สีในวัฒนธรรมจีน
สีในวัฒนธรรมจีน หมายถึง สีต่าง ๆ ที่มีความหมายทั้งในทางที่ดี (auspicious; 吉利) และไม่ดี (inauspicious; 不利) ตัวอักษรภาษาจีนของคำว่า สี คือ 顏色 หรือ เหยียนเซอะ (yánsè) ในสมัยจีนโบราณมักใช้ตัวอักษร 色 (sè) เพียงตัวเดียวเท่านั้น ซึ่งมีความหมายโดยตรงถึงสีบนใบหน้า (color in the face) หรือ อารมณ์ความรู้สึก (emotion) เพราะคำว่า 'เหยียน' หมายถึงพื้นที่ระหว่างคิ้ว 'เซอะ' หมายถึงลมปราณ ปราชญ์จีนโบราณกล่าวว่า เมื่อคนเราเกิดความรู้สึกต่าง ๆ ที่ใจ พลังงาน หรือ 'ชี่' จะไปแสดงออกที่หว่างคิ้ว กลายเป็นอารมณ์หรือสีหน้า[1]
เริ่มมีการใช้คำว่า หยานเซอะ (yánsè) ในความหมายของสีทุกสีในช่วงสมัยราชวงศ์ถัง อีกทั้งมีสำนวนจีนที่กล่าวว่า “wǔ (ห้า) yán liù (หก) sè” ใช้ในการอธิบายถึงความหลากหลายของสี จึงเป็นการใช้คำว่า 顏色 หรือ เหยียนเซอะ (สี) ในความหมายทั่วไป
ทฤษฎีเบญจธาตุ
[แก้]ในศิลปะและวัฒนธรรมของจีนโบราณมีการใช้สีพื้นฐาน 5 สี คือ สีน้ำเงิน หรือที่เรียกว่า ชิง (qing; 青; ซึ่งเป็นการผสมสีเขียวและสีน้ำเงินเข้าด้วยกัน หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า "grue" ซึ่งมาจากคำว่า "blue" และคำว่า "green") สีแดง สีเหลือง สีขาว และสีดำ ซึ่งมีความนัยถึงธาตุทั้ง 5 ธาตุ คือ น้ำ ไฟ ไม้ โลหะ และดิน ตามลำดับ โดยตลอดสมัยราชวงศ์ซาง (อังกฤษ: Shang dynasty; จีน: 商朝; พินอิน: Shāng cháo) ราชวงศ์ถัง (อังกฤษ: Tang dynasty; จีน: 唐朝; พินอิน: Táng Cháo) ราชวงศ์โจว (อังกฤษ: Zhou dynasty; จีน: 周朝; พินอิน: Zhōu Cháo) และราชวงศ์ฉิน (อังกฤษ: Qin dynasty; จีน: 秦朝; พินอิน: Qín Cháo) สมเด็จพระจักรพรรดิได้ทรงใช้ทฤษฎีเบญจธาตุ หรือธาตุทั้ง 5 (อังกฤษ: Theory of the Five Elements หรือ Wu Xing; จีน: 五行; พินอิน: wŭ xíng) ในการเลือกใช้สีทั้งสิ้น
ธาตุ | ไม้ | ไฟ | ดิน | โลหะ (ทอง) | น้ำ |
---|---|---|---|---|---|
สี | สีเขียว | สีแดง | สีเหลือง | สีขาว | สีดำ |
ทิศ | ทิศตะวันออก | ทิศใต้ | จุดศูนย์กลาง | ทิศตะวันตก | ทิศเหนือ |
ดาวเคราะห์ | ดาวพฤหัสบดี | ดาวอังคาร | ดาวเสาร์ | ดาวศุกร์ | ดาวพุธ |
Heavenly creature | มังกรสีน้ำเงิน
(Azure Dragon) |
หงส์ไฟ
(Vermilion Bird) |
มังกรสีเหลือง
(Huang Long (Four Symbols), Yellow Dragon) |
เสือขาว
(White Tiger) |
เต่าสีนิล
(Black Tortoise) |
Heavenly Stems | 甲, 乙 | 丙, 丁 | 戊, 己 | 庚, 辛 | 壬, 癸 |
