สเปนสมัยราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Monarchia Hispaniae (ละติน)
ค.ศ. 1516–ค.ศ. 1700
แผนที่คาบสมุทรไอบีเรีย ค.ศ. 1570
แผนที่คาบสมุทรไอบีเรีย ค.ศ. 1570
เมืองหลวงมาดริด (ค.ศ. 1561–1601; ค.ศ. 1606–1700)
บายาโดลิด (ค.ศ. 1601–06)
ศาสนา
โรมันคาทอลิก
การปกครองราชาธิปไตยองค์ประกอบ
พระเจ้าแผ่นดิน 
• ค.ศ. 1516–1556 (พระองค์แรก)
พระเจ้าการ์โลสที่ 1
• ค.ศ. 1665–1700 (พระองค์สุดท้าย)
พระเจ้าการ์โลสที่ 2
สภานิติบัญญัติสภากัสติยา
สภาอารากอน
สภากาตาลุญญา
สภาบาเลนเซีย
สภานาวาร์
สภาโปรตุเกส
ยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่ตอนต้น
• พระเจ้าเฟลิเปที่ 1 แห่งกัสติยาเสด็จขึ้นครองราชย์
26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1504
• พระเจ้าการ์โลสที่ 1เสด็จขึ้นครองราชย์
23 มกราคม ค.ศ. 1516
ค.ศ. 1568–1648
ค.ศ. 1580–1640
ค.ศ.​1635–1659
ค.ศ. 1640–1668
• การสวรรคตของพระเจ้าการ์โลสที่ 2
1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1700
ค.ศ. 1701–1714
สกุลเงินเรอัลและอื่น ๆ
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชบัลลังก์กัสติยา
ราชบัลลังก์อารากอน
ราชอาณาจักรนาวาร์
ราชอาณาจักรเนเปิลส์
เนเธอร์แลนด์ของฮาพส์บวร์ค
สเปนของบูร์บง
สาธารณรัฐดัตช์
ซาร์ดิเนีย-ปีเยมอนเต
สหภาพไอบีเรีย
คณะอัศวินแห่งนักบุญยอห์น

สเปนสมัยราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค เป็นศัพท์ทางประวัติศาสตร์นิพนธ์สมัยใหม่ หมายถึงสเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 (ค.ศ. 1516–1700) ซึ่งปกครองโดยกษัตริย์ในราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค (ซึ่งยังปกครองดินแดนต่าง ๆ ในยุโรปกลางและตะวันออกด้วย) กษัตริย์สเปนภายใต้ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค (โดยเฉพาะพระเจ้าการ์โลสที่ 1 และพระเจ้าเฟลิเปที่ 2) นั้นถือเป็นจุดสูงสุดของพระราชอำนาจในการปกครองจักรวรรดิสเปน โดยควบคุมดินแดนต่าง ๆ ในกว่าห้าทวีปไว้ได้ รวมถึงอเมริกา อินเดียตะวันออก กลุ่มประเทศต่ำ เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก และดินแดนต่าง ๆ ที่ในปัจจุบันคืออิตาลี ฝรั่งเศส และเยอรมนีในยุโรป รวมถึงจักรวรรดิโปรตุเกสตั้งแต่ ค.ศ. 1580 จนถึง ค.ศ. 1640 และดินแดนอื่น ๆ อีกอย่างเซวตาและออรานในแอฟริกาเหนือเป็นต้น ในประวัติศาสตร์สเปนถือว่ายุคนี้เป็น "ยุคแห่งการสำรวจ"

สเปนหรือ "เหล่าสเปน" หมายถึงดินแดนต่าง ๆ ของสเปนในทุกทวีปทั่วโลกนั้นสมัยนั้น ซึ่งกินอาณาเขตในคาบสมุทรไอบีเรียทั้งหมด รวมถึงราชอาณาจักรอารากอน กัสติยา เลออน นาวาร์ และตั้งแต่ ค.ศ. 1580 รวมราชอาณาจักรโปรตุเกสเข้ามาด้วย

การอภิเสกสมรสระหว่างสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยากับพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอนใน ค.ศ. 1469 ส่งผลให้เกิดการรวมกันระหว่างสองราชบัลลังก์ กล่าวคือ กัสติยาและอารากอน ซึ่งนำไปสู่การรวมชาติสเปนโดยพฤตินัย และภายหลังจากเรกองกิสตารวมกับการพิชิตกรานาดาใน ค.ศ. 1492 และการพิชิตนาวาร์ใน ค.ศ. 1512–1529 พระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 ได้ถวายพระราชสมัญญาแด่ทั้งสองพระองค์ว่า "พระมหากษัตริย์และพระราชินีคาทอลิก" ใน ค.ศ. 1494 และศัพท์ ราชาธิปไตยคาทอลิก (สเปน: Monarquía Católica) ยังคงใช้เรียกสถาบันพระมหากษัตริย์มาจนถึงสเปนสมัยราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค

สเปนในสมัยต่อมาได้เป็นรัฐชาติตามกฎหมายภายหลังจากพระราชกฤษฎีกานูเอบาปลันตาใน ค.ศ. 1707 สืบเนื่องจากกรณีสวรรคตใน ค.ศ. 1700 ของพระเจ้าการ์โลสที่ 2 ผู้ซึ่งเป็นกษัตริย์พระองค์สุดท้ายจากราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค นำไปสู่สงครามสืบราชบัลลังก์สเปน ต่อมาพระเจ้าเฟลิเปที่ 5 จากราชวงศ์บูร์บงได้รับพระราชบัลลังก์ไปและเริ่มเป็นศักราชใหม่ของการรวมเป็นชาติสเปน

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Also known as Kingdom of Spain (Old Spanish: Reyno de España (often also spelled, Eſpana, Eſpaña or Eſpanna), Modern Spanish: Reino de España).[2]
  1. Monarchia Hispanica.google.com, Monarchia Hispaniae. digital.ub.uni.
  2. Reyno de España, google.com