เภสัชกรรมคลินิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เภสัชกรรมคลินิก (อังกฤษ:Clinical Pharmacy) เป็นกลุ่มวิชาที่ว่าด้วยเรื่องการใช้ยา และศึกษาผลข้างเคียงจากการใช้ยาซึ่งรายละเอียดของวิชาดังต่อไปนี้

  1. กระบวนแปรสภาพยาในร่างกายขั้นสูง
  2. การจ่ายเภสัชภัณฑ์โดยวิธีปราศจากเชื้อแบบพิเศษ
  3. เภสัชบำบัดขั้นสูง
  4. การตรวจติดตามปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
  5. การให้คำปรึกษาทางเภสัชกรรม
  6. ยาใหม่และแนวคิดใหม่
  7. การประเมินค่าใช้จ่ายของยาทางคลินิก
  8. เภสัชกรรมคลินิกภาคปฏิบัติ ระดับบัณฑิตศึกษา
  9. ชีวเภสัชกรรมและเภสัชจลนศาสตร์ขั้นสูง
  10. การตรวจติดตามระดับยาในร่างกาย
  11. ระบบเภสัชสนเทศทางคลินิก
  12. การออกแบบการวิจัยทางคลินิก
  13. ระบบการกระจายยาในโรงพยาบาล
  14. การประเมินคุณค่าทางวรรณกรรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  15. หัวข้อเลือกสรรทางเภสัชศาสตร์
  16. สัมมนาทางเภสัชกรรมคลินิก

กระบวนแปรสภาพยาในร่างกายขั้นสูง[แก้]

  1. ลักษณะกระบวนวิชา เกี่ยวกับกระบวนการแปรสภาพยาในร่างกายโดยเน้นถึงกลไกการแปรสภาพและผลที่เกิดขึ้น
  2. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการแปรสภาพยาในร่างกายและทราบถึงสาเหตุของอาการคนไข้ที่ปรากฏทั้งทางด้านเภสัชวิทยาและพิษวิทยา เนื่องจากฤทธิ์ของยาได้อย่างถูกต้องตามเหตุผล และช่วยให้นักศึกษาสามารถพิจารณาอย่างมีเหตุในการเลือกใช้ยาทางคลินิคได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

การจ่ายเภสัชภัณฑ์โดยวิธีปราศจากเชื้อแบบพิเศษ[แก้]

  1. ลักษณะกระบวนวิชา เป็นการคำนวณ การตั้งตำรับ และการเตรียมเภสัชภัณฑ์พิเศษปราศจากเชื้อที่ให้แก่ผู้ป่วยเฉพาะราย แผนการให้และการติดตามผลการให้สารผสมที่ให้ทางหลอดเลือดดำ สารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือด การเตรียมยาที่เป็นพิษต่อเซลล์ร่างกาย (ยารักษามะเร็ง) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างยา ความคงตัวของยา การคำนวณขนาดของยา สารอาหาร วิตามิน เกลือแร่ และอีเลกโตรไลท์
  2. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจถึงหลักการเตรียมยาและสารอาหารปราศจากเชื้อ ทราบเทคนิคการเตรียมและการติดตามการใช้ยาเตรียมผสมที่ให้แก่ผู้ป่วยแต่ละราย

เภสัชบำบัดขั้นสูง[แก้]

  1. ลักษณะกระบวนวิชา เป็นการรักษาด้วยยา การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลสำหรับโรคและความผิดปกติของระบบต่างๆ เช่น ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบของไตและตับ โรคติดเชื้อ ระบบต่อมไร้ท่อ และเมแทบอลิซึม ระบบทางเดินอาหาร ความผิดปกติทางจิตเวช ระบบประสาท ระบบทางเดินหายใจ ระบบเลือด กลุ่มโรคมะเร็ง ระบบสูตินรีเวช ระบบทางกระดูกและผิวหนัง
  2. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและความผิดปกติของระบบต่างๆ โดยเน้นหนักในเรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลสำหรับโรคและความผิดปกติของระบบนั้นๆ

การตรวจติดตามปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา[แก้]

  1. ลักษณะกระบวนวิชา เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ปฏิกิริยาอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาเทคนิคในการติดตามผลอันไม่พึงประสงค์ การสืบหาปัญหา การบันทึก การรวบรวมข้อมูล การประเมินปฏิกิริยาที่สงสัยว่าจะเกิดจากการใช้ยา ลักษณะและชนิดของปฏิกิริยาอันไม่พึงประสงค์ ความแปรปรวนของแต่ละบุคคลในการเกิดปฏิกิริยาอันไม่พึงประสงค์ แบบและชนิดของเครื่องมือที่เหมาะสมในการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์และประเมินผลข้อมูล
  2. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้นักศึกษาทราบหลักการของการตรวจติดตามปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา รวมทั้งมีความรู้มนการบ่งชี้และการประเมินการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา การเฝ้าระวังและติดตาม

การให้คำปรึกษาทางเภสัชกรรม[แก้]

  1. ลักษณะกระบวนวิชา เป็นวิธีการค้นหาและแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาในผู้ป่วยเฉพาะราย ทักษะสำหรับการสื่อสารที่จำเป็นในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม หลักการและวิธีการของการสื่อสารระหว่างบุคคล เพื่อให้เป็นที่เข้าใจกับคนไข้ในสภาวะต่างๆ จริยธรรมที่เกี่ยวข้อง การให้ความร่วมมือและการไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย ปัจจัยที่มีผลต่อการให้ความร่วมมือในการใช้ยา เทคนิคและวิธีการในการเสริมสร้างให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการใช้ยา การให้การศึกษาแก่ผู้ป่วยทั้งในลักษณะเฉพาะรายและรายกลุ่ม การเขียนเกณฑ์ในการให้คำปรึกษาทางยา
  2. วัตถุประสงค์การเรียนรู้
    1. ให้นักศึกษาทราบถึงหลักการ,ขบวนการ และขั้นตอนในการให้คำปรึกษา
    2. นักศึกษาสามารถให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยเฉพาะราย
    3. สามารถนำความรู้ด้านทักษะการสื่อสารมาใช้ในการปฏิบัติงานด้านเภสัชกรรมคลินิก
    4. ทราบเครื่องมือที่ใช้ในงานบริการให้คำปรึกษา

ยาใหม่และแนวคิดใหม่[แก้]

  1. ลักษณะกระบวนวิชา เป็นการศึกษายาใหม่ๆ และแนวคิดใหม่ ๆ ซึ่งค้นหาได้จากสิ่งตีพิมพ์ วรรณกรรมต่างๆ และโดยการอภิปราย การเปรียบเทียบคุณสมบัติทางเภสัชวิทยา, พิษวิทยา, ปฏิกิริยาอันไม่พึงประสงค์ ข้อดีและข้อเสียของยาใหม่ ผลของการนำมาใช้ในทางคลินิก โดยเปรียบเทียบระหว่างยาใหม่กับยาเก่า
  2. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาใหม่และแนวความคิดใหม่ สามารถเปรียบเทียบยวใหม่กับยาเก่าในแง่คุณสมบัติทางเภสัชวิทยา พิษวิทยา ข้อดี-ข้อเสีย และผลการนำมาใช้ในทางคลินิก และสามารถนำไปประยุกต์ในการบริการเภสัชกรรมได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

การประเมินค่าการใช้ยาทางคลินิก[แก้]

  1. ลักษณะกระบวนวิชา เป็นแนวคิดในการทบทวนและประเมินการใช้ยา วิธีการและแผนของการจัดเก็บข้อมูล แบบเก็บข้อมูล การประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บได้ วิธีการให้คำแนะนำการใช้ยาเพื่อให้สมเหตุสมผล เกณฑ์ที่เหมาะสมในการให้ยา
  2. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจในหลักการ วิธีการ และประโยชน์ในการทำการประเมินค่าการใช้ยา

