวันและกลางคืน[ต้องการอ้างอิง]
ในช่วงกลาง ค.ศ. 2015 เหล่านาวิกโยธินสหรัฐได้ทดสอบลิงก์ข้อมูลปลอดภัยขนาดเล็กของแฮร์ริสคอร์ปอเรชัน ซึ่งเป็นอุปกรณ์วิทยุที่พอดีกับหัวเครื่องบินของเรฟเวนเพื่อให้การสื่อสารที่เหนือกว่าแนวสายตาสำหรับนาวิกโยธินจนถึงระดับหมู่ การทำหน้าที่เป็นสถานีเชื่อมโยงการสื่อสารสำหรับกองกำลังภาคพื้นดินได้กลายเป็นหน้าที่สำคัญสำหรับระบบอากาศยานไร้คนขับ แต่ถูกจำกัดให้ใช้กับแพลตฟอร์มขนาดใหญ่ เช่น อาร์คิว-4 โกลเบิลฮอว์ก หรืออาร์คิว-21 แบล็กแจ็ก มันได้รับการรับรองการจำแนกประเภท 'ความลับ' และมีขนาดเพียง 25 ลูกบาศก์นิ้ว (410 ลบ.ซม.) (3 นิ้ว× 5.3 นิ้ว× 1.6 นิ้ว) และน้ำหนัก 18 ออนซ์ (510 กรัม) ซึ่งลิงก์ข้อมูลปลอดภัยขนาดเล็กของแฮร์ริสคอร์ปอเรชันช่วยให้ระบบอากาศยานไร้คนขับเรฟเวนขนาดเล็กสามารถขยายการสื่อสารสำหรับทหารในสนามได้[8]
ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2015 หน่วยที่ได้รับเลือกได้เริ่มได้รับการอัปเกรดเซ็นเซอร์เรฟเวน เรฟเวนกิมบอลเป็นกล้องที่หมุนได้พร้อมกิมบอล 360 องศา ซึ่งแทนที่กล้องติดตายตัวที่ต้องใช้การหลบหลีกอากาศยานเพื่อสังเกตการณ์ กล้องใหม่สามารถสลับระหว่างการตั้งค่ากลางวันและกลางคืนได้โดยไม่ต้องลงจอดและเปลี่ยนเซ็นเซอร์[9] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2017 ทางเบลเยียมได้ซื้อโดรนเรฟเวน 32 ระบบ ส่วนลักเซมเบิร์กซื้อ 16 ระบบ[ต้องการอ้างอิง]
รุ่น
[แก้]- อาร์คิว-11เอ เรฟเวน เอ (เลิกผลิตแล้ว)[ต้องการอ้างอิง]
- อาร์คิว-11บี เรฟเวน บี[ต้องการอ้างอิง]
- อาร์คิว-11บี แปดช่อง[ต้องการอ้างอิง]
- อาร์คิว-11บี ดีดีแอล (ดิจิทัลเดทาลิงก์)[ต้องการอ้างอิง]
- โซลาร์เรฟเวน – ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2012 ห้องทดลองกองทัพอากาศสหรัฐได้รวมแผงโซลาร์เซลล์แบบยืดหยุ่นขนาด 20 ตร.ซม. (3.1 ตร.นิ้ว) เข้ากับส่วนปีกของแพลตฟอร์มเรฟเวน โดยใช้ฟิล์มพลาสติกใสป้องกันและกาวเพื่อเพิ่มระบบพลังงานแบตเตอรี่ที่มีอยู่ ซึ่งเพิ่มความทนทานขึ้น 60 เปอร์เซ็นต์ การปรับปรุงในอนาคตรวมถึงการปรับปรุงความทนทานของแผงโซลาร์เซลล์และการลดน้ำหนัก โดยผลงานบูรณาการกำลังดำเนินการในแอโรไวรอนเมนต์ วอสป์ และอาร์คิว-20 พูมา[10]
ประจำการ
[แก้]ประจำการปัจจุบัน
[แก้]- กองทัพเลบานอน: 12 ระบบ[17][18][19][20]
- กองทัพสหรัฐ: 1,798 ระบบ[25]
- กองทัพยูเครน: 72 ระบบ[26][27]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- หมายเหตุ
- ↑ 1.0 1.1 "RQ-11 Raven". GlobalSecurity.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-01-09.