ระยะ
(Phase) |
New Yang | Full Yang | Yin/Yang balance | New Yin | Full Yin |
พลังงาน | Generative | Expansive | Stabilizing | Contracting | Conserving |
ฤดูกาล | ฤดูใบไม้ผลิ | ฤดูร้อน | ช่วงการเปลี่ยนฤดู (ทุก ๆ 3 เดือน) |
ฤดูใบไม้ร่วง | ฤดูหนาว |
ภูมิอากาศ | ลม | ร้อน | ชุ่มชื้น (Damp) | แห้ง | หนาว |
ชีววิทยาการเจริญ | แตกกอหรือต้นใหม่ (Sprouting) | ดอกไม้บาน (Blooming) | ผลไม้สุก (Ripening) | เหี่ยวแห้งหรือร่วงโรย (Withering) | หยุดหรือพัก (Dormant) |
ปศุสัตว์ (Livestock) | หมา | แกะ/แพะ | วัว | ไก่ | หมู |
ผลไม้ | พลัม | แอปริคอต | พุทราจีน | ท้อ | เกาลัด |
เมล็ดพันธุ์พืช (Grain) | ข้าวสาลี | ถั่ว | ข้าว | ปอ (hemp) | ข้าวฟ่าง (millet) |
สีดำ
[แก้]สีดำ เป็นสีที่มีความหมายถึง น้ำ และเป็นสีกลาง (neutral color) ทำให้มีคุณสมบัติลึกลับไม่แน่นอนแต่สามารถอยู่หลอมรวมกับทุกสิ่งได้มีทั้งพลังอำนาจและความอ่อนไหวไปพร้อมๆกัน ให้ทั้ง คุณประโยชน์มากมาย และยังสามารถนำมาซึ่งภัยพิบัติที่ยากจะประเมินค่าได้ดังนั้น สีดำจึงหมายถึงความคลุมเครือไม่แน่นอนเช่นเดียวกับกระแสน้ำ หมายถึงความลึกล้ำที่ยากจะหยั่งถึง ในทางจิตวิทยา สีดำเป็นสีที่เร้นลับ เคร่งขรึม โศกเศร้า ในหนังสืออี้จิง (Book of Changes) อ้างถึงสีดำว่าเป็นสีของสวรรค์ ด้วยคำกล่าวที่ว่า“สวรรค์และโลกแห่งสีดำอันลึกลับ (heaven and earth of mysterious black)” ที่มีที่มาจากการสังเกตท้องฟ้าทางทิศเหนือซึ่งเป็นสีดำมืด นำมาซึ่งความเชื่อที่ว่าองค์จักรพรรดิ์ หรือ เทียนตี้ (Tian Di, Heavenly Emperor; 天帝) คือผู้ที่มาจากดาวเหนือ จักรพรรดิในสมัยโบราณจึงใช้สีดำเป็นสีของเครื่องทรงมาโดยตลอด จนถึงสมัยราชวงศ์ฮั่นจึงมีการเปลี่ยนไปใช้สีเหลืองแทน
สัญลักษณ์ไท่จิ (อังกฤษ:Taiji symbol; จีนตัวย่อ: 太极; จีนตัวเต็ม: 太極; พินอิน: tàijí; แปลตามตัวอักษรว่า "great pole") ใช้สีดำและสีขาวเป็นตัวแทนแห่งความเป็นหนึ่งเดียวระหว่างหยินและหยาง (Yin and Yang) ในสมัยจีนโบราณถือว่าสีดำเป็นราชาแห่งสีทั้งหลาย (king of colors) และยังให้เกียรติสีดำมากกว่าสีอื่น ๆ เล่าจื๊อเคยกล่าวไว้ว่า "ห้าสีทำให้คนตาบอด (five colors make people blind)" ดังนั้นสถาบันเต๋าจึงใช้สีดำเป็นสีสัญลักษณ์ประจำของเต๋า (Dao) นอกจากนั้นสีดำยังมีความหมายโดยนัยถึงความเศร้าโศก และความตายด้วย
สีแดง
