ข้ามไปเนื้อหา

เจ้าเพชรราช รัตนวงศา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เจ้าเพชรราช)
สมเด็จเจ้ามหาอุปราช
เพชรราช รัตนวงศา
พระมหาอุปราชลาว
ดำรงพระยศ ครั้งที่ 1ไม่ปรากฏ – 12 ตุลาคม ค.ศ. 1945
ก่อนหน้าเจ้ามหาอุปราชบุญคง
ถัดไปพระองค์เอง
กษัตริย์สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์
ดำรงพระยศ ครั้งที่ 216 เมษายน ค.ศ. 1957 – 14 ตุลาคม ค.ศ. 1959
ก่อนหน้าพระองค์เอง
ถัดไปยกเลิกพระอิสริยยศ
กษัตริย์สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์
ประมุขแห่งรัฐลาว
ดำรงตำแหน่ง
12 ตุลาคม ค.ศ. 1945 – 24 เมษายน ค.ศ. 1946
นายกรัฐมนตรีพระยาคำม้าว วิไล
ก่อนหน้าสมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ (ในฐานะกษัตริย์)
ถัดไปสมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ (ในฐานะกษัตริย์)
นายกรัฐมนตรีลาว คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
21 สิงหาคม ค.ศ. 1941 – 10 ตุลาคม ค.ศ. 1945
กษัตริย์สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปพระยาคำม้าว วิไล
ประสูติ19 มกราคม ค.ศ. 1890(1890-01-19)
วังหน้า หลวงพระบาง อาณาจักรหลวงพระบาง อินโดจีนของฝรั่งเศส
ทิวงคต14 ตุลาคม ค.ศ. 1959(1959-10-14) (69 ปี)
วังเชียงแก้ว หลวงพระบาง พระราชอาณาจักรลาว
พระชายาเจ้าหญิงคำแว่น
หม่อมศรี
อภิณพร ยงใจยุทธ
พระราชบุตรเจ้าหญิงคำผิว เพชรราช
เจ้าหญิงคำจันทร์ เพชรราช
เจ้าสุริยราช เพชรราช
เจ้าหญิงอรุณา เพชรราช
เจ้าอุ่นแก้ว เพชรราช
ราชวงศ์ล้านช้างร่มขาว
ราชสกุลรัตนวงศา
พระราชบิดาเจ้ามหาอุปราชบุญคง
พระราชมารดาเจ้าหญิงทองศรี
ศาสนาพุทธเถรวาท
อาชีพข้าราชการ นักการเมือง
พรรคการเมืองลาวอิสระ (ค.ศ. 1945–1946)

สมเด็จเจ้ามหาอุปราชเพชรราช รัตนวงศา (ลาว: ເພັດຊະລາດ ລັດຕະນະວົງສາ; 19 มกราคม พ.ศ. 2443 - 14 ตุลาคม พ.ศ. 2502) วีรบุรุษของชาวลาว ผู้ทรงจัดตั้งรัฐบาลลาวอิสระเพื่อปลดแอกจากการปกครองของฝรั่งเศส และรวมแผ่นดินลาวทั้งหมดให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทรงเป็นพระมหาอุปราชพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์ของประเทศลาวในสมัยประเทศลาวยังเป็นพระราชอาณาจักรลาว และทรงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของลาวในช่วง พ.ศ. 2485 - 2488 ทรงได้รับการนับถือจากชาวลาวเป็นอย่างมากตราบจนถึงทุกวันนี้

ประวัติ

[แก้]

เจ้าเพชรราช ประสูติ ณ ตำหนักวังหน้า นครหลวงพระบาง เมื่อวันอาทิตย์ เดือนยี่ แรม 9 ค่ำ ปีฉลู จุลศักราช 1251 เวลา 11.55 น. ตรงกับวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2433 (ค.ศ.1890) เป็นโอรสองค์ที่ 3 ของเจ้ามหาอุปราชบุญคง ซึ่งสืบตระกูลมาจากเจ้ามหาอุปราชอุ่นแก้วซึ่งเป็นต้นตระกูลเดิม เมื่ออายุได้ 7 ปีกว่าจึงเริ่มเรียนหนังสือลาวและหนังสือสยามและภาษาฝรั่งเศส พร้อมๆกับการติดสอยตามพระบิดาไปตรวจงานหัวเมืองเสมอ ปี พ.ศ. 2442 ผนวชเป็นสามเณรที่วัดธาตุหลวงเรียนภาษาบาลี ปี พ.ศ. 2447 ได้เสด็จไปเรียนต่อที่ฝรั่งเศส ที่โรงเรียนโกโลนิยาล (Colonial) ซึ่งเป็นโรงเรียนที่รัฐบาลฝรั่งเศสตั้งขึ้นเพื่ออบรมผู้ที่จะไปเป็นข้าราชการปกครองในประเทศหัวเมืองขึ้น ต่อมาเข้าโรงเรียนมัธยมมงเตเยอ แผนกวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษ เพื่อฝึกภาษาอังกฤษ ในระหว่างปิดเทอมได้ข้ามไปพักในอังกฤษ อาศัยอยู่กับมิสเตอร์เลนน อาจารย์สอนดาราศาสตร์จึงทำให้เกิดสนใจในดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ตั้งแต่นั้นมา ต่อมาได้แต่งหลักคำนวณปฏิทินลาวไว้ด้วย พระองค์ศึกษาต่อในโรงเรียนมัธยมเซนต์หลุยส์ถึงปี 2453 เสด็จกลับมาผนวชเป็นพระภิกษุที่วัดหนองสระแก้วตามประเพณี เมื่อลาผนวชแล้ว เข้ารับราชการเป็นผู้ร่างหนังสืออยู่กองคลัง หลวงพระบาง

