ข้ามไปเนื้อหา

เทนนิสวิมเบิลดัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สัญลักษณ์ของการแข่งขัน

การแข่งขันเทนนิสวิมเบิลดัน (อังกฤษ: The Championships, Wimbledon) เป็นการแข่งขันเทนนิสที่เก่าแก่ที่สุดในโลก[1] โดยจะจัดการแข่งขันขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคมของทุกปี วิมเบิลดันเป็นการแข่งขันเทนนิสแกรนด์สแลมรายการที่สามของปี ถัดจากออสเตรเลียนโอเพน และเฟรนช์โอเพน ก่อนจะปิดท้ายปีด้วยรายการยูเอสโอเพน และเป็นการแข่งขันแกรนด์สแลมรายการเดียวในปัจจุบันที่แข่งขันบนคอร์ทหญ้า

การแข่งขันวิมเบิลดันเริ่มจัดมาตั้งแต่ ค.ศ. 1877 ที่คอร์ทเทนนิสในย่านวิมเบิลดัน กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นการแข่งขันที่มีธรรมเนียมปฏิบัติมากมายและยาวนาน เช่น ชุดแข่งขันของนักเทนนิสจะต้องมีสีขาวเป็นส่วนใหญ่ ไม่แข่งขันในวันอาทิตย์ของสัปดาห์แรก (วันอาทิตย์ของสัปดาห์ที่สองใช้แข่งขันรอบชิงชนะเลิศชายเดี่ยว) ตั้งแต่เริ่มจัดมีการแข่งขันในวันอาทิตย์ของสัปดาห์แรกเพียงสามปีคือ ค.ศ.1991 ค.ศ.1997 และ ค.ศ.2004 [2] เนื่องจากมีฝนรบกวนทำให้การแข่งขันล่าช้า

เนื่องจากเป็นการแข่งขันบนพื้นหญ้า ที่จะมีการแฉลบของลูกมากกว่าพื้นผิวประเภทอื่น และมีความเร็วของลูกสูง เอื้ออำนวยต่อนักเทนนิสที่มีความหนักหน่วงของลูกเสิร์ฟ และลูกกราวด์สโตรก ทำให้ผู้ชนะเลิศในการแข่งขันวิมเบิลดันมักจะมีรูปแบบการเล่นที่หนักหน่วง ดุดัน เช่น พีท แซมพราส และ มาร์ตินา นาฟราติโลวา