เภสัชกรรมคลินิกภาคปฏิบัติ ระดับบัณฑิตศึกษา[แก้]

  1. ลักษณะกระบวนวิชา เป็นการศึกษาการใช้ยาของคนไข้ในหอผู้ป่วยและการบริการต่างๆ ทางเภสัชกรรมคลินิกจากสภาวะจริง ฝึกปฏิบัติโดยเวียนปฏิบัติในหอผู้ป่วยและหน่วยบริการทางเภสัชกรรมคลินิกต่างๆ เพื่อให้เกิดทักษะในการเป็รผู้เชี่ยวชาญและให้คำปรึกษาในเรื่องการใช้ยาและคำแนะนำต่างๆ ในเรื่องเกี่ยวกับยา ติดตามประเมินผลที่เกิดจากการใช้ยา ในผู้ป่วยเฉพาะราย เพื่อให้เกิดผลรักษาแก่คนไข้ดีที่สุด
  2. วัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการใช้ยาของคนไข้ในหอผู้ป่วย รวมทั้งบริการต่างๆ ของเภสัชกรรมคลินิก

ชีวเภสัชกรรมและเภสัชจลพนศาสตร์ขั้นสูง[แก้]

  1. ลักษณะกระบวนวิชา เป็นรูปแบบของยาและการออกแบบรูปแบบของยา ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆต่อไบโออว่ายลาบิลีตี ปัจจัยต่างๆ ต่อค่าความเข้มข้นของยาในเลือด ตามค่าการเปลี่ยนแปลงของเวลา รวมทั้งปัจจัยต่างๆ ต่อปฏิกิริยาอันไม่พึงประสงค์จากยา การใช้คณิตศาสตร์มาคำนวณและทำนาย ปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นในร่างกาย
  2. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ ทราบหลักการต่างๆ ในด้านชีวเภสัชกรรมและเภสัชจลนพลศาสตร์ และสามารถนำไปคาดการณ์เกี่ยวกับการแปรสภาพยาต่างๆในร่างกายและผลที่เกิดขึ้นได้

การตรวจติดตามระดับยาในร่างกาย[แก้]

  1. ลักษณะกระบวนวิชา เป็นหลักการและวิธีการในการตรวจติดตามวัดระดับยาในเลือด และในสิ่งส่งตรวจต่างๆ การคำนวณค่าพารามิเตอร์ทางจลนพลศาสตร์ของยาในผู้ป่วยเฉพาะราย เพื่อทำการปรับเปลี่ยนขนาดและวิธีการให้ยาอย่างเหมาะสมในผู้ป่วยที่มีพยาธิสรีรวิทยาต่างๆ การหาพารามิเตอร์ทางจลนพลศาสตร์ของยาในประชากร และการบริหารจัดการในการให้บริการตรวจติดตามระดับยาในโรงพยาบาล
  2. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจในหลักการและวิธีการในการตรวจวัดและแปลผลระดับยาในร่างกายได้อย่างถูกต้อง และเกิดทักษะในการดำเนินกิจกรรมการติดตามวัดระดับยาในร่างกายได้อย่างเหมาะสม

ระบบเภสัชสนเทศทางคลินิก[แก้]

  1. ลักษณะกระบวนวิชา เป็นแนวคิดและระบบในการบริหารจัดการข้อมูลของยาที่ใช้ใน การบริการทางคลินิก โดยเน้นการค้นหาข้อมูล การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของข้อมูล การรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล การบริหารจัดการกับฐานข้อมูลและการสื่อการข้อมูลโดยวิธีต่างๆ
  2. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้ได้ทราบและเข้าใจหลักการความสำคัญของระบบสารสนเทศทางคลินิกได้ทราบขั้นตอนในการจัดการกับคำถามที่ได้รับในการปฏิบัติงามให้ข้อมูลสารสนเทศทางคลินิก

การออกแบบการวิจัยทางคลินิก[แก้]