พระองค์อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงคำแว่น พระพี่นางเธอของเจ้าศรีสว่างวงศ์ ซึ่งตกพุ่มหม้ายและมีอายุมากกว่าหลายปี ทั้งนี้ว่ากันว่าเป็นการประสานรอยร้าวระหว่างราชวงศ์หลวงพระบางสายเจ้ามันธาตุราชกับสายเจ้าอุ่นแก้ว (ตระกูลวังหน้ากับตระกูลวังหลัง) มีพระโอรสและพระธิดา 3 องค์ คือ เจ้าหญิงคำผิว (เสียชีวิต) เจ้าหญิงคำจันทร์ (สามีเป็นชาวฝรั่งเศส) และเจ้าชายสุริยะราช

ขณะรับตำแหน่งผู้ตรวจราชการหัวเมืองลาวที่นครเวียงจันทน์ ได้อนุชายา ชื่อนางศรี (ชาวเวียงจันทน์) บุตรธิดา 2 คน ได้แก่ เจ้าหญิงอรุณา (เจ้านา) เพชรราช และเจ้าชายอุ่นแก้ว (เจ้าแก้ว) เพชรราช [1] (ภายหลังเมื่อสิ้นเจ้าเพชรราชแล้ว ทั้งสองท่านนี้ได้ตามหม่อมอภิณพร รัตนวงศามาอยู่ในเมืองไทย เจ้านาเรียนพยาบาล และเจ้าแก้วรับราชการทหาร)[2]

พ.ศ. 2489 เมื่อต้องทรงลี้ภัยทางการเมืองเข้ามาอยูในประเทศไทย พร้อมรัฐบาลลาวอิสระและประชาชนเมืองลาวผู้รักอิสรภาพหลายพันคนเป็นเวลานานถึง 11 ปี ขณะพำนักลี้ภัยในประเทศไทย มีคุณอภิณพร ยงใจยุทธเป็นแม่บ้าน ต่อมาได้สมรสกับคุณอภิณพรเปลี่ยนเป็นหม่อมอภิณพร รัตนวงศา (นามสกุล “รัตนวงศา” ทรงตั้งขึ้นเองเมื่ออยู่ในเมืองไทย สืบเนื่องจากพระมหาอุปราชอุ่นแก้วพระปัยกา) หม่อมอภิณพรฯ เป็นกำลังสำคัญของการปฏิบัติการกู้ชาติ ผู้ทำหน้าที่แม่บ้านปกครองดูแลผู้คนจำนวนมาก เป็นเจ้าหน้าที่ประสานงานกับรัฐบาลไทย บริหารการจัดการเงินจัดหาค่าใช้จ่าย เป็นเลขานุการส่วนพระองค์ ปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนพระองค์เจ้าเพชรราช เจรจาการเมืองและเรื่องส่วนพระองค์ ทั้งในและนอกราชอาณาจักรไทย ไปพนมเปญ ไปย่างกุ้ง เพื่อทำความเข้าใจร่วมระหว่างลาวเขมรญวนและพม่าที่ต่างมุ่งล้างอิทธิพลชาวผิวขาวด้วยกัน

