รัฐนักรบครูเสด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อาณาจักรครูเสด)
ตะวันออกใกล้ในปี ค.ศ. 1135 รัฐนักรบครูเสดมีกางเขนแดงกำกับ
อานาโตเลียและรัฐนักรบครูเสด ราว ค.ศ. 1140

รัฐนักรบครูเสด (อังกฤษ: Crusader states) คือกลุ่มรัฐเจ้าขุนมูลนายที่นักรบครูเสดชาวยุโรปตะวันตกตั้งขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 12–13 ในอานาโตเลีย กรีซ และแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ (อิสราเอลโบราณและปัจจุบัน และในบริเวณปาเลสไตน์) แต่ในที่สุดอำนาจของอิสลามในตะวันออกกลางก็พิชิตรัฐเหล่านี้ได้หมด นอกจากนั้นรัฐนักรบครูเสดก็ยังหมายถึงดินแดนอื่นที่คริสตจักรสมัยกลางได้มา (ส่วนใหญ่เป็นรัฐเล็กและเพียงชั่วระยะเวลาอันสั้น) เพื่อป้องกันชาวมุสลิมและดินแดนของผู้นอกศาสนาอื่น ๆ ด้วย

เมดิเตอร์เรเนียน[แก้]

ขณะที่ "การพิชิตดินแดนคืน" (Reconquista) ซึ่งเป็นการต่อสู้ชิงดินแดนของคาบสมุทรไอบีเรียคืนมาจากการปกครองของอาหรับที่ต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปีตรงกับคำจำกัดความของคำว่าสงครามครูเสด แต่ตามธรรมเนียมแล้วมักจะไม่เรียกนครรัฐหรืออาณาจักรคาทอลิกต่าง ๆ ที่ได้มาว่าเป็น "รัฐนักรบครูเสด" นอกไปจากราชอาณาจักรบาเลนเซีย[1]

ลิแวนต์[แก้]

อาณาจักรครูเสดสี่อาณาจักรแรกก่อตั้งขึ้นในลิแวนต์ทันทีหลังจากสงครามครูเสดครั้งที่ 1 ที่รวมทั้ง:

ราชอาณาจักรซิลิเซีย (Armenian Kingdom of Cilicia) ตั้งมาก่อนที่สงครามครูเสดจะเริ่มแต่ได้รับการเลื่อนฐานะเป็นราชอาณาจักรโดยสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 และต่อมากลายเป็นอาณาจักรกึ่งตะวันตกของราชวงศ์ลูว์ซีญ็อง (Lusignan) ของฝรั่งเศส

ไซปรัส[แก้]

ระหว่างสงครามครูเสดครั้งที่ 3 นักรบครูเสดก็ได้ก่อตั้งราชอาณาจักรไซปรัส เมื่อพระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษทรงพิชิตไซปรัส ระหว่างที่ทรงเดินทัพไปยังแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ได้ เกาะไซปรัสได้รับการเลื่อนฐานะขึ้นเป็นราชอาณาจักรและมอบให้แก่กีแห่งลูว์ซีญ็อง (Guy of Lusignan) กษัตริย์ผู้ไร้แผ่นดินจากราชอาณาจักรเยรูซาเลม ในปี ค.ศ. 1192 . ราชอาณาจักรไซปรัสรุ่งเรืองมาจนถึงปี ค.ศ. 1489 เมื่อพระราชินีองค์สุดท้ายทรงขายให้กับเวนิส ต่อมาอัศวินฮอสปิทัลเลอร์ (Knights Hospitaller) ก็ได้รับไซปรัสแต่ก็ไม่ได้รักษากันอย่างเป็นจริงเป็นจังในฐานะที่มั่น ซึ่งทำให้เสื่อมโทรมลงจนในที่สุดก็เสียไปในการปฏิวัติ แต่ไซปรัสก็ยังคงใช้เป็นฐานสำหรับกองทัพคริสเตียนมาจนกระทั่งปี ค.ศ. 1571 เมื่อมาถูกยึดไปโดยจักรวรรดิออตโตมัน

คาบสมุทรบอลข่าน[แก้]

จักรวรรดิละตินและเมืองขึ้น และการปกครองต่อมาของกลุ่มรัฐกรีก ราว ค.ศ. 1204

หลังจากสงครามครูเสดครั้งที่ 4 แล้วดินแดนของจักรวรรดิไบแซนไทน์ก็แบ่งออกเป็นรัฐย่อย ๆ ที่มาเรียกกันว่า "สมัยรัฐละติน" (Latinokratia หรือ Frangokratia; กรีก: Φραγκοκρατία):

เกาะหลายเกาะโดยเฉพาะเกาะครีต (ค.ศ. 1204–1669), ยูเบีย (ดินแดนลอร์ดแห่งเนโกรพอนเต, จนกระทั่งปี ค.ศ. 1470) และหมู่เกาะไอโอเนียน (จนกระทั่งปี ค.ศ. 1797) มาอยู่ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐเวนิส

รัฐเหล่านี้ต้องเผชิญกับการโจมตีจากจักรวรรดิหรือรัฐที่มีอำนาจต่อจากไบแซนไทน์ที่รวมทั้งจักรวรรดิไนเซีย, อาณาจักรเอพิรอส (Despotate of Epiros) และจักรวรรดิบัลแกเรีย ราชอาณาจักรเธสสาโลนิคาและจักรวรรดิละตินได้รับการกู้คืนโดยจักรวรรดิไบแซนไทน์ในปี ค.ศ. 1261 ผู้สืบเชื้อสายมาจากนักรบครูเสดยังคงปกครองเอเธนส์ต่อมาและ เพโลพอนเนซัส (Peloponnesus) จนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 เมื่อถูกยึดไปโดยจักรวรรดิออตโตมัน