- ↑ "RQ-11B Raven". United States Air Force.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-19. สืบค้นเมื่อ 2019-07-16.
- ↑ Tomlinson, Cpl Ryan L (2008-05-14). "Gunfighter debuts Raven". IIMEF, Official Site US Marine Core, 2nd Light Armored Reconnaissance Bn. สืบค้นเมื่อ 2010-02-23. [ลิงก์เสีย]
- ↑ "RQ-11 Raven". Army-technology.com. สืบค้นเมื่อ 2009-10-09.[แหล่งอ้างอิงอาจไม่น่าเชื่อถือ]
- ↑ Mini Drones Win Soldier Praise at Army Experiment - Kitup.Military.com, 6 March 2015
- ↑ "RQ-11 Raven datasheet" (PDF). AeroVironment. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-02-08.
- ↑ Data link lets small UAVs serve as secure comm nodes เก็บถาวร 2015-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Defensesystems.com, 1 July 2015
- ↑ Troopers receive new Raven UAS camera upgrade เก็บถาวร 2015-08-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Army.mil, 21 August 2015
- ↑ Solar Raven เก็บถาวร 2012-11-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – SUASNews.com, November 17, 2012[แหล่งอ้างอิงอาจไม่น่าเชื่อถือ]
- ↑ http://landforce.mod.bg/Pokaz-na-novo-oborudvane-v-61-mbr/11:1145.html
- ↑ "www.defensenews.com/article/20140513/DEFREG02/305130034/Canadian-Army-Navy-Develop-Ambitious-Plans-AF-Fights-Delays". www.defensenews.com. 2014-05-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-14. สืบค้นเมื่อ 2014-05-14.
- ↑ Colombia; US donates ScanEagle UAV's to FAC เก็บถาวร 2014-01-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Dmilt.com, March 19, 2013
- ↑ "Czech military to buy two MUAVs for Afghanistan". ČTK (Czech Press Agency, www.ctk.cz). October 2, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-10-02.
- ↑ http://index.hu/kultur/media/2015/09/21/benko_tibor_terkep_hadmuveleti/
- ↑ "Iraqi Army's UAVs give troops the big picture". Army.mil. สืบค้นเมื่อ 2010-03-28.
- ↑ "Lebanon to receive US-built UAV's". defence.professionals (defpro). April 16, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 28, 2010. สืบค้นเมื่อ 2009-04-16.
- ↑ "Heavy U.S. Military Aid to Lebanon Arrives ahead of Elections". Naharnet Newsdesk. April 9, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 30, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-04-09.
- ↑ "Lebanon gets Raven mini UAV from U.S." United Press International. March 23, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 27, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-03-24.
- ↑ US delivers military vehicles to Lebanese Army. Daily Star, March 24, 2009.
- ↑ [1] เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Drones from Washington arrived in Macedonia
- ↑ Ansari, Usman (May 9, 2009). "Pakistan reported developing armed UAV". สืบค้นเมื่อ April 15, 2013.
- ↑ "U.S. Military Delivers Counterterrorism Equipment to the Philippine Army and Marine Corps". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-31. สืบค้นเมื่อ 2019-07-16.
- ↑ "Estonia and Portugal procure AeroVironment small unmanned aircraft systems". The Defence Post. 15 September 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-15. สืบค้นเมื่อ 16 September 2018.
- ↑ Raven numbers – Strategypage.com, February 19, 2013
- ↑ США передали украинским военным 72 беспилотника
- ↑ Украина в ближайшее время получит новые разведывательные беспилотные аппараты RQ-11B «Raven»
- ↑ "Uzbekistan Receives RQ-11 UAV". Forecast International. 12 September 2018. สืบค้นเมื่อ 12 September 2018.
- ↑ "Uzbekistan; Army Receives RQ-11 UAV". Defence Market Intelligence. 17 September 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-17. สืบค้นเมื่อ 17 September 2018.
- บรรณานุกรม
- "RQ-11 Raven". Popular Science: 12. March 2006.