ข้ามไปเนื้อหา

เทโอบัลท์ ฟ็อน เบทมัน ฮ็อลเวค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทโอบัลท์ ฟ็อน เบทมัน ฮ็อลเวค
Theobald von Bethmann Hollweg
เบทมัน ฮ็อลเวค เมื่อ ค.ศ. 1914
นายกรัฐมนตรีจักรวรรดิเยอรมัน
ดำรงตำแหน่ง
14 กรกฎาคม ค.ศ. 1909 – 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1917
กษัตริย์จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2
รองเคลเมินส์ ฟ็อน เด็ลบรึค
คาร์ล เฮ็ลเฟอริช
ก่อนหน้าแบร์นฮาร์ท ฟ็อน บือโล
ถัดไปเกออร์ค มิชชาเอลิส
รองนายกรัฐมนตรีเยอรมนี
ดำรงตำแหน่ง
24 มิถุนายน ค.ศ. 1907 – 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1909
หัวหน้ารัฐบาลแบร์นฮาร์ท ฟ็อน บือโล
ก่อนหน้าอาร์ทัวร์ ฟ็อน พ็อซซาด็อฟสกี-แวเนอร์
ถัดไปเคลเมินส์ ฟ็อน เด็ลบรึค
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
เทโอบัลท์ เทโอดอร์ ฟรีดริช อัลเฟรท ฟ็อน เบทมัน ฮ็อลเวค

29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1856(1856-11-29)
โฮเอินฟีโน ราชอาณาจักรปรัสเซีย
เสียชีวิต1 มกราคม ค.ศ. 1921(1921-01-01) (64 ปี)
โฮเอินฟีโน เสรีรัฐปรัสเซีย สาธารณรัฐไวมาร์
พรรคการเมืองอิสระ
ลายมือชื่อSignature of Theobald von Bethmann Hollweg

เทโอบัลท์ เทโอดอร์ ฟรีดริช อัลเฟรท ฟ็อน เบทมัน ฮ็อลเวค (เยอรมัน: Theobald Theodor Friedrich Alfred von Bethmann Hollweg; 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1856 – 1 มกราคม ค.ศ. 1921) เป็นนักการเมืองชาวเยอรมัน ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจักรวรรดิเยอรมันตั้งแต่ ค.ศ. 1909 ถึง ค.ศ. 1917 เขาเป็นผู้นำเยอรมนีเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งและมีบทบาทสำคัญในช่วงสามปีแรกของสงคราม เขาลงจากอำนาจในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1917 เนื่องจากผู้นำในกองทัพต่อต้านนโยบายของเขา

ในระหว่าง ค.ศ. 1884 ถึง ค.ศ. 1899 เบทมัน ฮ็อลเวคก้าวหน้าในการงานอย่างรวดเร็วผ่านตำแหน่งในรัฐบาลปรัสเซีย และดำรงตำแหน่งสมาชิกไรชส์ทาคในช่วงสั้น ๆ เมื่อ ค.ศ. 1890 ด้วยประสบการณ์ทางการเมือง ทำให้เขาไม่พึงใจต่อระบบพรรคการเมืองและเลือกที่จะเป็นนักการเมืองอิสระตลอดชีวิตทางการเมืองของเขา จักรวรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 ทรงแต่งตั้งเขาเป็นนายกรัฐมนตรีใน ค.ศ. 1909 ส่วนหนึ่งเพราะพระองค์โปรดรูปแบบทางการเมืองที่เป็นมิตรของเขา ตลอดเวลาแปดปีของตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เบทมัน ฮ็อลเวคได้สนับสนุนการเปิดเสรีบางประการ แต่ก็ยังเชื่อมั่นอย่างแน่วแน่ว่าระบอบราชาธิปไตยระบบรัฐสภาเป็นรูปแบบการปกครองที่ดีที่สุดสําหรับเยอรมนี

