บริหารเภสัชกิจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บริหารเภสัชกิจ (อังกฤษ: Pharmaceutical Administration) เป็นกลุ่มวิชาที่เรียนในคณะเภสัชศาสตร์ว่าด้วยเรื่องการจัดการบริหารในอุตสาหกรรมยาประกอบด้วยวิชาที่ต้องเรียนดังนี้

  1. การบริหารเภสัชกิจ
  2. คอมพิวเตอร์ทางเภสัชศาสตร์
  3. เภสัชเศรษฐศาสตร์
  4. นิติเภสัชกรรมและจรรยาบรรณเภสัช
  5. การบริหารงานเภสัชกรรมโรงพยาบาล
  6. ปัญหาพิเศษทางบริหารเภสัชกิจ
  7. เภสัชภัณฑ์
  8. การจัดการร้านขายยา (Drug Store Management)
  9. พฤติกรรมองค์กรทางเภสัชกิจ
  10. การวิจัยทางการตลาดยา

การบริหารเภสัชกิจ[แก้]

และงบประมาณขององค์กรเภสัชกิจ

  • วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้สามารถอธิบายหลักการของการบริหารจัดการเภสัชกิจ และนำไปประยุกต์กับองค์กรเภสัชกิจได้

คอมพิวเตอร์ทางเภสัชศาสตร์[แก้]

  • ลักษณะกระบวนวิชา เป็นการศึกษาการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในงานด้านเภสัชกรรม รวมถึงการสืบค้นข้อสนเทศต่างๆ ทางด้านเภสัชศาสตร์
  • วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้สามารถนำวิทยาการทางด้านคอมพิวเตอร์ มาประยุกต์ใช้ในงานเภสัชกรรมต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

การตลาดยา[แก้]

  • ลักษณะกระบวนวิชาประกอบด้วย หลักการตลาดยา พฤติกรรมของตลาด การจูงใจแพทย์ผู้เขียนใบสั่งยาและผู้ป่วย การพัฒนาเภสัชภัณฑ์การแข่งขัน และการส่งเสริมการตลาดของเภสัชภัณฑ์
  • วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้สามารถอธิบายหลักการต่างๆ ของการตลาดยา และนำไปประยุกต์ได้

เภสัชเศรษฐศาสตร์[แก้]

  • ลักษณะกระบวนวิชาประกอบด้วย หลักการเภสัชเศรษฐศาสตร์มาวิเคราะห์วิจัย เพื่อประเมินเปรียบเทียบผลการใช้ยา การให้บริการเภสัชกิจและการแพทย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา รวมทั้งการประยุกต์เภสัชเศรษฐศาสตร์ในงานเภสัชกรรม
  • วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการของเภสัชเศรษฐศาสตร์ และสามารถประยุกต์ใช้หลักการที่ได้เรียนรู้ในงานเภสัชกรรมได้อย่างเหมาะสม

นิติเภสัชกรรมและจรรยาบรรณเภสัช[แก้]

  • ลักษณะกระบวนวิชา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม การควบคุมกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพ และจรรยาบรรณแห่งการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
  • วัตถุประสงค์การเรียนรู้
  1. เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมโดยถูกต้องตามกฎหมาย
  2. เพื่อให้ทราบแนวทางในการใช้กฎหมายเพื่อการควบคุมกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างเหมาะสม
  3. เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญและใช้จรรยาบรรณเป็นแนวทางในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม

การบริหารงานเภสัชกรรมโรงพยาบาล[แก้]

  • ลักษณะกระบวนวิชา การจัดองค์กรของโรงพยาบาล การดำเนินงานของแผนกเภสัชกรรม และความสัมพันธ์ของเภสัชกรและบุคลากรทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ
  • วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจและสามารถอธิบายถึงหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารงานเภสัชกรรมโรงพยาบาล

ปัญหาพิเศษทางบริหารเภสัชกิจ[แก้]

  • ลักษณะกระบวนวิชา ฝึกปฏิบัติการดำเนินการวางแผนการวิจัย ขั้นตอนการทำวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งการนำเสนอผลงาน
  • วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้สามารถวางแผนการวิจัย ขั้นตอนการทำวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งการนำเสนอผลงานด้านบริบาลเภสัชกรรม

เภสัชภัณฑ์[แก้]

  • ลักษณะกระบวนวิชา ศึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาที่มีจำหน่ายในประเทศไทย โดยเน้นผลิตภัณฑ์ยาที่มีจำหน่ายในร้านขายยาเป็นหลัก ศึกษาถึง ชื่อสามัญทางยา ชื่อการค้า ผู้ผลิต การออกฤทธิ์ของยา การนำไปใช้ และเปรียบเทียบคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ยาต่างๆ
  • วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เมื่อเรียนจบ ผู้เรียนจะสามารถ
  1. รู้จักผลิตภัณฑ์ยาชนิดต่างๆ รวมทั้งคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ยาแต่ละตัว
  2. เปรียบเทียบคุณสมบัติของยาผลิตภัณฑ์ยาในกลุ่มเดียวกัน และสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยได้

การจัดการร้านขายยา (Drug Store Management)[แก้]

  • ลักษณะกระบวนวิชา การลงทุน การเลือกทำเลที่ตั้ง การจัดแผนผังร้าน การส่งเสริมการขาย การตั้งราคา การขาย และการให้บริการการควบคุมยาคงคลัง การบริหารบุคลากรของร้านขายยา และบทบาทความรับผิดชอบของร้านขายยาต่อสังคม
  • วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้สามารถเข้าใจและอธิบายหลักการจัดการร้านขายยาได้

พฤติกรรมองค์กรทางเภสัชกิจ[แก้]

  • ลักษณะกระบวนวิชา ศึกษาความหมาย ขอบเขต และประเภทของการวิจัยการตลาดยา รวมทั้งขั้นตอนของการวิจัย การเก็บข้อมูล การสุ่มตัวอย่าง การวางแผนวิเคราะห์ข้อมูล การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ข้อมูล การแปลผลการรายงานผล และการเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา
  • วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เมื่อเรียนจบ ผู้เรียนจะสามารถ
  1. นักศึกษา ได้ศึกษาแนวทาง และ ขั้นตอนของกระบวนวิชาการวิจัยการตลาดยา
  2. ศึกษา และเรียนรู้ การเลือกวิธีการทางสถิติ

การวิจัยทางการตลาดยา[แก้]

  • ลักษณะกระบวนวิชา ศึกษาความหมาย ขอบเขต และประเภทของการวิจัยการตลาดยา รวมทั้งขั้นตอนของการวิจัย การเก็บข้อมูล การสุ่มตัวอย่าง การวางแผนวิเคราะห์ข้อมูล การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ข้อมูล การแปลผลการรายงานผล และการเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา
  • วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เมื่อเรียนจบ ผู้เรียนจะสามารถ
  1. นักศึกษา ได้ศึกษาแนวทาง และ ขั้นตอนของกระบวนวิชาการวิจัยการตลาดยา
  2. ศึกษา และเรียนรู้ การเลือกวิธีการทางสถิติ

อ้างอิง[แก้]