แทมมารีน ธนสุกาญจน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แทมมารีน ธนสุกาญจน์
แทมมารีนในการแข่งยูเอส โอเพน ค.ศ. 2011
ประเทศ (กีฬา) ไทย
ถิ่นพำนักกรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
วันเกิด24 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 (46 ปี)
ลอสแอนเจลิส​, สหรัฐอเมริกา
ส่วนสูง1.65 m (5 ft 5 in)
เทิร์นโปรพ.ศ. 2537
ถอนตัวพ.ศ. 2559
การเล่นขวา; แบ็กแฮนด์สองมือ
เงินรางวัลUS$ 3,488,278
เดี่ยว
สถิติอาชีพ534–416
รายการอาชีพที่ชนะ4 WTA, 14 ITF
อันดับสูงสุดอันดับ 19 (13 พฤษภาคม 2545)
อันดับปัจจุบันอันดับ 426 (17 มีนาคม 2557)
ผลแกรนด์สแลมเดี่ยว
ออสเตรเลียนโอเพน4R (1998)
เฟรนช์โอเพน3R (2002)
วิมเบิลดันQF (2008)
ยูเอสโอเพน4R (2003)
การแข่งขันอื่น ๆ
Olympic Games2R (2000)
คู่
สถิติอาชีพ279–246
รายการอาชีพที่ชนะ8 WTA, 7 ITF
อันดับสูงสุดอันดับ 15 (13 กันยายน 2004)
อันดับปัจจุบันอันดับ 70 (17 มีนาคม 2014)
ผลแกรนด์สแลมคู่
ออสเตรเลียนโอเพน3R (2000)
เฟรนช์โอเพน3R (2012)
วิมเบิลดันSF (2011)
ยูเอสโอเพนQF (2004)
การแข่งขันคู่อื่น ๆ
Olympic GamesQF (1996, 2000)
คู่ผสม
รายการอาชีพที่ชนะ0
ผลแกรนด์สแลมคู่ผสม
Wimbledon2R (2009)
การแข่งขันแบบทีม
Hopman CupF (2000)
อัปเดตล่าสุดเมื่อ: 27 มีนาคม 2014
แทมมารีน ธนสุกาญจน์
เหรียญรางวัล
เทนนิส
ตัวแทนของ  ไทย
เอเชียนเกมส์
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2014 อินช็อน หญิงคู่
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 2010 กว่างโจว ทีมหญิง
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 2010 กว่างโจว คู่ผสม
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 2002 ปูซาน หญิงเดี่ยว
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 1998 กรุงเทพฯ หญิงเดี่ยว
แทมมารีน ธนสุกาญจน์
เหรียญรางวัล
เทนนิส
ตัวแทนของ  ไทย
ซีเกมส์
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 2019 ฟิลิปปินส์ หญิงคู่
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 2019 ฟิลิปปินส์ คู่ผสม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2009 เวียงจันทน์ หญิงคู่
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 2009 เวียงจันทน์ คู่ผสม
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2007 นครราชสีมา หญิงคู่
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 2007 นครราชสีมา คู่ผสม
แทมมารีน ธนสุกาญจน์
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ไทย)
ยศ ร้อยตำรวจเอกหญิง[1]

ร้อยตำรวจเอกหญิง แทมมารีน ธนสุกาญจน์ (โรมัน: Tamarine Tanasugarn; ชื่อเล่น: แทมมี่; เกิด: 24 พฤษภาคม 2520 — ) เป็นอดีตนักเทนนิสหญิงมือ 1 ของไทย และเคยมีอันดับโลกสูงสุดอันดับ 19 เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 และประเภทคู่อันดับโลกสูงสุด อันดับ 15 เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2547

ประวัติ[แก้]

แทมมารีนเกิดเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 ที่ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา เป็นบุตรของคุณวีระชัย และคุณสุเนตรา ธนสุกาญจน์ มีพี่สาวสองคนและน้องชายหนึ่งคน แทมมารีนเล่นเทนนิสตั้งแต่วัยเด็กเพราะเล่นเทนนิสกันทั้งครอบครัว สำเร็จการศึกษาปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (รุ่น 33 / ปีที่สำเร็จการศึกษา 2542)[2]

แทมมารีนเริ่มเล่นอาชีพเมื่อ พ.ศ. 2537 โดยมีบิดาเป็นผู้ฝึกสอนซึ่งได้ลาออกจากงานประจำและพาแทมมารีนออกตระเวนแข่งขันในต่างประเทศด้วยทุนส่วนตัว ต่อมาแทมมารีนได้รองชนะเลิศประเภทเยาวชนในรายการเทนนิสวิมเบิลดัน เมื่อ พ.ศ. 2538 โดยแพ้ Aleksandra Olsza จากโปแลนด์ 7-5, 7-6 (6) ในรอบชิงชนะเลิศ

แทมมารีนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในการแข่งขันนัดแรกของ สนามอาร์เธอร์ แอช เซ็นเตอร์คอร์ตที่เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ เพื่อเป็นเกียรติแก่อาร์เธอร์ แอช นักเทนนิสผิวดำชาวอเมริกันผู้เคยเป็นมือหนึ่งของโลกช่วงทศวรรษ 1970 ในการแข่งขันยูเอสโอเพน 1997 นัดเปิดสนามเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2540 ก่อนการแข่งขันมีการแสดงดนตรีโดยวิตนีย์ ฮิวสตัน เป็นที่คาดหมายกันว่า ผู้เล่นในนัดแรกควรจะเป็นนักเทนนิสผิวดำ คือ วีนัส วิลเลียมส์ และชานดา รูบิน (Chanda Rubin) นักเทนนิสดาวรุ่งสหรัฐ แต่แล้วก็มีการเปลี่ยนแปลงตารางผู้เล่นจากวิลเลียมส์เป็นแทมมารีนแทน ผลการแข่งขันปรากฏว่าแทมมารีนเอาชนะรูบินได้ 6-4, 6-0 อย่างพลิกความคาดหมายและกลายเป็นข่าวใหญ่ การแข่งขันครั้งนั้นเป็นครั้งแรกที่แทมมารีนได้เล่นในเซ็นเตอร์คอร์ตของรายการใหญ่และมีการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก [3][4][5]

แทมมารีนเป็นนักเทนนิสที่แม้จะเคลื่อนที่ได้ไม่ว่องไวและเสิร์ฟไม่แรง แต่เธอควบคุมลูกได้แม่นยำโดยเฉพาะในสนามคอร์ตหญ้า เธอเคยทำผลงานได้ดีในรายการเทนนิสวิมเบิลดัน ผ่านเข้ารอบ 4 ได้เข้าไปเล่นในสัปดาห์ที่สองติดต่อกันถึง 5 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2541 ถึง 2545 (เว้นปี 2546 ซึ่งตกรอบแรกและทำได้อีกครั้งในปี 2547) ซึ่งเป็นผลงานที่เธอภาคภูมิใจมาก

เธอเคยจับคู่เล่นเทนนิสประเภทคู่กับมาเรีย ชาราโปวา และได้แชมป์ประเภทคู่ 2 รายการ ที่โตเกียว และลักเซมเบิร์ก เมื่อ พ.ศ. 2546 (ในปีนั้น มาเรีย ชาราโปวา ได้แชมป์ทั้งประเภทเดี่ยวและประเภทคู่ ในรายการเจแปนโอเพน ที่โตเกียว และเป็นแชมป์ดับเบิลยูทีเอแรกในการเล่นอาชีพของชาราโปวา)

หลังต้องเผชิญกับปัญหาอาการบาดเจ็บรุมเร้าในช่วงปี พ.ศ. 2549-2550 จนทำท่าว่าจะแขวนแร็กเก็ต แต่ทว่าในปี พ.ศ. 2551 แทมมารีนก็กลับมาสร้างผลงานได้อย่างโดดเด่นอีกครั้ง โดยเฉพาะในช่วงกลางฤดูกาลแข่งขัน เมื่อตัดสินใจปรับโปรแกรมการแข่งขัน ลดรายการบนคอร์ตดินและลดระดับตัวเองลงไปแข่งในรายการระดับชาลเลนเจอร์บนคอร์ตหญ้า แทนรายการระดับดับเบิลยูทีเอทัวร์ในช่วงฤดูกาลบนคอร์ตดิน และก็สามารถคว้าแชมป์หญิงเดี่ยวมาครองได้ ในรายการที่จิฟู ประเทศญี่ปุ่น ต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551

แทมมารีน กล่าวถึงสาเหตุที่กลับมาเล่นได้ดีอีกครั้ง ส่วนหนึ่งคงจะมาจากการที่ตัดสินใจจ้าง นายฐิติพันธุ์ ทรัพย์กล้า อดีตนักกีฬาวิ่งข้ามรั้วมหาวิทยาลัยศรีปทุม มาเป็น เทรนเนอร์ส่วนตัว ตั้งแต่ช่วงการแข่งขันเทนนิสในกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 24 ที่ จ.นครราชสีมา ทำให้สภาพร่างกายกลับมาแข็งแกร่งมากขึ้น น้ำหนักตัวลดลง ความคล่องตัวมีสูงขึ้นกว่าเดิม

จากนั้นแม้ว่าเธอจะตกรอบแรกในรายการคอร์ตดิน ที่โรลังด์ การ์รอส ประเทศฝรั่งเศส แต่ก็ไม่ได้ทำให้ความมั่นใจของเธอสูญเสียไป แทมมี่วางโปรแกรมแข่งขันเทนนิสบนคอร์ตหญ้า ก่อนถึงรายการวิมเบิลดันในปีนี้ไว้ 3 รายการ และ 2 รายการแรก ที่เซอร์บิตัน และเบอร์มิงแฮม สามารถเข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศ

เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 ก่อนการแข่งขันเทนนิสวิมเบิลดัน แทมมารีนคว้าแชมป์ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยเอาชนะ ดินารา ซาฟินา มือวางอันดับ 3 ของรายการ มืออันดับ 9 ของโลก และรองแชมป์เฟรนช์โอเพน 2008 ด้วยคะแนน 7-5, 6-3 ซึ่งแทมมารีนเข้าไปเล่นเมนดรอว์ในฐานะผู้เล่นจากรอบคัดเลือก นับเป็นแชมป์ดับเบิลยูทีเอรายการที่สองและเป็นแชมป์แรกบนคอร์ตหญ้า[6]

ในการแข่งขันเทนนิสวิมเบิลดัน แทมมารีนสร้างประวัติศาสตร์ด้วยการเป็นนักเทนนิสชาวไทยคนแรกที่เข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศในรายการแกรนด์แสลม ด้วยการเอาชนะเยเลนา แยนโควิช มือวางอันดับ 2 ของรายการ ก่อนไปแพ้ให้กับวีนัส วิลเลียมส์[7] หลังจากนั้นแทมมารีนได้รับเชิญไปแข่งโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ซึ่งจัดขึ้นที่ปักกิ่ง แม้ว่าก่อนหน้านั้นจะได้รับการปฏิเสธและไม่มีชื่อของแทมมารีนในรายชื่อตัวสำรอง นับเป็นการเข้าร่วมกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 4 ของแทมมารีน[8]

แทมมารีนเคยเขียนบทความชื่อ แทมมี่ค่ะ ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันอาทิตย์ เล่าถึงประสบการณ์ในการเล่นเทนนิสอาชีพในต่างประเทศ [9]

หลังเลิกเล่น แทมมารีนได้รับการประดับยศเป็น ร้อยตำรวจตรีหญิง (ร.ต.ต.หญิง) สังกัดกองการเงิน สำนักงานงบประมาณและการเงิน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยผ่านหลักสูตรฝึกอบรมข้าราชการตำรวจและบุคคลที่บรรจุหรือโอนมาเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร รุ่นที่ 40 ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2558 โดยใช้โควต้านักกีฬาในการสมัคร[10]

สถิติการแข่งขันอาชีพ[แก้]

ประเภทเดี่ยว[แก้]

ระดับดับเบิลยูทีเอทัวร์[แก้]

ชนะเลิศ (4)[แก้]
ระดับ: ก่อนปี พ.ศ. 2552 ระดับ: ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552
แกรนด์สแลม (0)
ดับเบิลยูทีเอ แชมป์เปียนชิพ (0)
เทียร์ 1 (0) พรีเมียร์ แมนดาทอรี (0)
เทียร์ 2 (0) พรีเมียร์ 5 (0)
เทียร์ 3 (1) พรีเมียร์ (0)
เทียร์ 4 & 5 (1) อินเตอร์เนชันแนล (2)
แบ่งตามพื้นสนาม
คอนกรีต (2)
หญ้า (2)
ดิน (0)
พรม (0)
ลำดับ วันที่ รายการ, ประเทศ พื้นสนาม รางวัล คู่แข่งในรอบชิง ผลการแข่งขัน
1. 9 กุมภาพันธ์ 2546 อินเดีย ไฮเดอราบัด, อินเดีย คอนกรีต $140K อุซเบกิสถาน ไอโรดา ตุลยากาโนวา 6–4, 6–4
2. 21 มิถุนายน 2551 เนเธอร์แลนด์ เฮอร์โตเกนบอช, เนเธอร์แลนด์ หญ้า Euro370K รัสเซีย ดินารา ซาฟินา 7–5, 6–3
3. 20 มิถุนายน 2552 เนเธอร์แลนด์ เฮอร์โตเกนบอช, เนเธอร์แลนด์ (2) หญ้า $220K เบลเยียม ยานีนา วิคเมเยอร์ 6–3, 7–5
4. 17 ตุลาคม 2553 ญี่ปุ่น โอซากา, ญี่ปุ่น คอนกรีต $220K ญี่ปุ่น คิมิโกะ ดาเตะ ครุมม์ 7–5, 6–7(4), 6–1
รองชนะเลิศ (7)[แก้]
ระดับ: ก่อนปี พ.ศ. 2552 ระดับ: ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552
แกรนด์สแลม (0)
ดับเบิลยูทีเอ แชมป์เปียนชิพ (0)
เทียร์ 1 (0) พรีเมียร์ แมนดาทอรี (0)
เทียร์ 2 (0) พรีเมียร์ 5 (0)
เทียร์ 3 (4) พรีเมียร์ (0)
เทียร์ 4 & 5 (2) อินเตอร์เนชันแนล (1)
แบ่งตามพื้นสนาม
คอนกรีต (6)
หญ้า (1)
ดิน (0)
พรม (0)
ลำดับ วันที่ รายการ, ประเทศ พื้นสนาม รางวัล คู่แข่งในรอบชิง ผลการแข่งขัน
1. 24 พฤศจิกายน 2539 ไทย พัทยา, ไทย คอนกรีต $107.5K โรมาเนีย รูซานดรา ดราโกเมียร์ 7-6(4), 6–4
2. 18 มิถุนายน 2543 สหราชอาณาจักร เบอร์มิงแฮม, สหราชอาณาจักร หญ้า $170K สหรัฐ ลิซา เรย์มอนด์ 6–2, 6–7 (7), 6–4
3. 7 ตุลาคม 2544 ญี่ปุ่น โตเกียว, ญี่ปุ่น คอนกรีต $170K สหรัฐ โมนิกา เซเลส 6–3, 6–2
4. 13 มกราคม 2545 ออสเตรเลีย แคนเบอร์รา, ออสเตรเลีย คอนกรีต $110K อิสราเอล แอนนา สแมชโนวา 7–5, 7–6(2)
5. 17 กุมภาพันธ์ 2545 ประเทศกาตาร์ โดฮา, กาตาร์ คอนกรีต $170K สหรัฐ โมนิกา เซเลส 7–6(6), 6–3
6. 15 ตุลาคม 2549 ไทย กรุงเทพฯ, ไทย คอนกรีต $200K สหรัฐ วาเนีย คิง 2–6, 6–4, 6–4
7. 14 กุมภาพันธ์ 2553 ไทย พัทยา, ไทย (2) คอนกรีต $220K รัสเซีย เวรา ซโวนาเรวา 6–4, 6–4