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เบทมัน ฮ็อลเวคมองว่าเยอรมนีกำลังถูกคุกคาม ซึ่งจําเป็นต้องใช้มาตรการที่จําเป็นทั้งหมดเพื่อความอยู่รอด เขาสัญญากับจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีว่าเยอรมนีจะสนับสนุนอย่างเต็มที่ และสนองความประสงค์ในการใช้กำลังต่อสู้กับเซอร์เบีย เขาชะลอการระดมกำลังของเยอรมนีจนหลังจากที่รัสเซียทำไปแล้วเพื่อที่เยอรมนีจะได้ไม่ถูกมองว่าเป็นผู้รุกราน แม้ว่าเขาจะเห็นด้วยกับการบุกครองเบลเยียมเพราะคิดว่าจำเป็น แต่เขาก็เชื่อมาตั้งแต่ต้นว่าสิ่งนี้เป็นความอยุติธรรมที่ต้องได้รับการแก้ไข ในตอนแรก เขาคัดค้านการทำสงครามเรือดำน้ำแบบไม่จำกัด แต่ท้ายที่สุดก็ทนต่อแรงกดดันจากกองทัพและกลุ่มอนุรักษ์นิยมในไรชส์ทาคไม่ไหวและอนุญาตให้ทำสงครามเรือดำน้ำได้ เมื่อสงครามดําเนินไป หลายคนที่สนับสนุนเขาในรัฐสภารู้สึกว่าเขาอยู่ในตําแหน่งนานเกินกว่าที่จะสามารถเจรจาสันติภาพที่ยอมรับได้ เมื่อทั้งนายพล เอริช ลูเดินดอร์ฟ และหัวหน้าคณะเสนาธิการใหญ่ เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค ขู่ว่าจะลาออกหากเขาลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้เบทมัน ฮ็อลเวคยื่นการลาออกต่อจักรพรรดิ

ในหนังสือ เรื่อง "Reflections on the World War" ซึ่งเขาได้เรียบเรียงขึ้นก่อนถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1921 เบทมัน ฮ็อลเวคได้กล่าวถึงสถานการณ์ที่ยากลำบากของเยอรมนี เขายอมรับว่ารัฐบาลและจักรพรรดิได้ทำผิดพลาดก่อนสงคราม และเยอรมนีต้องรับผิดชอบในบางส่วน แต่เขาเชื่อว่า "ความผิดร่วมกัน" ได้นำไปสู่หายนะครั้งใหญ่ของสงคราม

หนังสืออ่านเพิ่ม

[แก้]

ในภาษาอังกฤษ

[แก้]
  • Bethmann Hollweg, Theobald (1920). Reflections on the World War (ภาษาอังกฤษ). Vol. 1. London: Butterworths.
  • Jarausch, Konrad Hugo. "Revising German History: Bethmann Hollweg Revisited." Central European History 21#3 (1988): 224–243, historiography in JSTOR
  • Jarausch, Konrad H. "The Illusion of Limited War: Chancellor Bethmann Hollweg's Calculated Risk, July 1914." Central European History 2.1 (1969): 48-76. online
  • Langdon, John W. "Emerging from Fischer's shadow: recent examinations of the crisis of July 1914." History Teacher 20.1 (1986): 63–86, historiography in JSTOR

ในภาษาเยอรมัน

[แก้]
  • Bethmann Hollweg (1919–1921). Betrachtungen zum Weltkriege. Berlin: Hobbing.
  • von Vietsch, Eberhard (1969). Bethmann Hollweg. Staatsmann zwischen Macht und Ethos [Bethmann Hollweg. Statesman Between Power and Ethos] Boppard: Boldt.
  • Werner Frauendienst (1955), "Bethmann Hollweg, Theobald Theodor Friedrich Alfred von", Neue Deutsche Biographie (ภาษาเยอรมัน), vol. 2, Berlin: Duncker & Humblot, pp. 188–193; (full text online)
  • Zmarzlik, Hans G. (1957): Bethmann Hollweg als Reichskanzler, 1909–1914. Studien zu Möglichkeiten und Grenzen seiner innerpolitischen Machtstellung [Bethmann Hollweg as Reich Chancellor, 1909–1914. Studies on the Possibilities and Limits of his Domestic Power Position] ISSN 0522-6643). Düsseldorf: Droste.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า เทโอบัลท์ ฟ็อน เบทมัน ฮ็อลเวค ถัดไป
แบร์นฮาร์ท ฟ็อน บือโล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี
(ค.ศ. 1909 – ค.ศ. 1917)
เกออร์ค มิชชาเอลิส
แบร์นฮาร์ท ฟ็อน บือโล มุขมนตรีปรัสเซีย
(ค.ศ. 1909 – ค.ศ. 1917)
เกออร์ค มิชชาเอลิส
อาร์ทัวร์ ฟ็อน พ็อซซาด็อฟสกี-แวเนอร์ รองนายกรัฐมนตรีเยอรมนี
(ค.ศ. 1907 – ค.ศ. 1909)
เคลเมินส์ ฟ็อน เด็ลบรึค