  • รัฐอธิปไตยทหารแห่งอัศวินฮอสปิทัลเลอร์ก่อตั้งฐานที่มั่นที่เกาะโรดส์ (และหมู่เกาะอีเจียนอื่น ๆ) ในปี ค.ศ. 1310 โดยมีผู้อพยพเข้ามารวมเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งถูกขับออกจากเกาะโดยจักรวรรดิออตโตมันไปตั้งถิ่นฐานใหม่อยู่ที่เกาะมอลตาในปี ค.ศ. 1522
    • เกาะคาสเตลเลซิโอ (เช่นเดียวกับเกาะโรดส์ เป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะอีเจียน) ถูกยึดโดยอัศวินฮอสปิทัลเลอร์แห่งเยรูซาเลมในปี ค.ศ. 1309; อียิปต์ยึดคาสเตลเลซิโอตั้งแต่ปี ค.ศ. 1440 จนกระทั่งปี ค.ศ. 1450; ต่อมาราชอาณาจักรเนเปิลส์ก็เข้ามามีอำนาจ; เวนิสเริ่มปกครองในปี ค.ศ. 1635 (ในชื่อ "คาสเตลรอซโซ"); อาณาจักรเหล่านี้ยกเว้นที่เป็นของอียิปต์เป็นโรมันคาทอลิก; จักรวรรดิออตโตมันเข้ามาปกครองในปี ค.ศ. 1686 แม้ว่ากรีกจะปกครองระหว่างสงครามอิสรภาพกรีก (Greek War of Independence) ระหว่าง ค.ศ. 1821–1833
    • อาณาจักรใกล้เคียงอื่น ๆ ที่อยู่ภายใต้การปกครองบางครั้งก็ได้แก่: สเมอร์นา (ปัจจุบันคืออิซเมียร์; ค.ศ. 1344–1402), อัตตาเลีย (ปัจจุบันคืออันทัลยา; ค.ศ. 1361–1373 และฮาลิคาร์นัสซอส (ปัจจุบันคือโบดรุม; ค.ศ. 1412–14..) ทั้งสามเมืองนี้อยู่ในอานาโตเลีย และเมืองต่าง ๆ ในกรีซที่รวมทั้งโครินธ์ (ค.ศ. 1397–1404), อัมฟิสสา (ปัจจุบันคือซาโลนา; ค.ศ. 1407–1410) และหมู่เกาะอิคาเรีย (ค.ศ. 1424–1521) และคอส (ค.ศ. 1215–1522)

ครูเสดตอนเหนือ[แก้]

นครรัฐครูเสดตอนเหนือราว ค.ศ. 1410

ในแคว้นบอลติกสมัยกลาง ชนพื้นเมืองในช่วงแรกต่อต้านการนับถือศาสนาคริสต์ จนปี ค.ศ. 1193 สมเด็จพระสันตะปาปาเซเลสทีนที่ 3 จึงทรงหว่านล้อมให้คณะอัศวินครูเสดออกไปปราบปรามชาวปรัสเซียเก่า ชาวลิทัวเนีย และชนเผ่าอื่น ๆ ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเอสโตเนีย, ลัตเวีย และปรัสเซียตะวันออก สมัยนี้เป็นสมัยของสงครามที่เรียกว่าสงครามครูเสดตอนเหนือ (Baltic Crusades)

หลังจากสงครามครูเสดตอนเหนือแล้ว วิลเลียมแห่งโมเดนาในฐานะผู้แทนพระสันตะปาปา (Papal legate) ก็แก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างนักรบครูเสดในลิโวเนียและแคว้นปรัสเซีย โดยการแบ่งดินแดนระหว่างนักรบครูเสดในลิโวเนียกับคณะภราดาลิโวเนียนแห่งดาบ ได้ก่อให้เกิดราชรัฐขึ้น 5 รัฐ รัฐหนึ่งที่ปกครองโดยคณะภราดา และอีกสี่รัฐปกครองโดยเจ้าชายมุขนายก ได้แก่

ดินแดนที่ปกครองโดยนักรบครูเสดเดนมาร์กถูกผนวกเข้ากับเดนมาร์กเป็นดัชชีเอสโตเนีย[2] จนกระทั่งตกไปเป็นส่วนหนึ่งของรัฐอัศวินทิวทันในปี ค.ศ. 1346

ในแคว้นปรัสเซีย วิลเลียมแห่งโมเดนาก็แบ่งดินแดนระหว่างอัศวินทิวทันกับกลุ่มรัฐออกเป็น 4 รัฐ ได้แก่

อ้างอิง[แก้]

  1. See for example The Crusader Kingdom of Valencia: Reconstruction on a Thirteenth-Century Frontier, R.I. Burns, SJ, Harvard, 1967 (available online)
  2. High medieval rural settlement in Scandinavia; The Cambridge History of Scandinavia By Knut Helle; p. 269 ISBN 0521472997
  • Westermann, Großer Atlas zur Weltgeschichte (in German)

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ แผนที่เกี่ยวกับสงครามครูเสด