ระดับไอทีเอฟ[แก้]

ชนะเลิศ (11)[แก้]
ลำดับ วันที่ รายการ, ประเทศ พื้นสนาม รางวัล คู่แข่งในรอบชิง ผลการแข่งขัน
1. 12 ธันวาคม 2536 ฟิลิปปินส์ มะนิลา, ฟิลิปปินส์ คอนกรีต $10K เกาหลีใต้ Ju-Yeon Choi 6-2, 6-3
2. 10 มีนาคม 2539 ออสเตรเลีย วอร์นามบูล, ออสเตรเลีย หญ้า $10K ออสเตรเลีย Jane Taylor 6-4, 6-1
3. 24 มีนาคม 2539 ออสเตรเลีย โวดองกา, ออสเตรเลีย หญ้า $10K ออสเตรเลีย Kristine Kunce 4-6, 6-4, 7-6(5)
4. 3 พฤศจิกายน 2539 ญี่ปุ่น ซะงะ, ญี่ปุ่น หญ้า $25K ญี่ปุ่น Kazue Takuma 6-4, 6-1
5. 8 มิถุนายน 2540 สหราชอาณาจักร เซอร์บิตัน, สหราชอาณาจักร หญ้า $25K โปแลนด์ Aleksandra Olsza 5-7, 7-6(5), 5-0 (ret.)
6. 7 มิถุนายน 2542 สหราชอาณาจักร เซอร์บิตัน, สหราชอาณาจักร (2) หญ้า $25K แอฟริกาใต้ Surina de Beer 6-4, 5-7, 6-2
7. 10 ตุลาคม 2542 ญี่ปุ่น ซะงะ, ญี่ปุ่น (2) หญ้า $25K แคนาดา Vanessa Webb 6-3, 6-3
8. 7 พฤษภาคม 2543 ญี่ปุ่น กิฟุ, ญี่ปุ่น หญ้า $50K ญี่ปุ่น ชิโนบุ อาซาโกเอะ 7-5, 6-4
9. 13 พฤศจิกายน 2548 จีน เซินเจิ้น, จีน คอนกรีต $50K ญี่ปุ่น Miho Saeki 6-2, 6-4
10. 5 พฤศจิกายน 2549 จีน เซี่ยงไฮ้, จีน คอนกรีต $50K อุซเบกิสถาน อัคกุล อมานมูราโดวา 6-3, 6-3
11. 4 พฤษภาคม 2551 ญี่ปุ่น กิฟุ, ญี่ปุ่น (2) หญ้า $50K ญี่ปุ่น คิมิโกะ ดาเตะ ครุมม์ 4-6, 7-5, 6-2
รองชนะเลิศ (6)[แก้]
ลำดับ วันที่ รายการ, ประเทศ พื้นสนาม รางวัล คู่แข่งในรอบชิง ผลการแข่งขัน
1. 16 สิงหาคม 2535 จีนไทเป ไทเป, ไต้หวัน คอนกรีต $10K เกาหลีใต้ Park Sung-hee 6-3, 6-1
2. 17 มีนาคม 2539 แคนาดา แคนเบอร์รา, แคนาดา หญ้า $10K ออสเตรเลีย Kristine Kunce 6-4, 6-0
3. 31 มีนาคม 2539 ออสเตรเลีย นิวเซาท์เวลส์, ออสเตรเลีย หญ้า $10K ออสเตรเลีย Kristine Kunce 6-2, 6-1
4. 11 สิงหาคม 2539 อินโดนีเซีย จาการ์ตา, อินโดนีเซีย คอนกรีต $50K ซานมารีโน Ludmilla Varmuza 6-2, 6-4
5. 3 ตุลาคม 2542 เกาหลีใต้ โซล, เกาหลีใต้ คอนกรีต $50K อุซเบกิสถาน ไอโรดา ตุลยากาโนวา 6-0, 6-2
6. 11 มิถุนายน 2543 สหราชอาณาจักร เซอร์บิตัน, สหราชอาณาจักร หญ้า $25K สหราชอาณาจักร Louise Latimer 7-5, 6-3

