อะษาน
ส่วนหนึ่งของ |
ศาสนาอิสลาม |
---|
|
อะษาน (อาหรับ: أَذَان, ออกเสียง: [ʔaˈðaːn]) บางครั้งเรียกตามภาษาตุรกีว่า เอซาน (ตุรกี: ezan)[1] เป็นการเรียกละหมาดในศาสนาอิสลามที่กล่าวโดยมุอัซซินในแต่ละวัน รากศัพท์ของคำนี้คือ อะษินะ (أَذِنَ) แปลว่า "ฟัง, ได้ยิน, รับทราบ" ส่วนอีกคำที่แตกออกมาคือ อุษุน (أُذُن) แปลว่า "หู"
การอะษานจะกล่าว ตักบีร (อัลลอฮ์ ผู้ทรงเกรียงไกร) ด้วยเสียงอันดัง[2] ตามมาด้วย ชะฮาดะฮ์ (ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจาก อัลลอฮ์[3] มุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของ อัลลอฮ์)[4]
ข้อความ
[แก้]บทอ่าน แบบซุนนี[a] [5][6][7][8] แบบชีอะฮ์ [7][8][9] แบบซัยดี |
ภาษาอาหรับ ภาษาอาหรับคลาสสิก |
อักษรโรมัน | แปล |
---|---|---|---|
4x หรือ 2x[b] 4x 8x หรือ 4x |
ٱللَّٰهُ أَكْبَرُ | ʾAllāhu ʾakbaru | อัลลอฮ์ผู้ทรงเกรียงไกร |
2x 2x 2x |
أَشْهَدُ أَنْ لَا إِلَٰهَ إِلَّا ٱللَّٰهُ | ʾašhadu ʾan lā ʾilāha ʾillā -llāhu | ฉันขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอัลลอฮ์ |
2x 2x 2x |
أَشْهَدُ أَنَّ مُحَمَّدًا رَسُولُ ٱللَّٰهِ | ʾašhadu ʾanna Muḥammadan rasūlu -llāhi | ฉันขอปฏิญาณว่า มุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์ |
ไม่มี 2x[c] ไม่มี |
أَشْهَدُ أَنَّ عَلِيًّا وَلِيُّ ٱللَّٰهِ | ʾašhadu ʾanna ʿAlīyan walīyu -llāhi | ฉันขอปฏิญาณว่า อะลีเป็นวะลีของอัลลอฮ์ |
2x 2x 2x |
حَيَّ عَلَىٰ ٱلصَّلَاةِ حَيَّ عَلَىٰ ٱلصَّلَوٰةِ |
ḥayya ʿalā ṣ-ṣalāhti | ท่านทั้งหลาย จงมาละหมาดเถิด |
2x 2x 2x |
حَيَّ عَلَىٰ ٱلْفَلَاحِ حَيَّ عَلَىٰ ٱلْفَلَٰحِ |
ḥayya ʿalā l-falāḥi | ท่านทั้งหลาย จงมาสู่ชัยชนะเถิด |
ไม่มี 2x 2x |
حَيَّ عَلَىٰ خَيْرِ ٱلْعَمَلِ | ḥayya ʿalā khayri l-ʿamali | ท่านทั้งหลาย จงมาสู่การงานที่ดีเถิด |
2x (แค่ละหมาดซุบฮีเท่านั้น)[d] ไม่มี ไม่มี |
ٱلصَّلَاةُ خَيْرٌ مِنَ ٱلنَّوْمِ ٱلصَّلَوٰةُ خَيْرٌ مِنَ ٱلنَّوْمِ |
aṣ-ṣalātu khayrun mina n-nawmi | การละหมาดดีกว่าการนอน |
2x 2x 2x |
ٱللَّٰهُ أَكْبَرُ | ʾAllāhu ʾakbaru | อัลลอฮ์ผู้ทรงเกรียงไกร |
1x 2x 1x |
لَا إِلَٰهَ إِلَّا ٱللَّٰهُ | lā ʾilāha ʾillā -llāhu | ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ |
- ↑ อะษานแบบเดียวกันกับอะฮ์มะดียะฮ์
- ↑ ตามธรรมเนียมคือ 4 ครั้ง[10] ผู้ติดตามมัซฮับมาลิกีอ่านซ้ำ 4 ครั้ง