  1. ลักษณะกระบวนวิชา เป็นแนวคิดและขั้นตอนของการพัฒนายา โดยเน้นในเรื่องแบบการทดลองศึกษาถึงวิธีการขั้นตอนที่จะประเมินประสิทธิภาพและวิจัยการใช้ยาในคน ความปลอดภัยของการทดลองใช้ยาในคนทางคลินิก จริยธรรมและกฎหมายข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการทดลองในคน รวมทั้งกฎหมายสากลในเรื่องดังกล่าว
  2. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้สามารถออกแบบและดำเนินการวิจัยได้อย่างถูกต้องทั้งทางด้านจริยธรรม และกฎหมาย

ระบบการกระจายยาในโรงพยาบาล[แก้]

  1. ลักษณะกระบวนวิชา เกี่ยวกับแนวคิดทั่วไปในการกระจายยา ธรรมชาติของวิถีการกระจายยาทั้งระบบรวมศูนย์ และระบบไม่รวมศูนย์ ชนิดของระบบการกระจายยาที่ใช้เพื่อให้มียาเพียงพอแก่การใช้ในตึกผู้ป่วย รวมทั้งระบบยูนิตโด๊ส โดยจะเน้นเรื่องการดำเนินการของระบบ ยูนิสโดส ข้อดี-ข้อเสีย และข้อจำกัดของระบบนึ้ การนำระบบการกระจายยาชนิดต่างๆมาใช้ในเมืองไทย
  2. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้ได้ทราบถึงหลักการและรูปแบบต่างๆ ของการกระจายยาในโรงพยาบาล รวมทั้งขั้นตอนการดำเนินงาน และข้อดี-ข้อเสีย ของแต่ละรูปแบบ

การประเมินคุณค่าทางวรรณกรรมวิทยาศาสตร์การแพทย์[แก้]

  1. ลักษณะกระบวนวิชา เป็นการศึกษาวิธีการค้นหาข้อมูลในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์อย่างเป็นระบบ การประเมินคุณค่าของวรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์การแพทย์อย่างพินิจพิเคราะห์ โดยการทบทวนอย่างเป็นระบบ และการวิเคราห์ในแง่มุมทางคลินิก โดยศึกษาจากกรณีศึกษาที่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยโดยตรงและฝึกประเมินวรรณกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดทักษะเพิ่มขึ้น
  2. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้สามารถสืบค้นข้อมูล ประเมินคุณค่า และวิเคราะห์วรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้อย่างมีระบบ

หัวข้อเลือกสรรทางเภสัชศาสตร์[แก้]

  1. ลักษณะกระบวนวิชา เป็นหัวข้อที่น่าสนใจในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องทางเภสัชศาสตร์ โดยเน้นหนักความรู้ทางเภสัชกรรมคลินิก บริบาลเภสัชกรรม และชีวเภสัชกรรม
  2. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้ได้เรียนรู้เรื่องราวทางเภสัชศาสตร์ ในด้านเภสัชกรรมคลินิก บริบาลเภสัชกรรม และชีวเภสัชกรรมใหม่ๆ หรือหัวข้อที่เกี่ยวข้องที่น่าสนใจ

สัมมนาทางเภสัชกรรมคลินิก[แก้]

ลักษณะกระบวนวิชา เป็นการค้นคว้าข้อมูลเรื่องที่น่าสนใจทางเภสัชกรรมคลินิกอย่างเป็นระบบจากสิ่งพิมพ์และจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ เช่น ข้อมูลที่เก็บในรูปอิเลคโทรนิคแล้วทำการวิเคราะห์ประเมินคุณค่าของเรื่องนั้น แล้วรวบรวมประมวลอย่างเป็นขั้นตอนเพื่อนำเสนอสำหรับการอภิปราย วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้สามารถค้นคว้าหาข้อมูลความรู้ในเรื่องที่สนใจจากแหล่งข้อมูลชนิดต่างๆได้ และสามารถนำมารวบรวมประมวล เพื่อนำเสนอสำหรับการอภิปราย