[แก้]สีแดงเป็นสีที่เกี่ยวเนื่องกับไฟ ธาตุไฟในแผนภูมิโป้ยก่วย (八卦) ของจีน หมายถึงแสงสว่าง ความอบอุ่น พละกำลัง และความรุ่งโรจน์ สีแดงจึงเป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคดีและความสุข สามารถพบการใช้สีแดงได้ทุกที่ในช่วงเทศกาลปีใหม่จีน วันหยุดอื่น ๆ และในการพบปะของครอบครัว ซองอั่งเปาซึ่งเป็นเงินของขวัญที่จะได้รับในสังคมจีนช่วงวันหยุดหรือโอกาสพิเศษมีการใช้สีแดงซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความโชคดีเช่นกัน
สีแดงจึงเป็นที่ต้องห้ามในงานศพในฐานะที่เป็นสีสัญลักษณ์ของความสุข[2] และชื่อของผู้ตายมักถูกเขียนขึ้นโดยใช้สีแดง จึงถือว่าเป็นสิ่งไม่เหมาะสมที่จะใช้หมึกสีแดงสำหรับเขียนชื่อบุคคลในบริบทอื่น ๆ
ประเทศจีนในปัจจุบัน สีแดงยังคงเป็นสีที่นิยมมากและนำมาใช้โดยรัฐบาลคอมมิวนิสต์ แม้ในตลาดหุ้นของจีน สีแดงก็เข้ามามีบทบาทด้วยเช่นกัน กระดานหุ้นของประเทศในแถบตะวันตก เช่น ทวีปยุโรป ทวีปอเมริกา หรือในประเทศอื่นอีกหลาย ๆ ประเทศ เมื่อตัวเลขเป็นสีแดงหมายถึงราคาหุ้นที่ร่วงหรือลดลงจากเดิม แต่สำหรับในประเทศจีน ไต้หวัน ฮ่องกง หากตัวเลขราคาหุ้นเป็นสีแดง กลับหมายถึงราคาหุ้นที่กำลังขึ้นหรือเพิ่มขึ้นกว่าเดิม จึงมีคำว่า "เปิดกระดานแดง (开红盘)" ที่หมายถึงหุ้นดีดตัวสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงเปิดตลาด
สีชิง (เขียวอมน้ำเงิน)
[แก้]แม้ว่าขณะนี้ประเทศจีนจะมีคำแยกต่างหากสำหรับ "สีฟ้า" (蓝) แต่ในสมัยโบราณมีการจัดเฉดสีฟ้าเข้ารวมกับสีเขียว โดยใช้ชื่อเรียกว่า 青 (qing) ซึ่งมีที่มาจากการเกิดต้นใหม่ของพืช สีนี้เป็นสีที่มีความเกี่ยวเนื่องกับธาตุไม้ (อาทิ ชีวิตของพึช) มันจึงหมายถึงความเจริญเติบโตหรือการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ที่ดีกว่า สีแทนความหม่นหมอง แต่เมื่อมันมาอยู่ รวมกันก็จะเกิดความหมายใหม่ที่ดีๆเพราะสีเขียวอมน้ำเงินนั้นไปพ้องกับสีของใบไผ่ เป็นไม้มงคลของชาวจีน ชาวจีนมีความเชื่อว่าสีเขียวอมน้ำเงินเป็นสีแห่งความ อ่อนเยาว์ในทางจิตวิทยา ได้รวมเอาคุณลักษณะของหลายสีเข้าด้วยกัน ได้แก่ สีเหลือง สีน้ำเงิน สีขาว แม้สีฟ้าจะถูกมองว่าหม่นหมอง แต่เมื่อได้ความสดใสจากสีเหลือง เข้ามาช่วยแล้ว ก็ทำให้สีเขียวอมน้ำเงินช่วยกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกให้สดชื่นได้
สีเขียว