- ↑ รายงานจากนักวิชาการชีอะฮ์สิบสองอิมามกลุ่มอุศูลี ประโยคนั้นไม่จำเป็นต้องกล่าวในอะษานกับอิกอมะฮ์ แต่แนะนำให้อ่าน (มุสตะฮับบ์) อย่างไรก็ตาม ชีอะฮ์สิบสองอิมามกลุ่มอิคบารี ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นในอะษานกับอิกอมะฮ์[11] ฟาฏิมียะฮ์, อิสมาอีลียะฮ์, อะละวีโบะฮ์ราส และดะวูดีโบะฮ์ราสเชื่อ รวมและอ่านเหมือนกัน โดยอ่านในอะษานสองครั้ง แต่ไม่อ่านในอิกอมะฮ์ พวกเขาได้เพิ่มคำว่า Muḥammadun wa ʿAlīyun khayru l-basar wa itaratu huma khayru l-itar (มุฮัมมัดและอะลีเป็นมนุษย์ที่ดีที่สุดและลูกหลานของพวกท่านคือลูกหลานที่ดีที่สุด) สองครั้งหลังท่อนที่ 6 (Ḥayya ʿala-khayri l-ʿamal) ธรรมเนียมนี้ทำตามมาตั้งแต่ซุอัยบ์ อิบน์ มูซา (ค.ศ. 1132) ดาอิลมุฏลักคนแรก หลังจากอัฏฏ็อยยิบ อบูกอซิม อิหม่ามคนที่ 21 และอ้างว่าเป็นธรรมเนียมฟาฏิมียะฮ์ที่แท้จริง[12][13][14]
- ↑ ผู้ติดตามมัซฮับมาลิกีอ่านคำนี้สองครั้ง และอ่านประโยคก่อนหน้าซ้ำ 4 ครั้ง ตามฮะดีษในเศาะฮีฮ์ มุสลิม เล่ม 4, ตอน 2, หมายเลข 0740
สถานะทางกฎหมายสมัยใหม่
[แก้]อิสราเอล
[แก้]ใน ค.ศ. 2016 คณะกรรมการรัฐมนตรีอิสราเอลอนุมัติร่างกฎหมายให้จำกัดเสียงเรียกขอพรในที่สาธารณะ โดยเฉพาะเสียงอะษาน ด้วยเหตุผลมลภาวะทางเสียง[15][16][17] ร่างกฎหมายถูกเสนอโดยโมตี โยเกฟ สมาชิกดเนสเซ็ตของพรรคเดอะจิววิชโฮม และโรเบิร์ต อิลาโตฟ จากพรรคยิสราเอลเบเตนู (Yisrael Beiteinu)[16] การแบนนี้มีผลต่อมัสยิดสามแห่งในหมู่บ้านอบูดิสในเยรูซาเลมตะวันออก ทำให้ตัดสิทธิ์ในการกล่าวละหมาดตอนหัวรุ่ง (ซุบฮี)[18] เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล สนับสนุนร่างกฎหมายนี้[17] องค์กรประชาธิปไตยอิสราเอล (Israel Democracy Institute) กล่าวว่ากฎหมายนี้ขัดต่อสิทธิของมุสลิม และขัดขวางเสรีภาพทางศาสนาของพวกเขา[17][18]
ตุรกี
[แก้]หลังจากการปฏิรูปที่นำมาสู่การก่อตั้งสาธารณรัฐตุรกีใน ค.ศ. 1923 รัฐบาลตุรกีในเวลานั้น นำโดยมุสทาฟา เคมัล อาทาทืร์ค ได้นำระบอบฆราวาสนิยมเข้าสู่ตุรกี โดยมีแผนดำเนินการอะษานด้วยภาษาตุรกี ซึ่งขัดแย้งกับธรรมเนียมที่ต้องกล่าวเป็นภาษาอาหรับ[19] โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1932 และดำเนินการต่อไปเป็นเวลา 18 ปี
ณ วันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1950 รัฐบาลใหม่ที่นำโดยอัดนาน เมนเดเรส ได้นำการอะษานภาษาอาหรับมาใช้อีกครั้ง[20]
สวีเดน
[แก้]มัสยิดฟิตต์ยาใน Botkyrka ที่อยู่ทางตอนใต้ของสต็อกโฮล์ม เป็นมัสยิดแรกที่ได้รับอนุญาตให้อะษานละหมาดวันศุกร์ใน ค.ศ. 2013 โดยมีข้อแม้ว่าเสียงต้องไม่ดังกว่า 60 เดซิเบล[21] ที่คาร์ลสกรูนา (เทศมณฑลเบลียกิงเงอ ภาคใต้ของประเทศสวีเดน) ทางสมาคมอิสลามได้สร้างมินาเรตใน ค.ศ. 2017 และได้กล่าวอะษานทุกสัปดาห์จนถึงปัจจุบัน[22][23] มัสยิดชั่วคราวที่เวกเชอได้รับสิทธิ์นี้เช่นเดียวกันในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018[24] ทำให้มีการวิจารณ์กันทั้งประเทศ[25][26][27] หน่วยงานตำรวจสวีเดนได้ให้การอนุญาตเป็นระยะเวลาหนึ่งปีในเดือนพฤษภาคมของปีเดียวกัน[28][29]
คูเวตและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
[แก้]ในระหว่างช่วงการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสใน ค.ศ. 2019-2020 และการระบาดทั่วในช่วงนี้ บางเมืองได้เปลี่ยนบทอะษานจาก ฮัยยะอะลัศเศาะลาฮ์ หมายถึง "ท่านทั้งหลาย จงมาละหมาดเถิด" ไปเป็น อัสเศาะลาตุฟีบุยูติกุม หมายถึง "จงละหมาดที่บ้านของท่าน"[30]
ประเทศมุสลิมอื่น (โดยเฉพาะซาอุดีอาระเบีย, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย) ได้เปลี่ยนเป็นแบบนี้เพราะมุสลิมถูกสั่งห้ามไม่ให้ไปมัสยิดในช่วงการระบาดทั่ว เพื่อหยุดผลพวงของการระบาด การทำสิ่งนี้มาจากคำสั่งของศาสดามุฮัมมัด โดยให้บิลาล อิบน์ เราะบาฮ์ อะษานแบบนั้นในช่วงที่มักกะฮ์เกิดการระบาดของอหิวาตกโรค
ดูเพิ่ม
[แก้]- ชะฮาดะฮ์
- ตะชะฮ์ฮุด
- เศาะละวาต
- สันติจงมีแด่ท่าน
- ซิกร์
- เตาฮีด
- บาเรจู - การเรียกให้มาขอพรของศาสนายูดาห์
- ระฆังโบสถ์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Nathal M. Dessing Rituals of Birth, Circumcision, Marriage, and Death Among Muslims in the Netherlands Peeters Publishers 2001 ISBN 978-9-042-91059-1 page 25
- ↑ Azodanloo, H. G. (1992). "Formalization of friday sermons and consolidation of the Islamic republic of Iran". Critique: Critical Middle Eastern Studies. 1 (1): 12–24. doi:10.1080/10669929208720023.
- ↑ "The Prophet Muhammad". English translation of the meaning of Al-Qurʼan: the guidance for mankind (ภาษาอาหรับ และ อังกฤษ). แปลโดย Malik, Muhammad Farooq-i-Azam. Institute of Islamic Knowledge. p. 20. ISBN 9780911119800.
- ↑ Mohammad, N. (1985). "The Doctrine of Jihad: An Introduction". Journal of Law and Religion. 3 (2): 381–397. doi:10.2307/1051182.
- ↑ เศาะฮีฮ์ อัลบุคอรี 89.329 เก็บถาวร 2008-12-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Sahih Muslim : Book 020: Number 4477, 4478, 4480, 4481, 4482, 4483 เก็บถาวร 2011-08-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 7.0 7.1 "Sahih Muslim". sunnah.com. สืบค้นเมื่อ 2020-03-18.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 8.0 8.1 Sunan al-Tirmidhi (Arabic) Chapter of Fitan, 2:45 (India) and 4:501 Tradition # 2225 (Egypt); Hadith #2149 (numbering of al-'Alamiyyah)
- ↑ Quran : Surah Sajda: Ayah 24-25 เก็บถาวร 2018-04-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Kitab rab as-sad by Sana'ani
- ↑ "Akhbari". Akhbari. สืบค้นเมื่อ 2013-12-31.
