อมราวตีสถูป

พิกัด: 16°34′31″N 80°21′29″E / 16.5753°N 80.3580°E / 16.5753; 80.3580
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อมราวตีสถูกป
ซากของสถูปเมื่อปี 2012
ที่ตั้งหมูบ้านอมราวตี รัฐอานธรประเทศ ประเทศอินเดีย
พิกัด16°34′31″N 80°21′29″E / 16.5753°N 80.3580°E / 16.5753; 80.3580
ความสูงของเดิมประมาณไว้ที่ 73 เมตร
สร้างเมื่อ300 ปีก่อนคริสต์กาล
อมราวตีสถูปตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
อมราวตีสถูป
ตำแหน่งที่ตั้งอมราวตีสถูกปในประเทศอินเดีย
อมราวตีสถูปตั้งอยู่ในรัฐอานธรประเทศ
อมราวตีสถูป
อมราวตีสถูป (รัฐอานธรประเทศ)

อมราวดีสถูป หรือ อมราวตีสถูป (อักษรโรมัน: Amarāvati Stupa) เป็นซากสถูปในศาสนาพุทธตั้งอยูที่หมู่บ้านอมราวตี รัฐอานธรประเทศ ประเทศอินเดีย สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในระหว่าง 300 ปีก่อนคริสต์กาลถึงราวปี ค.ศ. 250 จากนั้นมีการขยับขยายและสร้างใหม่ขึ้นทับในราวปี ค.ศ. 50[1] ปัจจุบัน อมราวตีสถูปและพิพิธภัณฑ์โบราณคดี อมราวตีสถูป อยู่ภายใต้การดูแลของกรมสำรวจโบราณคดีอินเดีย[2]

ประติมากรรมสำคัญที่หลงเหลือจากสถูปในปัจจุบันกระจายอยู่ตามพิพิธภัณฑ์ในอินเดียและต่างประเทศ จำนวนมากเสียหายพอสมควร ประติมากรรมส่วนใหญ่เป็นชิ้นงานนูนต่ำและไม่พบพระพุทธรูปขนาดมหึมา กระนั้นไม่ทราบแน่ชัดว่าในอดีตเคยมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่หรือไม่ ประติมากรรมส่วนใหญ่ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์รัฐบาลเมืองเจนไน, พิพิธภัณฑ์โบราณคดีอมราวตีสถูป และ "หินอ่อนอมราวตี" ในพิพิธภัณฑ์บริติชที่ลอนดอน ส่วนที่เหลือกระจัดกระจายกันไป[3]

นักประวัติศาสตร์ศิลป์ถือว่าอมราวตีสถูปเป็นหนึ่งในสามรูปแบบศิลปกรรมอินเดียในยุคโบราณ อีกสองรูปแบบคือมถุรา และคันธาระ (กรีก-พุทธ)[4] เนื่องจากการค้าขายทางทะเลและการเผยแผ่ศาสนา รูปแบบศิลปะอมราวตีดังที่ปรากฏที่อมราวตีสถูปนี้ ยังปรากฏในอีกหลายแหล่งโบราณคดีในอินเดียตะวันออก ไปจนถึงอินเดียใต้ ศรีลังกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[5]

อมราวตีสถูป โดยเฉพาะในรูปแบบเดิมก่อนเสียหาย ได้รับการยกย่องให้เป็น "อนุสรณ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชียแถบที่นับถือพุทธ"[6] และ "เพชรยอดมงกุฎของศิลปะอินเดียยุคแรก"[7] ชื่อ "อมราวตี" นี้เป็นชื่อที่ค่อนข้างใหม่ และมีที่มาจาก อมเรศวรลิงคสวามินเทวาลัย (Amareśvara Liṅgasvāmin temple) ซึ่งสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 18 อันตั้งอยู่ใกล้กันและกลายมาเป็นชื่อของหมู่บ้านและสถูปนี้[8] นิคมโบราณที่ปัจจุบันไม่ไกลนักจากหมู่บ้านอมราวตี คือธารณีโกฏ ซึ่งในอดีตมีความสำคัญยิ่ง เป็นไปได้ว่าอาจเป็นราชธานีในสมัยนั้น หลักฐานแปลนและแผนที่เก่าแก่ที่สุดที่บ่งบอกถึงอมราวตีสถูปปรากฏในแผนที่ของคอลิน แม๊กคินซี เขียนขึ้นในปี 1816 ระบุชื่อสถูปนี้ว่า ทีปลทิมมะ (deepaladimma) "เขาแห่งแสง"[9] ในเอกสารโบราณไม่ได้เรียกที่นี่ว่าเป็นสถูป แต่เรียกว่าเป็น "มหาเจดีย์" (mahācetiya)[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. Shimada, 74
  2. "Archaeological Museum, Amaravati - Archaeological Survey of India".
  3. "PDF List from the BASAS Project" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-08-30. สืบค้นเมื่อ 2023-11-20.
  4. Pal, Pratapaditya (1986). Indian Sculpture: Circa 500 B.C.-A.D. 700 (ภาษาอังกฤษ). Los Angeles County Museum of Art. p. 154. ISBN 978-0-520-05991-7.
  5. Rowland, 210
  6. Harle, 35
  7. Harle, 34
  8. South Indian transliteration differs from Hunterian transliteration, thus Amarāvatī can appear as Amarāvathī, Ratana as Rathana, etc.
  9. For link to maps and plans at the British Library: The Amaravati Album
  10. Pia Brancaccio, The Buddhist Caves at Aurangabad: Transformations in Art and Religion (Leiden: Brill, 2011), p. 47.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Becker, Catherine, Shifting Stones, Shaping the Past: Sculpture from the Buddhist Stūpas of Andhra Pradesh, 2015, Oxford University Press, ISBN 9780199359400
  • "BM": Amaravati: The Art of an Early Buddhist Monument in Context, Edited by Akira Shimada and Michael Willis, British Museum, 2016, PDF
  • Craven, Roy C., Indian Art: A Concise History, 1987, Thames & Hudson (Praeger in USA), ISBN 0500201463
  • Fisher, Robert E., Buddhist art and architecture, 1993, Thames & Hudson, ISBN 0500202656
  • Harle, J.C., The Art and Architecture of the Indian Subcontinent, 2nd edn. 1994, Yale University Press Pelican History of Art, ISBN 0300062176
  • Rowland, Benjamin, The Art and Architecture of India: Buddhist, Hindu, Jain, 1967 (3rd edn.), Pelican History of Art, Penguin, ISBN 0140561021
  • Shimada, Akira, Early Buddhist Architecture in Context:The Great Stūpa at Amarāvatī (Ca. 300 BCE-300 CE), Leiden: Brill, 2013, ISBN 9004233261, doi:10.1163/9789004233263