ประเภทคู่[แก้]

ระดับดับเบิลยูทีเอทัวร์[แก้]

ชนะเลิศ (7)[แก้]
ระดับ: ก่อนปี พ.ศ. 2552 ระดับ: ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552
แกรนด์สแลม (0)
ดับเบิลยูทีเอ แชมป์เปียนชิพ (0)
เทียร์ 1 (0) พรีเมียร์ แมนดาทอรี (0)
เทียร์ 2 (0) พรีเมียร์ 5 (0)
เทียร์ 3 (3) พรีเมียร์ (0)
เทียร์ 4 & 5 (2) อินเตอร์เนชันแนล (2)
แบ่งตามพื้นสนาม
คอนกรีต (7)
หญ้า (0)
ดิน (0)
พรม (0)
ลำดับ วันที่ รายการ, ประเทศ พื้นสนาม รางวัล จับคู่กับ คู่แข่งในรอบชิง ผลการแข่งขัน
1. 11 มกราคม 2541 นิวซีแลนด์ โอคแลนด์, นิวซีแลนด์ คอนกรีต $107.5K ญี่ปุ่น Nana Miyagi ฝรั่งเศส Julie Halard-Decugis
สโลวาเกีย Janette Husarova
7-6(1), 6-4
2. 22 ตุลาคม 2543 จีน เซี่ยงไฮ้, จีน คอนกรีต $140K สหรัฐ Lilia Osterloh อิตาลี Rita Grande
สหรัฐ Meghann Shaughnessy
7-5, 6-1
3. 24 กันยายน 2544 อินโดนีเซีย บาหลี, อินโดนีเซีย คอนกรีต $170K ออสเตรเลีย Evie Dominikovic จีนไทเป Janet Lee
อินโดนีเซีย Wynne Prakusya
6-7(4), 6-2, 6-3
4. 5 ตุลาคม 2546 ญี่ปุ่น โตเกียว, ญี่ปุ่น คอนกรีต $170K รัสเซีย มาเรีย ชาราโปวา สหรัฐ Ashley Harkleroad
สหรัฐ Ansley Cargill
7-6(1), 6-0
5. 26 ตุลาคม 2546 ลักเซมเบิร์ก ลักเซมเบิร์ก คอนกรีต (i) $225K รัสเซีย มาเรีย ชาราโปวา แม่แบบ:Country data เยอรมัน Marlene Weingartner
ยูเครน Elena Tatarkova
6-1, 6-4
6. 15 กุมภาพันธ์ 2552 ไทย พัทยา, ไทย คอนกรีต $220K คาซัคสถาน ยาโรสลาวา ชเวโดวา ยูเครน Yulia Beygelzimer
รัสเซีย วิทาเลีย เดียตเชนโก
6–3, 6–2
7. 14 กุมภาพันธ์ 2553 ไทย พัทยา, ไทย (2) คอนกรีต $220K นิวซีแลนด์ มารินา อิราโควิช รัสเซีย แอนนา ชัคเวทัดเซ
รัสเซีย เคซเนีย เพอร์วัค
7–5, 6–1
รองชนะเลิศ (6)[แก้]
ระดับ: ก่อนปี พ.ศ. 2552 ระดับ: ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552
แกรนด์สแลม (0)
ดับเบิลยูทีเอ แชมป์เปียนชิพ (0)
เทียร์ 1 (1) พรีเมียร์ แมนดาทอรี (0)
เทียร์ 2 (2) พรีเมียร์ 5 (0)
เทียร์ 3 (2) พรีเมียร์ (0)
เทียร์ 4 & 5 (1) อินเตอร์เนชันแนล (0)
แบ่งตามพื้นสนาม
คอนกรีต (6)
หญ้า (0)
ดิน (0)
พรม (0)
ลำดับ วันที่ รายการ, ประเทศ พื้นสนาม รางวัล จับคู่กับ คู่แข่งในรอบชิง ผลการแข่งขัน
1. 16 สิงหาคม 2541 สหรัฐ ลอสแอนเจลิส, สหรัฐอเมริกา คอนกรีต $450K ยูเครน Elena Tatarkova สวิตเซอร์แลนด์ มาร์ตินา ฮิงกิส
เบลารุส Natasha Zvereva
6-4, 6-2
2. 27 กุมภาพันธ์ 2543 สหรัฐ โอคลาโฮมา, สหรัฐอเมริกา คอนกรีต $170K ยูเครน Elena Tatarkova สหรัฐ Kimberly Po-Messerli
สหรัฐ Corina Morariu
6-4, 4-6, 6-2
3. 14 ตุลาคม 2544 จีน เซี่ยงไฮ้, จีน คอนกรีต $140K ออสเตรเลีย Evie Dominikovic เช็กเกีย Lenka Nemeckova
แอฟริกาใต้ ลีเซล ฮูเบอร์
6-0, 7-5
4. 21 กันยายน 2546 จีน เซี่ยงไฮ้, จีน (2) คอนกรีต $585K ญี่ปุ่น ไอ ซูกิยามา ฝรั่งเศส Emilie Loit
ออสเตรเลีย Nicole Pratt
6-3, 6-3
5. 8 สิงหาคม 2547 แคนาดา มอนทรีออล, แคนาดา คอนกรีต $1300K แอฟริกาใต้ ลีเซล ฮูเบอร์ ญี่ปุ่น ไอ ซูกิยามา
ญี่ปุ่น ชิโนบุ อาซาโกเอะ
6-0, 6-3
6. 2 พฤศจิกายน 2551 แคนาดา เกแบ็ก, แคนาดา คอนกรีต (i) $140K สหรัฐ จิลล์ เครย์บาส แม่แบบ:Country data เยอรมัน แอนนา เลนา กรอนเฟลด์
สหรัฐ วาเนีย คิง
7-6(3), 6-4