- ↑ Islamic Laws : Rules of Namaz » Adhan and Iqamah เก็บถาวร กันยายน 14, 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Importance and Conditions of Prayers - Question #466 เก็บถาวร กรกฎาคม 8, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Adhan Call to Prayer". duas.org. Retrieved on 25 August 2016.
- ↑ "Israel to limit volume of prayer call from mosques".
- ↑ 16.0 16.1 "Israel to ban use of loudspeakers for 'Azaan' despite protest". The Financial Express. Ynet. 14 November 2016. สืบค้นเมื่อ 10 January 2017.
- ↑ 17.0 17.1 17.2 "Israeli PM backs bill to limit Azan". Dawn. AFP. 14 November 2016. สืบค้นเมื่อ 10 January 2017.
- ↑ 18.0 18.1 Hawwash, Kamel (7 November 2016). "Israel's ban on the Muslim call to prayer in Jerusalem is the tip of the iceberg". Middle East Monitor. Middle East Monitor. สืบค้นเมื่อ 10 January 2017.
- ↑ The Adhan in Turkey เก็บถาวร เมษายน 12, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Aydar, Hidayet (2006). "The issue of chanting the Adhan in languages other than Arabic and related social reactions against it in Turkey". dergipark.gov.tr. p. 59-62. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-12. สืบค้นเมื่อ 2019-01-12.
- ↑ "Ljudkablar dras för första böneutropet" [Cables laid out for the first call to prayer] (ภาษาสวีเดน). Dagens Nyheter. 24 April 2014.
- ↑ "Blekinge har fått sin första minaret" [Blekinge has gotten its first minaret] (ภาษาสวีเดน). Sveriges Television. 13 Oct 2017. สืบค้นเมื่อ 21 March 2018.
- ↑ "Swedish town allows calls to prayer from minaret". Anadolu Agency. 17 Nov 2017. สืบค้นเมื่อ 21 March 2018.
- ↑ "Moskén i Växjö vill ha böneutrop" [The mosque in Växjö wants prayer calls] (ภาษาสวีเดน). Sveriges Television. 12 February 2018. สืบค้นเมื่อ 20 March 2018.
- ↑ "Christian Democrat leader opposes Muslim call to prayer in Sweden". Radio Sweden. 15 March 2018. สืบค้นเมื่อ 20 March 2018.
- ↑ Lawal Olatunde (14 February 2018). "Swedish church supports Muslims Adhan". Islamic Hotspot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-20. สืบค้นเมื่อ 20 March 2018.
- ↑ "This Jewish leader is defending the Muslim call to prayer in Sweden". The New Arab. 19 March 2018. สืบค้นเมื่อ 20 March 2018.
- ↑ Thorneus, Ebba (May 8, 2018). "Polisen tillåter böneutrop via högtalare". Aftonbladet (ภาษาสวีเดน). สืบค้นเมื่อ December 27, 2018.
- ↑ Broke, Cecilia (May 8, 2018). "Polisen ger klartecken till böneutrop i Växjö" [The Police gives clearance for prayer calls in Växjö]. SVT (ภาษาสวีเดน). สืบค้นเมื่อ December 27, 2018.
- ↑ Kuwait mosques tell believers to pray at home amid coronavirus pandemic alaraby.co.uk
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Adhan from the Grand Mosque (Masjid al Haram) recited by Sheikh Ali Ahmed Mulla
- Adhan from the Prophet's Mosque (Masjid Nabawi), Madinah al Munawarah
- Adhan (call for prayer) from a mosque
- Tweaking the Azaan and other measures Muslim countries have taken to combat the virus
- Meaning of the Adhan
- Ezan video at Hagia Sophia
- ละหมาดเมื่อถึงเวลา
- อาซาน