เทวทหะ

พิกัด: 27°29′49″N 83°40′52″E / 27.497°N 83.681°E / 27.497; 83.681
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เมืองเทวทหะ)
เทวทหะ

देवदह
เสาอโศกที่ภวานีปุร
เสาอโศกที่ภวานีปุร
เทวทหะตั้งอยู่ในประเทศเนปาล
เทวทหะ
เทวทหะ
ที่ตั้งในประเทศเนปาล
พิกัด: 27°29′49″N 83°40′52″E / 27.497°N 83.681°E / 27.497; 83.681
ประเทศ เนปาล
จังหวัดหมายเลข 5
อำเภอรูปันเทหี
ประชากร
 (2011)[1]
 • ทั้งหมด28,214 คน
เขตเวลาUTC+5:45 (NST)
รหัสพื้นที่071
เว็บไซต์www.devdahamun.gov.np

เทวทหะ (เนปาล: देवदह; อักษรโรมัน: Devadaha) หรือชื่อเต็มว่า เทศบาลเทวทหะ (เนปาล: देवदह नगरपालिका) เป็นเขตเทศบาลแห่งหนึ่งขึ้นกับอำเภอรูปันเทหี จังหวัดหมายเลข 5 ทางตอนใต้ของประเทศเนปาล ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเมืองลุมพินี 57 กิโลเมตร

เทวทหะเป็นเมืองโบราณมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลในฐานะที่เป็นเมืองหลวงของแคว้นโกลิยะ ซึ่งเป็นที่ประสูติของพระนางสิริมหามายา พุทธมารดา, พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระมาตุจฉาของพระพุทธเจ้าและภิกษุณีองค์แรกในพุทธศาสนา และพระนางยโสธรา อดีตพระชายาของพระพุทธเจ้า และเชื่อกันว่าเจ้าชายสิทธัตถะเคยประทับที่เมืองแห่งนี้เมื่อทรงพระเยาว์ร่วมกับพระนางมหาปชาบดีโคตมี[2] ปัจจุบันยังคงหลงเหลือซากโบราณสถานเป็นหลักฐาน

ประวัติ[แก้]

ในอดีตเมืองเทวทหะเป็นเมืองหลวงของแคว้นโกลิยะ ซึ่งเป็นรัฐเครือญาติกับแคว้นสักกะ โดยอ้างว่าเจ้าผู้ครองของทั้งสองแคว้นสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าโอกกากราช (Okkākarāj)[3][4][5] ทั้งสองตระกูลนี้จะมีการเสกสมรสกันเอง และจะไม่สมรสกับผู้ที่มาจากตระกูลอื่น[3][4][5] ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าตระกูลทั้งสองนี้อาจมิได้สืบเชื้อสายชาวอารยัน[6] ซึ่งพระเจ้าสุทโธทนะแห่งสักกะได้อภิเษกสมรสกับพระนางสิริมหามายาแห่งแคว้นโกลิยะตามพระราชประเพณี[3][4][5] หลังจากนั้น 20 ปีจึงประสูติการเจ้าชายสิทธัตถะซึ่งต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระโคตมพุทธเจ้า[7]

ปัจจุบันเทวทหะตั้งอยู่ห่างจากกบิลพัสดุ์ไปทางทิศตะวันออก 22 กิโลเมตร ห่างจากกับแม่น้ำโรหิณีไปทางทิศตะวันออกประมาณ 100 เมตร ปรากฏคันคูเมืองกำแพงเมืองโบราณก่อด้วยหิน ภายในซากเมืองเก่าปรากฏเนินดินโบราณที่ยังไม่ได้ขุดค้นจำนวนมาก เช่น รามคามเจดีย์ สถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่กรุงเทวทหะได้รับจากโทณพราหมณ์ นักโบราณคดีค้นพบโบราณวัตถุจำนวนมากในบริเวณโบราณสถานเมืองเก่าเทวทหะนี้ ปัจจุบันมีเทวาลัยฮินดูหลังหนึ่งที่ชาวบ้านสร้างไว้ ภายในประดิษฐานมูรติสิริมหามายา ประติมากรรมภาพแกะสลักหินทราย ที่ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นรูปของพระนางสิริมหามายาด้วย[8]

สภาพของเมืองเก่าเทวทหะในปัจจุบันยังไม่เคยมีนักโบราณคดีสำรวจขุดค้นอย่างจริงจัง คงปล่อยให้เป็นเนินดินฝังซากโบราณสถานจำนวนมากไว้ ทำให้นักจาริกแสวงบุญส่วนใหญ่ไม่ค่อยนิยมมาเมืองเทวทหะนี้

อ้างอิง[แก้]

  1. "National Census 2011 Report" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-25.
  2. "Lumbini Development Trust- Birthplace of Buddha, Historical Place of Nepal, The World Heritage Site". Lumbini Development Trust (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-02-11.
  3. 3.0 3.1 3.2 "พระญาติฝ่ายพระพุทธบิดาและพระพุทธมารดา". พุทธะ. 2553. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-05. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 "แคว้นสักกะและศากยวงศ์". พุทธะ. 2553. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-05. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. 5.0 5.1 5.2 ดาวสยาม วชิรปัญโญ, พระมหา. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย. กรุงเทพ : เม็ดทรายพริ้นติ้ง, พิมพ์ครั้งที่ 2, หน้า 27-31
  6. อดิเทพ พันธ์ทอง (20 พฤษภาคม 2559). "พุทธประวัตินอกกระแส (ในไทย): "สิทธัตถะ" เกิดในสังคมแบบชนเผ่า ไม่ได้ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "พระนางสิริมหามายาทรงสุบินนิมิต". พุทธะ. 2553. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-29. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. สุนนท์ ปัทมาคม, รศ. . สมุดภาพแดนพุทธภูมิ ฉลองชนมายุ 80 ปี พระสุเมธาธิบดี วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2541.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]