สมเด็จพระวันรัต (ทรัพย์ โฆสโก)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระวันรัต

(ทรัพย์ โฆสโก)
คำนำหน้าชื่อท่านเจ้าประคุณ
ส่วนบุคคล
เกิด27 มิถุนายน พ.ศ. 2447 (72 ปี 337 วัน ปี)
มรณภาพ29 พฤษภาคม พ.ศ. 2520
นิกายมหานิกาย
การศึกษานักธรรมชั้นโท, เปรียญธรรม 6 ประโยค
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดสังเวชวิศยารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
อุปสมบท11 กรกฎาคม พ.ศ. 2467
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสังเวชวิศยารามวรวิหาร
เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก

สมเด็จพระวันรัต นามเดิม ทรัพย์ สุนทรัตต์ ฉายา โฆสโก เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น เจ้าอาวาสวัดสังเวชวิศยารามวรวิหาร สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง[1] สมาชิกสังฆสภา กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก และผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

ประวัติ[แก้]

ชาติกำเนิด[แก้]

สมเด็จพระวันรัต มีนามเดิม ทรัพย์ สุนทรัตต์ เกิดเมื่อวันจันทร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2447 เป็นบุตรคนที่สามของนายอ๋ากับนางอ่ำ ภูมิลำเนาอยู่ตำบลวัดร้อยไร่ อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ศึกษาจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลกรุงเก่า ปัจจุบันคือ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2463

อุปสมบท[แก้]

เมื่อ พ.ศ. 2465 ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดดาวดึงษาราม โดยมีพระเทพโมลี (เฮง เขมจารี) เป็นพระอุปัชฌาย์ ถึงวันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2467 ได้อุปสมบท ณ วัดสังเวชวิศยาราม โดยมีสมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระราชเวที (ปลด กิตฺติโสภโณ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูศีลขันธสุนทร (พัน) เป็นพระอนุสาวนาจารย์

การศึกษาพระปริยัติธรรม[แก้]

สมเด็จพระวันรัต สอบได้นักธรรมชั้นโทในปี พ.ศ. 2468 และสอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค ในปี พ.ศ. 2473

ตำแหน่ง[แก้]

สมณศักดิ์[แก้]

  • 1 มีนาคม พ.ศ. 2479 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระญาณโศภน[4]
  • พ.ศ. 2489 เป็นพระราชาคณะเสมอชั้นราชในราชทินนามเดิม
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2495 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพมุนี ศรีวิสุทธศีลาจารย์ ญาณนายก ตรีปิฎกธาดา มหาคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2500 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมรัตนากร สุนทรพรหมปฏิบัติ สมณวัตรโกศล วิมลปิฎกธาดา ทักษิณศาสนาทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[6]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2504 เป็นรองสมเด็จพระราชาคณะที่ พระธรรมวโรดม บรมญาณอดุล สุนทรนายก ตรีปิฎกคุณาลังการวิภูสิต บริหารกิจสาทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[7]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2515 เป็นสมเด็จพระราชาคณะ สมเด็จพระวันรัต ปริยัติพิพัฒนพงศ์ วิสุทธิสงฆปริณายก ตรีปิฎกโกศล วิมลคัมภีรญาณสุนทร มหาคณะปธานาดิศร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี[8]

มรณภาพ[แก้]

สมเด็จพระวันรัต ถึงแก่มรณภาพด้วยภาวะหัวใจวายโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 เวลา 16.30 น. สิริอายุได้ 72 ปี 337 วัน ได้รับพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. "ประกาศ ตั้งคณะสังฆมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 77 (41 ง): 1, 438. 17 พฤษภาคม 2503. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (82 ง ฉบับพิเศษ): 28. 25 เมษายน 2518. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (123 ง ฉบับพิเศษ): 1, 648. 1 กรกฎาคม 2518. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "แจ้งความ เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0 ง): 3, 996. 7 มีนาคม 2479. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 69 (72 ง): 4, 619. 9 ธันวาคม 2495. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (107 ง): 2, 945. 17 ธันวาคม 2500. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 78 (104 ก ฉบับพิเศษ): 16–18. 15 ธันวาคม 2504. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (202 ก ฉบับพิเศษ): 5–7. 31 ธันวาคม 2515. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
บรรณานุกรม
  • กรมศิลปากร. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 450 หน้า. ISBN 974-417-530-3
  • ธนิต อยู่โพธิ์ตำนานสมณศักดิ์ พระวันรัต และ สมเด็จพระราชาคณะผู้ทรงสมณศักดิ์ สมเด็จพระวันรัตในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : ศิวพร, 2516. 447 หน้า. หน้า 155-158.
  • วัดสังเวชวิศยาราม. ประมวลพระธรรมเทศนาสมเด็จ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, 2520. 142 หน้า. [พิมพ์เป็นอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ (สมเด็จพระวันรัต (ทรัพย์ โฆสกมหาเถร)]


ก่อนหน้า สมเด็จพระวันรัต (ทรัพย์ โฆสโก) ถัดไป
พระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ)
สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง
(พ.ศ. 2503 - พ.ศ. 2505)
(ตำแหน่งถูกยกเลิกเนื่องจากประกาศ
ใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505)
ไม่มี
เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก
(พ.ศ. 2509 - พ.ศ. 2516)
สมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณโก)