สงครามกลางเมืองออสเตรีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามกลางเมืองออสเตรีย
ส่วนหนึ่งของ สมัยระหว่างสงคราม

ทหารของกองทัพสหพันธรัฐออสเตรียในเวียนนา ถ่ายเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1934
วันที่12–16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1934
(4 วัน)
สถานที่
เมืองต่าง ๆ ในออสเตรีย
ผล

แนวร่วมปิตุภูมิชนะ

คู่สงคราม

พรรคประชาธิปไตยสังคมนิยมออสเตรีย

พรรคคอมมิวนิสต์ออสเตรีย

สาธาณรัฐออสเตรีย

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ริชชาร์ท แบร์นาเชิค
ลูทวิช แบร์นาเชิค
เอ็งเงิลแบร์ท ด็อลฟูส
เอมีล ไฟ
กำลัง
80,000 คนทั่วออสเตรีย[1]
ทหาร 17,500 นายในเวียนนา[2]
แหล่งเก็บอาวุธในโฟลริทสดอร์ฟ:
ปืนเล็กยาวประมาณ 2,500 กระบอก
ปืนพกลูกโม่ 250 กระบอก
ระเบิดมือ 1,500 ลูก
กระสุน 10,000 นัด[3]
กองกำลังทั้งหมดจากกองทัพสหพันธรัฐ ตำรวจ ตำรวจภูธร และกองกำลังกึ่งทหารไฮม์แวร์
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 137 คน[2]
คาดว่าเสียชีวิต 196[4]–1,000 คน[5]
บาดเจ็บ 399 คน[2]
ถูกประหารชีวิต 10 คน[4]
เสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่ราว 105[2]–118 คนโดยประมาณ[4]
บาดเจ็บ 319 คน[2]

สงครามกลางเมืองออสเตรีย (เยอรมัน: Österreichischer Bürgerkrieg) หรือที่รู้จักกันในชื่อ การก่อการกำเริบเดือนกุมภาพันธ์ (เยอรมัน: Februarkämpfe) เป็นการปะทะกันอย่างรุนแรงภายในสาธารณรัฐออสเตรียที่หนึ่ง กินเวลาตั้งแต่วันที่ 12 ถึงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1934 ระหว่างกองกำลังประชาธิปไตยสังคมนิยม (เรพุบลิคานิชเชอร์ ชุทซ์บุนท์) และคอมมิวนิสต์กับกองกำลังอนุรักษนิยมและรัฐบาลฟาสซิสต์ (กองทัพ ตำรวจ และกองกำลังกึ่งทหารไฮม์แวร์) โดยเหตุการณ์เริ่มปะทุขึ้นที่ลินทซ์และเริ่มแพร่กระจายไปส่วนที่เหลือของประเทศ โดยเฉพาะตามเมืองใหญ่อย่างเวียนนา กราทซ์ บรุคแอนเดอร์มัวร์ วีเนอร์น็อยชตัท และชไทเยอร์

การเผชิญหน้ากันอย่างต่อเนื่องด้วยการตอบโต้ของฝ่ายสังคมนิยม จากการที่รัฐมนตรีมหาดไทยเอมีล ไฟ ออกคำสั่งค้นหาและจับกุมฝ่ายตรงข้ามเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์[6] ในวันเดียวกัน รัฐบาลสั่งระงับพรรคสังคมนิยมและองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งได้ยุติการเจรจาทางการเมืองระหว่างทั้งสองฝ่าย[6] นอกจากนี้ ยังถือเป็นการเริ่มต้นสมัยเผด็จการของประเทศและการยกเลิกระบบรัฐสภาประชาธิปไตยอย่างเด็ดขาด[6] จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่าสามร้อยคนและมีผู้บาดเจ็บราวแปดร้อยคน[6]

อ้างอิง[แก้]

บรรณานุกรม[แก้]

  • Brook-Shepherd, Gordon (December 1996). The Austrians: A Thousand-Year Odyssey. HarperCollins. ISBN 0-00-638255-X.
  • Edmondson, Clifton Earl (1978). The Heimwehr and Austrian politics, 1918-1936 (ภาษาอังกฤษ). University of Georgia Press. p. 352. ISBN 9780820304373.
  • Jelavich, Barbara (December 1989). Modern Austria: Empire & Republic 1815–1986. Cambridge University Press. ISBN 0-521-31625-1.
  • Kitchen, Martin (1980). The coming of Austrian fascism (ภาษาอังกฤษ). Croom Helm. p. 299. ISBN 9780709901334.
  • Lehne, Inge; Johnson, Lonnie (1985). Vienna: The Past in the Present. Österreichischer Bundesverlag Gesellschaft, Wien. ISBN 3-215-05758-1.
  • Low, Alfred D. (1976). "On the Eve of the February 1934 Uprising of the Austrian Socialist Workers". Austrian History Yearbook. 12 (1): 282-284.
  • Miller, James William (1992). "Agrarian Politics in Interwar Austria". Working Papers. 42: 26.
  • Zuber, Frederick R. (1975). The watch on the Brenner : a study of Italian involvement in Austrian foreign and domestic affairs : 1928-1938 (pdf) (วิทยานิพนธ์) (ภาษาอังกฤษ). Rice University. OCLC 18458416.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]