เขื่อนวชิราลงกรณ
เขื่อนวชิราลงกรณ | |
---|---|
ที่ตั้ง | ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี |
พิกัด | 14°47′58″N 98°35′49″E / 14.79944°N 98.59694°E |
เริ่มก่อสร้าง | พ.ศ. 2522 |
เปิดดำเนินการ | 9 มกราคม พ.ศ. 2529 |
ผู้ดำเนินการ | การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย |
เขื่อนและทางน้ำล้น | |
ชนิดของเขื่อน | เขื่อนดิน, ผิวหน้าด้วยคอนกรีต หินถม |
ปิดกั้น | แม่น้ำแควน้อย |
ความสูง | 92 m (302 ft) |
ความยาว | 1,019 m (3,343 ft) |
ความกว้าง (ฐาน) | 10 m (33 ft) |
ปริมาตรของเขื่อน | 8,860,000,000 m3 (7,182,919 acre·ft) |
อ่างเก็บน้ำ | |
พื้นที่ผิวน้ำ | 388 ตารางกิโลเมตร (242,500 ไร่) |
ชนิดของเขื่อน | เขื่อนดิน, ผิวหน้าด้วยคอนกรีต หินถม |
โรงไฟฟ้า | |
กังหันน้ำ | 3 × 100 MW กังหันฟรานซิส |
กําลังการผลิตติดตั้ง | 300 MW |
กำลังผลิตรายปี | 760 gigawatt-hour (2,700 เทระจูล) |
เว็บไซต์ vrkdam |
เขื่อนวชิราลงกรณ เดิมมีชื่อว่า เขื่อนเขาแหลม เป็นเขื่อนหินถมแห่งแรกของประเทศไทยที่ดาดผิวหน้าด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ตั้งอยู่บนแม่น้ำแควน้อย เป็นเขื่อนอเนกประสงค์โดยมีวัตถุประสงค์ด้านผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นหลัก สร้างปิดกั้นแม่น้ำแควน้อยบริเวณตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ตัวอ่างเก็บน้ำอยู่ในท้องที่อำเภอทองผาภูมิและอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
เริ่มก่อสร้างในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2522 เสร็จในปี พ.ศ. 2527 หลังสร้างเสร็จ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัติยราชนารี ไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนเขาแหลมเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2529 และต่อมาทรงพระราชทานนามใหม่ว่า "เขื่อนวชิราลงกรณ" ตั้งขึ้นตามพระนามของ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร (พระยศในสมัยนั้น)[1]
เขื่อนมีความจุ 8,860 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 5,369 ล้านลูกบาศก์เมตร ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 3 เครื่องบริเวณปล่อยน้ำ ขนาดกำลังผลิต 100,000 กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิต 300,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ 760 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง[1]
การเดินทาง ใช้เส้นทางออกจากกรุงเทพมหานครโดยถนนเพชรเกษม (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4) ผ่านนครปฐมแล้วขึ้นสะพานเลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 323 ผ่านบ้านโป่ง ลูกแก ท่ามะกา ท่าม่วง แล้วเข้าสู่จังหวัดกาญจนบุรี จากนั้นเลี้ยวซ้ายอีกครั้งที่แยกแก่งเสี้ยน บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 323 ดังเดิมไปอีกประมาณ 190 กิโลเมตรบนเส้นทางทองผาภูมิ-สังขละบุรี
จากการก่อสร้างเขื่อนดังกล่าว ผลปรากฏว่ามีเขตที่น้ำท่วมถึงถูกที่วัด จำนวน 2 แห่ง คือ วัดม่วงชุม[2] กับวัดพิชัยธาราม[3] อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "เขื่อนวชิราลงกรณ์ เขื่อนในประเทศไทย". tourdoi.com. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ พระราชบัญญัติโอนที่วัด วัดม่วงชุม ตำบลม่วงชุม อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ให้แก่กรมชลประทาน พ.ศ. ๒๕๒๙
- ↑ พระราชบัญญัติโอนที่วัด วัดพิชัยธาราม ตำบลม่วงชุม อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ให้แก่กรมชลประทาน พ.ศ. ๒๕๒๙