ทำเนียบผู้ชนะเลิศในการแข่งขันประเภทชายเดี่ยวและหญิงเดี่ยวตั้งแต่ ค.ศ. 1968

[แก้]
ปี ชายเดี่ยว หญิงเดี่ยว
1968 ออสเตรเลีย ร็อด เลเวอร์ สหราชอาณาจักร บิลลี จีน คิง
1969 ออสเตรเลีย ร็อด เลเวอร์ สหราชอาณาจักร แอนน์ เฮย์ดัน-โจนส์
1970 ออสเตรเลีย จอห์น นิวคอมเบ ออสเตรเลีย มาร์กาเรต คอร์ต
1971 ออสเตรเลีย จอห์น นิวคอมเบ ออสเตรเลีย อีวอง กูลากอง
1972 สหรัฐ สแตน สมิท สหรัฐ บิลลี จีน คิง
1973 เช็กเกีย แจน โคเดส สหรัฐ บิลลี จีน คิง
1974 สหรัฐ จิมมี คอนเนอร์ส สหรัฐ คริส เอเวิร์ต
1975 สหรัฐ อาร์เทอร์ แอช สหรัฐ บิลลี จีน คิง
1976 สวีเดน บิยอร์น บอร์ก สหรัฐ คริส เอเวิร์ต
1977 สวีเดน บิยอร์น บอร์ก สหราชอาณาจักร เวอร์จิเนีย เวด
1978 สวีเดน บิยอร์น บอร์ก สหรัฐ เช็กเกีย มาร์ตินา นาฟราติโลวา
1979 สวีเดน บิยอร์น บอร์ก สหรัฐ เช็กเกีย มาร์ตินา นาฟราติโลวา
1980 สวีเดน บิยอร์น บอร์ก ออสเตรเลีย อีวอง กูลากอง
1981 สหรัฐ จอห์น แมคเอนโร สหรัฐ คริส เอเวิร์ต
1982 สหรัฐ จิมมี คอนเนอร์ส สหรัฐ เช็กเกีย มาร์ตินา นาฟราติโลวา
1983 สหรัฐ จอห์น แมคเอนโร สหรัฐ เช็กเกีย มาร์ตินา นาฟราติโลวา
1984 สหรัฐ จอห์น แมคเอนโร สหรัฐ เช็กเกีย มาร์ตินา นาฟราติโลวา
1985 เยอรมนี บอริส เบกเคอร์ สหรัฐ เช็กเกีย มาร์ตินา นาฟราติโลวา
1986 เยอรมนี บอริส เบกเคอร์ สหรัฐ เช็กเกีย มาร์ตินา นาฟราติโลวา
1987 ออสเตรเลีย แพท แคช สหรัฐ เช็กเกีย มาร์ตินา นาฟราติโลวา
1988 สวีเดน สเตฟาน เอดเบิร์ก เยอรมนี สเตฟฟี กราฟ
1989 เยอรมนี บอริส เบกเคอร์ เยอรมนี สเตฟฟี กราฟ
1990 สวีเดน สเตฟาน เอดเบิร์ก สหรัฐ เช็กเกีย มาร์ตินา นาฟราติโลวา
1991 เยอรมนี ไมเคิล สติช เยอรมนี สเตฟฟี กราฟ
1992 สหรัฐ อันเดร แอกัสซี เยอรมนี สเตฟฟี กราฟ
1993 สหรัฐ พีท แซมพราส เยอรมนี สเตฟฟี กราฟ
1994 สหรัฐ พีท แซมพราส สเปน คอนชิตา มาร์ติเนซ
1995 สหรัฐ พีท แซมพราส เยอรมนี สเตฟฟี กราฟ
1996 เนเธอร์แลนด์ ริชาร์ด ไครจ์เชค เยอรมนี สเตฟฟี กราฟ
1997 สหรัฐ พีท แซมพราส สวิตเซอร์แลนด์ มาร์ตินา ฮิงกิส
1998 สหรัฐ พีท แซมพราส เช็กเกีย จานา โนวอทนา
1999 สหรัฐ พีท แซมพราส สหรัฐ ลินด์เซย์ ดาเวนพอร์ต
2000 สหรัฐ พีท แซมพราส สหรัฐ วีนัส วิลเลียมส์
2001 โครเอเชีย โกรัน อิวานิเซวิช สหรัฐ วีนัส วิลเลียมส์
2002 ออสเตรเลีย เลย์ตัน ฮิววิตต์ สหรัฐ เซเรนา วิลเลียมส์
2003 สวิตเซอร์แลนด์ โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ สหรัฐ เซเรนา วิลเลียมส์
2004 สวิตเซอร์แลนด์ โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ รัสเซีย มาเรีย ชาราโปวา
2005 สวิตเซอร์แลนด์ โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ สหรัฐ วีนัส วิลเลียมส์
2006 สวิตเซอร์แลนด์ โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ ฝรั่งเศส อเมลี โมเรสโม
2007 สวิตเซอร์แลนด์ โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ สหรัฐ วีนัส วิลเลียมส์
2008 สเปน ราฟาเอล นาดาล สหรัฐ วีนัส วิลเลียมส์
2009 สวิตเซอร์แลนด์ โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ สหรัฐ เซเรนา วิลเลียมส์
2010 สเปน ราฟาเอล นาดาล สหรัฐ เซเรนา วิลเลียมส์
2011 เซอร์เบีย นอวาก จอกอวิช เช็กเกีย เปตร้า ควิโตว่า
2012 สวิตเซอร์แลนด์ โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ สหรัฐ เซเรนา วิลเลียมส์
2013 สหราชอาณาจักร แอนดี เมอร์รี ฝรั่งเศส มาริยง บาร์กโตลี่
2014 เซอร์เบีย นอวาก จอกอวิช เช็กเกีย เปตร้า ควิโตว่า
2015 เซอร์เบีย นอวาก จอกอวิช สหรัฐ เซเรนา วิลเลียมส์
2016 สหราชอาณาจักร แอนดี เมอร์รี สหรัฐ เซเรนา วิลเลียมส์
2017 สวิตเซอร์แลนด์ โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ สเปน การ์บีเญ มูกูรูซา
2018 เซอร์เบีย นอวาก จอกอวิช เยอรมนี อันเจลีค แคร์เบอร์
2019 เซอร์เบีย นอวาก จอกอวิช โรมาเนีย ซิโมน่า ฮาเล็ป
2021 เซอร์เบีย นอวาก จอกอวิช ออสเตรเลีย แอชลีห์ บาร์ตี
2022 เซอร์เบีย นอวาก จอกอวิช คาซัคสถาน เยเลนา รืยบาคีนา
2023 สเปน การ์โลส อัลการัซ เช็กเกีย มาร์เกต้า วอนโดรโชว่า

ดูเพิ่ม

[แก้]
[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Will Kaufman & Heidi Slettedahl Macpherson, บ.ก. (2005). "Tennis". Britain And The Americas. Vol. 1 : Culture, Politics, and History. ABC-CLIO. p. 958. ISBN 1851094318. this first tennis championship, which later evolved into the Wimbledon Tournament ... continues as the world's most prestigious event.
  2. Wimbledon defends Sunday decision ข่าวจากบีบีซี (อังกฤษ)