ระดับไอทีเอฟ[แก้]

ชนะเลิศ (3)[แก้]
ลำดับ วันที่ รายการ, ประเทศ พื้นสนาม รางวัล จับคู่กับ คู่แข่งในรอบชิง ผลการแข่งขัน
1. 24 กันยายน 2538 ไทย สมุทรปราการ, ไทย คอนกรีต $10K ไทย เบญจมาศ แสงอร่าม อินโดนีเซีย Agustine Limanto
อินโดนีเซีย Maria Widyadharma
7-5, 1-6, 6-4
2. 3 พฤศจิกายน 2539 ญี่ปุ่น ซะงะ, ญี่ปุ่น หญ้า $25K ออสเตรเลีย Danielle Jones ญี่ปุ่น Hiroko Mochizuki
ญี่ปุ่น Yuka Tanaka
6-2, 6-3
3. 28 พฤษภาคม 2549 จีน ปักกิ่ง, จีน คอนกรีต $50K จีนไทเป ชวง เชีย จุง รัสเซีย Nina Bratchikova
ลัตเวีย Liga Dekmeijere
4-6, 6-2, 6-3
รองชนะเลิศ (4)[แก้]
ลำดับ วันที่ รายการ, ประเทศ พื้นสนาม รางวัล จับคู่กับ คู่แข่งในรอบชิง ผลการแข่งขัน
1. 7 กุมภาพันธ์ 2536 บรูไน บันดาร์เซอรีเบอกาวัน, บรูไน คอนกรีต $10K ไทย วราลี สุรีพงษ์ อินโดนีเซีย Romana Tedhakusuma
อินโดนีเซีย Suzanna Wibowo
6-3, 6-1
2. 25 กันยายน 2537 ไทย หาดใหญ่, ไทย คอนกรีต $10K ไทย ศศิธร ตั้งเที่ยงกุล ไทย สุวิมล ดวงจันทร์
ไทย พิมพิศมัย กาญสุทธิ
6-3, 7-5
3. 3 ตุลาคม 2542 เกาหลีใต้ โซล, เกาหลีใต้ คอนกรีต $50K เกาหลีใต้ Park Sung-hee เกาหลีใต้ Kim Eun-Ha
ออสเตรเลีย Catherine Barclay-Reitz
4-6, 6-4, 6-2
4. 11 มิถุนายน 2549 สหราชอาณาจักร เซอร์บิตัน, สหราชอาณาจักร หญ้า $25K จีนไทเป Hsieh Su-wei ออสเตรเลีย Trudi Musgrave
ออสเตรเลีย เคซีย์ เดลลัคคัว
6-3, 6-3

การเอาชนะนักเทนนิส 10 อันดับแรกของโลก[แก้]

อันดับ1 ปี รายการ, ประเทศ พื้นสนาม คู่แข่งขัน อันดับ2 รอบที่พบกัน ผลการแข่งขัน
44 2541 ออสเตรเลีย ออสเตรเลียนโอเพน, เมลเบิร์น, ออสเตรเลีย คอนกรีต โครเอเชีย อีวา มาโยลี 6 รอบ 3 6-2, 6-0
33 2544 สหราชอาณาจักร อีสต์บอร์น, สหราชอาณาจักร หญ้า ฝรั่งเศส นาตาลี โทซีอา 10 ? 6-7(1), 7-6(3), 6-3
31 2544 สหราชอาณาจักร วิมเบิลดัน, ลอนดอน, สหราชอาณาจักร หญ้า ฝรั่งเศส อเมลี มัวเรสโม 6 รอบ 3 6-4, 6-4
39 2546 สหรัฐ ยูเอสโอเพน, นิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา คอนกรีต สโลวาเกีย ดาเนียลา ฮันตูโชวา 9 รอบ 3 6-2, 6-4
85 2551 เนเธอร์แลนด์ เฮอร์โตเกนบอช, เนเธอร์แลนด์ หญ้า รัสเซีย ดินารา ซาฟินา 6 รอบชิงชนะเลิศ 7-5, 6-3
60 2551 สหราชอาณาจักร วิมเบิลดัน, ลอนดอน, สหราชอาณาจักร หญ้า เซอร์เบีย เยเลนา แยนโควิช 3 รอบ 4 6-3, 6-2
47 2552 เนเธอร์แลนด์ เฮอร์โตเกนบอช, เนเธอร์แลนด์ หญ้า รัสเซีย ดินารา ซาฟินา 1 รอบรองชนะเลิศ 7-5, 7-5

ตารางสถิติการแข่งขันอาชีพประเภทเดี่ยวในรายการสำคัญ[แก้]

ตารางนี้จะช่วยอธิบายความหมายของแต่ละข้อความรวมทั้งอักษรย่อ

ตารางเพื่อสร้างความเข้าใจในข้อความและอักษรย่อ
ชนะเลิศ / เข้าร่วม อัตราส่วนของจำนวนครั้งที่ชนะเลิศ
ต่อจำนวนครั้งที่เข้าร่วมแข่งขันในรายการนั้น
ชนะ-แพ้ จำนวนแมตช์ที่ชนะ-แพ้
รายละเอียดของแต่ละอักษรย่อ
NM5 รายการนั้นไม่นับเป็นรายการทั้งระดับ
พรีเมียร์แมนดาทอรี และระดับพรีเมียร์ 5
NT1 รายการนั้นไม่ใช่รายการระดับเทียร์ 1
อีกต่อไป
NH ไม่มีการจัดการแข่งขันรายการนั้น A ไม่ได้เข้าร่วมแข่งขันในรายการนั้น
LQ ตกรอบคัดเลือก #R 1R = ตกรอบแรก, 2R = ตกรอบที่สอง
3R = ตกรอบที่สาม, 4R = ตกรอบที่สี่
(RR = ตกรอบ Round Robin)
QF ตกรอบก่อนรองชนะเลิศ (8 คนสุดท้าย) SF ตกรอบรองชนะเลิศ (4 คนสุดท้าย)
F รองชนะเลิศ (รองแชมป์) W ชนะเลิศ (แชมป์เปี้ยน)


