อันเดิช ยูนัส อ็องสเตริม
อันเดิช ยูนัส อ็องสเตริม | |
---|---|
เกิด | 13 สิงหาคม ค.ศ. 1814 Lögdö, Timrå ประเทศสวีเดน |
เสียชีวิต | 21 มิถุนายน ค.ศ. 1874 อุปซอลา ประเทศสวีเดน | (59 ปี)
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยอุปซอลา |
มีชื่อเสียงจาก | สเปกโทรสโกปี การเรืองแสงของบรรยากาศ |
รางวัล | เหรียญรางวัลรัมฟอร์ด (1872) |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | ฟิสิกส์, ดาราศาสตร์ |
อันเดิช ยูนัส อ็องสเตริม (สวีเดน: Anders Jonas Ångström, ออกเสียง: [ˈânːdɛʂ ˈjûːnas ˈɔ̂ŋːstrœm]; 13 สิงหาคม 1814 – 21 มิถุนายน 1874) เป็นนักดาราศาสตร์และนักฟิสิกส์ชาวสวีเดน และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งศาสตร์แห่งสเปกโทรสโกปี[1]
อ็องสเตริมก็เป็นที่รู้จักในด้านการศึกษาเกี่ยวกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์ การถ่ายเทความร้อน, สนามแม่เหล็กของโลก และออโรรา ใน ค.ศ. 1852 อ็องสเตริมวางเกณฑ์ใน Optiska undersökningar (การตรวจสอบด้วยแสง)[2] กฎแห่งการดูดซึม ซึ่งภายหลังดัดแปลงไปเป็นกฎการแผ่รังสีความร้อนของเคียร์ชฮ็อฟ[ต้องการอ้างอิง]
ชีวประวัติ
[แก้]หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาสาขาฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยอุปซอลาในปี 1839 เขาศึกษาที่หอดูดาวสต็อกโฮล์มในปี 1842 ก่อนจะเป็นเจ้าหน้าที่ของหอดูดาวอุปซอลา เขาศึกษาสนามแม่เหล็กของโลก และศึกษาความแรงของแม่เหล็กโลกและมุมบ่ายเบนแม่เหล็กในพื้นที่ต่าง ๆ ของสวีเดน
ในปี 1858 เขาได้รับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยอุปซอลา งานสำคัญของเขาทำในด้านการนำความร้อนและสเปกโทรสโกปี ในปี 1853 เขาแสดงให้เห็นว่าสเปกตรัมของแสงจากท่อจ่ายเกิดจากโลหะในขั้วไฟฟ้าและส่วนประกอบที่เป็นก๊าซในเส้นทางจ่าย ในปี 1872 เขาได้รับเหรียญรางวัลรัมฟอร์ด ในปี 1867 เขาได้วิเคราะห์แสงของออโรรา นอกจากนี้เขายังค้นพบว่าแสงออโรรามีสเปกตรัมที่แตกต่างจากแสงของดวงอาทิตย์
ครอบครัว
[แก้]เขามีลูกชายหนึ่งคน เป็นนักฟิสิกส์ชื่อคนืต อ็องสเตริม
เกียรติยศ
[แก้]หน่วยอังสตรอม (1 Å = 10−10 เมตร) ซึ่งเป็นหน่วยความยาวคลื่นของแสงและระยะห่างระหว่างอะตอมในสสารควบแน่นที่มีการวัดในบางครั้ง ตั้งชื่อตามตัวเขา[3] หน่วยนี้ก็มีการใช้งานในผลิกศาสตร์และสเปกโทรสโกปี
แอ่งอ็องสเตริมบนดวงจันทร์ตั้งชื่อเพื่อให้เกียรติแก่เขา
เสียชีวิต
[แก้]อันเดิช อ็องสเตริมเสียชีวิตจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1874 เพียงไม่กี่วันก่อนวันเกิดครบรอบ 60 ปี[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ P.Murdin (2000): "Angstrom" chapter in Encyclopedia of Astronomy and Astrophysics. doi:10.1888/0333750888/4594 ISBN 0333750888 Bibcode:2000eaa..bookE4594.
- ↑ Ångström, A.J. (1852). "Optiska undersökningar" [Optical investigations]. Kongliga Vetenskaps-Akademiens Handlingar [Proceedings of the Royal Academy of Science] (ภาษาสวีเดน). 40: 333–360. Note: Although Ångström submitted his paper to the Swedish Royal Academy of Science on 16 February 1853, it was published in the volume for Academy's proceedings of 1852. German translation: Ångström, A.J. (1855). "Optische Untersuchungen" [Optical investigations]. Annalen der Physik und Chemie (ภาษาเยอรมัน). 94: 141–165.. English translation: Ångström, A.J. (1855). "Optical researches". Philosophical Magazine. 4th series. 9: 327–342.
- ↑ Murdin, P. (November 2000). "Ångström, Anders Jonas (1814-74)". Ångström, Anders Jonas (1814-74). Encyclopedia of Astronomy and Astrophysics. Bibcode:2000eaa..bookE3428.. doi:10.1888/0333750888/3428. ISBN 0333750888.
- ↑ "Anders Ångström". 27 January 2021.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Maier, C.L. (1970). "Ångström, Anders Jonas". Dictionary of Scientific Biography. Vol. 1. New York: Charles Scribner's Sons. pp. 166–167. ISBN 0-684-10114-9.