เภสัชกรรมปฏิบัติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เภสัชกรรมปฏิบัติ (Pharmacy Practice) หมายถึง การนำความรู้ด้านเภสัชกรรมมาใช้กับผู้ป่วยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากการใช้ยา โดยรวมทุกกระบวนการเช่น การจ่ายยา การให้คำแนะนำด้านยา การติดตามตรวจวัดระดับยาในเลือด การติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา การค้นหาปัญหาจากการใช้ยา การวิจัยทางคลินิกด้านการใช้ยา การประเมินการใช้ยา การเตรียมยาในโรงพยาบาล การให้ข้อมูลข่าวสารด้านยา ดังนั้นคำว่าเภสัชกรรมปฏิบัติจึงหมายรวมการบริบาลทางเภสัชกรรมและเภสัชกรรมคลินิก รวมทั้งงานด้านอื่น ๆ ของเภสัชกรที่ดูแลด้านยาแก่ผู้ป่วย

ในประเทศไทยมีการเรียนการสอนหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (ุ6 ปี) ซึ่งแบ่งเป็น 2 สาขา ได้แก่ สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ และสาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม โดยเภสัชกรรมปฏิบัติเป็นรายวิชาที่อยู่ในหลักสูตรด้านการบริบาลทางเภสัชกรรม และในคณะเภสัชศาสตร์บางแห่งได้มีภาควิชาหรือสาขาวิชาด้านเภสัชกรรมปฏิบัติด้วย เช่น

ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[1]

ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร[2]

กลุ่มวิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี[3]

โดยปัจจุบันงานด้านเภสัชกรรมปฏิบัติส่วนใหญ่ยังอยู่ในโรงพยาบาลและร้านจำหน่ายยา ซึ่งมุ่งเน้นการดูแลผู้ป่วยในทุกด้านของการใช้ยา เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและประสิทธิภาพจากการใช้ยาสูงสุดและสามารถทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วย

อ้างอิง[แก้]

  1. "ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ". สำนักบริหารวิจัย (สบจ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  2. "Pharmacy Practice". คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-08. สืบค้นเมื่อ 2022-02-08.
  3. "คณาจารย์กลุ่มวิชาเภสัชกรรมปฎิบัติ". คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-30. สืบค้นเมื่อ 2017-12-09.