[แก้]สีเขียว เป็นสีที่แทนธาตุไม้ ซึ่งมีความหมายเกี่ยวเนื่องถึงการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น การเจริญเติบโต ความรุ่งเรือง และความสามัคคี เมื่อไม่นานมานี้ สีเขียวยังถูกใช้เป็นสีสัญลักษณ์ในการสร้างความสมานสามัคคี (harmonization efforts) โดยรัฐบาลประเทศจีนด้วย
นอกจากนั้นสีเขียวยังมีความหมายในทางลบสำหรับซึ่งมีที่มาจากสำนวนว่า "สวมหมวกสีเขียว " หมายถึงการที่ภรรยานอกใจไปมีสามีคนใหม่
สีขาว
[แก้]สีขาว มีความหมายถึงโลหะ โดยมี "ทอง (gold)" เป็นตัวแทน เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความสว่าง บริสุทธิ์ และสมปรารถนา ในวัฒนธรรมจีนสีขาวยังเป็นสีแห่งความโศกเศร้าที่ใช้ในงานศพ เกี่ยวเนื่องกับความตายและความโศกเศร้า[3] จึงเป็นสีต้องห้ามสำหรับงานมงคล
สีเหลืองหรือสีทอง
[แก้]สีเหลือง เป็นสัญลักษณ์แทนธาตุดิน ซึ่งหมายถึง ความเป็นปึกแผ่นมั่นคง ทั้งในแง่ของอารมณ์ความรู้สึกและชีวิตความเป็นอยู่ ความเจริญรุ่งเรือง เป็นสีของจักรพรรดิจีน โดยเป็นสีสัญลักษณ์ของห้าจักรพรรดิในตำนานของจีนโบราณ เป็นสีที่มักใช้ประดับพระราชวัง แท่นบูชา และวัด รวมถึงใช้สำหรับเสื้อคลุมและเครื่องทรงขององค์จักรพรรดิด้วย และมีสีทองเป็นส่วนประกอบในทางจิตวิทยา สีบอกถึงความบริบูรณ์ กระปรี้กระเปล่า พลังแห่งความหวัง ความสดชื่น รื่นเริงบันเทิงใจและเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ ความหมายในเชิงของ ฮวงจุ้ย ก็พอจะทำให้เห็นว่าความสดชื่นรื่นเริง ความหวังเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา เมื่อประชาชนรักในกษัตริย์ของตนเอง จึงต้องการให้สิ่งดีๆเกิดขึ้นกับบุคคลที่ตนรักเช่นกัน ต่างกันตรงที่สีเหลืองในทางฮวงจุ้ย เป็นสิ่งที่สูงส่งห้ามใช้ในบางกรณี เพราะต้องสงวนให้กษัตริย์เท่านั้น
สีเหลืองมีความหมายถึงความเป็นอิสระจากความกังวลในทางโลก จึงมักใช้มากในพุทธศาสนา อาทิ เครื่องนุ่งห่มของพระสงฆ์ที่เป็นสีเหลือง เช่นเดียวกับสีที่ใช้ประดับวัด และยังเป็นสีที่ใช้สำหรับการไว้ทุกข์ในพุทธศาสนาของจีนด้วย
ดูเพิ่ม
[แก้]- Chinese art
- Luck
- Fashion of China
- Numbers in Chinese culture
- Culture of China
- Culture of the People's Republic of China
อ้างอิง
[แก้]- ↑ www.artgazine.com
- ↑ see งานศพ#งานศพs in East Asia
- ↑ "Psychology of Color: Does a specific color indicate a specific emotion? By Steve Hullfish | July 19, 2012". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-06-28.