ท่าอากาศยานไขตั๊ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Kai Tak
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ, เลิกใช้งานแล้ว
ผู้ดำเนินงานCivil Aviation Department
พื้นที่บริการHong Kong
สถานที่ตั้งKowloon Bay, Hong Kong
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล9 เมตร / 28 ฟุต
พิกัด22°19′43″N 114°11′39″E / 22.32861°N 114.19417°E / 22.32861; 114.19417
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
13/31 (Closed) 3,390 11,122 Paved
Kai Tak Airport
อักษรจีนตัวเต็ม啟德機場
อักษรจีนตัวย่อ启德机场
ยฺหวิดเพ็งKai2 dak1 gei1 coeng4

ท่าอากาศยานไขตั๊ก หรือ สนามบินไขตั๊ก (จีน: 啟德機場, จีนกลาง: qǐ dé jī chǎng ฉี่เต๋อจีฉ่าง, กวางตุ้ง: kai2 dak1 gei1 coeng4 ไขตั๊กเก๊ย์เฉิ่ง, อังกฤษ: Kai Tak Airport) (ชื่อเป็นทางการ:ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง(ใช้ชื่อนี้ระหว่างปีค.ศ.2497 - 2541) หลังจากนั้นได้ใช้ชื่อว่า ท่าอากาศยานไขตั๊ก เมื่อท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกงแห่งใหม่ได้เปิดให้บริการ) เป็นท่าอากาศยานหลักของอาณานิคมบริติชฮ่องกงของจักรวรรดิอังกฤษ ตั้งแต่ปีค.ศ.2468-2541 ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2541 ท่าอากาศยานแห่งนี้ถูกแทนที่ด้วยท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกงแห่งใหม่(เช็ค แลป ก็อก)

ท่าอากาศยานแห่งนี้เคยเป็นฐานการบินหลักของ คาเธย์แปซิฟิก, ดราก้อนแอร์ ,ฮ่องกงเอ็กซ์เพรสแอร์เวย์, ฮ่องกงแอร์ไลน์ และ แอร์ฮ่องกง

ประวัติ[แก้]

ท่าอากาศยานไขตั๊กตั้งอยู่ทางเหนือของอ่าวเกาลูน ท่าอากาศยานแห่งนี้ล้อมรอบไปด้วยภูเขาน้อยใหญ่ซึ่งภูเขาที่มีความสูงที่สุดได้อยู่ห่างจากสนามบินไปทางเหนือ เพียง 10 กิโลเมตร มีความสูงถึง2000 ฟุต (610 เมตร) ไขตั๊กมีทางวิ่งเพียงหนึ่งทางวิ่งเรียกว่า รันเวย์ 13/31 รันเวย์นี้สร้างขึ้นจากการถมทะเลบนอ่าว และได้ขยายความยาวมาเรื่อยๆจนถึง 3,390 เมตร

วันปิดท่าอากาศยาน[แก้]

ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกงแห่งใหม่ได้เปิดในเช้าวันที่ 6 กรกฎาคม 2541 ซึ่งหมายถึงกิจกรรมการบินต่างๆต้องถูกย้ายไปที่ท่าอากาศยานแห่งใหม่ทั้งหมด

วันที่ 6 กรกฎาคม 2541 เวลา 01:28 หลังจากเครื่องบินลำสุดท้ายได้ทะยานออกไป ท่าอากาศยานไขตั๊ก ก็ถูกปิดอย่างสมบูรณ์แบบ หลังจากเปิดให้บริการแก่ประชาชนชาวฮ่องกง และทั่วโลกมาอย่างยาวนานถึง 77 ปี

  • ไฟลท์ขาเข้าสุดท้าย: สายการบินดรากอนแอร์ เที่ยวบิน KA841 มาจาก ฉงชิ่ง แตะรันเวย์เวลา 23.38 น.
  • ไฟลท์ขาออกสุดท้าย : สายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค เที่ยวบิน CX251 ไป ลอนดอน ออกเวลา 00.02 น.

หลังจากส่งเครื่องบินลำสุดท้ายขึ้น พนักงานบนหอบังคับการบินได้จัดพิธีปิดสนามบินบนหอบังคับการบิน และได้พูดคำสุดท้ายขณะปิดไฟรันเวย์ว่า " ลาก่อนไขตั๊ก, ขอบคุณ"

ปัจจุบัน[แก้]

ปัจจุบันท่าอากาศยานไขตั๊ก ได้ถูกเปลี่ยนให้เป็นท่าเรือสำราญ (Cruise Terminal) และได้เปลี่ยนชื่อเป็น ไขตั๊กครูสเทอมินอล (ภาษาอังกฤษ:Kai Tak Cruise Terminal) ซึ่งเปิดให้บริการแล้วเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556 โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 1,000 ล้านเหรียญ ดอลลาร์สหรัฐ

ดูเพิ่ม[แก้]