รายการ 2537 2538 2539 2540 2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 ชนะเลิศ /
เข้าร่วม
รวม
ชนะ-แพ้
แกรนด์สแลม
ออสเตรเลียนโอเพน A LQ1 LQ2 3R 4R 1R 3R 3R 3R 3R 1R 2R 1R5 1R 1R5 1R 0 / 15 14–13
เฟรนช์โอเพน A LQ2 A 2R 1R 1R 2R 1R 3R 1R 1R 1R A 2R 1R 2R 0 / 12 6–12
วิมเบิลดัน A LQ2 A 3R 4R 4R 4R 4R 4R 1R 4R 2R 3R1 1R QF 1R 0 / 14 27–13
ยูเอสโอเพน A LQ2 A 3R 1R 2R 3R 1R 2R 4R 1R 1R LQ1 1R 1R 1R 0 / 13 9–12
ชนะเลิศ / เข้าร่วม 0 / 0 0 / 4 0 / 1 0 / 4 0 / 4 0 / 4 0 / 4 0 / 4 0 / 4 0 / 4 0 / 4 0 / 4 0 / 2 0 / 4 0 / 4 0 / 4 0 / 50 N/A
ชนะ-แพ้ 0–0 0–4 0–2 7–4 6–4 4–4 8–4 5–4 8–4 5–4 3–4 2–4 2–2 1–4 4–4 1–4 N/A 56–50
แชมป์เปี้ยนชิพส่งท้ายปี
ดับเบิลยูทีเอ แชมป์เปียนชิพ A A A A A A A A A A A A A A A A 0 / 0 0–0
โอลิมปิกเกมส์
กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน Not
Held
A Not Held 2R Not Held 1R Not Held 1R Not
Held
0 / 3 1–3
ดับเบิลยูทีเอ พรีเมียร์ แมนดาทอรี
อินเดียน เวลส์ A A A 1R 2R 1R 1R 3R 3R 3R 1R 1R LQ2 2R A 1R 0 / 12 8–11
คีย์ บีสเคยน์ A 3R3 A 2R 3R 1R 2R 4R 3R 3R 2R 1R A 1R6 1R6 2R 0 / 13 15–13
มาดริด Not Held 1R 0 / 1 0–1
ปักกิ่ง Not Held Not Tier I A 0 / 0 0–0
ดับเบิลยูทีเอ พรีเมียร์ 5
ดูไบ Not Tier I A 0 / 0 0–0
โรม A A A 1R A A A A 1R A A A A LQ1 A A 0 / 3 0–2
ซินซินเนติ Not Held Not Tier I A 0 / 0 0–0
มอนทรีออล / โทรอนโต A A A 2R 1R A 1R 2R 2R 1R 2R A A A 2R A 0 / 8 5–8
โตเกียว A A A 2R 1R A 1R A QF QF 1R A LQ2 LQ2 LQ1 A 0 / 8 5–6
อดีตดับเบิลยูทีเอ เทียร์ 1 (ปัจจุบันไม่ได้เป็นทั้งระดับพรีเมียร์แมนดาทอรีและระดับพรีเมียร์ 5)
ชาร์ลสตัน A A A 1R 1R A A A A 1R 1R A A 1R A NM5 0 / 5 0–5
มอสโคว Not
Held
Not
Tier I
A A A A A A A A A A A A A 0 / 0 0–0
โดฮา Not Held Not Tier I 3R4 Not
Held
0 / 1 2–1
เบอร์ลิน A A A 1R 2R A A A 2R A A A A A A 0 / 3 2–3
ซาน ดิเอโก Not Tier I 1R4 A A 2R A 0 / 2 1–2
ซือริช A A A A A A A A A A A A A A A 0 / 0 0–0
ฟิลาเดลเฟีย A A Not Tier I Not Held 0 / 0 0–0
สถิติการแข่งขันเทนนิสอาชีพ
รายการที่ลงทำการแข่งขัน 12 12 16 26 23 21 27 22 26 24 26 24 27 24 22 7 N/A 339
รายการที่เข้าถึงรอบชิงชนะเลิศ 0 0 7 1 0 3 2 1 2 1 0 1 2 1 3 1 N/A 24
รายการที่ชนะเลิศ 0 0 3 1 0 2 1 0 0 1 0 1 1 0 2 1 N/A 13
อันดับโลกเมื่อสิ้นปี 294 209 79 46 37 72 29 29 28 34 66 132 75 124 35 111 N/A
  • 1 แพ้ในรอบคัดเลือกรอบที่ 2
  • 2 แพ้ในรอบคัดเลือกรอบที่ 1
  • 3 ชนะในรอบคัดเลือก 2 แมตซ์ และแพ้ 1 แมตซ์ เพื่อเข้าไปสู่รอบเมนดรอว์ ก่อนที่จะไปแพ้ในรอบที่ 3
  • 4 ชนะในรอบคัดเลือก 2 แมตซ์ เพื่อเข้าไปสู่รอบเมนดรอว์
  • 5 ชนะในรอบคัดเลือก 3 แมตซ์ เพื่อเข้าไปสู่รอบเมนดรอว์
  • 6 ชนะในรอบคัดเลือก 1 แมตซ์ และแพ้ 1 แมตซ์ เพื่อเข้าไปสู่รอบเมนดรอว์ ก่อนที่จะไปแพ้ในรอบที่ 1
  • 7 สถิติการชนะ-แพ้รวมทุกแมตซ์ของเธอ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก เว็บไซต์ของดับเบิลยูทีเอ ทัวร์ เก็บถาวร 2006-08-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ซึ่งสถิตินี้นับรวมทั้งรายการไอทีเอฟเซอร์กิต และ เฟดคัพ[ลิงก์เสีย]
  • 8 แมตซ์การแข่งขันรอบคัดเลือกไม่ได้ถูกนับรวมไปในสถิติการชนะ-แพ้ของเธอ

ผลงานพิธีกร[แก้]

โทรทัศน์

  • พ.ศ. 25 : ทุกวัน เวลา น.-น. ทางช่อง () ร่วมกับ

ออนไลน์

  • พ.ศ. 25 : ทางช่อง YouTube:Tamarine Channel

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี​ เรื่อง พระราชทานยศตำรวจชั้นสัญญาบัตร​, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๓๘๗, ๑๙ กันยายน ๒๕๖๒
  2. รู้จักศิษย์เก่า - คุณแทมมารีน ธนสุกาญจน์
  3. "This Day in U.S. Open History". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-03. สืบค้นเมื่อ 2006-11-10.
  4. This Day in SlamTennis97 (1)[ลิงก์เสีย]
  5. This Day in SlamTennis97 (2)[ลิงก์เสีย]
  6. "Tanasugarn takes down Safina for Ordina title". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-23. สืบค้นเมื่อ 2021-10-10.
  7. AP, Tanasugarn first Thai in Grand Slam quarterfinal เก็บถาวร 2009-01-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 1 กรกฎาคม 2551
  8. Daily Xpress, Beijing calling เก็บถาวร 2008-07-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 23 กรกฎาคม 2551
  9. "อ่านคอลัมน์ แทมมี่ค่ะ ตั้งแต่ฉบับแรกจนถึงปัจจุบัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-13. สืบค้นเมื่อ 2006-11-11.
  10. หน้า 15 กีฬา, 'หมวดสาวป้ายแดง' แทมมารีน ธนสุกาญจน์. "คุยนอกสนาม" โดย เยาวพา ดาวเรือง. เดลินิวส์ฉบับที่ 24,300: วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2558 แรม 3 ค่ำ เดือน 5 ปีวอก
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๔ เก็บถาวร 2022-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๑๓๕, ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]