พ.ศ. 2490 รัฐบาลฝรั่งเศสยินยอมให้ประเทศลาวในนามพระราชอาณาจักรลาวเป็นเอกราชในเครือสหพันธ์ฝรั่งเศส เจ้าเพชรราชทรงไม่เห็นด้วยเพราะเห็นว่าเอกราชนั้นไม่สมบูรณ์ จึงทรงวางมือทางการเมืองไม่เข้ากับฝ่ายใด เพราะเจ้าสุวรรณภูมา พระอนุชาองค์ที่ 1 เข้ากับฝรั่งเศส, เจ้าสุภานุวงศ์ พระอนุชาองค์ที่ 2 เข้ากับเวียดนามเหนือ, รัฐบาลไทยโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี รับรองรัฐบาลลาวตามนโยบายการเมืองที่จำเป็น

ขณะที่ประทับในเมืองไทยนับแต่วางมือจากการเมือง และหายจากโรคกระเพาะอาหารที่ต้องรับการผ่าตัด จึงหันหน้าเข้าป่าล่าเนื้อกับบรรดาเจ้านายไทยและข้าราชการไทยผู้ที่ชอบกีฬาล่าเนื้อเหมือนกัน [3] จนเป็นที่รักชอบกัน

พ.ศ. 2499 เสด็จเจ้าสุวรรณภูมาได้ทูลเชิญเจ้าเพชรราชกลับเพื่อแก้ปัญหายุ่งยากในประเทศ และได้เสด็จกลับในวันที่ 22 มีนาคม 2500 โดยทางรถไฟจากกรุงเทพถึงหนองคาย มีประชาชนลาวไปต้อนรับอย่างล้นหลาม เมื่อเสด็จกลับสู่ราชอาณาจักรลาวอีกครั้ง เป็นความปลี้มปิติและความหวังใหม่ที่ชาติลาวจะได้สงบร่มเย็น เจริญรุ่งเรืองไร้การครอบครองของชาติอื่น ท่านกลายเป็นเทพเจ้าของคนลาว แต่ก็เป็นชนวนให้เกิดความไม่พอใจ รวมทั้งอุปสรรคขวากหนามต่างๆ ที่ทำให้พระองค์ตระหนักถึงความล้มเหลว ในการรวมตัวกันสร้างชาติใหม่ และทรงทราบถึงอันตรายบางประการ

พระฉายาลักษณ์ของเจ้าเพชรราชได้รับการยอมรับเป็นวัตถุมงคลสักการะบูชาของชาวลาว

ประมาณเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2502 ทรงมีลายพระหัตถ์ถึงพระสหายนักนิยมไพรในกรุงเทพฯ [4] บรรยายถึงความผิดหวังและล้มเหลว รับสั่งว่าถึงคราวที่ต้องเสด็จนิราศจากแผ่นดินเกิด เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในเมืองไทยอีกครั้ง ประมาณว่าจะเสด็จในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2502 แต่แล้วเหตุการณ์ที่ไม่มีผู้ใดคาดฝันwfhอุบัติขึ้นเช้าวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2502 พระสหายในกรุงเทพฯ ได้รับแจ้งจากเจ้าคำปาน เอกอัครราชทูตแห่งราชอาณาจักร​ลาว​ประจำประเทศ​ไทย ณ กรุงเทพมหานคร ว่า เจ้าเพชรราชสิ้นพระชนม์แล้วเมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2502 ณ วังเชียงแก้ว สาเหตุเส้นโลหิตในพระสมองแตก

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

พระราชอาณาจักรลาว

[แก้]

ประเทศไทย

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • หนังสือเจ้าเพชรราช เรียบเรียงโดยมหาสิลา วีระวงส์
  • บทความเรื่อง "เจ้าเพชรราช มหาอุปราชแห่งเวียงจันทน์ " เรียบเรียงโดยนายสรศัลย์ แพ่งสภา และนายอติศัย แพ่งสภา และโดยความร่วมมือของสมาชิกนิยมไพรไทยจากประสบการณ์จริง รวมทั้งนายอติศัยฯ ที่ได้ช่วยเหลืองานด้านการเกษตรขององค์การ USOM ในประเทศลาว พักอาศัยอยู่ที่วังเวียงจันทน์ จนวันสุดท้าย 15 ตุลาคม 2502
  1. มหาสิลา วีระวงศ์
  2. (ข้อมูลจากนายอติศัย แพ่งสภา)
  3. สหายนักนิยมไพร : พล.ต.พระศัลยเวทย์วิศิษฐ์,พ.อ.พระยาสุรพันธเสนีย์,พันเอกพระอินทร์สรศัลย์ , นายสรศัลย์ แพ่งสภา, นายอติศัย แพ่งสภา ฯ
  4. ตามอ้างอิงสมาชิกสมาคมนักนิยมไพร

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า เจ้าเพชรราช รัตนวงศา ถัดไป

นายกรัฐมนตรีลาว
(พ.ศ. 2483 – 10 ตุลาคม พ.ศ. 2488)
พระยาคำม้าว วิไล